ข้ามไปเนื้อหา

เขตการปกครองของประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบริหารราชการของประเทศญี่ปุ่นโดยพื้นฐานแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับเทศบาล ภายใต้การปกครองระดับชาติประกอบไปด้วยเขตการปกครองระดับจังหวัดจำนวน 47 แห่ง โดยมี 6 จังหวัดที่แบ่งออกเป็นกิ่งจังหวัดเพื่อประโยชน์ในการบริหารพื้นที่ขนาดใหญ่และหมู่เกาะที่ห่างไกล ส่วนระดับเทศบาล (นคร เมือง และหมู่บ้าน) เป็นการปกครองระดับล่างสุด นครที่มีประชากรมากที่สุด 20 อันดับแรกที่อยู่นอกมหานครโตเกียว เรียกว่า นครใหญ่ที่รัฐกำหนด ซึ่งจะแบ่งการปกครองย่อยออกเป็นเขต

เขตการปกครองระดับจังหวัด

[แก้]
47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

ระดับชั้นบนสุดของการแบ่งเขตการปกครอง คือ จังหวัด มีทั้งหมด 47 จังหวัด แบ่งเป็น เค็ง (ญี่ปุ่น: โรมาจิken) 43 แห่ง, ฟุ (ญี่ปุ่น: โรมาจิfu) 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดโอซากะ และจังหวัดเกียวโต, โด (ญี่ปุ่น: โรมาจิ) 1 แห่ง ได้แก่ จังหวัดฮกไกโด, และ โทะ (ญี่ปุ่น: โรมาจิto) 1 แห่ง ได้แก่ มหานครโตเกียว ซึ่งแม้ว่าชื่อเรียกจะแตกต่างกัน แต่มีอำนาจหน้าที่เหมือนกัน

เค็ง

[แก้]

"จังหวัด" (ญี่ปุ่น: โรมาจิkenทับศัพท์: เค็ง) เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีมากที่สุด มีทั้งหมด 43 จังหวัด

โทะ

[แก้]

โตเกียวจัดว่าเป็น "มหานคร" (ญี่ปุ่น: โรมาจิtoทับศัพท์: โทะ) หลังจากที่มีการยุบนครโตเกียวใน ค.ศ. 1943 โตเกียว-ฟุ (จังหวัดโตเกียว) ได้รับการยกฐานะเป็นโตเกียว-โตะ (มหานครโตเกียว) และเขตของนครโตเกียวเดิมได้รับการยกฐานะเป็นเขตพิเศษ ความหมายของตัวอักษรจีนที่รับมา คือ "เมืองหลวง"

ฟุ

[แก้]

จังหวัดโอซากะและจังหวัดเกียวโตจัดเป็น "จังหวัดเขตเมือง" (ญี่ปุ่น: โรมาจิfuทับศัพท์: ฟุ) ความหมายของอักษรจีนที่รับมาหมายถึงเขตเมืองหลักที่มีความสำคัญระดับชาติในยุคกลางของจีน หรือหมายถึงเขตการปกครองย่อยของมณฑลในช่วงปลายของจีน

โด

[แก้]

จังหวัดฮกไกโดจัดเป็น "มณฑล" (ญี่ปุ่น: โรมาจิทับศัพท์: โด) เดิมคำนี้ใช้กับเขตการปกครองของญี่ปุ่นที่ประกอบไปด้วยหลาย ๆ แคว้น ตัวอักษรจีนตัวนี้ยังเป็นตัวอักษรที่ใช้ในประวัติศาสตร์จีนที่หมายถึงมณฑลอีกด้วย

เขตการปกครองระดับกิ่งจังหวัด

[แก้]

เขตการปกครองระดับกิ่งจังหวัดมีเพียงสองประเภท ได้แก่ กิ่งจังหวัด และอำเภอ

กิ่งจังหวัด

[แก้]

กิ่งจังหวัด (ญี่ปุ่น: 支庁โรมาจิshichōทับศัพท์: ชิโจ) เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นประเด็นท้องถิ่นในระดับต่ำกว่าจังหวัด[1]

อำเภอ

[แก้]

