รัฐปาเลสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ประเทศปาเลสไตน์)
รัฐปาเลสไตน์[i]

دولة فلسطين (อาหรับ)
ที่ตั้งของปาเลสไตน์
เมืองหลวงเยรูซาเลมตะวันออก (ประกาศ)[ii][1][2]
รอมัลลอฮ์ (ปกครอง)
เมืองใหญ่สุดนครกาซา
ภาษาราชการภาษาอาหรับ
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
มะห์มูด อับบาส
มุฮัมมัด มุสตาฟา
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติ
สถาปนา
15 พฤศจิกายน 1988
• ข้อมติสมัชชาใหญ่ฯ ให้สถานะรัฐผู้สังเกตการณ์
29 พฤศจิกายน 2012
• เปลี่ยนสภาพจากองค์การบริหารปาเลสไตน์
3 มกราคม 2013
• ข้อพิพาทอธิปไตยกับอิสราเอล
กำลังดำเนินอยู่[3][4]
พื้นที่
• รวม
6,220 ตารางกิโลเมตร (2,400 ตารางไมล์) (อันดับที่ 164)
ประชากร
• 2010 (กรกฎาคม) ประมาณ
4,260,636a (124)
จีนี (2009)35.5[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.708[8]
สูง · 115
สกุลเงิน (ILS)
เขตเวลาUTC+2 ( )
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 ( )
รหัสโทรศัพท์970
โดเมนบนสุด.ps
ก. สถิติประชากรและเศรษฐกิจ และการจัดอันดับ มาจากดินแดนปาเลสไตน์
ข. ยังเป็นผู้นำรัฐบาลของรัฐ[iv]
แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ

ปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Palestine; อาหรับ: فلسطين) หรือชื่อทางการว่า รัฐปาเลสไตน์ (อังกฤษ: State of Palestine; อาหรับ: دولة فلسطين‎) อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกและตะวันออกกลางเป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967[10] และกำหนดเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสราเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967

การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน"[11] องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974[12][13] ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์[14][15] แม้จะมีคำวินิจฉัยนี้ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์[16] วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย[17][18][19]

ในข้อตกลงกรุงออสโลปี 1993 อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า "เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ การยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย"[20] ผลคือ ในปี 1994 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[21][22]

ในปี 2007 การยึดฉนวนกาซาโดยฮะมาส แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดยฟะตะห์ของมาห์มูด อับบาสยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์[23] ขณะที่ฮะมาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011 พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น

จนถึงเดือนกันยายน 2015 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 136 รัฐ จาก 193 รัฐ (70.5%) ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์[24][25] กระนั้นหลายประเทศที่มิได้รับรองรัฐปาเลสไตน์ก็รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับอำนาจจากสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ดำเนินหน้าที่รัฐบาลในรัฐปาเลสไตน์[26]

ภูมิศาสตร์[แก้]

อาณาเขต[แก้]

ส่วนหนึ่งของดินแดนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เคยถูกเรียกว่า "ดินแดนคะนาอัน" (Canaan) ในช่วงที่อยู่ใต้การปกครองของอียิปต์ ในภายหลังได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองส่วน ส่วนทางใต้กลายเป็นราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนทางเหนือคืออิสราเอล

ประวัติศาสตร์[แก้]

สงครามในปาเลสไตน์[แก้]

การแบ่งแยก[แก้]

Map comparing the borders of the 1947 partition plan and the Armistice Demarcation Lines of 1949.
แม่แบบ:Partition Plan-Armistice Lines comparison map legend

สงครามอาหรับ–อิสราเอล 1948[แก้]

ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 กองทัพซีเรีย ทรานส์จอร์แดน อิรัก เลบานอน และอียิปต์ ก็ข้ามพรมแดนปาเลสไตน์เข้าตะลุมบอนกับกองทัพอิสราเอล ซึ่งมีอายุได้เพียงวันเดียว ตามทางการแล้วสงครามกระทำกันในเวลา 8 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 1948 จนถึงวันที่ 7 มกราคม 1949 การหย่าศึกครั้งที่หนึ่ง วันที่ 11 มิถุนายน 1948 เมื่อสหประชาชาติ (เคานต์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ตัวแทน) ให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 1 เดือน ในระหว่างการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายถูกห้ามมิให้นำอาวุธเข้ามา และฝ่ายไกล่เกลี่ยสหประชาชาตินำทหารเข้าไปเพื่อควบคุมฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน ความจริงทั้งฝ่ายอาหรับและยิวใช้เวลาหยุดยิง 4 สัปดาห์ เตรียมจัดหน่วยและเสริมกำลังทั้งด้านกำลังพล ยุทธสัมภาระและวางกำลังใหม่ พอครบหนึ่งเดือน เริ่มขึ้นตอนเที่ยงคืนของวันที่ 11 กรกฎาคม กินเวลาเพียงสิบวันเท่านั้น การหยุดยิงครั้งที่สองเริ่มวันที่ 19 กรกฎาคม 1948 การหยุดยิงครั้งที่สองมิได้กำหนดเวลาไว้ คาดว่าจะนำไปสู่การหยุดยิงตลอดไป โดยคาดว่ากรณีพิพาทจะตกลงกันได้โดยวิถีทางการทูต จากความช่วยเหลือของผู้ไกล่เลี่ยสหประชาชาติ คือ เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ อย่างไรก็ตาม ความเป็นศัตรูกันเริ่มขึ้นอีกในวันที่ 10 ตุลาคม 1948 นับว่าเป็นขั้นสุดท้ายของสงครามนำด้วยเหตุการณ์ที่น่าเศร้า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1948 เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ถูกผู้ก่อการร้ายฆ่าตาย

การสู้รบสิ้นสุดลงในวันที่ 7 มกราคม 1949 และในเดือนกุมภาพันธ์ อียิปต์ลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับอิสราเอล, เดือนมีนาคม รัฐบาลอาหรับอื่น ๆ ทำตามอียิปต์ นอกจากรัฐบาลอิรัก และเลบานอน, เดือนเมษายน จอร์แดน และเดือนกรกฎาคม ซีเรีย อิรักเพียงแต่ถอนทหารออกจากปาเลสไตน์โดยไม่ลงนามในสัญญาหยุดยิง

หลังสงคราม[แก้]

หลังสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ได้มีข้อตกลงสงบศึกใน ค.ศ. 1949 กำหนดให้แบ่งดินแดนออกเป็น 3 ส่วน ให้กับอิสราเอล และชาติอาหรับในบริเวณนั้นอีก 2 ชาติ คือ อียิปต์และจอร์แดน

อิสราเอลได้เนื้อที่ไป 26% คือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ส่วนจอร์แดนได้ไป 21% คือเวสต์แบงก์ โดยกรุงเยรูซาเลมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนให้กับทั้งอิสราเอลและจอร์แดน ส่วนอียิปต์ได้บริเวณฉนวนกาซา เมื่อการแบ่งดินแดนกันเรียบร้อย ก็เกิดการอพยพของชาวยิวและชาวอาหรับเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตแดนของตน

สงครามหกวัน[แก้]

หลังจากสงครามหกวัน ในปี ค.ศ. 1967 อิสราเอลได้ยึดดินแดนบางส่วนของอียิปต์และจอร์แดนได้

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประกาศเอกราช[แก้]

ได้มีการประกาศเป็นรัฐปาเลสไตน์ในปี 1988 โดยสหประชาชาติ โดยมีดินแดนบางส่วนในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์[แก้]

การแตกแยกของฟะตะห์และฮะมาส[แก้]

มีรัฐบาลฟะตะห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ ส่วนรัฐบาลฮะมาสก็ได้รับเลือกเป็นรัฐบาลในฉนวนกาซาในปี 2006 ซึ่งรัฐบาลฟะตะห์เน้นสันติ แต่รัฐบาลฮะมาสเน้นใช้ความรุนแรง แต่ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2014 ฟะตะห์จับมือฮะมาสเป็นพันธมิตรตั้งรบ.ผสมปาเลสไตน์ ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศรายงานาว่ากลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐบาลปาเลสไตน์ได้บรรลุข้อตกลงยุติความขัดแย้งและเป็นพันธมิตรกับกลุ่มฮะมาส ซึ่งถือเป็นการบรรลุครั้งใหญ่ของอดีตกลุ่มก่อการร้ายสองฝ่ายของปาเลสไตน์โดยทั้งสองฝ่ายประกาศว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับชาวปาเลสไตน์ ที่จะสามารถยุติยุคแห่งความขัดแย้งและความแตกแยกของปาเลสไตน์ และกลุ่มคาดหวังว่า การบรรลุข้อตกลงนี้ จะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมเอกภาพภายใน 5 สัปดาห์ข้างหน้า ผ่านการลงมติไว้วางใจจากรัฐสภาปาเลสไตน์ และการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีก 5 เดือนข้างหน้า โดยปัจจุบัน กลุ่มฟะตะห์มีประธานาธิบดีมาห์ มุด อับบาส เป็นผู้นำ และกลุ่มฮะมาส มีนายอิสเมล์ ฮานิยาห์ เป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ด้านสหรัฐแสดงความวิตกต่อการเป็นพันธมิตรของสองกลุ่มการเมืองปาเลสไตน์ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มก่อการร้ายว่าอาจขัดขวางต่อความพยายามที่ปาเลสไตน์จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอล โดยย้ำว่า ทั้งสองกลุ่มจะต้องยึดต่อหลักการไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล ไม่เช่นนั้นการบรรลุสันติภาพของปาเลสไตน์และอิสราเอลจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

