ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศจอร์เจีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 185 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q230 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
K7L (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งอื่น: voy:, replaced: {{Wikitravel → {{wikivoyage| using AWB
บรรทัด 207: บรรทัด 207:


;อื่นๆ
;อื่นๆ
* {{wikivoyage|Georgia (country)}}
* {{Wikitravel}}


{{เอเชีย}}
{{เอเชีย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:55, 12 มีนาคม 2556

จอร์เจีย

საქართველო (จอร์เจีย)
คำขวัญจอร์เจีย: ძალა ერთობაშია
(Dzala ertobashia: พลังอยู่ในเอกภาพ)
เพลงชาติTavisupleba (อิสรภาพ)
ที่ตั้งของจอร์เจีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ทบิลิซิ
ภาษาราชการภาษาจอร์เจีย
การปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
มีเคอิล ซาคัชวีลี
นีคอลอซ กีเลารี
ได้รับเอกราช
9 เมษายน พ.ศ. 2534
พื้นที่
• รวม
69,700 ตารางกิโลเมตร (26,900 ตารางไมล์) (118)
น้อยมาก
ประชากร
• 2547 ประมาณ
4,677,401 (114)
• สำมะโนประชากร 2533
5.5 ล้าน
67 ต่อตารางกิโลเมตร (173.5 ต่อตารางไมล์) (101)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
15.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (122)
3,039 ดอลลาร์สหรัฐ (127)
เอชดีไอ (2546)0.732
สูง · 100
สกุลเงินลารี (GEL)
เขตเวลาUTC+3 (MSK)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+4 (MSD)
รหัสโทรศัพท์995
โดเมนบนสุด.ge

จอร์เจีย (อังกฤษ: Georgia; จอร์เจีย: საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์เมเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส

  • ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย
  • ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน
  • ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์เมเนีย และตุรกี
  • ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ
พื้นที่

69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คน ต่อตารางไมล์

การแบ่งเขตการปกครอง

จอร์เจียแบ่งเป็น 9 จังหวัด (mkhare) จังหวัดต่าง ๆ แบ่งย่อยลงไปเป็นเขต (raioni) 2 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (avtonomiuri respublika) และ 1 นคร (k'alak'i) * ดังนี้

หมายเลข เขตการปกครอง เมืองหลวง
1 สาธารณรัฐปกครองตนเองอับฮาเซีย (Abkhazia) ซูฮูมี (Sukhumi)
2 ซาเมเกรลอ-เซมอสวาเนตี (Samegrelo-Zemo Svaneti) ซุกดีดี (Zugdidi)
3 กูเรีย (Guria) โอซูร์เกตี (Ozurgeti)
4 สาธารณรัฐปกครองตนเองอัดจารา (Adjara) บาตูมี (Batumi)
5 ราชา-เลชคูมีและคเวมอสวาเนตี อัมบรอลาอูรี (Ambrolauri)
(Racha-Lechkhumi and Kvemo Svaneti)
6 อีเมเรตี (Imereti) คูไตซี (Kutaisi)
7 ซัมซเค-จาวาเคตี (Samtskhe-Javakheti) อะคัลต์ซีเค (Akhaltsikhe)
8 ชีดาคาร์ตลี (Shida Kartli) กอรี (Gori)
9 มซเคตา-มเตียเนตี (Mtskheta-Mtianeti) มซเคตา (Mtskheta)
10 คเวมอคาร์ตลี (Kvemo Kartli) รุสตาวี (Rustavi)
11 คาเคตี (Kakheti) เตลาวี (Telavi)
12 ทบิลิซิ* (Tbilisi)
จอร์เจียตะวันตกเฉียงเหนือ

