เบงกอง
หน้าตา
เบงกอง (เมิ่ง กวาง) | |
---|---|
孟光 | |
เสนาบดีคลัง(大司農 ต้าซือหนง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
เสนาบดีเจ้ากรมมหาดเล็กแห่งวังฉางเล่อ (長樂少府 ฉางเล่อเฉาฝู่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
นายกองทหารม้าประจำการ (屯騎校尉 ถุนฉีเซี่ยวเว่ย) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้าสำนักเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (符節令 ฝูเจี๋ยลิ่ง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนนางที่ปรึกษา (議郎 อี้หลาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 – ค.ศ. ? | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง, บัณฑิต |
ชื่อรอง | เซี่ยวยฺวี่ (孝裕) |
เบงกอง[a] หรือ เบงก๋อง[b] (มีบทบาทในช่วงทศวรรษ 190 – ศตวรรษที่ 3) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เมิ่ง กวาง (จีน: 孟光; พินอิน: Mèng Guāng) ชื่อรอง เซี่ยวยฺวี่ (จีน: 孝裕; พินอิน: Xiàoyù) เป็นขุนนางและบัณฑิตของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เบงกองเป็นชาวนครลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) ในเขตเมืองโห้หล้ำ (河南 เหอหนาน) ซึ่งคือนครลั่วหยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน เบงกองเกิดในยุตราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ญาติของเบงกองชื่อเมิ่ง ยฺวี่ (孟郁) รับราชการเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) ในราชสำนักฮั่น[3][4] พี่ชายของเมิ่ง ยฺวี่ชื่อเมิ่ง เปิน (孟賁) เป็นขันทีในตำแหน่งผู้ถวายงานกลาง (中常侍 จงฉางชื่อ)[5][6] เบงกองเริ่มรับราชการในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับล่างในสำนักหนึ่งของราชสำนักในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 168–189)[7]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 63[1]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ขงเบ้งจึงใช้ให้เคาจูเบงกองไปปลูกโรงอภิเษกสำเร็จแล้ว ก็เตรียมเครื่องอภิเษกทั้งปวงตามอย่างกษัตริย์") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 10, 2023.
- ↑ ("เจาจิ๋วก็ห้ามปรามเปนหลายครั้ง ขงเบ้งก็มิได้ฟัง จึงสั่งให้ กุยฮิวจี๋ บิฮุย ตันอุ๋น เฮียงทง ตันจีน เจียวอ้วน เตียวฮี เตาเขง โตบี เอียวฮอง เบงก๋อง ไลบิน อินเบด ลิจวน ฮุยสี เจาจิ๋ว กับขุนนางผู้ใหญ่ร้อยเศษ คุมทหารอยู่รักษาเมืองเสฉวน") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 10, 2023.
- ↑ (孟光字孝裕,河南洛陽人,漢太尉孟郁之族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
- ↑ de Crespigny (2007), p. 670.
- ↑ (續漢書曰:郁,中常侍孟賁之弟。) อรรถาธิบายจากซฺวี่ฮั่นชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
- ↑ de Crespigny (2007), pp. 665–666.
- ↑ (靈帝末為講部吏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. p. 668. ISBN 9789004156050.