เขตพิเศษของโตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตพิเศษของโตเกียว

東京特別区
ที่ตั้งในสีเขียว
ที่ตั้งในสีเขียว
ที่ตั้งของเขตพิเศษของโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น
เกาะฮนชู
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดโตเกียว
พื้นที่
 • เขตพิเศษ627.57 ตร.กม. (242.31 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มิถุนายน ค.ศ. 2020)
 • เขตพิเศษ9,693,701 คน
 • ความหนาแน่น15,446 คน/ตร.กม. (40,000 คน/ตร.ไมล์)

เขตพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特別区โรมาจิtokubetsu-kuทับศัพท์: โทกูเบ็ตสึ-กุ) เป็นเขตการปกครองระดับเทศบาลในมหานครโตเกียวซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 23 เขต โดยในอดีตถือเป็นส่วนของนครโตเกียว อันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโตเกียว (東京府 โตเกียว-ฟุ) ต่อมาในปี ค.ศ. 1943 ได้มีการจัดตั้งมหานครโตเกียวขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษ และมีการแบ่งนครโตเกียวออกเป็น 23 เขต แต่ละเขตมีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีประจำเขตและปกครองตัวเองโดยอิสระจากมหานครโตเกียว ตามกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น (地方自治法 ชิโฮ-จิชิ-โฮ) ชาวญี่ปุ่นมักเรียกทั้งเขตทั้ง 23 อย่างง่าย ๆ ว่า "นิจูซังกุ" (23区)

ประวัติ[แก้]

ก่อนปี ค.ศ. 1943 กรุงโตเกียวถือเป็นจังหวัดหนึ่งเทียบเท่ากับจังหวัดอื่น ๆ และในจังหวัดโตเกียวก็ประกอบด้วยหลาย ๆ เทศบาล เทศบาลนครโตเกียวถือเป็นหนึ่งในนั้นและถือเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโตเกียว และในนครโตเกียวก็แบ่งออกเป็น 35 เขต

วันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1943 มีการยุบเทศบาลนครโตเกียว จังหวัดโตเกียวถูกยกฐานะเป็นมหานครโตเกียว ทั้ง 35 เขตถูกโอนไปขึ้นตรงกับศาลาว่าการมหานครโตเกียว[1]

วันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1947 จากเดิมที่นครโตเกียวมี 35 เขต ถูกแบ่งใหม่ให้เป็น 22 เขต

วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น เป็นผลให้เขตทั้ง 22 เขตเดิม ยกฐานะขึ้นเป็นเขตพิเศษของมหานครโตเกียว

วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ได้มีการประกาศให้เขตเนริมะ เป็นเขตพิเศษที่ 23 ของมหานครโตเกียว

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา เขตพิเศษของมหานครโตเกียวได้รับอำนาจบริหารที่อิสระกว่าเทศบาลในจังหวัดอื่น ๆ แต่ละเขตสามารถเลือกนายกเทศมนตรีเขต (区長 kuchō) และสภาเขต (区議会 kugikai) ของเขตตัวเองได้

ใน ค.ศ. 2000 รัฐสภาของญี่ปุ่นได้มอบอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น (地方公共団体 ชิโฮ โคเกียว ดันไต) ให้เขตพิเศษทั้ง 23 เขตของมหานครโตเกียว ส่งผลให้แต่ละเขต (区 กุ) มีฐานะเทียบเท่ากับนคร (市 ชิ)

เขตพิเศษต่าง ๆ มีขนาดต่างกันตั้งแต่ 10–60 ตารางกิโลเมตร และจำนวนประชากรก็ต่างกันตั้งแต่ 40,000–830,000 คน บางเขตมีเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการถมทะเล เขตที่มีประชากรมากที่สุดคือเขตเซตางายะ (世田谷区 Setagaya-ku) และเขตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเขตโอตะ

จำนวนประชากรของเขตพิเศษทั้ง 23 เขตของมหานครโตเกียวจากการสำรวจจำนวนประชากรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2010 มีจำนวน 8,846,580 คน[2] คิดเป็น 2 ใน 3 ของประชากรของมหานครโตเกียว และ 1 ใน 4 ของประชากรในเขตโตเกียวและปริมณฑล (首都圏 ชุโตเก็ง) มีความหนาแน่นประชากร 13,800 คนต่อตารางกิโลเมตร

รายชื่อเขตพิเศษ (เรียงลำดับตามตัวอักษรโรมัน)[แก้]

แผนที่มหานครโตเกียวในปัจจุบัน สีเหลืองแสดงถึง 23 เขตพิเศษในโตเกียว และสีเขียวแสดงถึงนคร เมือง และหมู่บ้านอื่น ๆ ในมหานครโตเกียว

