ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังดุสิต"

พิกัด: 0°N 0°E / 0°N 0°E / 0; 0
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| ชื่อสิ่งก่อสร้าง = พระราชวังดุสิต
| ชื่อสิ่งก่อสร้าง = พระราชวังดุสิต
| ชื่อภาษาอื่น = Dusit Palace
| ชื่อภาษาอื่น = Dusit Palace
| ภาพ = King Rama V Equestrian Monument.jpg
| ภาพ = ลานพระบรมรูปทรงม้า.jpg
| คำบรรยายภาพ = [[พระบรมรูปทรงม้า]]บริเวณ[[ลานพระราชวังดุสิต]]
| คำบรรยายภาพ = [[พระบรมรูปทรงม้า]]บริเวณ[[ลานพระราชวังดุสิต]] ในเวลากลางคืน
| สิ่งก่อสร้าง = [[พระราชวัง]]
| สิ่งก่อสร้าง = [[พระราชวัง]]
| เมืองที่ตั้ง = [[เขตดุสิต]], [[กรุงเทพมหานคร]]
| เมืองที่ตั้ง = [[เขตดุสิต]], [[กรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:48, 25 พฤษภาคม 2559

พระราชวังดุสิต
Dusit Palace
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวัง
เมืองเขตดุสิต, กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2442
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

พระราชวังดุสิตเป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ภายหลังเสด็จกลับจากการประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พระองค์มีพระราชดำริว่า พระบรมมหาราชวังในฤดูร้อนจะร้อนจัดเพราะมีตึกบังอยู่โดยรอบทำให้ขวางทางลม รวมทั้ง พระองค์โปรดพระราชดำเนินด้วยพระบาทในระยะทางหนึ่งพอสมควรแก่พระกำลัง ถ้าประทับอยู่บนพระที่นั่งไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินแห่งใดหลายเดือนก็ไม่ใคร่ทรงสบาย[1] นอกจากนี้ นายแพทย์ประจำพระองค์ได้กราบบังคมทูลว่า ในพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับมาแต่เดิมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ

เมื่อปี พ.ศ. 2441 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่สวนและทุ่งนาบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวังแล้วทรงพอพระราชหฤทัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนด้วยเงินพระคลังข้างที่อันเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระราชทานชื่อตำบลแห่งนี้ว่า "สวนดุสิต" และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาขึ้นเป็นที่เสด็จประทับแรมชั่วคราวและให้เรียกที่ประทับแห่งนี้ว่า “วังสวนดุสิต”[1]

เมื่อมีการขยายพระนครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนสามเสน, ถนนราชดำเนินใน, ถนนราชดำเนินนอก และโปรดให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มาสร้างที่วังสวนดุสิตและพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งวิมานเมฆ"[2] โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกำกับการออกแบบและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2445[3] พร้อมกันนี้ พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนไทยหมู่หนึ่ง พระราชทานนามว่า "เรือนต้น" เพื่อใช้เป็นที่เสด็จให้ประชาชนที่พระองค์ได้ทรงรู้จักเมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นมาเฝ้า

เมื่อมีการสร้างที่ประทับถาวรขึ้นและเสด็จมาประทับบ่อยครั้ง จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีได้เช่นเดียวกับพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเปลี่ยนนามวังสวนดุสิตเป็น "พระราชวังสวนดุสิต" [4]

นอกจากสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ ขึ้นในพระราชวังสวนดุสิตแล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสวนและพระตำหนักพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระอัครมเหสี, พระราชเทวี, พระอัครชายา, พระราชชายา, เจ้าจอม และ พระธิดา ยังมีสวนอีกมากมายได้แก่ สวนสี่ฤดู, สวนหงส์, สวนบัว, สวนฝรั่งกังไส , สวนนกไม้, สวนม้าสน, สวนผักชีเข้ม, สวนญี่ปุ่น, สวนวิลันดา และ สวนโป๊ยเซียน และโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบพระราชวังดุสิตเป็นเขตพระราชฐาน ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน อย่างถาวร

ต่อมาเมื่อเสด็จกลับจากประพาสทวีปยุโรปเป็นครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2451 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระราชฐานด้านหลังพระราชวังสวนดุสิต เป็นเขตพระราชอุทยานส่วนพระองค์ พร้อมทั้งเป็นที่ประทับถาวรของพระราชธิดา เจ้าจอมมารดา ที่อยู่ของเจ้าจอมและข้าราชบริพารในพระองค์ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชอุทยานนี้พระราชทานนามว่า "สวนสุนันทา" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่พระราชวังแห่งนี้จนกระทั่งเสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังสวนดุสิต

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระราชวังสวนดุสิตว่า "พระราชวังดุสิต" [5] และโปรดให้สร้างสวนจิตรลดาในบริเวณระหว่างพระราชวังดุสิตกับวังพญาไท เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสและประทับแรม และสร้างพระตำหนักขึ้นหลังหนึ่ง พระราชทานนามว่า พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ผนวกสวนจิตรลดาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต [6]

พระราชวังดุสิตได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นที่ทำการของรัฐบาล ยังคงเหลือเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นเขตพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน คือ บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

สถานที่ภายในพระราชวัง

พระที่นั่ง

พระที่นั่งที่สำคัญ มีดังนี้

พระที่นั่งอุดรภาค สร้างขึ้นในรัชกาลที่5 สร้างขึ้นเชื่อมต่อกับพระที่นั่งอัมพรสถาน โดยเคยเป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุขุมมาลศรี พระวรราชเทวี และเคยเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะ

พระตำหนัก

ตำหนัก

  • ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรุณวดี(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในสมัยรัชกาลที่9)
  • ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในสมัยรัชกาลที่9)
  • ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรเสรฐสุดา(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง เป็นบางส่วนซึ่งนำมาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง)
  • ตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์เครื่องราชูปโภคและภาพสีน้ำมัน)
  • ตำหนักตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ผ้าไทยโบราณ)
  • ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ)
  • ตำหนักสวนบัวเปลว
  • ตำหนักหอ (ปัจจุบันคือสถานที่จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี)

อาคารต่างๆ

  • อาคารพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง(เป็นสถานที่จัดแสดงรถม้าพระที่นั่งในสมัยรัชกาลที่5)
  • อาคารจัดแสดงเครื่องราชูปโภค(เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องราชูปโภคต่างๆ)
  • อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างต้น(เป็นสถานที่จัดแสดงช้างทรงในรัชกาลปัจจุบัน)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความเรื่องสวนดุสิต, เล่ม ๑๕, ตอน ๕๐, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๑, หน้า ๕๔๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระบรมราชโองการสร้างพระที่นั่งวิมาณเมฆ, เล่ม ๑๗, ตอน ๒๔, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๑๙๐๐, หน้า ๓๐๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ, เล่ม ๑๙, ตอน ๒, ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕, หน้า ๒๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเรียกวังสวนดุสิตเป็นพระราชวัง, เล่ม ๒๖, ตอน ๐ง, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒, หน้า ๔๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๑๑๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสวนจิตรลดา, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ก, ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๔

แหล่งข้อมูลอื่น

0°N 0°E / 0°N 0°E / 0; 0