อำเภอ (ญี่ปุ่น: โรมาจิgunทับศัพท์: กุง) เป็นหน่วยการปกครองที่ใช้ในระหว่างปี ค.ศ. 1878 และ 1921 มีฐานะเทียบเท่ากับอำเภอของประเทศจีนหรือเทศมณฑลของสหรัฐ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 อำนาจหน้าที่ของอำเภอได้ถูกถ่ายโอนจากสำนักงานของอำเภอไปยังสำนักงานของเมืองและหมู่บ้านที่อยู่ในอำเภอนั้น ชื่อของอำเภอยังคงหลงเหลืออยู่ในการเขียนที่อยู่ทางไปรษณีย์สำหรับเมืองและหมู่บ้าน และบางครั้งก็ใช้อาณาเขตของอำเภอในการแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่นอกนั้นไม่ได้มีหน้าที่อย่างเป็นทางการ ความหมายตัวอักษรจีนดั้งเดิมที่รับมาคือ อำเภอ (commandery) ในประวัติศาสตร์ของจีน

เขตการปกครองระดับเทศบาล

[แก้]
เทศบาล 1,742 แห่ง และเขตการปกครองย่อยของเทศบาล 175 แห่ง ในประเทศญี่ปุ่น

เขตการปกครองระดับเทศบาลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ นคร เมือง และหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ยังสามารถแบ่งประเภทของนครได้อีก นอกจากนี้ เขตพิเศษของโตเกียวก็จัดว่าเป็นเขตการปกครองระดับเทศบาลด้วยเช่นกัน

นคร

[แก้]

นครในประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 ประเภท เรียงลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ นครใหญ่ที่รัฐกำหนด นครศูนย์กลาง นครพิเศษ และนครธรรมดา

นครใหญ่ที่รัฐกำหนด

[แก้]

นครใหญ่ที่รัฐกำหนด (ญี่ปุ่น: 政令指定都市โรมาจิseirei shitei toshi) หรือ นครใหญ่ที่กำหนด (ญี่ปุ่น: 指定都市โรมาจิshitei toshi) หรือ นครที่รัฐกำหนด (ญี่ปุ่น: 政令市โรมาจิseirei shi) เป็นนครประเภทหนึ่งที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน และได้รับการจัดตั้งตามข้อบัญญัติของคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ภายใต้มาตรา 252 หมวด 19 ของกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่น นครใหญ่ที่รัฐกำหนดจะแบ่งการปกครองออกเป็นเขต

นครศูนย์กลาง

[แก้]

นครศูนย์กลาง (ญี่ปุ่น: 中核市โรมาจิChūkakushi) เป็นนครที่มีประชากรมากกว่า 300,000 คน และมีพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร แต่ก็อาจมีข้อยกเว้นพิเศษตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีสำหรับนครที่มีประชากรน้อยกว่า 300,000 คน แต่มากกว่า 200,000 คน[2] นครศูนย์กลางถูกกำหนดขึ้นตามวรรคแรกของมาตรา 252 หมวด 22 ของกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นของญี่ปุ่น

นครพิเศษ

[แก้]

นครพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特例市โรมาจิTokureishi) เป็นนครที่มีประชากรอย่างน้อย 200,000 คน นครประเภทนี้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่น มาตรา 252 วรรค 26

นคร

[แก้]

นคร (ญี่ปุ่น: โรมาจิshi) เป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นในญี่ปุ่นที่มีประชากรอย่างน้อย 50,000 คน ซึ่งอย่างน้อยร้อยละ 60 ของครัวเรือนต้องตั้งอยู่ในใจกลางพื้นที่เขตเมือง และอย่างน้อยร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมดต้องทำงานในด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรม หรืออาชีพอื่น ๆ ในเมือง นครเป็นเขตการปกครองที่อยู่ในระดับเดียวกันกับเมือง (ญี่ปุ่น: โรมาจิmachi) และหมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: โรมาจิmura) แต่มีข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวก็คือ นครไม่ได้ขึ้นกับอำเภอ (ญี่ปุ่น: โรมาจิgun) นครได้รับการกำหนดโดยกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นปี 1947 เช่นเดียวกับหน่วยการปกครองอื่น ๆ

เมือง

[แก้]

เมือง (ญี่ปุ่น: โรมาจิchō หรือ machi) เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เมืองเป็นเขตการปกครองที่ขึ้นกับอำเภอ (ญี่ปุ่น: โรมาจิgun)

หมู่บ้าน

[แก้]

หมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: โรมาจิmura บางครั้งอ่าน son) เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ขอบเขตของหมู่บ้านจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่แท้จริงของหมู่บ้าน หมู่บ้านเป็นเขตการปกครองที่ขึ้นกับอำเภอ (ญี่ปุ่น: โรมาจิgun)

เขตพิเศษ

[แก้]

เขตพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特別区โรมาจิtokubetsu-ku) เป็นเทศบาลจำนวน 23 แห่งที่รวมกันเป็นศูนย์กลางและส่วนที่มีประชากรมากที่สุดของมหานครโตเกียว ทั้งหมดนี้ เดิมเคยเป็นพื้นที่ของนครโตเกียว ก่อนที่จะถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1943 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมหานครโตเกียว โครงสร้างของเขตพิเศษได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่น และเป็นลักษณะเฉพาะที่ของมหานครโตเกียว

เขตการปกครองระดับต่ำกว่าเทศบาล

[แก้]

เขต

[แก้]

เขต (ญี่ปุ่น: โรมาจิkuทับศัพท์: กุ) เป็นเขตการปกครองย่อยของนครขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด[3]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

แม้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปรายละเอียดของการปกครองท้องถิ่นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่เค้าโครงพื้นฐานของระบบการปกครองสองระดับในปัจจุบันนับตั้งแต่การยกเลิกระบบแคว้นโดยรัฐบาลเมจิในปี ค.ศ. 1871 ยังคงคล้ายคลึงกัน ก่อนการยกเลิกระบบแคว้นศักดินาหรือระบบฮัง ญี่ปุ่นได้แบ่งการปกครองออกเป็น แคว้น (ญี่ปุ่น: โรมาจิkuni) จากนั้นแบ่งออกเป็น อำเภอ (ญี่ปุ่น: โรมาจิgun) และ หมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: 里/郷โรมาจิsato) ในระดับล่างสุด

ลำดับชั้น

[แก้]
ระดับจังหวัด ระดับกิ่งจังหวัด ระดับเทศบาล ระดับต่ำกว่าเทศบาล
จังหวัด
(ยกเว้น มหานครโตเกียว)
กิ่งจังหวัด "นครใหญ่ที่รัฐกำหนด" เขต
 
อำเภอ เมือง
หมู่บ้าน
ไม่มี
กิ่งจังหวัด อำเภอ
  "นครศูนย์กลาง"
"นครพิเศษ"
นคร
 
มหานคร นคร
เขตพิเศษ
อำเภอ
กิ่งจังหวัด
เมือง
หมู่บ้าน
ระดับ ประเภท คันจิ โรมาจิ จำนวน
ระดับจังหวัด มหานครโตเกียว to 1 โตเกียว (東京都 Tōkyō-to)
"มณฑล" 1 จังหวัดฮกไกโด (北海道 Hokkaidō)
"จังหวัดเขตเมือง" fu 2 จังหวัดเกียวโต (京都府 Kyōto-fu) และจังหวัดโอซากะ (大阪府 Ōsaka-fu)
จังหวัด ken 43 จังหวัดที่เหลือ ยกเว้นโตเกียว ฮกไกโด เกียวโต และโอซากะ
  กิ่งจังหวัด กิ่งจังหวัด 支庁 shichō 158
อำเภอ gun 374
เทศบาล "นครใหญ่ที่รัฐกำหนด" 政令指定都市 seirei shitei toshi 20
"นครศูนย์กลาง" 中核市 chūkaku-shi 42
"นครพิเศษ" 特例市 tokurei-shi 40
นคร shi 688
เมือง chō หรือ machi 746
หมู่บ้าน mura หรือ son 183
เขตพิเศษ 区 (特別区) ku (tokubetsu-ku) 23 เขตพิเศษของโตเกียว (東京都区部 Tōkyō-to kubu), 23 เขตของโตเกียว (東京23区 Tōkyō nijūsan-ku)
  ต่ำกว่าเทศบาล เขต 区 (行政区) ku (gyōsei-ku) 175

