ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามสแควร์วัน"

พิกัด: 13°44′43″N 100°32′02″E / 13.745216°N 100.533970°E / 13.745216; 100.533970
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{issues|สั้นมาก=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}
6 กรกฎาคม 2557{{issues|สั้นมาก=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}
{{กล่องข้อมูล ห้างสรรพสินค้า
{{กล่องข้อมูล ห้างสรรพสินค้า
|ภาพ = [[ไฟล์:SQ1Front.jpg|200px]]
|ภาพ = [[ไฟล์:SQ1Front.jpg|200px]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:16, 3 พฤษภาคม 2561

6 กรกฎาคม 2557

สยามสแควร์วัน

ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน (อังกฤษ: Siam Square One) เป็นศูนย์การค้าในย่านสยามสแควร์ ประเทศไทย สร้างบนพื้นที่เดิมของโรงภาพยนตร์สยาม ที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้เมื่อครั้งการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ. 2553 บริหารงานโดย สำนักงานจัดการทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม ที่สำคัญแห่งหนึ่งบนถนนพระรามที่ 1[1]

ประวัติ

ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ก่อสร้างขึ้นบนที่ดินผืนเดิมของโรงภาพยนตร์สยามที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับสัญญาเช่าที่ดินของโรงภาพยนตร์สยามหมดลง สำนักทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงไม่ขอต่อสัญญากับผู้เช่ารายเดิม และนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าแบบเปิดขนาดใหญ่ความสูง 8 ชั้นแทน โดยมีสำนักงานสถาปนิกกรุงเทพ (OBA) เป็นสถาปนิกหลักของโครงการ ร่วมกับคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สมิตร โอบายะวาทย์

ศูนย์การค้าแห่งนี้ได้รับการออกแบบเป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 อาคารวางขนานกัน เว้นพื้นที่เปิดตรงกลางเป็นทางลาดยาว จากชั้น 3 ลงไปชั้น 1 และมีทางเดินเชื่อมถึงกันระหว่างอาคารวางตลอดโครงการ ซึ่งศูนย์การค้าแห่งนี้เปิดทำการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 แต่หลังจากเปิดทำการได้ไม่กี่วัน ก็มีเสียงวิจารณ์ในเรื่องการระบายอากาศภายในโครงการ การจัดการกับฝน การวางผังการสัญจรภายในโครงการที่บังคับให้เดินเป็นวงกลม ซึ่งขัดกับความต้องการของลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถึงระบบบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียของโครงการ จนเป็นเหตุให้เกิดก๊าซไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ขึ้นภายในบริเวณชั้น B และ LG ซึ่งเป็นพื้นที่แบบปิด ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับผู้เช่าในพื้นที่ และทำให้สินค้าของร้านค้าเช่าบางรายเกิดความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งภายหลังสำนักทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศปิดปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลาสองเดือนเพื่อจัดการกับระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งเสียหายหลังเปิดให้บริการ และวางท่อระบายอากาศ เพื่อลดความชื้นและระบายก๊าซที่เกิดขึ้นออกจากโครงการ ปัญหานี้ทำให้ผู้เช่าร้านค้าบอกเลิกสัญญาและทำให้สูญเสียรายได้ไปเป็นจำนวนมาก ก่อนจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557[ต้องการอ้างอิง]

การจัดสรรพื้นที่

สยามสแควร์วัน ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมฮอไรซอนฮอลล์ (ในอาคาร) ฟลอราฮอลล์ (นอกอาคารฝั่งสยามสแควร์ซอย 7) และซีโลฮอลล์ ทางเชื่อมไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม

อ้างอิง

  1. สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “สยามสแควร์วัน.” เว็บไซต์ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1378 (31 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′43″N 100°32′02″E / 13.745216°N 100.533970°E / 13.745216; 100.533970