พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"เพลงซิมโฟนีของชาวบริติช" (A Symphony of British Music) คือแนวคิดหลักของพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012

พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือทราบกันดีในชื่อ "เพลงซิมโฟนีของชาวบริติช" (A Symphony of British Music) ถูกจัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ณ สนามกีฬาโอลิมปิก โดยมีผู้ออกแบบคือ คิม กาวิน, เอส เดฟวลิน, สตีเฟน ดาลดรี, เดวิด อาร์โนลด์ และมาร์ค ฟิชเชอร์ ซึ่งมีการออกอากาศไปทั่วโลกตั้งแต่เวลา 21:00 ตามเวลาท้องถื่นในสหราชอาณาจักร (UTC+1) และสิ้นสุดพิธีเมื่อเวลา 00:11 รวมทั้งหมด 3 ชั่วโมง 11 นาที

สนามกีฬาโอลิมปิกได้ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นธงชาติสหราชอาณาจักรขนาดใหญ่ ซึ่งออกแบบโดยแดเมียน เฮิร์ส มีนักแสดงประมาณ 4,100 คนเข้าร่วมพิธีปิดนี้ โดยมีรายงานว่ามีค่าใช้จ่ายราว 20ล้านยูโร (มูลค่าประมาณ 820 ล้านบาทไทย) มีประธานในพิธีปิดอย่างเป็นทางการคือ ฌาคส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่เรียกกีฬาโอลิมปิกนี้ว่า "สนุกและสังสรรค์" (Happy and Glorius) ภายในพิธีปิดมีการส่งมอบเจ้าภาพโอลิมปิกถัดไปในปี 2016 คือ รีโอเดจาเนโร ตราบกระทั่งการดับไฟโอลิมปิกและมีการลดธงโอลิมปิกลงด้วย

สิ่งที่พิเศษในพิธีปิดนี้คือการแสดงโชว์เต็ม 1 ชั่วโมงสำหรับเพลงซิมโฟนีของชาวบริติช ที่มีจำนวนเพลงมากมายหลายศิลปินที่มีชื่อเสียง มีการสรรเสริญ จอห์น เลนนอนและ เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ และมีการสถาปนาอุตสาหกรรมแฟชั่นในพิธีปิดด้วย นครรีโอเดจาเนโร ตอบรับการส่งมอบจากกรุงลอนดอนด้วยการแสดงโชว์พิเศษ 8 นาทีที่มีชื่อว่า "โอบหุ้ม" ซึ่งควบคุมโดย เคา แฮมเบอร์เกอร์และแดเนียล โธมัส ร่วมกับเปเล่ มีการกล่าวปราศัยของลอร์ดเซบาสเตียน โคและกลุ่มอาสาสมัครได้รับการขอบคุณ

ผู้ชมราว 23.2 ล้านคนชมสำหรับพิธีนี้ในสหราชอาณาจักร และคาดว่าน่าจะสูงถึง 750 ล้านผู้ชมทั่วโลก ได้รับการตอบรับที่ดี แต่ไม่เหมือนหรือต่างจากพิธีเปิดโอลิมปิกมาก ชาวต่างประเทศบางต่างก็ได้มีการวิจารณ์ถึ กรณีถึงความเข้าใจในบทภาพยนตร์และโทรทัศน์ของชาวบริติช จอร์จ ไมเคิลได้รับการวิพากย์วิจารณ์อย่างรุนแรงสำหรับเพลงที่เขาเลือกใช้ในพิธีนี้ ในขณะเดียวกัน เคท มอส, เนโอมี แคมป์เบลล์ และรัสเซล แบรนด์ก็ได้รับคำติเตียนว่าการแสดงโชว์ของพวกเขาไม่ได้สื่อถึงเรื่องราวความเป็นมิตรภาพของกีฬาโอลิมปิกเหมือนที่เคยทำมา แกรี บาร์โลว์ได้รับคำชมเชยหลังจากที่เกิดเหตุการณ์เสียชีวิตของลูกสาวของเขา นักแสดงบางคนไม่เต็มใจที่จะแสดงโชว์ รวมถึงเหล่าศิลปินต่างก็ยกเลิกไม่ทำการแสดงในโชว์นี้ NBC ในสหรัฐอเมริกาและช่องไพรม์ ทีวีในประเทศนิวซีแลนด์ต่างได้รับการติเตียนถึงการออกอากาศพิธีปิดนี้ แต่ยังมีคอนเสิร์ตที่มีการแสดงที่ไฮด์ปาร์ค นำโดยวงเบลอ

