พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
การแสดงพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 | |
วันที่ | 23 กรกฎาคม 2021 |
---|---|
เวลา | 20:00 - 23:30 JST (UTC+9) |
ที่ตั้ง | โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น |
ถ่ายทำโดย | โอบีเอส ในนามสมาพันธ์การกระจายเสียงและแพร่ภาพเฉพาะกิจแห่งญี่ปุ่น |
เป็นส่วนหนึ่งของ |
พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (อังกฤษ: 2020 Summer Olympics opening ceremony) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น กรุงโตเกียว[1][2] ตามข้อบังคับของกฎบัตรโอลิมปิก การดำเนินการจะผสมกันทั้งรูปแบบทางการและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ รวมถึงการกล่าวต้อนรับ การเชิญธง และขบวนพาเหรดของนักกีฬา พร้อมการแสดงทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศเจ้าภาพ โดยส่วนหนึ่งเป็นการแสดงภายในสนามกีฬา และบางส่วนมีการถ่ายทำแบบเสมือนจริงพร้อมถ่ายทอดทางไกล
ราคาตั๋วสำหรับพิธีเปิดคาดว่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง 12,000 ถึง 300,000 เยน ก่อนที่จะมีการประกาศห้ามผู้เข้าชมในสนาม ตามมาตรการทางสาธารณสุข อันสืบเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[3][4]
พิธีการ
[แก้]ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ในการนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิในฐานะพระประมุขแห่งรัฐตามกฎบัตรโอลิมปิก ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการแข่งขัน นับเป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่สามที่ทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ พระบรมอัยกาธิราช (โอลิมปิกฤดูร้อน 1964, โอลิมปิกฤดูหนาว 1972) และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระบรมชนกนาถ (โอลิมปิกฤดูหนาว 1998) นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ยังทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกกิตติมศักดิ์ในการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020[5] อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่นพระองค์อื่น ๆ มิได้ตามเสด็จในพิธีเปิดด้วย[6]
นอกจากนี้ ยังมีบุคคลสำคัญอื่นที่เข้าร่วมพิธี อาทิ แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 2024, จิล ไบเดิน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐ เจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 2028, แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก, พัน กี-มุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ, เตโวโดรส อัดฮาโนม ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก และ พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เป็นต้น
นาโอมิ โอซากะ นักกีฬาเทนนิส เป็นผู้จุดไฟในกระถางคบเพลิง[7] ซึ่งออกแบบโดยโอกิ ซาโต ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ เช่นเดียวกับโยชิโนริ ซาไก ผู้จุดไฟในกระถางคบเพลิงเมื่อปี 1964[8]
ลำดับพิธีเปิด
[แก้]เดิมพิธีเปิดมีระยะเวลาสามชั่วโมงครึ่ง โดยเริ่มต้นในเวลา 20 นาฬิกาตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น[9] การแสดงในพิธีเปิดมีหลายช่วง โดยบางช่วงมีการบันทึกวิดีโอไว้ก่อนแล้ว[10] การแสดงในแต่ละส่วนภายใต้ธีม "ก้าวไปข้างหน้า" (Moving Forward) มีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป[11] โดยชื่อการแสดงเป็นชื่อที่ตั้งโดยฝ่ายจัดงาน[12][13][14][15][16][17][18][19][20]
โหมโรง: สถานที่เริ่มต้นเรื่องราว (Where the Stories Begin)
