อำเภอชะอวด
อำเภอชะอวด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Cha-uat |
วัดเขาพระทอง | |
คำขวัญ: เมืองต้นน้ำ อิฐแผ่นงาม กุ้งก้ามกราม กระจูดสวย ห้วยน้ำใส | |
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอชะอวด | |
พิกัด: 7°57′54″N 99°59′54″E / 7.96500°N 99.99833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 833.002 ตร.กม. (321.624 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 85,952 คน |
• ความหนาแน่น | 103.18 คน/ตร.กม. (267.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8007 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชะอวด เลขที่ 181 หมู่ที่ 8 ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 80180 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ชะอวด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอร่อนพิบูลย์ในวันที่ 16 กันยายน 2466[1] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 10 มีนาคม 2496[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอชะอวดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเชียรใหญ่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหัวไทร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอควนขนุน อำเภอป่าพะยอม (จังหวัดพัทลุง) และอำเภอห้วยยอด (จังหวัดตรัง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอชะอวด เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอร่อนพิบูลย์ ทางกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าท้องที่ในมณฑลนครศรีธรรมราชยังไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงได้แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็ง ของอำเภอร่อนพิบูลย์ ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2466 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ปีเดียวกัน
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอชะอวด[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ปีเดียวกัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอชะอวดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1 | ชะอวด | Cha-uat | 10
|
12,413
|
|
2 | ท่าเสม็ด | Tha Samet | 7
|
4,699
| |
3 | ท่าประจะ | Tha Pracha | 6
|
7,050
| |
4 | เคร็ง | Khreng | 11
|
7,321
| |
5 | วังอ่าง | Wang Ang | 9
|
10,234
| |
6 | บ้านตูล | Ban Tun | 5
|
7,121
| |
7 | ขอนหาด | Khon Hat | 9
|
5,781
| |
8 | เกาะขันธ์ | Ko Khan | 10
|
8,940
| |
9 | ควนหนองหงษ์ | Khuan Nong Hong | 6
|
7,378
| |
10 | เขาพระทอง | Khao Phra Thong | 7
|
8,330
| |
11 | นางหลง | Nang Long | 7
|
6,304
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอชะอวดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลชะอวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะอวด (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1) และตำบลท่าประจะ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3)
- เทศบาลตำบลท่าประจะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าประจะ (เฉพาะหมู่ 1–2, 4–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชะอวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะอวด (เฉพาะหมู่ที่ 2–10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสม็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเคร็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเคร็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังอ่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังอ่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตูลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขอนหาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะขันธ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนหนองหงษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนหนองหงษ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางหลงทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-01-23. วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.