การจัดทำ[แก้]

ผู้ออกแบบและผู้กำกับคือ คิม กาวินและเอส เดฟวลินที่เป็นผู้ได้รับมอบหมายการออกแบบ เดวิด อาร์โนลด์เป็นผู้กำกับด้านเพลง หลังจากที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเดวิด อาร์โนลได้รับหน้าที่นี้ในพิธีปิด ทำให้เขาได้รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากและเป็นโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตของเขา ในขณะที่กาวินนั้นไม่ต่างกัน เขารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้เป็นเกียรติในการทำงานนี้ ส่วนเดฟวลินก็รู้สึกดีใจที่เธอได้เป็นส่วนหนึ่งของ "โชว์ที่ยิ่งใหญ่" (greatest show on earth) ฮูจ โรเบิร์ตสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬาและโอลิมปิกรู้สึกปลาบปลื้มที่ได้มีทีมเวิร์คคุณภาพสูงมาร่วมในพิธีปิดนี้ บอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้กล่าวว่าเรามีประชากรบริติชที่สามารถสร้างการแสดงที่ดีที่สุด สตีเฟ่น ดาลดรีรับหน้าที่ผู้อำนวยการผลิตและมาร์ค ฟิชเชอร์ได้รับบทบาทในผู้ออกแบบการผลิต โดยพิธีปิดนี้ใช้เงินราว 20 ล้านยูโร ซึ่งแบ่งจ่ายให้ศิลปินเพียง 1 ยูโรสำหรับการว่าจ้างสัญญา และนักแสดงที่มีทั้งหมดที่แสดงโชว์ถึง 4,100 คน ประกอบไปด้วยอาสาสมัครประเภทผู้ใหญ่ 3,500 คน, นักเรียน 380 คน จากโรงเรียนทั้ง 6 แห่ง และอีก 250 คนสำหรับมืออาชีพในงาน และมีการฝึกซ้อมโชว์ถึง 15 ครั้งในทรีมิลส์ สตูดิโอและฝึกซ้อมสถานที่จริงในดาเกนแฮมทางตะวันออกของกรุงลอนดอน

กาวินพูดว่า "การแสดงโชว์นั้นเราจะทำให้มันเรืองรอง เต็มไปด้วยสีสัน และเราจะไม่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมเลย เพียงแค่อยากให้มีความสนุก" และเดฟวลินเสริมกาวินว่า "อยากให้รู้สึกเหมือนอยู่ในบอร์กเนอร์และโบโกตา" โดยเหล่าผู้สร้างนั้นมีความสุขตามใจที่จะเลือกการแสดงที่สามารถทำได้ โดยมีชาวบริติชเป็นผู้เสนอการจินตนาการนั้นๆ เดวิด อาร์โนลด์ก็กล่าวว่า "มันน่าจะเป็นสิ่งที่สวยงาม, วิเศษ, ขบขัน และตื่นเต้น และเราสามารถทำมันได้มากกว่า 15 ครั้งโดยไม่มีการแสดงไหนที่ซ้ำกันเลย ยังคงเป็นสิ่งที่ประหลาดใจสำหรับเพลงของชาวบริติช" เขาคิดว่ามันควรจะเป็นปาร์ตี้ที่ดีสุดและน่าจะเป็นการเฉลิมฉลองศิลปะของชาวบริติชไปในตัวด้วย เขายอมอุทิศตนเพื่อพิธีปิดนี้และให้ความสำคัญกับโชว์นี้มากกว่าใคร (ถึงกับต้องวางมือจากผลงานอื่น เช่น สกายฟอล) และยังพูดว่ามันเป็นสิ่งที่สนุกที่สุดที่เขาเคยทำมาในด้านดนตรี ส่วนในพิธีส่งต่อธงโอลิมปิกให้กับกรุงริโอเดจาเนโรนั้นได้มีจุดมุ่งหมายคือขยายความของ "การโอบหุ้มของความหลากหลายวัฒนธรรม" แดเนียล โธมัสได้กล่าวไว้ว่า "ริโอต้องการแสดงโชว์ที่ซับซ้อนของเหล่าวัฒนธรรมที่ถูกผสมเข้ากับวัฒนธรรมป๊อป"

