ข้ามไปเนื้อหา

เตตราไซคลีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตตราไซคลีน
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: D (มีความเสี่ยง)
ช่องทางการรับยารับประทาน, topical (ผิวหนัง & ตา), im, iv
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • Rx-only (ต้องมีใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล60-80% Oral, while fasting
<40% Intramuscular
การเปลี่ยนแปลงยาNot metabolised
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ6-11 hours
การขับออกFecal and Renal
ตัวบ่งชี้
  • 2-(amino-hydroxy-methylidene)-4-dimethylamino-
    6,10,11,12a-tetrahydroxy-6-methyl-4,4a,5,
    5a-tetrahydrotetracene-1,3,12-trione
    OR
    4-(dimethylamino)-1,4,4a,5,5a,6,11,12a-octahydro-
    3,6,10,12,12a-pentahydroxy-
    1,11dioxo-naphthacene-2carboxamide
    OR
    (4S,6S,12aS)-4-(dimethylamino)- 3,6,10,12,12a-pentahydroxy- 6-methyl-1,11-dioxo-1,4,4a,5,5a,6,11,12a- octahydrotetracene-2-carboxamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
ECHA InfoCard100.000.438
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC22H24N2O8
มวลต่อโมล444.435 g/mol g·mol−1
สารานุกรมเภสัชกรรม

เตตร้าซัยคลิน (อังกฤษ: Tetracycline) เป็นยาปฏิชีวนะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะรักษาลำไส้อักเสบ หลอดลมอักเสบ รักษาโรคบิดมีเชื้อ รักษาแผล ฝี หนอง อาการอักเสบต่าง ๆ เนื่องจากการติดเชื้อ

ข้อบ่งชี้สำหรับการใช้ยานี้

[แก้]
  • ทำลายแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ โดยไม่มีผลกับการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหวัด

ผลข้างเคียงของยา

[แก้]
  • ถ้าเกิดอาการคลื่นไส้ ให้รับประทานยาร่วมกับของขบเคี้ยว แต่ถ้ากระเพาะยังรู้สึกไม่ค่อยสบายอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์
  • อาการท้องร่วง คันที่ช่องคลอดหรือทวารหนัก เจ็บปาก ผดผื่นขึ้นที่ผิวหนัง โดยถ้าเกิดอาการเหล่านี้อย่างรุนแรง หรือ เป็นติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า 2 วัน ให้ปรึกษาแพทย์

คำแนะนำระหว่างใช้ยา

[แก้]
  • ให้รับประทานยาให้หมดตามใบสั่งแพทย์ มิฉะนั้น เชื้ออาจจะกลับเป็นซ้ำอีกได้
  • ยาตัวนี้เป็นสาเหตุให้ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น ฉะนั้นควรใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ทาครีมกันแดด และใส่แว่นกันแดด
  • ถ้าเกิดอาการแสงแดดเผาไหม้ ให้ปรึกษาแพทย์
  • ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่ ยาตัวนี้อาจทำให้เกิดผลของการวัดระดับน้ำตาลในปัสสาวะผิดพลาดได้ ฉะนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน หรือ เปลี่ยนขนาดของยารักษาโรคเบาหวาน
  • เมื่อคุณลืมกินยาให้รับประทานยาทันที่ที่นึกได้ และให้รับประทานยาต่อไปตามตารางเดิม

คำเตือนและข้อควรระวัง

[แก้]
  • ไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี หญิงตั้งครรภ์ หรือ หญิงให้นมบุตร หรือ หญิงที่กำลังจะตั้งครรภ์
  • ถ้าเกิดอาการแพ้ยาตัวอื่น หรือ เป็นโรคไต ให้บอกแพทย์ก่อนให้ยาตัวนี้
  • ยาตัวนี้ จะลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด ฉะนั้นจึงควรใช้การคุมกำเนิดแบบอื่นจะได้ผลมากกว่า
  • ให้ยาตัวนี้ก่อนหน้ายาเตรียมที่มีเหล็กผสมอยู่ 2 ชม. หรือ หลัง 3 ชม.
  • ให้ยาตัวนี้ 1 ชม. ก่อนให้ยาลดกรด และหลัง 2 ชม. หลังให้ยาลดกรด
  • ถ้าได้รับยา anticoagulants เช่น warfarin, penicillin, และยาแก้ท้องร่วง ให้บอกแพทย์ด้วย
  • ยาตัวนี้ที่ผลิตนานแล้ว อาจเป็นอันตรายได้

ชื่อการค้า

[แก้]
  • Achromycin
  • Dumocycline
  • Lenocin
  • Pantocycline
  • Servitet
  • Ganospec
  • TC Mycin
  • Micamycin
  • Tetracycline
  • T-Buffer

วิธีใช้

[แก้]

โดยให้รับประทานเป็นช่วงห่างที่เหมาะสม

การเก็บรักษา

[แก้]
  • เก็บในภาชนะปิดสนิท เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บ liquid ในตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บในช่องแข็ง
  • เก็บ capsules, tablets และ pediatric drops ที่อุณหภูมิห้อง
  • ที่ภาชนะบรรจุยาจะระบุวันหมดอายุไว้ ฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาหลังวันหมดอายุ

รหัส

[แก้]

เตตร้าซัยคลิน มีรหัสที่แตกต่างกันมากมายใน ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์