จักรพรรดินีจาง (เล่าเสี้ยน)
จักรพรรดินีจาง (จางหฺวางโฮ่ว) 張皇后 | |
---|---|
จักรพรรดินีแห่งจ๊กก๊ก | |
ดำรงตำแหน่ง | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 238 – ธันวาคม ค.ศ. 263 |
ก่อนหน้า | เตียวซี |
ประสูติ | ไม่ทราบ |
สวรรคต | ไม่ทราบ |
คู่อภิเษก | เล่าเสี้ยน |
พระราชบิดา | เตียวหุย |
พระราชมารดา | ไม่ทราบ[a] |
จักรพรรดินีจาง หรือ จางหฺวางโฮ่ว (จีน: 張皇后) ไม่ทราบชื่อตัว เป็นจักรพรรดินีลำดับสุดท้ายของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรสาวของเตียวหุยขุนพลจ๊กก๊ก และพระขนิษฐาของเตียวซี ในปี ค.ศ. 237 พระองค์ขึ้นเป็นเป็นพระสนมยศกุ้ยเหริน (จีน: 貴人; พินอิน: guìrén) ของเล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดินีในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 238 สืบต่อจากพระเชษฐภคินีที่สิ้นพระชนม์ในปีก่อนหน้า[1]
พระประวัติ
[แก้]บิดาของจักรพรรดินีจางคือเตียวหุยขุนพลผู้มีชื่อเสียง จักรพรรดินีจางเป็นน้องสาวของเตียวซีและเตียวเปา พระองค์เข้าเป็นพระสนมยศกุ้ยเหรินในปี ค.ศ. 237
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 238 ในช่วงเวลาที่เล่าเสี้ยนกำลังทรงจัดการเรื่องราวภายในพระราชวงศ์รวมถึงการประกาศแต่งตั้งรัชทายาท พระสนมจางได้สืบทอดตำแหน่งจักรพรรดินีถัดจากเตียวซีพระเชษฐภคินีที่สิ้นพระชนม์เมื่อปีก่อนหน้า โดยเล่าเสี้ยนทรงส่งเอี่ยงลองให้ทูลเกล้าถวายตราประจำตำแหน่งแก่พระสนมจาง
ในปี ค.ศ. 249 ภายหลังการก่อรัฐประหารโดยสุมาอี้ที่โค่นอำนาจโจซองที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก สุมาอี้เรียกตัวแฮหัวป๋าและแฮเฮาเหียนผู้ญาติให้มาที่นครหลวงลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) ในขณะเดียวกันก็ส่งกุยห้วยที่ไม่ถูกกันกับแฮหัวป๋ามาเป็นแม่ทัพในภาคตะวันตก แฮเฮาเหียนปฏิบัติตามคำสั่ง ส่วนแฮหัวป๋าหนีไปจ๊กก๊ก แม้ว่าจ๊กก๊กจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของแฮหัวเอี๋ยนผู้บิดาก็ตาม[2] เล่าเสี้ยนทรงเห็นว่าแฮหัวเป๋าได้รับบาดเจ็บหนักระหว่างเดินทางผ่านเมืองฮันต๋ง (漢中 ฮั่นจง) จึงทรงหาทางทำให้แฮหัวป๋าผ่อนคลายลงโดยการทรงชี้ไปที่พระโอรสองค์หนึ่ง (ไม่แน่ชัดว่าเป็นพระโอรสองค์ใด) ที่มีเชื้อสายตระกูลแฮหัวทางฝั่งพระมารดา เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์และแฮหัวป๋าเป็นญาติ และทรงปฏิบัติต่อแฮหัวป๋าอย่างเอื้อเฟื้อ[3]
ในปี ค.ศ. 264 ภายหลังจ๊กก๊กถูกพิชิตโดยวุยก๊ก จักรพรรดิจางทรงติดตามเล่าเสี้ยนและพระราชวงศ์ทั้งหมดไปลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊ก[4]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]จักรพรรดินีจางปรากฏครั้งแรกในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในภาคที่ 5ของซีรีส์วิดีโอเกมไดนาสตีวอริเออร์ของโคเอ จักรพรรดินีจางถูกตัดออกจากภาคที่ 6 แต่ได้ปรากฏอีกครั้งในภาคที่ 7 และปรากฏในภาคต่อ ๆ มาตั้งแต่นั้น จักรพรรดินีจางได้รับการตั้งชื่อสมมติในเกมว่า "ซิงไฉ่" (星彩) ส่วนคำถามบัณฑิตในไดนาสตีวอริเออร์ 7 ยืนยันว่าซิงไฉ่คือจักรพรรดินีองค์ที่ 2 ของเล่าเสี้ยน แม้ว่าไม่มีการกล่าวถึงพระเชษฐภคินีของพระองค์ตลอดทั้งซีรีส์
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ไม่มีบันทึกว่าบุตรสาวคนใด (คนโตหรือคนรอง) ของเตียวหุยที่เป็นพระมารดาของพระโอรสที่เล่าเสี้ยนทรงระบุว่าเป็นญาติกับแฮหัวป๋า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สามก๊กจี่ เล่มที่ 34.
- ↑ (及司馬宣王誅曹爽,遂召玄,玄來東。霸聞曹爽被誅而玄又徵,以為禍必轉相及,心既內恐;又霸先與雍州刺史郭淮不和,而淮代玄為征西,霸尤不安,故遂奔蜀。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 9.
- ↑ (及霸入蜀,禪與相見,釋之曰:「卿父自遇害於行閒耳,非我先人之手刃也。」指其兒子以示之曰:「此夏侯氏之甥也。」厚加爵寵) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 9.
- ↑ (後主張皇后,前後敬哀之妹也。建興十五年,入為貴人。延熙元年春正月,策曰:「朕統承大業,君臨天下,奉郊廟社稷。今以貴人為皇后,使行丞相事左將軍向朗持節授璽綬。勉脩中饋,恪肅禋祀,皇后其敬之哉!」咸熙元年,隨後主遷於洛陽。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 34.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- Robert Joe Cutter and William Gordon Crowell. Empresses and Consorts: Selections from Chen Shou's Records of the Three States with Pei Songzhi's Commentary. Honolulu: University of Hawai'i Press, 1999.