[แก้]ในวันที่จะมีพิธีเปิด มีการแสดงบินโชว์ของบลูอิมพัลส์ซึ่งเป็นฝูงบินของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น เครื่องบินพ่นไอเป็นรูปวงแหวนโอลิมปิกเหนือน่านฟ้าโตเกียวเพื่อเป็นฉลองครบรอบ 57 ปีของการจัดโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกที่โตเกียวในปี 1964[21][22]
ห่างกันแต่ไม่เดียวดาย (Apart but not Alone)
[แก้]มีการแสดงวิดีโอรีแคปก่อนที่โตเกียมเกมส์จะมาถึง โดยเริ่มต้นจากภาพตอนที่ประกาศผลเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 125 เมื่อปี 2013 ต่อด้วยการทำงานหนักและการฝึกซ้อมของนักกีฬา จากนั้นเป็นภาพจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2016และการคัดเลือกนักกีฬา ปิดท้ายเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในปี 2020 ซึ่งทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และนักกีฬาต้องทำการฝึกซ้อมจากที่บ้านผ่านการประชุมวิดีโอ
การแสดงชุดแรกของพิธีการ แสดงออกถึง "ศิลปะดิจิทัลและเทคโนโลยีการฉายภาพโปรเจ็กชันอย่างลึกซึ้งของญี่ปุ่น"[23] มีการฉายภาพดิจิทัลกราฟฟิกบนพื้นของกลางสนาม ซึ่งมีนางพยาบาลและอาริสะ สึบาตะ นักมวยผู้ชนะการแข่งขันระดับประเทศหลังได้เริ่มเล่นเพียงสองปี[24] แต่ไม่สามารถลงแข่งขันกรีฑาได้เนื่องจากการคัดเลือกถูกยกเลิก[25] กำลังวิ่งบนลู่วิ่ง[26] มีนักแสดงสมทบเข้ามาปั่นจักรยาน ดึงยืดตัว วิ่งอยู่กับที่ และเต้น และมีการฉายภาพลูกบอลแสงไฟด้วย[25] สิ่งนี้สื่อถึง "ชะตาชีวิตของนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมในช่วงสถานการณ์อันยากลำบากเพื่อแข่งขันในรายการนี้"[23]
ต่อมามีนักเต้นสวมชุดสีขาวพร้อมริบบินสีแดง สื่อถึง "การพรรณาการทำงานหนักทั้งกายและใจ"[27]
การต้อนรับจากเจ้าภาพ (A Welcome from the Host)
[แก้]การแสดงในลำดับถัดมาเป็นการร้องเพลงชาติญี่ปุ่น[23] ของมีเชียที่สวมชุดที่ "แสดงออกถึงการให้เกียรติกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและเป็นสัญลักษณ์ของการรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมของคนกลุ่มนี้" ชุดนี้ออกแบบโดยโทโมะ โคอิซูมิ[28] หลังจากที่เพลงชาติจบลง[27] มีพิธีการที่แสดงความอาลัยแก่บุคคลที่เสียชีวิตจากการระบาดทั่วของโควิด-19, แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุเมื่อปี 2011[23] และการสังหารหมู่ที่มิวนิกในปี 1972 หลังจากที่แสดงความไว้อาลัยแล้ว[11] นักแสดง มิราอิ โมริยามะ ได้ปรากฏตัวในชุดสีขาวเพื่อแสดงการเต้นบูโตที่กลางสนาม พร้อมกับการบรรเลงดนตรีที่ฟังดูเศร้าหมอง ก่อนที่ความเงียบจะเข้าครอบงำช่วงเวลาสำคัญช่วงหนึ่งของพิธีการ[29]
มรดกที่สืบทอดกันมา (A Lasting Legacy)
[แก้]มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ห้าห่วงของกีฬาโอลิมปิกซึ่งทำขึ้นมาจากไม้ที่ปลูกในปี 1964 ซึ่งเป็นปีที่จัดโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียวครั้งก่อนหน้า หลังจากนั้นได้มีการแสดงเต้นแท็ปโดยนักแสดงที่สวมผ้าคลุมฮันเต็ง ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว ผ้าคลุมจะสวมใส่โดยช่างฝีมือและช่างไม้ในยุคเอโดะในช่วงเทศกาลฤดูร้อนของญี่ปุ่น[28][23] การแสดงนี้ถูกเรียกว่าเป็นการจำลองหมู่บ้านโอลิมปิก[27] หรือมัตสึริ สัญลักษณ์ห้าห่วงถูกนำแสดง รายล้อมไปด้วยโคมไฟกระดาษญี่ปุ่น[30]
ต่อมาได้มีการฉายวิดีโอที่มีการบันทึกไว้ก่อนแล้ว วิดีโอแสดงถึงมุฮัมมัด ยูนูสที่ได้รับรางวัลโอลิมปิกลอเรลที่บังกลาเทศ ทั้งนี้ ยูนูสไม่สามารถเดินทางไปร่วมพิธีเปิดที่ญี่ปุ่นได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางของบังกลาเทศ[31][32]
อยู่พร้อมหน้ากัน (Here Together)
[แก้]ขบวนพาเหรดแห่งชาติ