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของจอร์เจียมียาวนานกว่า 2,500 ปี และภาษาจอร์เจียก็เป็นหนึ่งในภาษาเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้อยู่ กรุงทบิลิซิ (เมืองหลวง) ซึ่งมีอายุกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ในหุบเขาที่งดงามซึ่งถูกแบ่งโดยแม่น้ำ Mtkvari พื้นที่ส่วนใหญ่ของจอร์เจียถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับและมองโกล ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 18 ซึ่งเป็นเวลา 11 ศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้ ในระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 12 จอร์เจียได้รับการคุ้มครองจากรัสเซีย ซึ่งในที่สุดรัสเซียก็ได้ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเนรเทศราชวงศ์จอร์เจียในปี ค.ศ. 1801 (พ.ศ. 2344) อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจอร์เจียจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซียเมื่อระบบกษัตริย์ (Tsarist) ของรัสเซียถูกโค่นลง สาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) กองทัพแดง (Red Army) ของสหภาพโซเวียตก็ได้เข้ายึดครองจอร์เจียอีกครั้งหนึ่ง ทำให้จอร์เจียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สภาสูงสุดของสาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

จอร์เจียประสบปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติตั้งแต่ประกาศเอกราช และเพิ่งเริ่มมีเสถียรภาพในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนพลัดถิ่นภายใน (internally displaced persons--IDPs) กว่า 230,000 คน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความขัดแย้งในดินแดนอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียซึ่งต้องการแยกตัวออกจากจอร์เจียยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ยังคงต้องอาศัยกองกำลังสันติภาพของรัสเซีย และองค์การระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพ ซึ่งต้องมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับเซาท์ออสซีเชียมีความคืบหน้าพอสมควร ในขณะที่การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับอับฮาเซียยังคงหาผลสรุปไม่ได้

รัฐบาลจอร์เจียยึดมั่นในแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของ IMF และ World Bank และให้ความสำคัญกับการบูรณะเส้นทางสายไหม ในฐานะที่เป็น Eurasian corridor โดยจะใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจอร์เจียเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย

การเมือง

จอร์เจียเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์) ช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งก่อนที่จะแยกออกมานั้นมีชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมจอร์เจีย" แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากประเทศใด ๆ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากคนต่างเชื้อสายในประเทศเดียวกันเองอยู่เสมอ ส่วนเมืองที่รัสเซียให้การสนับสนุนก็ได้ออกมาในรูปแบบของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลจอร์เจียซึ่งทางรัสเซียถือหางอยู่ จอร์เจียถือเป็นรัฐกันชนอีกแห่งที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออกได้ และในอดีตทางยุโรปตะวันออกก็ถือได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาวยุโรปและโดยเฉพาะกับยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ก็ได้ประกาศสงครามและสู้รบอย่างเป็นทางการกับทางรัสเซียแล้ว เพราะเนื่องจากถูกทหารรัสเซียบุกเข้าโจมตีทางเซาท์ออสซีเชียก่อนหน้านี้เป็นเวลา 2 วันแล้ว

นโยบายต่างประเทศ

แม้ว่าจอร์เจียจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส แต่ในบริบทของการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ อาทิ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป จอร์เจียมีบทบาทสำคัญด้วยที่ตั้งที่ใกล้กับอิรัก อิหร่าน และตุรกี และยังตั้งอยู่บนเส้นทางขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภายในจอร์เจีย (ดินแดง Abkhazia, South Ossetia และ Adjara) ยังทำให้จอร์เจียสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อรองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้

ความสัมพันธ์

จอร์เจีย - ไทย

ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจอร์เจียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ฝ่ายไทยจึงมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโกรับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-จอร์เจีย ในขณะที่ฝ่ายจอร์เจียได้แต่งตั้งนาย Tatsuya Nishimura ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2003

