กันยายนทมิฬ
กันยายนทมิฬ أيلول الأسود | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็นอาหรับ | |||||||
กลุ่มควันเหนือกรุงอัมมาน ระหว่างการปะทะกันของกองทัพจอร์แดนกับเฟดายีน วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1970 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ยัสเซอร์ อาราฟัต คาลิล อัล-วาซีร์ อะบู อาลี ไอยัด จอร์จ ฮาบาช นาเยฟ ฮาวัตเมห์ ซาลาห์ จาดิด |
สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน ฮาบิส อัล-มาจาลี ซาอิด อิบน์ เชเกอร์ วาสฟี อัล-ทอล โมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก | ||||||
กำลัง | |||||||
15,000–40,000[1] 10,000[2] รถถัง 300 คัน[3] | 65,000–74,000[4] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
PLO: ตาย 3,400 คน[5][6] ซีเรีย: ตายและบาดเจ็บ 600 คน[1] รถถังและยานเกราะสูญหาย 120 คัน[7] | จอร์แดน: ตาย 537 คน[8] |
กันยายนทมิฬ เป็นความขัดแย้งระหว่างกองทัพจอร์แดน นำโดยสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดนกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) นำโดยยัสเซอร์ อาราฟัต การปะทะหลักเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-27 กันยายน ค.ศ. 1970 แต่ยังมีการปะทะกันประปรายจนถึงวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1971
การที่จอร์แดนเสียเขตเวสต์แบงก์ให้อิสราเอลในสงครามหกวัน ทำให้นักรบปาเลสไตน์หรือเฟดายีนย้ายฐานไปที่เมืองคาราเมห์ในจอร์แดน ปี ค.ศ. 1968 กองกำลังป้องกันอิสราเอลโจมตีเมืองคาราเมห์เพื่อตอบโต้การโจมตีของเฟดายีนครั้งก่อนหน้าและลงโทษจอร์แดนที่ให้การสนับสนุน การสู้รบครั้งนี้ทำให้เฟดายีนได้รับการสนับสนุนจากชาติอาหรับมากขึ้น[9] ในปี ค.ศ. 1970 เฟดายีนที่เริ่มมีอำนาจในจอร์แดนประกาศจะล้มล้างราชวงศ์ฮัชไมต์และพยายามลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ฮุสเซน 2 ครั้ง[10] ต่อมาในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์จี้เครื่องบิน 3 ลำให้ลงจอดที่ดอว์สันส์ฟิลด์ในเมืองซาร์กาเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษชาวอาหรับและปาเลสไตน์ เหตุการณ์นี้เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้กษัตริย์ฮุสเซนสั่งขับไล่กลุ่มเฟดายีนให้ออกไปจากจอร์แดน[11]
วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1970 กองทัพจอร์แดนล้อมเมืองอัมมานและเออร์บิดที่มีเฟดายีนอยู่ก่อนจะยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ วันต่อมา กองทัพซีเรียเข้ามาสนับสนุนเฟดายีน ในวันที่ 22 กันยายน กองทัพซีเรียถอนกำลังหลังถูกจอร์แดนโจมตีทางภาคพื้นดินและทางอากาศอย่างหนัก แต่ความกดดันจากชาติอาหรับทำให้กษัตริย์ฮุสเซนยอมลงนามอนุญาตให้เฟดายีนอยู่ในจอร์แดนต่อไป อย่างไรก็ตามจอร์แดนโจมตีอีกครั้งในปีต่อมา[12] การสู้รบจบลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 เมื่อเฟดายีนยอมจำนนหลังถูกล้อมใกล้เมืองอาจลอน[13]
หลังการสู้รบ จอร์แดนยอมให้เฟดายีนอพยพไปที่เลบานอน กลายเป็นชนวนเหตุหนึ่งที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองเลบานอน[14] ด้านชาวปาเลสไตน์ก่อตั้งองค์การกันยายนทมิฬโดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้แค้นจอร์แดน พวกเขาลอบสังหารวาสฟี อัล-ทอล นายกรัฐมนตรีจอร์แดนก่อนจะก่อเหตุสังหารนักกีฬาชาวอิสราเอลในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนีตะวันตก[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Katz, Samuel M. (1995). Arab Armies of the Middle East Wars 2. New York: Osprey Publishing. p. 10. ISBN 0-85045-800-5.
- ↑ Dunstan, Simon (2003). The Yom Kippur War 1973: Golan Heights Pt. 1. Elsm Court, Chapel Way, Botley, Oxford OX2 9LP, United Kingdom: Osprey Publishing Ltd. ISBN 1 84176 220 2.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ Shlaim 2008, p. 326.
- ↑ Shlaim 2008, p. 321.
- ↑ Massad, Joseph Andoni (2001). Colonial Effects: The Making of National Identity in Jordan. New York: Columbia University Press. p. 342. ISBN 0-231-12323-X.
- ↑ Bailey, p. 59, The Making of a War, John Bulloch, p. 67
- ↑ Shlaim 2008, p. 334.
- ↑ "Duty Martyrs". JAF. สืบค้นเมื่อ 31 August 2017.
- ↑ "1968: Karameh and the Palestinian revolt". Telegraph. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ "What Was Black September?". WorldAtlas.com. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ "The 1970 Palestinian Hijackings of Three Jets to Jordan". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ "Black September and the PLO". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ Shlaim 2008, p. 311-340.
- ↑ "Lebanese Civil War". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ "Black September Group". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.