[แก้]ขบวนพาเหรดแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยนักกีฬาตัวแทนของแต่ละประเทศเดินเข้าสู่สนาม[23] กรีซจะเป็นชาติแรกที่เดินเข้าสู่สนามตามธรรมเนียมโอลิมปิก ตามด้วยนักกีฬาจากประเทศที่เหลือ เรียงตามอักษรญี่ปุ่น (คานะ) แบบโกจูอง นับเป็นครั้งแรกที่เรียงลำดับด้วยระบบนี้เนื่องจากโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นครั้งก่อนหน้าเรียงลำดับประเทศตามอักษรภาษาอังกฤษ[33] เจ้าภาพอย่างญี่ปุ่นจะเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับสุดท้ายตามธรรมเนียมโอลิมปิก
ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับที่สองต่อจากกรีซ นี่เป็นครั้งแรกของพิธีเปิดที่ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งถัดไปอย่างสหรัฐ (2028) และฝรั่งเศส (2024) จะเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับรองสุดท้ายก่อนญี่ปุ่น[23] แทนที่จะเป็นลำดับที่ 7 และ 154 ตามลำดับอักษรญี่ปุ่น[34] ชื่อของประเทศจะถูกประกาศเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นภาษาของประเทศเจ้าภาพ
ป้ายที่แสดงชื่อประเทศเขียนด้วยอักษรภาษาญี่ปุ่นและอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งอยู่คนละด้านของป้าย ป้ายมีกรอบคำพูดล้อมรอบชื่อประเทศเพื่อแสดงถึงภาพในมังงะ[28] ในขณะที่ผู้ถือป้ายสวมชุดที่เป็นโทนมังงะ[24]
นักกีฬาที่เดินเข้าสู่สนามของแต่ละประเทศมีจำนวนน้อยกว่าปกติเมื่อเทียบกับโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐและออสเตรเลียมีนักกีฬาเดินเข้าสู่สนามเพียง 200 และ 63 คน จากเดิม 613 และ 472 คนตามลำดับ[35]
อาร์เจนตินา,[36] กานา[24] และอีกหลายชาติ ร้องเพลงชาติตอนเดินเข้าสู่สนาม บัญชีทวิตเตอร์ของโตเกียวเกมส์ลงรูปนักกีฬาชาวเอริเทรียคนหนึ่งนอนลงกับพื้น[37] ในขณะที่นักกีฬาคนอื่นต่างก้มมองดูโทรศัพท์ของตน[11] นักกีฬาจากรัสเซีย ซึ่งมีปัญหาในการตรวจสอบการใช้สารกระตุ้น ไม่สามารถใช้ชื่อประเทศและธงชาติรัสเซียได้ จึงใช้ชื่อและธงสัญลักษณ์คณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย (ROC) แทน[38] ญี่ปุ่นสลับสีเครื่องแต่งกายจากที่พวกเขาเคยใส่ตอนพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964[39] ในขณะที่ฝรั่งเศส เดินเข้าสู่สนามโดยแบ่งเป็นสามแถวตามสีชุด เพื่อแสดงถึงธงไตรรงค์[40] พีตา เตาฟาโตฟัว ผู้เชิญธงชาติของตองงา และริโอ ริอิ ผู้เชิญธงชาติของวานูอาตู เดินเข้าสู่สนามโดยทาน้ำมันและถอดเสื้อ[35] นักกีฬาบางคนที่เป็นตัวแทนของคีร์กีซสถานและทาจิกิสถานและผู้เชิญธงชาติของปากีสถานเดินเข้าสู่สนามโดยไม่สวมหน้ากาก[41] มุฮัมมัด มาโซ นักกีฬาตัวแทนจากซีเรียได้กลับมาพบกับพี่ชายของเขา อะลา ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย[42]
นี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้เชิญธงชาติของแต่ละประเทศถึงสองคน แบ่งเป็นชายและหญิงเพศละหนึ่งคน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ[43]
ระหว่างที่นักกีฬาเดินเข้าสู่สนาม มีคำเตือนในสนามให้นักกีฬารักษาระยะห่างระหว่างกัน นับตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงห้องสุขา[24]
ระหว่างพาเหรดนั้น เจ้าภาพได้มีการนำดนตรีจากวิดีโอเกมญี่ปุ่นเปิดประกอบ ดังนี้[28][44][45][46][47]
- ดราก้อนเควสต์ – Roto’s Theme
- ไฟนอลแฟนตาซี – Victory Fanfare
- Tales of Zestiria – Sorey’s Theme - The Shepherd
- Monster Hunter – Proof of a Hero
- คิงดอมฮาตส์ – Olympus Coliseum
- โครโนทริกเกอร์ – Frog’s Theme
- เอซคอมแบต – First Flight
- Tales of Graces Royal – Capital Majestic Grandeur
- Monster Hunter – Wind of Departure
- Chrono Trigger – Robo’s Theme
- โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก – Star Light Zone
- Pro Evolution Soccer – eFootball Walk-on Theme
- Final Fantasy – Main Theme
- Phantasy Star Universe – Guardians
- Kingdom Hearts – Hero’s Fanfare
