พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022
วงแหวนโอลิมปิกและแท่นคบเพลิงทรงเกล็ดหิมะ | |
วันที่ | 4 กุมภาพันธ์ 2022 |
---|---|
เวลา | 20:00 - 22:20 (เวลาปักกิ่ง, UTC+8) |
สถานที่ | สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง |
ที่ตั้ง | ปักกิ่ง, ประเทศจีน |
พิกัด | 39°59′30″N 116°23′26″E / 39.99167°N 116.39056°E |
แก่น | One World, One Family |
ถ่ายทำโดย | ซีซีทีวี และโอบีเอส |
ภาพยนตร์ | วิดีโอพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 บันทึกภาพโดย โอบีเอส |
พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 (อังกฤษ: 2022 Winter Olympics opening ceremony, จีน: 2022年冬季奧林匹克運動會開幕式; พินอิน: Èr Líng Èr'èr Nián Dōngjì Àolínpǐkè Yùndònghuì Kāimùshì) จัดขึ้นเมื่อในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ตามข้อบังคับของกฎบัตรโอลิมปิก การดำเนินการจะผสมกันทั้งรูปแบบทางการและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ รวมถึงการกล่าวต้อนรับ การเชิญธง และขบวนพาเหรดของนักกีฬา พร้อมการแสดงทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศเจ้าภาพ[1]
ภาพรวม
[แก้]สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานในพิธีดังกล่าว[2] และจาง อี้โหมว ผู้อำนวยการแสดงในพิธีเปิดและพิธีปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งจัดในสถานที่เดียวกับพิธีการนี้ ได้กลับมาเป็นผู้อำนวยการแสดงอีกครั้ง[3][4]
แนวคิดของพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของจีนในการนำสันติภาพสู่โลก, คติพจน์ของโอลิมปิก "เร็วขึ้น สูงขึ้น แข็งแรงขึ้นไปด้วยกัน" และคำขวัญของการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ "ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน"[5]
จาง อี้โหมว กล่าวว่า ด้วยสภาพอากาศและมาตรการทางสาธารณสุข การแสดงในพิธีเปิดจะใช้เวลาไม่เกิน 100 นาที ใช้นักแสดงไม่เกิน 3,000 คน และเป็นการผสมผสานระหว่างการแสดงศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมกับศิลปะสมัยใหม่ โดยใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า[6] การซ้อมใหญ่พิธีเปิดครั้งแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 4,000 คน[7][8] และการซ้อมใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนพิธีการจริง มีขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์[9]
รายละเอียดพิธีการ
[แก้]พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 จัดขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง โดยมีการติดตั้งแผงควบคุมจอแอลอีดีจำนวน 40,000 ชุด คลุมพื้นสนามทั้งหมดและบางส่วนของอัฒจันทร์ตรงข้ามประธาน รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 10,552 ตารางเมตร นับเป็นจอแอลอีดีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[10][11] โดยช่วงสำคัญของพิธีเปิด มีดังต่อไปนี้
การนับถอยหลังสู่ฤดูใบไม้ผลิ
[แก้]พิธีการเริ่มต้นด้วยการนับถอยหลังที่อ้างอิงจากการนับฤดูกาล 24 ภาวะ ตามปฏิทินจีน โดยวันเปิดการแข่งขันนั้นตรงกับวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ และยังสะท้อนถึงการจัดโอลิมปิกฤดูหนาวเป็นครั้งที่ 24 ด้วย[12] จากนั้นกลุ่มนักแสดงถือแท่งแอลอีดีสีเขียวรวมตัวกันกลางสนาม เพื่อจำลองวงจรชีวิตของดอกแดนดิไลอันที่จะเปลี่ยนเป็นสีขาวและถูกลมพัดปลิวเพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์[13]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีเชิญธงชาติ
[แก้]ตัวแทนเยาวชนจำนวนสิบสองคนเชิญธงชาติส่งต่อไปยังตัวแทนชนเผ่าและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ สื่อให้เห็นถึงความสามัคคีและความสำคัญของธงชาติ ธงได้ถูกส่งต่อไปยังทหารกองเกียรติยศกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนจำนวนแปดนาย เพื่อการคลี่ปลายธงและเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา พร้อมกับการบรรเลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ เพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[13]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วงแหวนน้ำแข็ง
[แก้]หลังจากพิธีเชิญธงชาติ จอแอลอีดีได้ฉายภาพหมึกจีนที่หยดจากฟ้าลงมาเป็นสายคลื่นแม่น้ำหวง แล้วจับตัวเป็นก้อนน้ำแข็ง แสงเลเซอร์ 24 ลำ ได้ฉายไปยังฉากน้ำแข็งนั้น แสดงชื่อเมืองรวมถึงปีจัดโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ผ่านมา 23 ครั้ง และได้รวมกันเพื่อแสดงชื่อเมืองและปีการแข่งขันครั้งนี้ "ปักกิ่ง จีน 2022" ต่อมานักฮอกกี้น้ำแข็ง 6 คน ตีลูกยางใส่ก้อนน้ำแข็งดังกล่าวให้แตกตัวเป็นวงแหวนโอลิมปิก ซึ่งได้ลอยสูงจากพื้นสนาม พร้อมกับประตูน้ำแข็งด้านหลังได้เปิดออก เพื่อเตรียมต้อนรับพาเหรดนักกีฬา[13][14][15]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ขบวนนักกีฬา