จอร์เจีย - รัสเซีย

จอร์เจียมีความขัดแย้งกับรัสเซียสืบเนื่องมาจากปัญหาแบ่งแยกดินแดนในจอร์เจีย โดยจอร์เจียกล่าวหารัสเซียว่าเข้าไปแทรกแซงในปัญหาเหล่านี้ ทั้งในทางลับและโดยการส่งกองกำลังเข้าไป และยังกังวลว่ารัสเซียพยายามที่จะผนวกดินแดนจอร์เจียเข้าไปในดินแดนของตน ในขณะที่รัสเซียเห็นว่าดินแดนชายแดนของจอร์เจียบางแห่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายเชชเนีย และเห็นว่ารัฐบาลจอร์เจียไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างกลุ่มกองโจรเชชเนียเหล่านี้ในดินแดนของตน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2007 เครื่องบินขับไล่ SU-25 จำนวน 2 ลำ ได้บินเข้าไปในน่านฟ้าจอร์เจีย พร้อมกับยิงขีปนาวุธ 1 ลูกไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก South Ossetia ทางการจอร์เจียเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัสเซีย ส่วนทางฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินขับไล่เป็นของจอร์เจียที่ต้องการยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในพื้นที่ South Ossetia เพื่อโน้มน้าวให้สหภาพยุโรปและ NATO เห็นว่า รัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและเข้ามาให้ความช่วยเหลือจอร์เจียในกรณีที่มีความขัดแย้งกับรัสเซีย อย่างไรก็ดี ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2551 ประธานาธิบดี Saakashvili ได้ให้สัมภาษณ์แก่รายการโทรทัศน์รัสเซีย ประกาศว่า “การมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียถือเป็นผลประโยชน์แก่จอร์เจีย” และเชื่อว่าการเข้าร่วม NATO ของจอร์เจียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับรัสเซีย นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นของตนเกี่ยวกับการเมืองในบริบทโลกว่า จะสนับสนุนความสัมพันธ์กับทั้ง NATO และประเทศอื่น ๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตก และเชื่อว่านโยบายต่างประเทศของจอร์เจียควรจะมีหลายมิติ

จอร์เจีย - สหรัฐอเมริกา

จอร์เจียมีความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) กับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปีค.ศ.2000 โดยสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่จอร์เจีย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

กองทัพ

กองทัพบก

กองทัพอากาศ

กองทัพเรือ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจจอร์เจียมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นในระยะหลังมานี้ โดยเฉพาะหลังจากการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี Saakashvili ในปี 2546 เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่แน่วแน่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายและเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ การปฏิรูปภาษี (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548) ที่ลดอัตราภาษีลงเพื่อให้ประชาชนลดการหลบเลี่ยงภาษี กระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่ม และยังพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในหมู่นักลงทุนต่างชาตินอกจากนี้ รัฐบาลยังประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และในระยะหลังยังมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโครงการท่อขนส่งน้ำมัน Baku-Tbilisi-Ceyhan ซึ่งจะทำให้จอร์เจียเป็นเส้นทางผ่านสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป

อย่างไรก็ดี ความยากจน ธุรกิจผิดกฎหมาย ตลาดมืด และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจอร์เจีย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Shevardnadze ทั้งนี้ มีการประเมินว่า มีการดำเนินธุรกิจโดยมิได้ผ่านการลงทะเบียนของรัฐในจอร์เจียอยู่ถึงร้อยละ 30-50

ประชากร

เป็นเชื้อชาติจอร์เจีย 70% ชาวอาร์เมเนีย 8% ชาวรัสเซีย 6% และอื่น ๆ 16%

วัฒนธรรม

นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 75% นับถือศาสนาอิสลาม 11% อื่น ๆ 14%

การศึกษา

กีฬา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อัตชีวประวัติ
  • Avalov, Zurab: Prisoedinenie Gruzii k Rossii, Montvid, S.-Peterburg 1906
  • Gvosdev, Nikolas K.: Imperial policies and perspectives towards Georgia: 1760–1819, Macmillan, Basingstoke 2000, ISBN 0-312-22990-9
  • Lang, David M.: The last years of the Georgian Monarchy: 1658–1832, Columbia University Press, New York 1957

แหล่งอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
สื่อสารมวลชน
อื่นๆ

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA