ไวยากรณ์
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไวยากรณ์ (อังกฤษ: grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย
สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำว่าไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น
การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่น ๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบเพื่อจะพูดหรือเขียนได้อย่างถูกต้อง
ดูเพิ่ม
[แก้]- วากยสัมพันธ์ (syntax)
- ศัพทมูลวิทยา (etymology)
- นิรุกติศาสตร์ (philology)
- ภาษาศาสตร์ (linguistics)