การยกเลิกระบบแคว้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การยกเลิกระบบแคว้น (ญี่ปุ่น: 廃藩置県โรมาจิhaihan-chiken) ในจักรวรรดิญี่ปุ่นและแทนที่ด้วยระบบจังหวัดในปี ค.ศ. 1871 เป็นจุดสูงสุดของการฟื้นฟูเมจิที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของยุคเมจิ ภายใต้การปฏิรูป ไดเมียวทั้งหมด (大名, ขุนนางศักดินา) จำเป็นต้องคืนอำนาจให้จักรพรรดิเมจิและราชวงศ์ของพระองค์ กระบวนการนี้ประสบความสำเร็จในหลายขั้นตอน ส่งผลให้มีรัฐบาลกลางแห่งใหม่ของญี่ปุ่นและแทนที่ระบบศักดินาเก่าด้วยคณาธิปไตยใหม่

สงครามโบชิน[แก้]

หลังจากความพ่ายแพ้ของกองกำลังที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในสงครามโบชินในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลเมจิชุดใหม่ได้ยึดดินแดนทั้งหมดที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลโชกุนและดินแดนที่ปกครองโดยไดเมียวซึ่งยังคงภักดีต่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ดินแดนเหล่านี้มีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของญี่ปุ่นและได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด (知事) ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากรัฐบาลกลาง

การเรียกคืนแคว้นศักดินา[แก้]

ระยะที่สองในการยกเลิกระบบแคว้นศักดินาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1869 การเคลื่อนไหวนี้นำโดยคิโดะ ทากาโยชิ แห่งแคว้นศักดินาโชชู โดยได้รับการสนับสนุนจากขุนนางในราชสำนักคือ อิวากูระ โทโมมิ และซันโจ ซาเนโตมิ คิโดชักชวนเจ้าแคว้นศักดินาโชชูและซัตสึมะ สองแคว้นศักดินาชั้นนำในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ให้ยอมมอบแคว้นศักดินาให้กับจักรพรรดิโดยสมัครใจ ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1869 ถึง 2 สิงหาคม ค.ศ. 1869 ด้วยเกรงว่าจะถูกตั้งคำถามถึงความจงรักภักดีของพวกเขา ไดเมียวจากแคว้นศักดินาอื่น ๆ อีก 260 แห่งจึงปฏิบัติตาม มีเพียง 14 แคว้นศักดินาเท่านั้นที่ไม่สามารถปฏิบัติตามโดยสมัครใจกับการเรียกคืนแคว้นศักดินา (版籍奉還, hanseki hōkan)

เพื่อแลกกับการมอบอำนาจของพวกเขาให้กับรัฐบาลกลาง เหล่าไดเมียวได้รับแต่งตั้งใหม่ให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในแคว้นศักดินาเดิมของพวกเขา (ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัด) และได้รับอนุญาตให้เก็บภาษีรายได้ 10 เปอร์เซ็นต์โดยอิงจากการผลิตข้าว[1]

คำว่าไดเมียวถูกยกเลิกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1869 ด้วยการก่อตัวของระบบขุนนางคาโซกุ

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Jansen, The Making of Modern Japan, pp344–345

อ้างอิง[แก้]