- กราดิอุส – 01 Act I-1
- Nier – Song of the Ancients
- SaGa – The Minstrel’s Refrain: SaGa Series Medley 2016
- โซลคาลิเบอร์ – The Brave New Stage of History
คติพจน์ใหม่และการกล่าวคำปฏิญาณ
[แก้]ขบวนพาเหรดแห่งชาติสิ้นสุดลงพร้อมมีข้อความคติพจน์ "เร็วขึ้น สูงขึ้น แข็งแรงขึ้นด้วยกัน" (Faster, Higher, Stronger - Together) ฉายลงบนพื้นสนามระหว่างกลุ่มนักกีฬาที่ถูกแบ่งเป็นสี่ส่วนหลังจากที่พวกเขาเดินเข้ามา[23] ต่อมามีการแสดงข้อความของคริสตี คอเวนทรีเพื่อแนะนำคำปฏิญาณโอลิมปิกรูปแบบใหม่ ซึ่งมีจุดหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวและบทบาทของนักกีฬา ผู้ตัดสิน และผู้ฝึกสอนในฐานะผู้แทนประเทศ[48] คำปฏิญาณถูกกล่าวขึ้นโดยนักกีฬาตัวแทนจากโตเกียวทั้งหมด 6 คนว่า[49]
ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่าจะเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยความเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกา มีน้ำใจนักกีฬา ความเป็นหนึ่งเดียว และความเท่าเทียมกัน ข้าพเจ้าจะเล่นกีฬาด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ไม่มีการใช้สารกระตุ้น ไม่มีการฉ้อโกง และไม่มีการเลือกข้าง ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามเพื่อเกียรติยศของทีม ด้วยความเคารพในหลักการพื้นฐานของกีฬาโอลิมปิกและความต้องการให้โลกนั้นดีขึ้นด้วยการแข่งขันกีฬา
เพลงชาติ
[แก้]- – คิมิงาโยะ, เพลงชาติของญี่ปุ่น ขับร้องโดย มีเชีย
- – เพลงสดุดีโอลิมปิก ขับร้องเป็นภาษาอังกฤษโดย คณะนักเรียนประสานเสียงแห่งฟูกูชิมะ
สนาม
[แก้]สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่เป็นสนามกีฬาหลักในพิธีเปิด การรื้อถอนสนามกีฬาแห่งชาติเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 การก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่เริ่มขึ้นที่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สนามกีฬาถูกส่งมอบไปยัง IOC เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เพื่อเตรียมการ หากโรคระบาดไม่เกิดขึ้น ความจุของสนามกีฬาระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะอยู่ที่ 60,102 ที่นั่ง รวมทั้งพื้นที่สำหรับสื่อมวลชนและที่นั่งผู้บริหาร[50]
เพลิง
[แก้]ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ผู้จัดการแข่งขันกล่าวว่าแม้ว่ากระถางคบเพลิงโอลิมปิกจะถูกจุดและดับอย่างเป็นทางการที่สนามกีฬา แต่ในช่วงเวลานอกพิธีการดังกล่าว เพลิงจะถูกย้ายไปยังกระถางคบเพลิงที่แยกต่างหาก (เช่นเดียวกับโอลิมปิกปี 2010 และ 2016) ที่ริมแม่น้ำโตเกียว และย้ายเพลิงกลับมายังกรีฑาสถานแห่งชาติเพื่อทำพิธีปิด ผู้จัดงานอ้าง "ความยุ่งยากทางกายภาพ" ที่ไม่ระบุรายละเอียดในการรักษาคบเพลิงที่สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่[51]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Olympic Competition Schedule". 19 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
- ↑ Panja, Tariq; Rich, Motoko (30 March 2020). "Summer Olympics in Tokyo to Start on July 23, 2021". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
- ↑ "Tokyo 2020 Olympics opening ceremony ticket price ceiling set at ¥288,000". The Japan Times. 15 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
- ↑ "Japanese rush to buy Tokyo Olympic tickets on first day". USA TODAY. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
- ↑ Emperor to declare opening of Tokyo Games at ceremony
- ↑ "Naomi Osaka lights the cauldron". The New York Times. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 July 2021.