จำนวนเขตการปกครองแบ่งตามจังหวัด

[แก้]
ISO จังหวัด คันจิ ภูมิภาค นครทุกประเภท
(เขตพิเศษ
แสดงในวงเล็บ)
เขต อำเภอ เมือง หมู่บ้าน
JP-23  จังหวัดไอจิ 愛知県 ชูบุ 38 16 7 14 2
JP-05  จังหวัดอากิตะ 秋田県 โทโฮกุ 13 6 9 3
JP-02  จังหวัดอาโอโมริ 青森県 โทโฮกุ 10 8 22 8
JP-12  จังหวัดชิบะ 千葉県 คันโต 37 6 6 16 1
JP-38  จังหวัดเอฮิเมะ 愛媛県 ชิโกกุ 11 7 9
JP-18  จังหวัดฟูกูอิ 福井県 ชูบุ 9 7 17
JP-40  จังหวัดฟูกูโอกะ 福岡県 คีวชู 28 14 12 30 2
JP-07  จังหวัดฟูกูชิมะ 福島県 โทโฮกุ 13 13 31 15
JP-21  จังหวัดกิฟุ 岐阜県 ชูบุ 21 9 19 2
JP-10  จังหวัดกุมมะ 群馬県 คันโต 12 7 15 8
JP-34  จังหวัดฮิโรชิมะ 広島県 ชูโงกุ 14 8 5 9
JP-01  ฮกไกโด 北海道 ฮกไกโด 35 10 66 129 15[4]
JP-28  จังหวัดเฮียวโงะ 兵庫県 คันไซ 29 9 8 12
JP-08  จังหวัดอิบารากิ 茨城県 คันโต 32 7 10 2
JP-17  จังหวัดอิชิกาวะ 石川県 ชูบุ 11 5 8
JP-03  จังหวัดอิวาเตะ 岩手県 โทโฮกุ 14 10 15 4
JP-37  จังหวัดคางาวะ 香川県 ชิโกกุ 8 5 9
JP-46  จังหวัดคาโงชิมะ 鹿児島県 คีวชู 19 8 20 4
JP-14  จังหวัดคานางาวะ 神奈川県 คันโต 19 28 6 13 1
JP-39  จังหวัดโคจิ 高知県 ชิโกกุ 11 6 17 6
JP-43  จังหวัดคูมาโมโตะ 熊本県 คีวชู 14 5 9 23 8
JP-26  จังหวัดเกียวโต 京都府 คันไซ 15 11 6 10 1
JP-24  จังหวัดมิเอะ 三重県 คันไซ 14 7 15
JP-04  จังหวัดมิยางิ 宮城県 โทโฮกุ 13 5 10 21 1
JP-45  จังหวัดมิยาซากิ 宮崎県 คีวชู 9 6 14 3
JP-20  จังหวัดนางาโนะ 長野県 ชูบุ 19 14 23 35
JP-42  จังหวัดนางาซากิ 長崎県 คีวชู 13 4 8
JP-29  จังหวัดนาระ 奈良県 คันไซ 12 7 15 12
JP-15  จังหวัดนีงาตะ 新潟県 ชูบุ 20 8 9 6 4
JP-44  จังหวัดโออิตะ 大分県 คีวชู 14 3 3 1
JP-33  จังหวัดโอกายามะ 岡山県 ชูโงกุ 15 4 10 10 2
JP-47  จังหวัดโอกินาวะ 沖縄県 คีวชู 11 5 11 19
JP-27  จังหวัดโอซากะ 大阪府 คันไซ 33 31 5 9 1
JP-41  จังหวัดซางะ 佐賀県 คีวชู 10 6 10
JP-11  จังหวัดไซตามะ 埼玉県 คันโต 40 10 8 22 1
JP-25  จังหวัดชิงะ 滋賀県 คันไซ 13 3 6
JP-32  จังหวัดชิมาเนะ 島根県 ชูโงกุ 8 5 10 1
JP-22  จังหวัดชิซูโอกะ 静岡県 ชูบุ 23 10 5 12
JP-09  จังหวัดโทจิงิ 栃木県 คันโต 14 5 12
JP-36  จังหวัดโทกูชิมะ 徳島県 ชิโกกุ 8 8 15 1
JP-13  โตเกียว 東京都 คันโต 26 (23) 1 5 8
JP-31  จังหวัดทตโตริ 鳥取県 ชูโงกุ 4 5 14 1
JP-16  จังหวัดโทยามะ 富山県 ชูบุ 10 2 4 1
JP-30  จังหวัดวากายามะ 和歌山県 คันไซ 9 6 20 1
JP-06  จังหวัดยามางาตะ 山形県 โทโฮกุ 13 8 19 3
JP-35  จังหวัดยามางูจิ 山口県 ชูโงกุ 13 4 6
JP-19  จังหวัดยามานาชิ 山梨県 ชูบุ 13 5 8 6

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Japanese Commission to the Louisiana Purchase Exposition. (1903). Japan in the beginning of the 20th century, p. 80.
  2. "日本財団図書館(電子図書館)Revised Local Autonomy Law". nippon.zaidan.info.
  3. "Statistical Handbook of Japan 2008" by Statistics Bureau, Japan เก็บถาวร 7 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Chapter 17: Government System (Retrieved on 4 July 2009)
  4. ไม่รวม 6 หมู่บ้านในพื้นที่ข้อพิพาทหมู่เกาะคูริล