กีฬาในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กีฬาในประเทศญี่ปุ่น เป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่น กีฬาดั้งเดิมของญี่ปุ่น เช่น ซูโม่ และศิลปะการต่อสู้ประเภทต่าง ๆ และกีฬานำเข้าจากประเทศตะวันตก เช่น เบสบอล และฟุตบอล เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม

ซูโม่จัดเป็นกีฬาประจำชาติญี่ปุ่น เบสบอลเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยชาวอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ลีกเบสบอลมืออาชีพนิปปอน เป็นการแข่งขันกีฬาอาชีพที่ใหญ่ที่สุดวัดจากระดับความนิยมทางโทรทัศน์และผู้เข้าชม ศิลปะการป้องกันตัว เช่น ยูโด คาราเต้ และเค็นโดสมัยใหม่ มีผู้นำไปฝึกฝนอย่างกว้างขวางและเป็นกีฬาที่สนุกสนานในมุมมองของผู้ชมในประเทศ ฟุตบอลได้รับความนิยมตั้งแต่ก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 1992 กีฬาอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น สเกตลีลา รักบี้ยูเนียน กอล์ฟ และการแข่งความเร็ว โดยเฉพาะการแข่งรถ

กีฬาที่เป็นที่นิยม[แก้]

กีฬาหลายชนิดถูกนำเข้าและเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น กีฬาบางชนิดคิดค้นขึ้นโดยปรับเปลี่ยนกติกาของกีฬานำเข้า เกมกระดานของญี่ปุ่นในรูปของหมากรุก เรียกว่า โชงิ เกมกระดานอีกชนิดที่เป็นที่นิยมคือ โกะ

เบสบอล[แก้]

เบสบอลทีมชาติญี่ปุ่นรวมตัวกันรอบผู้จัดการทีมหลังจากพ่ายเบสบอลทีมชาติคิวบา ในการแข่งขันชิงแชมป์ระหว่างทวีปปี 2006

ตามประวัติศาสตร์ เบสบอลเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ได้รับการแนะนำครั้งแรกใน ค.ศ. 1872 โดยโฮเรซ วิลสัน ซึ่งสอนที่โรงเรียนไคเซอิในโตเกียว ทีมเบสบอลทีมแรกเรียกว่า ชมรมนักกีฬาชิมบาชิ ก่อตั้งใน ค.ศ. 1878 เบสบอลกลายเป็นที่นิยมตั้งแต่นั้นมา มีชื่อเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า 野球 (やきゅう; ยะกิว)

ฟุตบอล[แก้]

ฟุตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA) เป็นผู้ดูแลกีฬาฟุตบอลในญี่ปุ่น

ฟุตบอลได้รับการแนะนำในประเทศญี่ปุ่นในยุคเมจิ โดยโอยะโทะอิ งะอิโกะกุจิน ที่ปรึกษาชาวต่างชาติที่รัฐบาลญี่ปุ่นว่าจ้าง เช่นเดียวกับกีฬาต่างชาติชนืดอื่น เช่น เบสบอล ชมรมฟุตบอลชมรมแรกเรียกว่า โตเกียวชูกิวดัง (Tokyo Shūkyū-dan) ก่อตั้งใน ค.ศ. 1917

บาสเกตบอล[แก้]

ยุตะ ทะบุเสะ เป็นหนึ่งในผู้เล่นบาสเกตบอลหลักของญี่ปุ่น

ตั้งแต่ผลงานของยุตะ ทะบุเสะ และทะคุยะ คะวะมุระ บาสเกตบอลกลับมาเฟื่องฟูและกลายเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น[1] บาสเกตบอลทีมชาติญี่ปุ่นชนะการแข่งขันฟีบาเอเชียแชมเปียนชิปสองครั้ง และเข้ารอบ 25 ครั้ง จากการแข่งขันทั้งหมด 26 ครั้ง[2] ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟีบาเวิลด์แชมเปียนชิป 2006 โดยแข่งขันในเมืองฮะมะมะสึ ฮิโระชิมะ ไซตะมะ ซัปโปโร และเซ็นได

รักบี้ยูเนียน[แก้]

ออสเตรเลียแข่งขันกับญี่ปุ่น (สีแดง) ในการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก 2007

รักบี้ยูเนียนเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น รักบี้ยูเนียนทีมชาติญี่ปุ่น ซึ่งดูแลโดยสหภาพฟุตบอลและรักบี้ญี่ปุ่น (Japan Rugby Football Union) เข้าแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกทุกครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1987 ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกใน ค.ศ. 2019 ประเทศญี่ปุ่นชนะการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกใน ค.ศ. 1991 โดยชนะประเทศซิมบับเว

ซูโม่[แก้]

ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติญี่ปุ่น เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ดูแลโดยสมาคมซูโม่ญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hoop Dreams - Yuta Tabuse, "The Jordan of Japan"". Consulate General of Japan in New York. December 2004 – January 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ 2009-01-19.
  2. "FIBA Asia.net: Competition Archives". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-02.