- ↑ Cascone, Sarah (23 July 2021). "A Look at the Artists and Artworks Behind the Extravagant Opening Ceremony of Tokyo's Olympic Games". Artnet. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ Mather, Victor (2021-07-23). "Here's what to expect during the opening ceremony". The New York Times. ISSN 1553-8095. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Savage, Nic (17 July 2021). "Mystery surrounds performers for Olympic Games Opening Ceremony". News.com.Au. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "Naomi Osaka lights the cauldron". The New York Times. 2021-07-23. ISSN 1553-8095. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
- ↑ "1. WHERE THE STORIES BEGIN". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "2. APART BUT NOT ALONE". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "3. A WELCOME FROM THE HOST". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "4. A LASTING LEGACY". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "5-2. HERE TOGETHER". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "6. PEACE THROUGH SPORT". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-31. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "7. LET THE GAMES BEGIN". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "8. TIME TO SHINE". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-31. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "9. HOPE LIGHTS OUR WAY". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ Takenaka, Kiyoshi (2 July 2021). "True heroes in Tokyo will be medical workers, says pilot from 1964 Games". Reuters. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ NEWS, KYODO (23 July 2021). "IN PHOTOS: Japanese ASDF's Blue Impulse aerobatic team flies over Tokyo". Kyodo News. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 23.6 23.7 Steen, Emma (2021-07-24). "In photos: 8 best moments from the Tokyo Olympics opening ceremony". Time Out. ISSN 0049-3910. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Gregory, Sean; Park, Alice; Chen, Aria (2021-07-23). "What You Didn't See on TV at the Tokyo Olympics Opening Ceremony". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ 25.0 25.1 Chaney, Jen (2021-07-23). "Welcome to the 'What Are We Doing Here?' Olympics". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Lane, Barnaby (2021-07-23). "The Japanese boxer who opened the Tokyo Olympics was denied a chance to actually compete in the games because her qualifier was cancelled". Insider Inc. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 Wong, Wilson (2021-07-23). "Tokyo Olympics opening ceremony features Naomi Osaka, blue humans and Tongan flag-bearer". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 Steen, Emma (2021-07-24). "Explained: the Japanese symbolism you missed at the Tokyo Olympics opening ceremony". Time Out. ISSN 0049-3910. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Belam, Martin (23 July 2021). "Eleven outstanding moments from the Olympic opening ceremony | Martin Belam". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ Wharton, David (2021-07-23). "Tokyo opening ceremony clings to traditions on a backdrop of humility". Los Angeles Times. ISSN 2165-1736. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
