ข้ามไปเนื้อหา

เชียงตุง

พิกัด: 21°17′30″N 99°36′30″E / 21.29167°N 99.60833°E / 21.29167; 99.60833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชียงตุง

ၵဵင်းတုင်
ကျိုင်းတုံ
เมือง
เชียงตุงตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เชียงตุง
เชียงตุง
ที่ตั้งเมืองเชียงตุงในประเทศพม่า
พิกัด: 21°17′30″N 99°36′30″E / 21.29167°N 99.60833°E / 21.29167; 99.60833
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐฉาน
จังหวัดเชียงตุง
อำเภอเชียงตุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,506 ตร.กม. (1,354 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2014)[1]
 • ทั้งหมด171,620 คน
 • ความหนาแน่น48.955 คน/ตร.กม. (126.79 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)

เชียงตุง (ไทใหญ่: ၵဵင်းတုင်, ออกเสียง: [keŋ˥.tuŋ˨˦]; พม่า: ကျိုင်းတုံ; เอ็มแอลซีทีเอส: kyuing:tum, ออกเสียง: [t͡ɕáɪ̯ɰ̃.tòʊɰ̃]; ไทเขิน: ᨩ᩠ᨿᨦᨲᩩᨦ; ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขินและชาวไทใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนาและเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า "เก็งตุ๋ง" ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]
เจ้าฟ้าอินแถลง เจ้าครองนครเชียงตุงองค์สุดท้าย

ประวัติศาสตร์ในช่วงแรกของเชียงตุงไม่ชัดเจน แต่มีตำนานเล่าขานกันว่า เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ท่วมเมืองมีฤๅษีนามว่า ตุงคฤๅษี แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้น้ำไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำให้เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง เป็นแว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และมีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี หลักฐานที่เป็นพงศาวดารของเมืองได้กล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราช 791 (พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัยมากจึงยกกองทัพมารบ ยึดเมืองเชียงตุงไว้ในอาณาเขต และส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" หรือ "เมืองลูกหลวง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนาและได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากล้านนา ก่อนจะกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง และเป็นอาณานิคมของอังกฤษไปพร้อมกับพม่า

คุ้มหลวงเชียงตุงของเจ้าก้อนแก้วอินแถลง ถูกพม่าทุบทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2534

ในสมัยการล่าอาณานิคมนี้ ทำให้เกิดเจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเชียงตุง พระนามว่า เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลง ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับ รัชกาลที่ 5 ของไทย พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ

จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของชาวสยาม โดยมีความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น มีข้ออ้างว่ามีประวัติและเชื้อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้นกองทัพไทยยังเข้าไปโจมตี เมืองตองยี และสิบสองปันนาอีกด้วย แต่ไทยก็มิได้ปกครองโดยตรง ญี่ปุ่นช่วยให้เมืองเชียงตุงและเมืองพานมาร่วมเข้ากับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็นสหรัฐไทยเดิม แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 ปี ก็ต้องคืนกลับให้แก่อังกฤษเหมือนเดิม เพราะญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ปัจจุบันเชียงตุงจึงเป็นส่วนหนึ่งพม่า

ชื่อ

[แก้]
  • ตุงคบุรี เป็นชื่อเรียกโดยย่อ ๆ ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงตุง
  • เขมรัฐตุงคบุรี หรือ นครเขมรัฐ ในช่วงที่เจริญรุ่งเรือง
  • เชียงตุง (ชื่อสามัญ)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เชียงตุงเป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉานของพม่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ตั้งอยู่ละติจูดที่ 21 องศา 17 ลิปดา 48 พิลิปดา เหนือ และ ลองจิจูดที่ 99 องศา 40 ลิปดา ตะวันออก (21.2967n, 99.667e) ความสูงประมาณ 2,700 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีรูปร่างเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบน้อยมาก จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ เวียงเชียงตุง แม้จะเป็นที่ราบแต่ก็มีพื้นที่ตะปุ่มตะป่ำ