ปาเลสไตน์ในสหประชาชาติ[แก้]

การขอเป็นสมาชิกสหประชาชาติ[แก้]

ในวันที่ 23 กันยายน 2011 ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ได้ยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเสมือนเป็นการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยยูเนสโกเป็นองค์การชำนาญพิเศษของยูเอ็นแห่งแรกที่ปาเลสไตน์ได้เป็นสมาชิกเต็ม

การได้เป็นสมาชิกยูเนสโก[แก้]

ในวันที่ 31 ตุลาคม 2011 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงมติรับรองสถานภาพสมาชิกแก่ปาเลสไตน์โดยสมบูรณ์ โดยชาติสมาชิกทั้งหมด 173 ประเทศ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานภาพเป็นสมาชิกยูเนสโกเต็มตัว โดยมีชาติสมาชิกสนับสนุน 107 ประเทศ คัดค้าน 14 ประเทศ และงดออกเสียง 52 ประเทศ ซึ่งถือเป็นมติรับรองปาเลสไตน์เกินกว่า 2 ใน 3 ที่ทำให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกภาพของยูเนสโกในลำดับที่ 195 ในขณะที่สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ โหวตค้านการรับรองปาเลสไตน์ ส่วนบราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และฝรั่งเศส ต่างโหวตสนับสนุน ขณะที่อังกฤษและอิตาลีของดออกเสียง

การได้เป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติ[แก้]

ยูเอ็นได้ลงมติยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ เทียบเท่ากับสถานะของนครรัฐวาติกัน ซึ่งทางยูเอ็นลงมติด้วยคะแนน 138 ต่อ 9 เสียง เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ใช่สมาชิกยูเอ็น โดยนายอับบาสระบุว่ามติของยูเอ็นเปรียบได้กับใบแจ้งเกิดที่จะนำไปสู่การยอมรับความเป็นรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต แม้ว่าเส้นทางการต่อสู้ไปสู่เสรีภาพที่แท้จริงยังอีกยาวไกล แต่การยอมรับสถานะรัฐปาเลสไตน์จะช่วยกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพร่วมกับปาเลสไตน์อีกครั้ง หลังความพยายามในการเจรจาต่อรองหยุดชะงักมานานกว่า 2 ปี ส่วนนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงประณามคำปราศรัยของอับบาสว่าเป็นยาพิษที่ส่งผลมอมเมาประชาคมโลก ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฮะมาสในดินแดนฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ได้ร่วมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของรัฐบาลปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ด้วย

การเมืองการปกครอง[แก้]

กองทัพ[แก้]

รัฐปาเลสไตน์มีกำลังทหารที่เรียกว่ากำลังความมั่นคงแห่งชาติ (Palestinian National Security Forces) และยังมีกองกำลังย่อยอยู่อีก เช่น ฟอร์ซ 14 (กองทัพอากาศ), ตำรวจพลเรือนปาเลสไตน์ นอกจากนี้ยังมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์อื่น ๆ อีก เช่น กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. Baroud, Ramzy (2004). Kogan Page (บ.ก.). Middle East Review (27th ed.). London: Kogan Page. p. 161. ISBN 978-0-7494-4066-4.
  2. Bissio, Robert Remo, บ.ก. (1995). The World: A Third World Guide 1995–96. Montevideo: Instituto del Tercer Mundo. p. 443. ISBN 978-0-85598-291-1.
  3. “the state of Palestine is occupied,” PA official said
  4. Palestine name change shows limitations: "Israel remains in charge of territories the world says should one day make up that state."
  5. "CIA - The World Factbook". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ 2012-09-01.
  6. "CIA - The World Factbook". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 2012-09-01.
  7. "GINI Index: West Bank and Gaza". The World Bank: Data. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2014. สืบค้นเมื่อ 8 June 2014.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. According to Article 4 of the 1994 Paris Protocol เก็บถาวร 1 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Protocol allows the Palestinian Authority to adopt multiple currencies. In the West Bank, the Israeli new sheqel and Jordanian dinar are widely accepted; while in the Gaza Strip, the Israeli new sheqel and Egyptian pound are widely accepted.
  10. "Palestinian Authority applies for full UN membership". United Nations Radio. 23 Sep 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.: "I would like to inform you that, before delivering this statement, I, in my capacity as President of the State of Palestine and Chairman of the Executive Committee of the Palestine Liberation Organization, submitted to H.E. Ban Ki-moon, Secretary-General of the United Nations, an application for the admission of Palestine on the basis of the 4 June 1967 borders, with Al-Kuds Al-Sharif as its capital, as a full member of the United Nations."
  11. al Madfai, Madiha Rashid (1993). Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991. Cambridge Middle East Library. Vol. 28. Cambridge: Cambridge University Press. p. 21. ISBN 978-0-521-41523-1.
  12. UN General Assembly (22 November 1974). "UN General Assembly Resolution 3237". UN General Assembly (via The Jerusalem Fund). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  13. Geldenhuys, Deon (1990). Isolated States: A Comparative Analysis. Cambridge Studies in International Relations. Vol. 15. Cambridge: Cambridge University Press. p. 155. ISBN 978-0-521-40268-2.
  14. UN General Assembly (9 December 1988). "United Nations General Assembly Resolution 43/177". UN Information System on the Question of Palestine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  15. Hillier, 1998, p. 205 (via Google Books).
  16. General Assembly Session 55 meeting 54 เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "Moreover, we are confident that in the near future we will truly be able to join the international community, represented in the Organization as Palestine, the State ..."
  17. "Palestinians win implicit U.N. recognition of sovereign state". Reuters. 29 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-05. สืบค้นเมื่อ 29 November 2012.
  18. "UN makes Palestine nonmember state". 3 News NZ. November 30, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-21.
  19. "General Assembly grants Palestine non-member observer State status at UN". United Nations News Centre. 29 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
  20. Murphy, Kim (10 September 1993). ""Israel and PLO, in Historic Bid for Peace, Agree to Mutual Recognition - Mideast - After Decades of Conflict, Accord Underscores Both Sides' Readiness To Coexist - Arafat Reaffirms the Renunciation of Violence in Strong Terms". Los Angeles Times. Retrieved 2011-9-27.
  21. Resolution 250 session 52 (retrieved 2010-09-21)
  22. pp. 44-49 of the written statement submitted by Palestine เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF format; requires Adobe Reader), 29 January 2004, in the International Court of Justice Advisory Proceedings เก็บถาวร 2015-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the Legal Consequences of the Construction of a Wall in the Occupied Palestinian Territory เก็บถาวร 2008-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, referred to the court เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF format; requires Adobe Reader) by U.N. General Assembly resolution A/RES/ES-10/14 (A/ES-10/L.16) adopted on 8 December 2003 at the 23rd Meeting of the Resumed Tenth Emergency Special Session.
  23. "Hamas leader's Tunisia visit angers Palestinian officials". English.alarabiya.net. 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ 2012-09-01.
  24. "A/67/L.28 of 26 November 2012 and A/RES/67/19 of 29 November 2012". Unispal.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2012-12-02.
  25. Christmas Message from H.E. President Mahmoud Abbas เก็บถาวร 2014-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Christmas 2012: "133 countries that took the courageous step of recognizing the State of Palestine on the 1967 borders."
  26. Sayigh, Yezid (1999). Armed Struggle and the Search for State: The Palestinian National Movement, 1949–1993 (illustrated ed.). Oxford University Press. p. 624. ISBN 0-19-829643-6, 9780198296430. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) "The Palestinian National Council also empowered the central council to form a government-in-exile when appropriate, and the executive committee to perform the functions of government until such time as a government-in-exile was established."

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]