- ↑ "Bangladesh's Nobel laureate to become the second recipient of Olympic Laurel". 21 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ "Olympic Laurel Muhammad Yunus will not attend Tokyo 2020 Opening Ceremony".
- ↑ "Japanese language to determine order of Olympic parade of athletes". Mainichi Japan. 30 October 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ "U.S., France, Japan to march last in 2020 Parade of Nations". The Japan Times. 4 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-06. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
- ↑ 35.0 35.1 Ramsay, George (2021-07-23). "Catch up: Here's what happened at the Tokyo 2020 Opening Ceremony". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Preti, Conz (2021-07-23). "The Argentine athletes brought the party to the Olympic opening ceremony". Insider Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Davis, Scott (2021-07-23). "An Eritrean Olympian laid down on the ground during the marathon Olympic parade of nations". Insider Inc. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Panja, Tariq (2021-07-26). "Russia Is Banned, Yet It's Everywhere at the Games". The New York Times. ISSN 1553-8095. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
- ↑ Ajello, Erin (2021-07-24). "14 details you might've missed during the Tokyo 2020 opening ceremony". Insider Inc. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Rabimov, Stephan (2021-07-23). "Olympics 2021: The Most Stylish Uniforms From The Tokyo Games". Forbes. ISSN 0015-6914. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ "Mask-shy Kyrgyzstan, Tajikistan rain on COVID-compliant opening parade". Reuters. 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
- ↑ "Syrian athlete brothers separated by war hug at Tokyo Olympics Opening Ceremony". Arab News. 25 July 2021.
- ↑ Grohmann, Karolos (4 March 2020). "IOC to allow male/female flagbearers at Tokyo Games". Reuters.
- ↑ "ドラクエ、FF、モンハン日本生まれのゲーム音楽で選手入場/使用曲一覧 – 東京オリンピック2020 : 日刊スポーツ". Nikkan Sports. 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 23 July 2021.
- ↑ McWhertor, Michael (2021-07-23). "The Olympic opening ceremony was full of video game music". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ Park, Gene (July 23, 2021). "The music for the Tokyo Olympics Opening Ceremonies? It comes from video games". Washington Post. สืบค้นเมื่อ July 27, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Baker, Danica (24 July 2021). "Here's all the video game music played at the Tokyo Olympics opening ceremony". The Brag. สืบค้นเมื่อ 27 July 2021.
- ↑ Palmer, Dan (23 July 2021). "Tokyo 2020 Olympic Games: Opening Ceremony". Inside the Games. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ Tapp, Tom (15 July 2021). "Olympic Oath Changed To Highlight Inclusion, Non-Discrimination And Equality For Tokyo Games' Opening Ceremony". Deadline. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "技術提案等審査委員会". www.jpnsport.go.jp.
- ↑ Rowbottom, Mike (18 December 2018). "Tokyo 2020 confirms it will use Olympic flame cauldrons in stadium and on the waterfront". insidethegames.biz.