[แก้]ขบวนนักกีฬาของกรีซเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับแรกตามธรรมเนียมโอลิมปิก จากนั้นตามด้วยชาติต่าง ๆ เรียงตามลำดับจำนวนขีดของอักษรจีน[16] ยกเว้นอิตาลี เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2026 และจีน เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ซึ่งเข้าสู่สนามเป็นสองกลุ่มประเทศสุดท้าย ตามลำดับ[17]
เมื่อขบวนนักกีฬาจีนเข้าประจำที่อัฒจันทร์แล้ว นักแสดงผู้ถือป้ายชื่อรูปเกล็ดหิมะของทั้ง 91 ชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ได้นำป้ายชื่อดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งมีชื่อประเทศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน (ยกเว้นนักกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซียที่ใช้อักษรย่อ ROC เพียงอย่างเดียว) ประกอบกันกับโครงสร้างช่อมะกอก เป็นเกล็ดหิมะขนาดใหญ่[18] โดยโครงสร้างดังกล่าวสื่อให้เห็นถึง "ความสามัคคี" และ "ความรุ่งเรือง"[14]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีการโอลิมปิก
[แก้]หลังจากนายไค ฉี ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กล่าวต้อนรับนักกีฬาแล้ว[18] โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้กล่าวแสดงความขอบคุณต่อทั้งชาวจีนที่ร่วมจัดโอลิมปิกคราวนี้ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ร่วมต่อสู้กับภาวะระบาดของโควิด-19 บัคยังกล่าวว่าผู้นำทั่วโลกควรให้โอกาสสร้างสันติในการแข่งขันโอลิมปิก[14][19] และนักกีฬาควร "แสดงให้เห็นว่าโลกควรเป็นอย่างไร ถ้าเราเคารพกฎเดียวกัน และตัวตนของกันและกัน"[15] นอกจากนี้ บัคยังเรียกร้องให้ยุติการเลือกปฏิบัติต่อชนชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะต่อชาวเอเชียทั่วโลก[18] จากนั้น สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งประเทศจีน ได้กล่าวเปิดการแข่งขัน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจุดเพลิงโอลิมปิก
[แก้]Dinigeer Yilamujiang และจ้าว เจียเหวิน เป็นผู้วิ่งคบเพลิงโอลิมปิกสองคนสุดท้าย และนำคบเพลิงดังกล่าววางบนแท่นใจกลางโครงสร้างรูปเกล็ดหิมะซึ่งประกอบขึ้นมาจากป้ายชื่อ 91 ชาติสมาชิกไอโอซี[15] จาง อี้โหมว ผู้กำกับการแสดงกล่าวว่า การใช้วิธีจุดเพลิงเช่นนี้เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างมาตรฐานเกมกีฬาที่ "มีความเป็นกลางทางคาร์บอน"[13][14][20][21]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุคคลสำคัญที่เข้าร่วมพิธี
[แก้]บุคคลสำคัญที่มีกำหนดการเข้าร่วมพิธีนี้ ได้แก่
ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของชาติเจ้าภาพ
[แก้]- สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เลขาธิการคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- หลี่ เค่อเฉียง ประธานคณะมนตรีรัฐกิจแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้แทนชาติสมาชิกไอโอซี
[แก้]พระประมุขและพระราชวงศ์
[แก้]- กัมพูชา – พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา [22]
- ลักเซมเบิร์ก – แกรนด์ดยุกอ็องรี เจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก[23]§
- โมนาโก – เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 เจ้าผู้ครองรัฐโมนาโก [23]§
- กาตาร์ – ตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์[24]§
- ซาอุดีอาระเบีย – มุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย[23]
- ไทย – สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[25][26][27][28]
§ – ทรงเป็นสมาชิกไอโอซีด้วย[29]
ประธานาธิบดี
[แก้]- อาร์เจนตินา – อัลเบร์โต เฟร์นันเดซ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา[30][31]
- คาซัคสถาน – ฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ ประธานาธิบดีคาซัคสถาน[32][33][34]
- โปแลนด์ – อันด์แชย์ ดูดา ประธานาธิบดีโปแลนด์[35]
- รัสเซีย – วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย[36]
- เซอร์เบีย – อาเล็กซานดาร์ วูชิช ประธานาธิบดีเซอร์เบีย[23]
- สิงคโปร์ – ฮาลีมะฮ์ ยากบ ประธานาธิบดีสิงคโปร์[23]
- ทาจิกิสถาน – เอมอมาลี ราห์มอน ประธานาธิบดีทาจิกิสถาน[37]
