ธงชาติปาเลสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปาเลสไตน์
การใช้ ธงชาติ
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
เริ่มใช้ธงนี้ (พฤตินัย) ตั้งแต่ พ.ศ. 2507[1]
ลักษณะ มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอนเป็นแถบ 3 แถบสีดำ-ขาว-เขียว ความกว้างเท่ากันทุกแถบ ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสีแดง.
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี
สัดส่วนธง 1:2
ออกแบบโดย ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ มีตราแผ่นดินของปาเลสไตน์ที่มุมบนคันธงแถบสีดำ
ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ (พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2501) สัดส่วนธง 2:3

ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ (อาหรับ: علم فلسطين) มีที่มาจากธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ และ ใช้แทนประชาชนชาวปาเลสไตน์ในทาง (พฤตินัย) ตั้งแต่ พ.ศ. 2507

คำอธิบาย[แก้]

มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอน 3 แถบ ความกว้างเท่ากันทุกแถบ สีดำ - ขาว - เขียว (เรียงจากบนลงล่าง) ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมสีแดง (สีเหล่านี้เป็นสีธงของกลุ่มพันธมิตรอาหรับ) ลักษณะของธงนี้คล้ายคลึงกับธงของพรรคบะอัธ ธงชาติซาฮาราตะวันตก ธงชาติซูดาน และธงชาติจอร์แดน โดยแบบร่างของธงผืนนี้สิ่งที่เกิดจากการปฏิวัติอาหรับ (พ.ศ. 2459 - 2461) ธงชาติปาเลสไตน์ถูกใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นของสหพันธรัฐอาหรับ ของอิรัก และ จอร์แดน โดยธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ มีลักษณะเหมือนกัน แต่ผิดแผกที่การจัดแถบสีธง (ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับแถบสีขาวอยู่ด้านล่างสุด)

ปัจจุบันนี้ธงปาเลสไตน์มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อแสดงสิทธิอำนาจในเขตปกครองตนเองปาเลสไตน์

ประวัติ[แก้]

ต้นกำเนิดของธงผืนนี้มาจากความขัดแย้งและตำนาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สีของธงขบวนการปฏิวัติอาหรับได้พรรณาบทกวี จากวรรณคดีสโมสรอาหรับ เมืองคอนสแตนติโนเปิล พ.ศ. 2452 เป็นคำพูดในศตวรรษที่สิบสามจากบทกวีอาหรับชอง ซาฟี อดิน อัลฮารี:

บทกวีอาหรับชอง ซาฟี อดิน อัลฮารี คำแปล

Ask the high rising spears, of our aspirations
Bring witness the swords, did we lose hope
We are a band, honor halts our souls
Of beginning with harm, those who won’t harm us
White are our deeds, black are our battles,
Green are our fields, red are our swords.

หอกที่ชูขึ้นสูง อันเป็นความปรารถนาของเรา
เมื่อเห็นดาบเล่มนี้ เรานั้นไม่มีความหวังเลยหรือ
ให้เกียรติจิตวิญญาณของเรา ที่ถูกตราหน้าว่าเราผิด
สีขาวคือผู้ถูกกระทำ สีดำคือศึกสงครามของเรา
สีเขียวคือท้องทุ่งของเรา แดงคือดาบของเรา

คำแนะนำของธงนี้มาจากสันนิบาติยุวชนอาหรับ ที่ตั้งสมาคมในกรุงปารีส เมื่อปี พ.ศ. 2454 ส่วนอีกแบบหนึ่งออกแบบโดย เซอร์มาร์ก สกาย เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักรประจำอาณานิคมปาเลสไตน์ โดยอธิบายความเป็นมาดังนี้ ธงนี้ออกแบบโดย ชาริฟ ฮุสเซน เพื่อใช้ในการปฏิวัติอาหรับเมื่อ พ.ศ. 2459 และได้ใช้เป็นธงของขบวนการปฏิวัติอาหรับ (Arab National movement) ในปี พ.ศ. 2460

ธงผืนนี้มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอน 3 แถบ ความกว้างเท่ากันทุกแถบ สีดำ-เขียว-ขาว สัดส่วน 2:3 ลักษณะดังที่ได้อธิบายข้างต้น ซึ่งแบบร่างของธงผืนนี้ มีแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติอาหรับเพื่อต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน ส่วนธงชาติของปาเลสไตน์ใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร อ่านเพิ่มเติมที่ ธงปาเลสไตน์ในอาณัติ

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับได้ประกาศใช้เป็นธงของรัฐปาเลสไตน์ ภายใต้การรับรองของสันนิบาตอาหรับ โดยธงชาติที่ใช้อยู่ในขณะนี้ดัดแปลงจากธงขบวนการปฏิวัติอาหรับเพียงเล็กน้อย ต่อมาองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ได้ประกาศใช้ธงนี้เป็นธงของรัฐปาเลสไตน์ และ ผู้สนับรัฐปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531[2][3][4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Flags of the World: Palestine
    Quote: "ประกาศใช้ธง: ระหว่างปี ค.ศ. 1964 และ ค.ศ. 1974."
  2. United Nations Security Council: The situation in the Middle East, including the Palestinian question (S/PV.5077 เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
    Mr. Terje Roed-Larsen, Special Coordinator for the Middle East Peace Process and Personal Representative of the Secretary-General: "[Arafat] with the trademark kaffiyeh epitomized Palestinian identity and national aspirations, even more than the Palestinian flag or the national anthem."
  3. Flags of the World: Palestine
    Quote: "The Palestinian flag represents all Palestinian Arab aspirations regardless of party."
  4. AmericanDiplomacy.org: Palestinian Psychological Operations: The First Intifada เก็บถาวร 2012-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Jamie Efaw
    Quote: "An example of a common, obvious symbolism came in the form of the Palestinian flag. [...] the flag and the colors transmitted the message to all target audiences the underlying theme of the entire Intifada—Palestinian nationalism. The flag, the symbol of Palestinian nationalism, was ubiquitous in the occupied territories."

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]