การแสดงลักษณะของธงยูเนียนแจ็กที่ได้ถูกสร้างมาสำหรับสนามกีฬานั้น ได้ออกแบบโดยแดเมียน เฮิร์ส เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง "ความโกลาหลและความหลากหลายของศิลปะป๊อปอังกฤษ โดยขยายพลังงานและความหลากหลายของวัฒนธรรมอังกฤษร่วมสมัย" เฮิร์สได้ทาบทามในเดือนพฤศจิกายน 2555 และเขาตกลงสำหรับงานออกแบบชิ้นนี้ เขาเรียกมันว่าเป็นศิลปะสำหรับยูเนี่ยนแจ็ก สำหรับผู้ที่มีใจรักในโอลิมปิก ภายใต้การออกแบบแนวอิเล็กทริก สตอร์ม เพ้นท์ติ้ง จำนวนภาพถ่าย 176 รูปได้ถูกนำมาขยายในหน่วยเซนติเมตรสำหรับสนามกีฬา พร้อมทั้งผู้ออกแบบกราฟิกที่ใช้เวลาทั้งหมด 3 เดือนเพื่อสร้างรูปภาพความละเอียดสูง ก่อนที่จะนำไปพิมพ์ต่อไป

ศิลปินบางคนได้ปฏิเสธสำหรับการแสดงโชวร์ อาทิ เช่น เดอะโรลลิงสโตนส์, เดวิด โบอี, เซ็กซ์พิสทอลส์, เคท บุช และเดอะ ลิเบอร์ทีนส์ และกรณีนี้ที่ก็เกิดกระแสการตามกัน มีเดอะฮูที่ปฏิเสธที่จะแสดงโชว์ถึง 2 ครั้ง และยอมรับกลับมาแสดงอีกครั้งหลังจากที่มีการประกาศใน ยูเอสทัวร์ และสมาชิกวงสไปซ์เกิลส์ต่างก็ลังเลสำหรับการปรากฏตัวครั้งนี้ เพราะเวทีสำหรับรายการนี้มีต้นทุนต่ำ และหลังจากนั้นผู้จัดการวงไซม่อน ฟูลเลอร์ก็จัดการเรื่องต่างๆให้พวกเธอขึ้นแสดง โนล แกลลาเกอร์ก็ปฏิเสธโอกาสนี้ไป หลังจากที่ถูกร้องขอให้เล่นเพลงแนว อะคูสติกและละครใบ้วันเดอร์วอลล์

พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2และพระสวามีไม่ได้รับการกำหนดการเข้าร่วมพิธีนี้ในฐานะประมุขของรัฐ ซึ่งทางราชวงศ์อังกฤษได้ส่งเจ้าชายแฮรี่, เจ้าหญิงแอนน์ และดัชเชสแห่งเคมบริดจ์มาในพิธีนี้

สรุปการแสดง[แก้]

ชั่วโมงเร่งด่วน (21:00–21:09)[แก้]

