เตงเลียง
เตงเลียง (เติ้ง เหลียง) | |
---|---|
鄧良 | |
เจ้าเมืองก๋งฮาน (廣漢太守 กว่างฮั่นไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
นายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
เจ้าพนักงานคัดเลือกฝ่ายซ้าย ของสำนักราชเลขาธิการ (尚書左選郎 ช่างชูจั๋วเสฺวี่ยนหลาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
บรรดาศักดิ์ | หยางอู่ถิงโหว (陽武亭侯) |
เตงเลียง[1] ((ราว ค.ศ. 251-265) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เติ้ง เหลียง (จีน: 鄧良; พินอิน: Dèng Liáng) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน หลังการล่มสลายของจ๊กก๊ก เตงเลียงได้มาเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ประวัติ
[แก้]เตงเลียงอำเภอซินเอี๋ย (新野縣 ซินเหย่เซี่ยน) เมืองงีหยง (義陽郡 อี๋หยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอซินเหย่ มณฑลเหอหนาน สืบเชื้อสายจากเตงอู (鄧禹 เติ้ง ยฺหวี่) ขุนพลของจักรพรรดิฮั่นกองบู๊ (漢光武帝 ฮั่นกวางอู่ตี้) ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[2] บิดาของเตงเลียงคือเตงจี๋ (鄧芝 เติ้ง จือ) ขุนนาง นักการทูต และขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก
เตงจี๋บิดาของเตงเลียงย้ายไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州 อี้โจว) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[3] ขึ้นมามีตำแหน่งสูงสุดเป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) ของรัฐจ๊กก๊ก[4] และมีบรรดาศักดิ์เป็นหยางอู่ถิงโหว (陽武亭侯)[5]
ในปี ค.ศ. 251 เตงจี๋เสียชีวิต เตงเลียงสืบทอดบรรดาศักดิ์หยางอู่ถิงโหวของบิดา[6]
ในช่วงศักราชจิ่งเย่า (景耀; ค.ศ. 258-263) ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก เตงเลียงขึ้นมามีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานคัดเลือกฝ่ายซ้ายของสำนักราชเลขาธิการ (尚書左選郎 ช่างชูจั๋วเสฺวี่ยนหลาง)[7]
ในปี ค.ศ. 263 เตงงายขุนพลของวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊กนำกำลังทหารโจมตีจ๊กก๊ก เตงงายเอาชนะจูกัดเจี๋ยมขุนพลจ๊กก๊กได้ในการรบที่อำเภอกิมก๊ก (緜竹 เหมียนจู๋) เล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กทรงตัดสินพระทัยยอมจำนนต่อเตงงาย จึงทรงส่งเตงเลียงซึ่งเวลานั้นเป็นนายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์), เจาจิ๋วผู้เป็นที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) และเตียวเซียผู้เป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) ให้นำตราพระราชลัญจกรไปมอบให้เตงงายเพื่อขอยอมจำนน[8] หลังการล่มสลายของจ๊กก๊ก เตงเลียงได้รับราชการเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ในช่วงศักราชไท่ฉื่อ (泰始; ค.ศ. 266-274) ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยนจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เตงเลียงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองก๋งฮาน/เกงฮัน (廣漢 กว่างฮั่น)[9][10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ฝ่ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนก็แต่งเจียวจิ๋วเตียวเจี๋ยวเตงเลียงสามนายให้คุมเครื่องบรรณาการ แลตราหยกสำหรับว่าราชการเมือง ออกไปคำนับเตงงายณเมืองปวยเสีย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 21, 2024.
- ↑ (鄧芝字伯苗,義陽新野人,漢司徒禹之後也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (漢末入蜀,未見知待。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 45.
- ↑ (延熈六年,就遷為車騎將軍,後假節。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 45.
- ↑ (亮卒,遷前軍師前將軍,領兖州刺史,封陽武亭侯,頃之為督江州。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 45.
- ↑ (子良,襲爵) สามก๊กจี่ เล่มที่ 45.
- ↑ (景耀中為尚書左選郎) สามก๊กจี่ เล่มที่ 45.
- ↑ (謹遣私署侍中張紹、光祿大夫譙周、駙馬都尉鄧良奉繼印綬,請命告誠,敬輸忠款,存亡敕賜,惟所裁之。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 33.
- ↑ (晉朝廣漢太守。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 45.
- ↑ (近遼東太守孫和、廣漢太守鄧良皆有老母,良無兄弟,授之遠郡,辛苦自歸,皆不見聽。) จิ้นชู เล่มที่ 50.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.