*จำนวนประชากร ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007

เขต คันจิ
(ตัวโรมัน)
ประขากร* ความหนาแน่น
(/กม.²)
พื้นที่
(กม.²)
ย่านที่มีชื่อเสียง
Flag of Adachi, Tokyo.svg อาดาจิ 足立区
(Adachi-ku)
629,392 11,830.68 53.20 อายาเซะ, คิตะเซ็นจู, ทาเกโนะสึกะ
Flag of Arakawa, Tokyo.svg อารากาวะ 荒川区
(Arakawa-ku)
194,777 18,262.25 10.20 อารากาวะ, มาจิยะ, นิปโปริ, มินามิเซ็นจู
Flag of Bunkyo, Tokyo.svg บุงเกียว 文京区
(Bunkyō-ku)
194,933 16,009.28 11.31 ฮนโง, ยาโยอิ, ฮากุซัน
Flag of Chiyoda, Tokyo.svg ชิโยดะ 千代田区
(Chiyoda-ku)
43,802 3,763.06 11.64 นางาตะโจ, คาซูมิงาเซกิ, โอเตมาจิ, มารูโนอูจิ, อากิฮาบาระ, ยูรากุโช, ไอดะบาชิ
Flag of Chuo, Tokyo.svg ชูโอ 中央区
(Chūō-ku)
104,997 10,344.53 10.15 นิฮมบะชิ, คะยะบะโจ, กินซะ, สึกิจิ, ฮัจโจโบะริ, ชินกะวะ, สึกิชิมะ, คะจิโดะกิ, สึกุดะ,
Flag of Edogawa, Tokyo.svg เอโดงาวะ 江戸川区
(Edogawa-ku)
661,386 13,264.86 49.86 คะซะอิ, โคะอิวะ
Flag of Itabashi, Tokyo.svg อิตาบาชิ 板橋区
(Itabashi-ku)
529,059 16,445.72 32.17 อิตาบาชิ, ทากาชิมะไดระ
Flag of Katsushika-ku, Tokyo.svg คัตสึชิกะ 葛飾区
(Katsushika-ku)
428,066 12,286.62 34.84 ทะเตะอิชิ, อะโอะโตะ
Flag of Kita, Tokyo.svg คิตะ 北区
(Kita-ku)
330,646 15,885.67 20.59 อะกะบะเนะ, โอจิ, ทะบะตะ
Flag of Koto, Tokyo.svg โคโต 江東区
(Kōtō-ku)
436,337 10,963.24 39.8 คิบะ, อะริอะเกะ, คะเมโดะ, โทโยโช, มนเซ็นนะกะโช, ฟุกะงะวะ, คิโยะซุมิ, ชิระกะวะ, เอ็ทชูจิมะ, ซุนะมะจิ, อะโอะมิ
Flag of Meguro, Tokyo.svg เมงูโระ 目黒区
(Meguro-ku)
267,798 18,217.55 14.70 เมะงุโระ, นะกะเมะงุโระ, จิยุงะโอะกะ
Flag of Minato, Tokyo.svg มินาโตะ 港区
(Minato-ku)
205,196 10,088.30 20.34 อะกะซะกะ, รปปงงิ, โอะไดบะ, ชินบะชิ, ชินะงะวะ, โทะระโนะมง, อะโอะยะมะ, อะซุบุ, ฮะมะมะสึโช, ทะมะจิ
Flag of Nakano, Tokyo.svg นากาโนะ 中野区
(Nakano –ku)
312,939 20,097.82 15.59 นะกะโนะ
Flag of Nerima, Tokyo.svg เนริมะ 練馬区
(Nerima-ku)
702,202 14,580.61 48.16 เนะริมะ, โออิซุมิ, ฮิกะริงะโอะกะ
Flag of Ota, Tokyo.svg โอตะ 大田区
(Ōta-ku)
674,590 11,345.27 59.46 โอโมะริ, คะมะตะ, ฮะเนะดะ, เด็งเอ็งโจฟุ
Flag of Setagaya, Tokyo.svg เซตางายะ 世田谷区
(Setagaya-ku)
855,416 14,728.23 58.08 เซะตะงะยะ, คิตะซะวะ, คิตุตะ, คะระซุยะมะ, ทะมะงะวะ
Flag of Shibuya, Tokyo.svg ชิบูยะ 渋谷区
(Shibuya-ku)
205,512 13,337.13 15.11 ชิบุยะ, เอะบิซุ, ฮะระจุกุ, ฮิโระโอะ, , เซ็นดะงะยะ, โยะโยะงิ
Flag of Shinagawa, Tokyo.svg ชินางาวะ 品川区
(Shinagawa-ku)
353,887 15,576.01 22.72 ชินะงะวะ, โกะตันดะ, โอซะกิ
Flag of Shinjuku, Tokyo.svg ชินจูกุ 新宿区
(Shinjuku-ku)
309,463 16,975.48 18.23 ชินจุกุ, ทะกะดะโนะบะบะ, โอกุโบะ, คะงุระซุกะ, อิจิงะยะ
Flag of Suginami, Tokyo.svg ซูงินามิ 杉並区
(Suginami-ku)
534,981 15,725.49 34.02 โคเอ็นจิ, อะซะงะยะ, โอะงิกุโบะ
Flag of Sumida, Tokyo.svg ซูมิดะ 墨田区
(Sumida-ku)
237,433 16,079.49 13.75 คินชิโช, โมะริชิตะ, เรียวโงะกุ
Flag of Toshima, Tokyo.svg โทชิมะ 豊島区
(Toshima-ku)
256,009 19,428.44 13.01 อิเคะบุกุโระ, โคะมะโงะเมะ, เซ็งกะวะ, ซุงุโมะ
Flag of Taito, Tokyo.svg ไทโต 台東区
(Taitō-ku)
168,277 16,139.38 10.08 อูเอโนะ, อาซากูซะ
รวมทั้งหมด 8,637,098 13,890.25 621.81