สถานที่สำคัญในกรุงลอนดอน

พิธีปิดเริ่มต้นขึ้นด้วยภาพยนตร์สั้น ที่แสดงตัวเลขนับถอยหลังจากสถานที่ต่างๆรอบกรุงลอนดอน เช่น ป้ายบอกทาง, 10 ถนนดาวนิง, หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์, แม่น้ำเทมส์, ทาวเวอร์บริดจ์ ก่อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่สนามกีฬาโอลิมปิก จากนั้นผู้ชมในสนามกีฬาร่วมกันนับถอยหลัง 10 วินาทีที่จะเริ่มพิธีปิดนี้ โดยมีเสียงระฆังบิ๊กเบนกำกับ ภายในสนามกีฬาได้ถูกปรับโครงสร้างเป็นยูเนี่ยนแจ็กขนาดใหญ่สีดำและสีขาวลาดยาวลงไป และมีสถานที่สำคัญๆปรากฏในสนามกีฬา เช่น ลอนดอนอาย, บิ๊กเบน, โรงไฟฟ้าแบตเตอร์ซี, เกอร์คิน กระดาษหนังสือพิมพ์ได้นำมาใช้งานกับยานพาหนะเพื่อสื่อถึงชีวิตในกรุงลอนดอน พร้อมกับข้อความวรรณกรรมของชาวบริติช เช่น วิลเลียม เชกสเปียร์, เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ,นักกวีแครอล แอน ดัฟฟี่

เอมิลี่ แซนเด้ปรากฏตัวบนรถบรรทุกและร้องเพลงบางช่วงเพลง"รีด ออล อะเบาท์ อิท" เออร์บาน วอยซ์ คอลเลคทีฟ(คณะประสานเสียงสำหรับพิธีปิด)ร้องเพลงของเดอะบีทเทิลส์ "บีคอซ" พร้อมทั้งการเล่นเชลโล่ของจูเลียน ลอยด์ เวบเบอร์(นั่งอยู่บนรอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์)เพลงเอลการ์ ซาลูท ดี'อามัวร์ และยังมีการร่วมบรรเลงของสตอมพ์กับอุปกรณ์ครัวเรือนต่างๆ เช่น หม้อ กระทะ ถังขยะ อยู่บนกลางอากาศ โดยแขวนอยู่กับสถานที่ก่อสร้างจำลอง

ก็อดเซฟเดอะควีน[แก้]

ในเวลาเดียวกัน วินสตัน เชอร์ชิล(แสดงโดยทิโมธี สปอลล์))ปรากฏตัวบนยอดบิ๊กเบนและเริ่มปราศัยบทหนึ่งๆของคาลิบาน "บี น็อท อะเฟียร์ด" จากวรรณกรรมเดอะ เทมเพสต์ ซึ่งครั้งแรกถูกกล่าวในพิธีเปิดโดยเคนเนธ บรานาห์ จากนั้นยานพาหนะที่ถูกคลุมด้วยกระดาษก็เริ่มเข้าสู่สนามกีฬา เมื่อเชอร์ชิลกล่าวจบ นักแสดงที่แต่งกายโดยใช้หนังสือพิมพ์ก็เริ่มประจำตำแหน่งในสนามกีฬา เช่นพนักงานออฟฟิศ หรือแม้กระทั่งเด็กนักเรียน และทำนองของเพลงเริ่มเร็วขึ้นและเสียงดังมากขึ้น เป็นการแสดงออกถึงกรุงลอนดอนในชั่วโมงเร่งด่วน จนเชอร์ชิลตะโกนออกมาให้ทุกคนหยุด และสิ้นสุดการแสดงส่วนนี้

เจ้าชายแฮรี่ ตัวแทนจากพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2มาพร้อมกับนายฌาคส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และมีการชักธงยูเนี่ยนแจ็กขึ้นสู่ยอดเสาโดยทหารจากเหล่าทัพและการร้องเพลงชาติของสหราชอาณาจักรโดยทีมนักร้องประสานเสียงเออร์บาน วอยซ์ คอลเลคทีฟและวงออร์เคสตราลอนดอน ซิมโฟนี ออร์เคสตรา

สตรีท ปาร์ตี้ (21:09-21:20)[แก้]