- เติร์กเมนิสถาน – กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ ประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน[37]
- อุซเบกิสถาน – ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ประธานาธิบดีอุซเบกิสถาน[37]
ผู้นำและสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศ
[แก้]- คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
- โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล[38]
- พัน กี-มุน ประธานคณะกรรมการจริยธรรมของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ[39]
- สหประชาชาติ – อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ[40]
- องค์การอนามัยโลก – เตโวโดรส อัดฮาโนม ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก[23][41]
เพลงชาติ
[แก้]- – เพลงเดินขบวนทหารกล้าและทรงธรรม, เพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- – เพลงสดุดีโอลิมปิก ขับร้องเป็นภาษากรีกโดยคณะนักร้องประสานเสียงยุวชน Malanhua'er จากมณฑลเหอเป่ย์[13][19]
ประเทศสมาชิกที่คว่ำบาตร
[แก้]ต่อไปนี้เป็นรายชื่อประเทศสมาชิกไอโอซีที่ประกาศคว่ำบาตรทางการทูต และไม่ส่งตัวแทนของผู้นำประเทศเข้าร่วมในพิธีเปิด แต่ยังส่งนักกีฬาซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดโดยไอโอซีและสมาพันธ์กีฬาฤดูหนาวต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Olympic and Paralympic Winter Games Beijing 2022 - Updates on Spectators, Vaccination and COVID-19 Countermeasures - Olympic News". International Olympic Committee (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-10.
- ↑ "How do the Olympic Games opening and closing ceremonies take place". International Olympic Committee (ภาษาอังกฤษ). 2021-11-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-12-08.
- ↑ "Chinese director Zhang Yimou to oversee opening ceremony of 2022 Winter Olympics". The Standard. Reuters. 8 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ "張藝謀擔任北京冬奧總導演 成為史上第一"雙奧"導演" (ภาษาจีนตัวเต็ม). 法廣. 2022-01-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
- ↑ Chan, Kin-wa. "Beijing 2022: Chinese director Zhang Yimou hopes to lift spirits of a pandemic-ravaged world during Winter Olympics opening ceremony". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ 李麗; 姬燁; 高萌; 王楚捷 (2022-01-07). "如此簡約 如何精彩?——專訪雙奧開閉幕式總導演張藝謀" (ภาษาChinese (China)). 北京. 新華社. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
- ↑ Burke, Patrick (23 January 2022). "Full rehearsal held for Opening Ceremony of Beijing 2022 Winter Olympics". Inside the games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
- ↑ 高琳琳 (2022-01-21). "明天北京冬奥会开幕式第二次彩排,这些道路交通管制". 中国日报. 北京日报. สืบค้นเมื่อ 2022-01-22.
- ↑ 姬烨; 汪涌; 吴书光 (2022-02-02). "北京冬奥会开幕式进行最后一次彩排". 新华社. 搜狐. สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Koreen, Mike (5 February 2022). "Politics, COVID-19 front and centre during Beijing Olympics Opening Ceremony". Sports net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "第二十四屆冬季奧林匹克運動會在北京隆重開幕" (ภาษาจีน). www.people.com.cn. 2022-02-05.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 "Uyghur athlete lights Olympic Cauldron as Beijing 2022 officially opens". Inside the Games. 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 "2022 Winter Olympics officially begin". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
- ↑ Mather, Victor; Buckley, Chris (4 February 2022). "The Chinese language determines the order of the Parade of Nations". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022.
- ↑ "Future Olympic hosts to gain prominence in athletes' parades". www.olympics.com/. International Olympic Committee. 3 December 2019. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Winsor, Morgan; Alfonseca, Kiara (5 February 2022). "2022 Winter Olympics opening ceremony: Best moments from the event". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
- ↑ 19.0 19.1 "Winter Olympics opening ceremony: Beijing 2022 Games are officially open after stirring ceremony at the Bird's Nest". www.abc.net.au. 2022-02-05.