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเชียงตุง (ค.ศ. 1981–2010, สูงสุด ค.ศ. 1986–1994 และ 2001–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32.0
(89.6)
33.6
(92.5)
36.5
(97.7)
40.0
(104)
39.6
(103.3)
36.6
(97.9)
34.6
(94.3)
35.6
(96.1)
35.0
(95)
33.9
(93)
32.4
(90.3)
32.2
(90)
40.0
(104)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 27.2
(81)
29.5
(85.1)
32.0
(89.6)
33.7
(92.7)
31.9
(89.4)
30.7
(87.3)
29.5
(85.1)
29.6
(85.3)
29.6
(85.3)
28.8
(83.8)
27.3
(81.1)
25.6
(78.1)
29.62
(85.31)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 10.0
(50)
11.0
(51.8)
14.2
(57.6)
17.9
(64.2)
20.4
(68.7)
21.7
(71.1)
21.5
(70.7)
21.3
(70.3)
20.3
(68.5)
18.5
(65.3)
14.6
(58.3)
11.0
(51.8)
16.87
(62.36)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.9
(39)
5.0
(41)
7.6
(45.7)
10.2
(50.4)
13.4
(56.1)
16.0
(60.8)
18.0
(64.4)
17.0
(62.6)
14.8
(58.6)
7.8
(46)
4.3
(39.7)
2.8
(37)
2.8
(37)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 3.2
(0.126)
4.7
(0.185)
7.1
(0.28)
41.9
(1.65)
168.4
(6.63)
163.6
(6.441)
158.1
(6.224)
253.2
(9.969)
293.4
(11.551)
184.0
(7.244)
60.6
(2.386)
8.1
(0.319)
1,346.3
(53.004)
แหล่งที่มา 1: Norwegian Meteorological Institute[2]
แหล่งที่มา 2: Sistema de Clasificación Bioclimática Mundial (records)[3]

กำแพงเมืองเชียงตุง

[แก้]

กำแพงเมืองเชียงตุง คือ กำแพงที่ล้อมรอบเวียงเชียงตุง พวกเขาก่อกำแพงเมืองโดยอาศัยภูมิประเทศ ใช้วิธีปรับแนวกำแพงเมืองไปตามธรรมชาติ ที่ที่สูงก็ไม่ต้องก่อเพิ่ม ที่ที่ต่ำก็เสริมให้สูงขึ้น ทำอย่างนี้จนรอบเวียง ความยาวของกำแพงนั้นคาดว่ายาวพอ ๆ กับกำแพงในเวียงเชียงใหม่ แต่กำแพงเชียงตุงนั้นสูงใหญ่กว่าของเวียงเชียงใหม่ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากำแพงเมืองเชียงตุงมีความยาวมาก ก็คือครั้งเมื่อกองทัพในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีกำลังพลนับหมื่นคนแต่ก็ไม่สามารถล้อมได้หมด เนื่องจากกำแพงนั้นใหญ่มากโดยเฉพาะทางทิศเหนือ ซึ่งในสมัยนั้นต้องตั้งค่ายทางทิศนี้ถึง 12 ค่าย

ประชากร

[แก้]

เชียงตุงมีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทเขิน ไทใหญ่ และพม่า รองลงมายังมีชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อาข่า ปะด่อง ว้า เป็นต้น

การศึกษา

[แก้]

รัฐบาลพม่าจัดการศึกษาในเชียงตุงตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงอุดมศึกษา มีวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ โดยในโรงเรียนจะสอนเป็นภาษาพม่า ส่วนภาษาไทเขินมีสอนแต่ในวัดเท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Myanmar City Population
  2. "Myanmar Climate Report" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Norwegian Meteorological Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  3. "Kengtung (Myanmar)" (PDF). Centro de Investigaciones Fitosociológicas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Forbes, Andrew ; Henley, David (2011). Traders of the Golden Triangle. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN: B006GMID5
  • J. G. Scott, Gazetteer of Upper Burma and the Shan States. 5 vols. Rangoon, 1900-1901.
  • Sao Sāimöng Mangrāi, The Pādaeng Chronicle and the Kengtung State Chronicle Translated. University of Michigan, Ann Arbor, 1981
  • พระปลัดเสน่ห์ ธัมมวโร. วิถีไทเขิน เชียงตุง. เชียงใหม่. มรดกล้านนา. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]