เขตดินแดง
เขตดินแดง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Din Daeng |
คำขวัญ: แหล่งเคหะชุมชน คนกระทรวงแรงงาน ศูนย์ศึกษาวิชาทหาร ตึกตระหง่าน กทม. 2 สนามประลองไทย-ญี่ปุ่น สนับสนุน การกีฬา มีอุโมงค์ทางด่วนรถไฟฟ้า ถิ่นนี้หนาคือดินแดง | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดินแดง | |
พิกัด: 13°46′11″N 100°33′10″E / 13.76972°N 100.55278°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.354 ตร.กม. (3.225 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 109,802[1] คน |
• ความหนาแน่น | 13,143.64 คน/ตร.กม. (34,041.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10400 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1026 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 99 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 |
เว็บไซต์ | www |
ดินแดง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตดินแดงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อ คลองพระยาเวิก และคลองน้ำแก้วเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราชเทวี มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพญาไท มีถนนวิภาวดีรังสิตเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
[แก้]พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตดินแดงในอดีตเป็นทุ่งนากว้างขวางเช่นเดียวกับท้องที่รอบนอกแห่งอื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดถนนต่อจากปลายถนนราชวิถีตรงหัวมุมที่บรรจบกับถนนราชปรารภ (ปัจจุบันคือบริเวณสะพานพรหมโยธี[2] ใกล้ทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง เขตราชเทวี) เข้ามาในพื้นที่ และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา (ถนนประชาสงเคราะห์) ในปัจจุบัน[3] ต่อมาถนนสายนี้ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในพื้นที่ แต่เนื่องจากใช้ดินลูกรังเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เมื่อรถยนต์วิ่งผ่านจึงทำให้เกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว[3] หลังคาบ้านเรือนถูกฝุ่นจับกลายเป็นสีแดง[2] ผู้คนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนดินแดง" และเรียกย่านนั้นว่า "ดินแดง"[3] ภายหลังเมื่อทางราชการมีนโยบายเพิ่มเขตการปกครองใหม่ในกรุงเทพมหานคร ก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของแขวงและเขตด้วย
ประวัติ
[แก้]แต่เดิมพื้นที่เขตดินแดงเป็นส่วนหนึ่งของตำบลสามเสนในและตำบลสามเสนนอก อำเภอบางซื่อ[4][5] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน ทำให้อำเภอบางซื่อถูกยุบลง ตำบลสามเสนในจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอดุสิต ส่วนตำบลสามเสนนอกย้ายไปขึ้นกับอำเภอบางกะปิ[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2509 ทางราชการได้โอนตำบลสามเสนในมาขึ้นกับอำเภอพญาไทที่ตั้งขึ้นใหม่[7] ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันออกของแขวงสามเสนในเพิ่งได้รับการยกฐานะเป็น แขวงดินแดง ขึ้นกับเขตพญาไท[3] หลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเมืองหลวงเป็นกรุงเทพมหานครไปแล้ว[8]
ต่อมาใน พ.ศ. 2521 จึงมีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมในการปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน[9] ภายหลังเขตห้วยขวางมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น อีกทั้งท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงดินแดงยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ใน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตห้วยขวาง สาขาดินแดงขึ้น[3] เพื่อดูแลพื้นที่แขวงดินแดง
และในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมพื้นที่แขวงดินแดง บางส่วนของแขวงห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนใน เขตพญาไท และบางส่วนของแขวงมักกะสัน เขตราชเทวี มาจัดตั้งเป็น เขตดินแดง ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ และการให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องที่ และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงดินแดงเต็มพื้นที่เขตดินแดง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงรัชดาภิเษกแยกจากพื้นที่แขวงดินแดงโดยใช้ถนนมิตรไมตรีและถนนประชาสงเคราะห์เป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตดินแดงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[12] ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ดินแดง | Din Daeng | 4.618 |
68,251 |
14,779.34 |
|
2. |
รัชดาภิเษก | Ratchadaphisek | 3.736 |
41,551 |
11,121.79
| |
ทั้งหมด | 8.354 |
109,802 |
13,143.64
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดินแดง[13] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 170,941 | ไม่ทราบ |
2536 | 170,934 | -7 |
2537 | 182,195 | +11,261 |
2538 | 177,685 | -4,510 |
2539 | 173,672 | -4,013 |
2540 | 171,062 | -2,610 |
2541 | 168,552 | -2,510 |
2542 | 166,187 | -2,365 |
2543 | 162,002 | -4,185 |
2544 | 159,570 | -2,432 |
2545 | 157,896 | -1,674 |
2546 | 155,766 | -2,130 |
2547 | 147,381 | -8,385 |
2548 | 146,031 | -1,350 |
2549 | 144,461 | -1,570 |
2550 | 141,765 | -2,696 |
2551 | 139,585 | -2,180 |
2552 | 136,696 | -2,889 |
2553 | 134,480 | -2,216 |
2554 | 131,847 | -2,633 |
2555 | 130,202 | -1,645 |
2556 | 128,838 | -1,364 |
2557 | 127,260 | -1,578 |
2558 | 125,964 | -1,296 |
2559 | 123,966 | -1,998 |
2560 | 122,563 | -1,403 |
2561 | 120,761 | -1,802 |
2562 | 119,150 | -1,611 |
2563 | 115,508 | -3,642 |
2564 | 112,814 | -2,694 |
2565 | 111,052 | -1,762 |
