เทศบาลนครภูเก็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครภูเก็ต
ภาพถ่ายมุมสูงนครภูเก็ต
ภาพถ่ายมุมสูงนครภูเก็ต
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครภูเก็ต
ตรา
คำขวัญ: 
สร้างนครภูเก็ต ให้เป็นนครแห่งความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ทน.ภูเก็ตตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต
ที่ตั้งของเทศบาลนครภูเก็ต
ทน.ภูเก็ตตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต
ทน.ภูเก็ต (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°53′17″N 98°23′51″E / 7.88806°N 98.39750°E / 7.88806; 98.39750พิกัดภูมิศาสตร์: 7°53′17″N 98°23′51″E / 7.88806°N 98.39750°E / 7.88806; 98.39750
ประเทศ ไทย
จังหวัดภูเก็ต
อำเภอเมืองภูเก็ต
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสาโรจน์ อังคณาพิลาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด12 ตร.กม. (5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด79,308 คน
 • ความหนาแน่น6,609.00 คน/ตร.กม. (17,117.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03830102
สนามบินท่าอากาศยานภูเก็ต
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต ถนนนริศร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
เว็บไซต์www.phuketcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครภูเก็ต เป็นเทศบาลนครที่ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดเหนือและตำบลตลาดใหญ่ ในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ประวัติ[แก้]

เทศบาลนครภูเก็ต เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต ได้รับการยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองภูเก็ต โดยพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งเทศบาลเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2478 เรียกว่า "เทศบาลเมืองภูเก็ต" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบ 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดเหนือและตำบลตลาดใหญ่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครภูเก็ต [1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลนครภูเก็ต มีพื้นที่รับผิดชอบรวม 12 ตารางกิโลเมตร หรือ 19,500 ไร่ มีเขตการปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดเหนือ มีพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร และตำบลตลาดใหญ่ มีพื้นที่ 8 ตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งและอาณาเขต ดังนี้

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครภูเก็ต (2504–2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.5
(95.9)
36.2
(97.2)
37.5
(99.5)
36.8
(98.2)
36.0
(96.8)
35.0
(95)
34.0
(93.2)
34.5
(94.1)
33.3
(91.9)
33.9
(93)
33.4
(92.1)
33.5
(92.3)
37.5
(99.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.8
(89.2)
32.9
(91.2)
33.5
(92.3)
33.4
(92.1)
32.0
(89.6)
31.6
(88.9)
31.2
(88.2)
31.2
(88.2)
30.7
(87.3)
30.9
(87.6)
31.0
(87.8)
31.2
(88.2)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.9
(82.2)
28.7
(83.7)
29.3
(84.7)
29.5
(85.1)
28.4
(83.1)
28.3
(82.9)
27.8
(82)
27.9
(82.2)
27.3
(81.1)
27.4
(81.3)
27.5
(81.5)
27.6
(81.7)
28.1
(82.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.3
(73.9)
23.7
(74.7)
24.3
(75.7)
24.8
(76.6)
24.5
(76.1)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
24.4
(75.9)
23.9
(75)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.7
(74.7)
24.1
(75.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 17.8
(64)
17.1
(62.8)
18.5
(65.3)
21.1
(70)
20.7
(69.3)
20.5
(68.9)
21.0
(69.8)
20.7
(69.3)
21.2
(70.2)
21.0
(69.8)
19.8
(67.6)
17.2
(63)
17.1
(62.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 29.8
(1.173)
20.9
(0.823)
49.1
(1.933)
121.9
(4.799)
319.4
(12.575)
268.9
(10.587)
290.5
(11.437)
272.6
(10.732)
399.0
(15.709)
309.6
(12.189)
175.7
(6.917)
59.4
(2.339)
2,316.8
(91.213)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 4 3 5 11 21 19 19 19 23 22 16 8 170
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 286.2 271.5 282.3 247.9 188.5 139.5 172.6 174.1 143.2 179.8 197.1 244.3 2,527.0
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[2], Hong Kong Observatory [3]
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun, extremes)[4]

ประชากร[แก้]

จำนวนประชากรและบ้านเรือนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีบ้านทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 23,394 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 75,536 คน (รวมทั้งบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยด้วย) แบ่งเป็น ชาย 34,760 คน หญิง 40,776 คน ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 6,294 คน/ตารางกิโลเมตร และอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ตั้งแต่ปี 2546 - 2547 ร้อยละ 1.81

ลักษณะโดยทั่วไปของประชากร[แก้]

ศาสนา[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 75 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 20 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 4 นอกนั้นนับถือศาสนาฮินดู และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1

จำนวนสถาบันทางศาสนา มีดังนี้ คือ วัด จำนวน 6 แห่ง มัสยิด จำนวน 2 แห่ง และโบสถ์ จำนวน 3 แห่ง

การศึกษา[แก้]

เทศบาลนครภูเก็ต มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 ศูนย์

โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต ทั้ง 7 โรงเรียน

การสาธารณสุข[แก้]

เทศบาลนครภูเก็ต มีโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และมีศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ตอีก 3 ศูนย์ คือ

- ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 เทศบาลนครภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนถลาง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 เทศบาลนครภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บริเวณเขตชุมชนโรงฆ่าสัตว์ ถนนอนุภาษภูเก็ตการ
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 เทศบาลนครภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนกระ หลังสถานีดับเพลิงเมืองภูเก็ต

ชุมชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต[แก้]

ปัจจุบันชุมชนย่อยในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีทั้งหมด 22 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนหลังหอประชุมเทศบาลนครภูเก็ต
  2. ชุมชนหลังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  3. ชุมชนโกมารภัจจ์
  4. ชุมชน 131
  5. ชุมชน 40 ห้อง
  6. ชุมชนต้นโพธิ์
  7. ชุมชนกอไผ่
  8. ชุมชนแสนสุข
  9. ชุมชนร่วมน้ำใจ
  10. ชุมชนสะพานร่วม 1
  11. ชุมชนสะพานร่วม 2
  12. ชุมชนถนนหลวงพ่อ
  13. ชุมชนสุทัศน์ ซอย 2
  14. ชุมชนขุมน้ำนรหัช
  15. ชุมชนอ่าวเกใน
  16. ชุมชนสามัคคีสามกอง
  17. ชุมชนซีเต็กข่า
  18. ซี่เต็กค้า 1
  19. ซี่เต็กค้า 2
  20. ซี่เต็กค้า 3
  21. ซี่เต็กค้า
  22. ชุมชนย่ายเมืองเก่าภูเก็ตธนาคารชาร์เตอร์
  23. ชุมชนย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต
  24. ชุมชนซอยผาสุข
  25. ชุนชนเจ้าฟ้า
  26. ชุมชนซอยร่วมใจสามัคคี [ฮับเอก-ตลิ่งชั่น]
  27. ชุมชนบ้านช้านจุ๊ยตุ่ย
  28. ชุมชนหล่อโรงพัฒนา
  29. ชุมชนหลังโรงเรียนปลูกปัญญา
  30. ชุมชนปะเหลี่ยม

การคมนาคม[แก้]

ย่านเมืองเก่าภูเก็ต[แก้]

ซอยรมณีย์ หรือ คนภูเก็ตเรียกในภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่งอาหลาย (巷仔內)

สถาปัตยกรรมในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต บนถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาราช และซอยรมณีย์ รวมทั้งถนนใกล้เคียง เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก และการค้าแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในยุคนั้นภูเก็ตเป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติ ทั้งจีน อินเดีย อาหรับ มลาย และยุโรป เข้ามาทำการค้าและอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่น ๆ ในแหลมมลายู เช่น ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การก่อสร้างและออกแบบอาคาร จึงได้รับอิทธิพลจากนานาชาติไปด้วย

ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในเมืองภูเก็ต อาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณช่วง พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สอง พ.ศ. 2444-2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่สาม ยุคนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งชาวภูเก็ตทุกคนภาคภูมิใจ และตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป

ประเพณี[แก้]

ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีกินผัก ประเพณีผ้อต่อ และประเพณีไหว้เทวดาที่มีประวัติมายาวนาน

งานประเพณีกินผัก ตรงกับวันขึ้น 1 - 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม ของทุกปี งานเทศกาลกินผักเป็นงานประเพณี ซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในภูเก็ตยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 จนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการถือศีลปฏิบัติธรรม ชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ และในช่วงเทศกาล 9 วัน 9 คืนนี้ จะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีอัญเชิญพระ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีส่งพระ เป็นต้น งานเทศกาลนี้นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจและเลื่อมใสศรัทธา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดงานหนึ่ง จนในปัจจุบันงานประเพณีกินผัก นับเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี

งานผ้อต่อ เป็นประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีน โดยในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย จะมีพิธีไหว้บรรพบุรุษด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ และมีขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้ง เป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้ด้วยขนมรูปเต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

ประเพณีไหว้เทวดา (ป้ายที้ก้ง) เป็นการบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ เพื่อให้เทวดาปกป้องคุ้มครองมนุษย์ให้อยู่เย็นเป็นสุข มักจัดขึ้นในช่วงวันตรุษจีน หรือในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 1 เป็นอีกประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ตยึดมั่นปฏิบัติตลอดมา

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด[แก้]

เทศบาลนครภูเก็ตเป็นเมืองแฝด กับ:

ที่ เมืองพี่น้อง ประเทศ
1 เปกันบารู อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
2 นิส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/088/1.PDF
  2. "30 year Average (1961-1990) - PHUKET". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  3. "Climatological Normals of Phuket". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
  4. "PHUKET INTL AIRPORT 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012.
  5. "Villes jumelées avec la Ville de Nice" (ภาษาฝรั่งเศส). Ville de Nice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]