- ↑ Lau, Jack (6 February 2022). "Tiny Olympic flame mocked, but director Zhang Yimou says it 'sets new standards' for 'carbon-neutral' Beijing Games". SCMP. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
- ↑ Chappell, Bill (2022-02-04). "The Beijing Winter Olympics' cauldron lighting made a political statement". NPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
- ↑ "Vietnam, Cambodia, Laos support Beijing Winter Olympics, Cambodian king will attend opening ceremony (越柬寮支持北京冬奧 柬埔寨國王將出席開幕)". Udn news. Central News Agency (Taiwan). 25 January 2022. สืบค้นเมื่อ 25 January 2022.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 "Xi Jinping will attend the opening ceremony of the Beijing 2022 Winter Olympics and hold a series of foreign affairs activities 习近平将出席北京2022年冬奥会开幕式并举行系列外事活动". People.cn. Xinhua. 28 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
- ↑ "习近平将出席北京2022年冬奥会开幕式并举行系列外事活动". 人民网. 新华社. 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
- ↑ Nie (聂振宇), Zhenyu (27 January 2022). "Princess Sirindhorn travels to China to participate in diplomatic activities after being allegedly beaten by king of Thailand 传被泰国国王打伤后 诗琳通公主前往中国参加外交活动[图]". DW news. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
- ↑ กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จเยือนจีน 3 ก.พ. ทรงร่วมเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022
- ↑ "ประกาศสำนักพระราชวัง ด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๓ ถึงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
- ↑ เปิดโอลิมปิก ฤดูหนาว สุดยิ่งใหญ่ ‘กรมสมเด็จพระเทพฯ’ เสด็จฯร่วมพิธี
- ↑ IOC Members List - International Olympic Committee
- ↑ Burke, Patrick (3 January 2022). "German Foreign Minister Baerbock will not attend Beijing 2022 Winter Olympics, but country seeks common EU stance". Inside the games. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
- ↑ Khalid, Taimour. "Argentine President To Visit China During 2022 Winter Olympics - Ambassador". Pakistan Point. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
- ↑ Yang (杨薇薇), Weiwei (10 January 2022). "Wang Yi: Welcome Kazakh President Tokayev to Attend the Opening Ceremony of the Beijing Winter Olympics(王毅:欢迎哈萨克斯坦总统托卡耶夫出席北京冬奥会开幕式)". HNR(映象网). Henan Radio & Television Station (河南广播电视台). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ "Wang Yi Talks With Kazakh Deputy Prime Minister, Saying He Supports Kazakhstan in Maintaining Stability and Stopping Violence(王毅與哈薩克副總理通話 稱支持哈方維穩止暴)". Headline Daily (頭條日報). Sing Tao Newspaper Group Limited. 10 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ "KAZAKHSTAN PRESIDENT KASSYM-JOMART TOKAYEV RECEIVE AN INVITATION TO THE BEIJING 2022 WINTER OLYMPIC GAMES OPENING CEREMONY". Olympic.kz. National Olympics Committee of Kazakhstan. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ "Poland's president to attend Beijing Olympics amidst U.S. boycott". Reuters. 18 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2022.
- ↑ "Putin to Attend 2022 Beijing Olympics — Minister". The Moscow Times. 16 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 Marsh, Jenni; Ding, Luz; Li, Jing (26 January 2022). "China Gets Five Central Asian Leaders to Attend Olympics". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.
- ↑ "China's Xi meets IOC chief Bach ahead of Winter Olympics". The Korea Times. AFP. 25 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2022. สืบค้นเมื่อ 25 January 2022.
- ↑ "Ban Ki-moon will attend Beijing 2022 Olympics: report". The Global Herald. 5 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2021. สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
- ↑ "UN chief to attend Beijing Olympics despite boycott from US and allies". TRT World. Turkish Radio and Television Corporation. 10 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2021. สืบค้นเมื่อ 10 December 2021.
- ↑ "More than 30 international dignitaries attended the opening ceremony of the Winter Olympics". Headline news. 28 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
- ↑ "2022 Beijing Winter Olympics: Australia joins US diplomatic boycott". BBC News. 8 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
- ↑ "Beijing Olympics boycott: Belgium follows in the footstep of US & UK". 16 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2021. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021.
- ↑ "Canada joining diplomatic boycott of Beijing Winter Olympics". Global News. 8 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
- ↑ "Denmark to join diplomatic boycott of Beijing Olympics over human rights". Reuters. 14 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022.
- ↑ "Estonian government officials in no mood to attend Beijing Olympics". Baltic News Network. 18 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2022.
- ↑ "Australia, UK join diplomatic boycott of Beijing Winter Games". Reuters. 8 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
- ↑ Ramachandran, Sudha. "India Joins Diplomatic Boycott of Beijing Winter Olympics". thediplomat.com. The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 3 February 2022.
- ↑ "Kosovo boycotts Beijing Winter Olympics". Alsat News. 8 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
- ↑ 2022-olympics20211203200952/ "Lithuania confirms diplomatic boycott of Beijing ฤดูหนาว 2022 Olympics". ANI News. 3 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-03. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "White House announces US diplomatic boycott of 2022 Winter Olympics in Beijing". CNN. 6 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.