2566 | 109,802 | -1,250 |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- 22-25 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - มวลชนแนวร่วมของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เดินขบวนไปจากสถานที่ชุมนุม เพื่อปิดล้อมรอบนอกสถานที่ มิให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการเปิดรับสมัคร แก่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ภายในอาคารกีฬาเวสน์ 2 อนึ่ง ในวันถัดมา (26 ธันวาคม พ.ศ. 2556) เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ซึ่งเป็นองค์กรแนวร่วมของ กปปส. ที่ยังคงปักหลักปิดล้อมสถานที่อยู่รอบนอก เข้าปะทะกับกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อทราบว่าสำนักงาน กกต.กำลังดำเนินขั้นตอนการรับสมัคร ให้แก่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ส.ส.อยู่ภายใน
การคมนาคม
[แก้]ทางสายหลักในพื้นที่เขตดินแดง ได้แก่
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนดินแดง
- ถนนอโศก-ดินแดง
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช (ส่วนนอกเมือง)
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองบางซื่อ คลองน้ำแก้ว คลองสามเสน
และยังมีระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ได้แก่
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแนวถนนรัชดาภิเษก (สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีสุทธิสาร, สถานีรัชดาภิเษก)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต, ถนนประชาสงเคราะห์ และตัดขวางบนถนนรัชดาภิเษก (สถานีดินแดง, สถานีประชาสงเคราะห์, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ร่วมกับสายสีน้ำเงิน))
- รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์, ถนนมิตรไมตรี, ถนนจตุรทิศ (สถานีประชาสงเคราะห์ (เชื่อมต่อกับสายสีส้ม), สถานีมิตรไมตรี, สถานีดินแดง)
สถานที่สำคัญ
[แก้]สถานที่ราชการ
[แก้]- กระทรวงแรงงาน
- ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ศูนย์ฝึกกำลังสำรอง
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
- สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
- สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร
- สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
- สถานีตำรวจนครบาลดินแดง
- สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร
หน่วยงานประเภทอื่น
[แก้]- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
- สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ศาสนสถาน
[แก้]- วัดกุนนทีรุทธาราม (วัดห้วยขวาง) วัดพุทธ ฝ่ายเถรวาท มหานิกาย
- วัดพรหมวงศาราม (วัดหลวงพ่อเณร) วัดพุทธ ฝ่ายเถรวาท มหานิกาย
- วัดเล่งจิ๋วเจงเสี่ย (วัดจีน) วัดพุทธ ฝ่ายมหายาน
- วัดแม่พระฟาติมา วัดคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
- มัสยิดมูฮายีรีน
- มัสยิดดารุ้ลมู่ฮาญีรีน
- วัดตะพาน (วัดพุทธ)
ศูนย์การค้า
[แก้]- ฟอร์จูนทาวน์ & โลตัส (ห้างสรรพสินค้า) ฟอร์จูนทาวน์
- บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า รัชดาภิเษก
- เดอะ สตรีท รัชดา
- เอสพลานาด รัชดาภิเษก
สถานศึกษา
[แก้]ระดับอุดมศึกษา
[แก้]โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]การอาชีวศึกษา
[แก้]- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิควิทยา
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจำนงค์และวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจจำนงค์
โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
[แก้]โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
[แก้]- โรงเรียนปัญจทรัพย์
- โรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา
- โรงเรียนอำนวยพิทยา
- โรงเรียนแม่พระฟาติมา
- โรงเรียนกอบวิทยา
- โรงเรียนจันทรวิชา
- โรงเรียนจำนงค์พิทยา
- โรงเรียนจำนงค์วิทยา
- โรงเรียนนิธิปริญญา
- โรงเรียนประไพพัฒน์
- โรงเรียนสามัคคีบำรุงวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลเอกลักษณ์
- โรงเรียนอนุบาลชินณพงศ์
- โรงเรียนอนุบาลปานตา
- โรงเรียนอนุบาลสมใจ
- โรงเรียนอนุบาลสัตย์สงวนอนุสรณ์
- โรงเรียนอนุบาลลีนา
- โรงเรียนอนุบาลรังสีวิทย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ 2.0 2.1 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. "ประวัติชุมชนชาวดินแดง ผู้เชี่ยวชาญคนที่ ๒." คำให้การผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.culture.go.th/pculture/bangkok2/1_3.html[ลิงก์เสีย] 2542. สืบค้น 7 มีนาคม 2555.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 สำนักงานเขตดินแดง. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001008&strSection=aboutus&intContentID=111[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 7 มีนาคม 2555.
- ↑ กรมแผนที่ทหาร. กองบัญชาการทหารสูงสุด. แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2431–2474 = Maps of Bangkok, A.D. 1888–1931. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2542.
- ↑ ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม 2]. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2549, หน้า 21.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22: 1840–1842. 29 สิงหาคม 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอพญาไท พ.ศ. ๒๕๐๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (พิเศษ 39 ก): 1–3. 1 พฤษภาคม 2509. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ ใน พระราชกฤษฎีกาแบ่งกรุงเทพมหานครออกเป็นเขต พ.ศ. ๒๕๑๖ ไม่ปรากฏชื่อตำบลดินแดงหรือแขวงดินแดงในเขตการปกครองของทั้งเขตพญาไทและเขตห้วยขวาง
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตห้วยขวาง และเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (48 ก): 180–184. 2 พฤษภาคม 2521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง และตั้งเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 3–6. 10 พฤศจิกายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ตั้งแขวงดินแดง เขตดินแดง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 11–12. 10 พฤศจิกายน 2536.
- ↑ "เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงดินแดง และตั้งแขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง". ราชกิจจานุเบกษา 134 (พิเศษ 215 ง): 38–40.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตดินแดง
- แผนที่เขตดินแดง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน