องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน
คำขวัญ: 
คุณภาพชีวิตดี มีคุณธรรม สืบสานประเพณีวัฒนธรรม สาธารณูปโภคพร้อม สภาพแวดล้อมน่าอยู่ ประชาคมมีส่วนร่วม
พิกัด: 8°26′38.2″N 99°54′07.7″E / 8.443944°N 99.902139°E / 8.443944; 99.902139พิกัดภูมิศาสตร์: 8°26′38.2″N 99°54′07.7″E / 8.443944°N 99.902139°E / 8.443944; 99.902139
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
การปกครอง
 • นายกจรรยา ตัดสายชล
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.98 ตร.กม. (11.19 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด13,222 คน
 • ความหนาแน่น456.25 คน/ตร.กม. (1,181.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06800115
ที่อยู่ที่ทำการตำบลนาเคียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์0 7544 7011, 0 7544 7011
เว็บไซต์www.nakean.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งในจำนวน 10 องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ 9 กิโลเมตร โดยตำบลนาเคียนถือเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท เพราะพื้นที่เป็นเขตต่อกับเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การปลูกสร้างบ้านเรือนกระจายอยู่ทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะยึดแนวถนนสายหลักภายในชุมชน และจะตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งสาธารณูปการภายในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน ตลาดนัด เป็นต้น บ้างก็อยู่กันเป็นกลุ่มบ้านและมีบ้านจัดสรรในบางหมู่บ้าน สำหรับชุมชนที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ หมู่ที่ 5 (บ้านนาเคียนเหนือ) มีประชากรประมาณ 2,334 คน ส่วนชุมชนที่เล็กที่สุด คือ หมู่ที่ 9 (บ้านทวดเหนือ) มีประชากรประมาณ 713 คน ประชาชนมีความเป็นอยู่ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน มีวัดและ มัสยิดเป็นศูนย์รวมของชุมชน โดยมีผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เป็นแกนหลัก มีทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4013 (ท่าแพ – นาพรุ) ผ่านกลางเขตพื้นที่ ตำบลนาเคียนมีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 28.98 ตารางกิโลเมตร หรือ 18,112 ไร่

ประวัติ[แก้]

ตำบลนาเคียน เป็นตำบลที่ถูกก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โดยออรังมาลายู (ชาวมลายู) ปาตานี สายบุรี ลังกาวี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาหลังเสร็จสงคราม เดิมทีประชาชนของตำบลนาเคียนเป็นเชลยศึกที่มาจากเมืองปัตตานี สายบุรี ลังกาวี โดยเชลยศึกเหล่านี้จะถูกกวาดต้อนจากปัตตานีไปยังกองทัพของกรุงสยาม โดยจะถูกกวาดต้อนไปยังกองทัพสยามที่เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ซึ่งเชลยศึกเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเขตชายฝั่งทะเล นอกเขตเมืองและบางส่วนอยู่ในกรุงสยาม เชลยศึกที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนหนึ่ง ได้ทำการบุกเบิกป่านาเคียน ซึ่งเป็นป่ารกร้างที่ปกคลุมด้วยต้นตะเคียน เพื่อทำแปลงนาปลูกข้าวส่งให้กับกองทัพนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการประกาศเลิกทาส และให้ที่ดินที่นาแก่ประชาชนเพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยคนในสมัยนั้นได้ทำการปลูกข้าวครั้งแรกเรียกว่า “นาหยาม” ซึ่งทำได้ไม่กี่ปี สภาพพื้นที่ก็ไม่เอื้ออำนวยทำให้ขาดทุน และต่อมาก็ได้ทำเป็น “นาปี” ด้วยความที่ชาวบ้านให้ความสำคัญกับธรรมชาติ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิศาสตร์และลักษณะของพื้นที่หมู่บ้านว่า “บ้านนาตะเคียน” หลายปีผ่านมาชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านนาเคียน” และได้เรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

ตำบลนาเคียนสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่ามีทุ่งนาบางส่วน ราษฎรมีอาชีพขายน้ำมันยางและยางตะเคียน พื้นที่มีต้นตะเคียนทองมาก และที่สำคัญคือมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อยู่บริเวณทางผ่านของผู้คนอำเภอลานสกาและพรหมคีรี ราษฎรผ่านไปมาใช้ต้นตะเคียนเป็นที่พักร้อน และเรียกชื่อที่พักนี้ว่า "ศาลานาเคียน" เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงให้ชื่อว่า "ตำบลนาเคียน"

สภาพทั่วไป[แก้]

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลนาเคียน เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นทั่วเขตพื้นที่ และบางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สมรรถนะดินที่พบส่วนใหญ่เป็นดินโลว์ ฮิวมิค กลี ซึ่งมีเนื้อดินละเอียด เหมาะสำหรับเกษตรกรรม โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4103 (นครศรีฯ-ท่าแพ) ตัดผ่านพื้นที่ ซึ่งเป็นเส้นทางขวางทางน้ำที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ การตั้งถิ่นฐาน

ตำบลนาเคียนถือเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท เพราะพื้นที่เป็นเขตต่อกับเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การปลูกสร้างบ้านเรือนกระจายอยู่ทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะยึดแนวถนนสายหลักภายในชุมชน และจะตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งสาธารณูปการภายในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน ตลาดนัด เป็นต้น บ้างก็อยู่กันเป็นกลุ่มบ้านและมีบ้านจัดสรรในบางหมู่บ้าน สำหรับชุมชนที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ หมู่ที่ 5 (บ้านนาเคียนเหนือ) มีประชากรประมาณ 2,334 คน ส่วนชุมชนที่เล็กที่สุด คือ หมู่ที่ 9 (บ้านทวดเหนือ) มีประชากรประมาณ 713 คน ประชาชนมีความเป็นอยู่ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน มีวัดและ มัสยิดเป็นศูนย์รวมของชุมชน โดยมีผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เป็นแกนหลัก

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

หมู่บ้าน[แก้]

จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียนมีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน คือ

  • หมู่ที่ 1 บ้านปากสระ
  • หมู่ที่ 2 บ้านหัวทะเล
  • หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งโหนด
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองดิน
  • หมู่ที่ 5 บ้านนาเคียนเหนือ
  • หมู่ที่ 6 บ้านนาเคียนใต้
  • หมู่ที่ 7 บ้านใหม่
  • หมู่ที่ 8 บ้านโคกม่วง
  • หมู่ 9 บ้านทวดเหนือ

หมายเหตุ : ตำบลนาเคียนมีหน่วยราชการท้องถิ่นอื่นในตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งปกครอง หมู่ 3 และ 4 ตำบลนาเคียน บางส่วน

สถานีอนามัย[แก้]

  • สถานีอนามัยบ้านเหมืองหัวทะเล
  • สถานีอนามัยบ้านทุ่งโหนด

สถานศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนประถมศึกษา
    • โรงเรียนบ้านนาเคียน
    • โรงเรียนวัดพระมงกุฎ
    • โรงเรียนบ้านทวดเหนือ
    • โรงเรียนบ้านคลองดิน
  • โรงเรียนสอนศาสนา
    • โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธินครศรีธรรมราช
    • โรงเรียนอัลมูวาห์ฮีดีน
    • โรงเรียนมัดร่อซาตุลอุลูมิดดีน
    • โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามฮักลุลยันนะห์
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน

วัด[แก้]

จำนวนวัดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน มีทั้งหมด 2 วัด คือ

  • วัดพระมงกุฎ
  • วัดนาเคียน

มัสยิด[แก้]

  • สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • มัสยิดการาหมาด
  • มัสยิดอัลมูบาร็อก
  • มัสยิดดาริสสลาม
  • มัสยิดต้นขาม
  • มัสยิดต้นพร้าว
  • มัสยิดนูรุลมูฮายีรีน
  • มัสยิดซอลาฮุดดีน
  • มัสยิดนูรุลอิสลาม