สถานที่ที่มีชื่อเสียง[แก้]

ย่านกินซะ (銀座 Ginza)
ย่านมารูโนอูจิ (丸の内 Marunouchi)
เขตชิบูยะ (渋谷区 Shibuya-ku)
เขตชินจูกุ (新宿区 Shinjuku-ku)
สะพานสายรุ้ง (レインボーブリッジ Reinbō burijji) และ โตเกียวทาวเวอร์ (東京タワー Tōkyō tawā)

สถานที่ที่มีชื่อเสียงในย่านต่าง ๆ เขตพิเศษทั้ง 23 เขตมีดังต่อไปนี้

  • อากาซากะ (赤坂 Akasaka) : อยู่ในเขตมินาโตะ เป็นย่านที่มีภัตตาคารร้านอาหาร สถานบันเทิง และโรงแรมมากมาย นอกจากนี้ยังมีถนนคนเดินเล็ก ๆ ให้ได้สัมผัสชีวิตชาวโตเกียวท้องถิ่น ตั้งอยู่ติดกับเขตรปปงงิ และอาโอยามะ
  • กินซะ (銀座Ginza) และ ยูระกุโช : ย่านกินซะอยู่ในเขตชูโอ ส่วนย่านยูระกุโชอยุ่ในเขตชิโยดะ (千代田区 Chiyoda-ku) ทั้งสองย่านนี้เป็นย่านศูนย์การค้าและแหล่งบันเทิง มีห้างสรรพสินค้าที่ขายสินค้าหรูหรา โรงภาพยนตร์ และโรงละคร
  • จิมโบโช (神保町 Jinbōchō) : อยู่ในเขตชิโยดะ เป็นย่านที่เต็มไปด้วยร้านหนังสือมือสอง สำนักพิมพ์ และร้านขายของเก่ามากมาย
  • รปปงงิ (六本木 Roppongi) : อยู่ในเขตมินาโตะ เป็นย่านที่เป็นที่ตั้งของสถานทูตของหลายประเทศ จึงทำให้ชาวต่างชาติรวมตัวอยู่ในย่านนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นย่านที่มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนอยู่มากมาย และยังเป็นที่ตั้งของอาคารรปปงงิฮิลส์ ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีทั้งสำนักงาน ศูนย์การค้า และสถานบันเทิง
  • ชิบุยะ (渋谷区 Shibuya-ku) : เป็นเขตศูนย์รวมห้างสรรพสินค้า แฟชั่น สถานบันเทิงยามราตรี และเป็นแหล่งวัยรุ่นที่มีเชื่อเสียงมานาน
  • ชินะงะวะ (品川区 Shinagawa-ku) : เป็นที่ตั้งของสถานชินะงะวะ ทางด้านตะวันตกของสถานีมีโรงแรมขนาดใหญ่มากมาย ส่วนทางด้านตะวันออกที่เคยเงียบเหงา ปัจจุบันถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของโตเกียว
  • ชินจุกุ (新宿区 Shinjuku-ku) : เป็นเขตตึกสูงยุคแรก ๆ ของโตเกียวตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า และโรงแรมหลายแห่ง รวมถึงเป็นที่ตั้งของศาลาว่าการกรุงโตเกียว มีสถานีรถไฟชินจูกุ อันเป็นสถานีที่มีคนสัญจรผ่านประมาณสามล้านคนต่อวัน ถือเป็นสถานีรถไฟที่คับคั่งที่สุดในโลก ทางด้านตะวันออกของสถานีชินจุกุ เป็นย่านคาบูกิโช ซึ่งเป็นย่านสถานเริงรมณ์ยามราตรี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kurt Steiner, Local government in Japan, Stanford University Press, 1965, p. 179
  2. "TOKYO STATISTICAL YEARBOOK 2010, Population by District". Statistics Division, Bureau of General Affairs, Tokyo Metropolitan Government. 2012-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 2020-08-11.