ในภาคนี้เริ่มต้นด้วยการนับตัวเลขถอยหลัง 5 วินาทีของไมเคิล เคน ในขณะที่ในสนามกีฬาปรากฏรถรีลิแอนท์ รีกัลจากซิตคอมเรื่องโอนลี่ ฟูลส์ แอนด์ ฮอร์สเกิดการระเบิด และปรากฏตัวแบทแมนและโรบิน และคำพูดของเคนคุณควรทำเพื่อไม่เกิดการนองเลือด(You were only supposed to blow the bloody door off!) ดังก้องทั่วสนามกีฬา จากนั้นก็มีการนำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆออก และกลายมาเป็นปาร์ตี้ที่มีสีสัน มีแมดเนสแสดงโชว์เพลงเอาร์ เฮ้าส์ ต่อจากนั้นมีการแสดงเพลงของวงเบลอที่มีชื่อว่าพาร์ค ไลฟ์โดยการเดินมาร์ชของเฮ้าส์โฮลด์ ดิวิชั่น มีการแสดงของเพตชอปบอยส์ที่ยืนอยู่บนรถลากในเพลงเวสต์ เอนด์ เกิร์ล ต่อจากนั้นมีการแสดงของวงบอยแบนด์ชื่อดังวัน ไดเรกชันเพลงว๊อท เมค ยู บิวตี้ฟูล จากนั้นปิดท้ายด้วยการแสดงของสตอมป์

วอเตอร์ลู ซันเซท (21:20–21:30)[แก้]

ณ ศูนย์กลางของสนามกีฬาได้ถูกนำสิ่งต่างๆออกไป และมีการแสดงยิมนาสติกด้วยผู้ชนะในรายการบริเตน ก็อต ทาเลนต์วงสเปลบาวน์ในเพลงของเดอะบีทเทิลส์ในชื่ออะ เดย์ อิน อะ ไลฟ์ โดยมีแรงบันดาลใจคือไอเดียในการทำงานต่างบ้าน แสดงเป็นเตียงนอนและรถบัสลอนดอน จากนั้นเรย์ เดวี่ส์สมาชิกเดอะ คิงค์สร้องเพลงวอเตอร์ลู ซันเซทและสเปลบาวน์ก็ยังดำเนินแสดงยิมนาสติกต่อไป และจบภาคนี้ด้วยการร้องเพลงของเอมิลี่ แซนเด้ในเพลงรีด ออล อะเบ๊าท์ อิทและภาพรวมของนักกีฬา

พาเรดนักกีฬา (21:30–21:53)[แก้]

นักกีฬาโอลิมปิกมาเป็นส่วนหนึ่งของรูปร่างยูเนี่ยนแจ็ก

กรีซ เป็นประเทศแรกที่นำธงทั้งหมด 204 ผืนเข้าสู่สนามกีฬา พร้อมกับเพลง"พาเรด ออฟ แอทลีท"(แต่งโดยเดวิด อาร์โนลด์) และเดินตลอดสนามกีฬา และขบวนธงปิดท้ายด้วยประเทศบริเตนใหญ่ ขณะเดียวกันก็มีอาสาสมัครแต่งกายด้วยชุดและหมวกสีน้ำเงินที่มีหลอดไฟติดอยู่เข้ามาช่วย นักกีฬาเดินเข้ามาศูนย์กลางจากหลายทางเข้า วงเอลโบวร้องเพลงโอเพ่น อาร์มและวัน เดย์ ไลค์ ธีส เหล่าอาสาสมัครต่างช่วยจัดการพื้นที่ และท้ายสุดนั้นได้มีการย้ายตำแหน่งธงไปที่คบเพลิงโอลิมปิกและการบรรเลงของเพลงในส่วนแรก

เฮียร์ คัม เดอะ ซัน (21:53–22:07)[แก้]

เริ่มต้นด้วยการบรรเลงกลองจากนักดนตรี 16 คนจากกลองสองหน้า และมีการนำกล่องสีขาว 303 กล่อง ซึ่งแทนถึงกีฬาที่มีการแข่งขันรายการทั้งหมดในโอลิมปิก เพลงต่างๆถูกนำมาบรรเลงร่วมกับนักดนตรี เช่น เพลงของเคทบุชชื่อรันนิ่ง อัพ แธ๊ด ฮิล และนักแสดงเริ่มเรียงกล่องให้เป็นรูปพีระมิด มีการแสดงวิดีโอเหตุการณ์สำคัญต่างๆทั้งหมด 16 วันที่ผ่านมาบนจอ

ต่อจากนั้นมามีพิธีมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศในรายการวิ่งมารธอนชาย โดยเป็นธรรมเนียมที่จะต้องแจกเหรียญสุดท้ายในพิธีปิด นายฌาคส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเป็นผู้มอบเหรียญรางวัล และนายลามีน ดิแอค ประธานสมาคมระหว่างประเทศของกรีฑาสหภาพเป็นผู้มอบดอกไม้ และการบรรเลงเพลงชาติยูกันดา

นักกีฬา 6 คน อาทิ เช่น แคทเธอรีน เกรนเจอร์และเคที่ เทย์เลอร์ มอบดอกไม้แสดงการขอบคุณให้กับอาสาสมัครทั้ง 6 ที่เป็นตัวแทนจากทั้งหมด 70,000 คนในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยมีเพลงของเดอะบีทเทิลส์ในชื่อเฮียร์ คัม เดอะ ซันเป็นเพลง ประกอบ

เพลงซิมโฟนีของชาวบริติช(22:07–23:21)[แก้]

A sculpture of the face of John Lennon at the closing ceremony.

ส่วนนี้เริ่มด้วยเพลงของควีน "โบฮีเมียนแรปโซดี" ได้บรรเลงและกราฟิคอีควอไลเซอร์แสดงบนป้ายไฟพิกเซล จากนั้นจอห์น เลนนอนปรากฏบนจอภาพและร่วมร้องเพลงอิแมจินโดยคณะประสานเสียงของลิเวอร์พูล จากนั้นรูปสลักของเลนนอนก็ถูกสร้างขึ้น และมีการปล่อยลูกโป่งเป็นการจบการแสดงส่วนนี้ ต่อจากนั้นมาจอร์จ ไมเคิลได้ร้องเพลง "ฟรีด้อม! '90"และ"ไว้ท์ ไลท์" และขบวณรถสกูตเตอร์ได้ขับเข้ามาในสนามกีฬา นำโดยริกกี้ วิลสัน และสมาชิกทีมของเขาที่รออยู่บนเวทีไคเซอร์ ชีฟส์ร้องเพลงของเดอะฮูเพลงพินบอล วิซาร์ด และขบวนรถสกูตเตอร์ก็วิ่งวนไปรอบ ๆ สนามกีฬาจนกระทั่งเพลงจบ และเพลงของเดวิด โบอีก็ถูกเปิดขึ้น พร้อมกับรูปภาพของเขา มีภาพ 8 ภาพเป็นงานศิลปะเข้าสู่สนามกีฬา หมายถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นของชาวบริติช มีนักแสดงเช่น เนโอมี แคมป์เบลล์ (สวมยี่ห้ออเล็กซานเดอร์ แมคควีน), ลิลี่ โคล (สวมยี่ห้อเออร์เดม), คาเรน เอลสัน (สวมยี่ห้อเบอร์เบอรี่), ลิลี่ โดนัลด์สัน (สวมยี่ห้อวิเวียน เวสต์วูด), จัวแดน ดันน์ (สวมยี่ห้อโจนาธาน ซานเดอร์), เดวิด แกนดี้ (สวมยี่ห้อพอล สมิธ), จอร์เจีย เมย์ แจกเกอร์ (สวมยี่ห้อวิกทอเรีย เบคแคม), เคท มอส (สวมยี่ห้ออเล็กซานเดอร์ แมคควีน) และสเตลล่า เทนแนนท์สวมยี่ห้อคริสโตเฟอร์ เคนน์) เหล่านายแบบและนางแบบได้เดินเข้าสู่ศูนย์กลางของสนามกีฬา เปรียบเสมือนแคทวอล์ก พร้อมกับเพลงของโบอีปี 1980 แฟชั่น

อ้างอิง[แก้]