แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์
แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ الجبهة الشعبية لتحرير فلسطين | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | จอร์จ ฮะบัช |
เลขาธิการ | อะห์มัด ซะอ์ดาต |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1967 |
Paramilitary wing | กองพลอาบู อาลี มุสตาฟา |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมอาหรับ[1] ชาตินิยมปาเลสไตน์ อุดมการณ์รวมกลุ่มอาหรับ ฆราวาสนิยม[2] ลัทธิมากซ์–เลนิน ต่อต้านจักรวรรดินิยม ต่อต้านลัทธิไซออนิสม์[3][4][5] สังคมนิยมประชาธิปไตย[6] แนวทางรัฐเดียว[7] |
จุดยืน | ซ้ายจัด |
กลุ่มระดับชาติ | PLO DAL |
กลุ่มระดับสากล | ICS (ยกเลิก) |
สภานิติบัญญัติ | 3 / 132 |
เว็บไซต์ | |
www.pflp.ps | |
การเมืองปาเลสไตน์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Popular Front for the Liberation of Palestine ย่อเป็น PFLP; อาหรับ: الجبهة الشعبية لتحرير فلسطين, อักษรโรมัน: al-Jabhah al-Sha`biyyah li-Tahrīr Filastīn) เป็นกลุ่มติดอาวุธและพรรคการเมืองนิยมลัทธิมากซ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยจอร์จ ฮาบาส เป็นกลุ่มที่ใหญ่เป็นอันดับสองที่เข้าร่วมก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นกลุ่มที่นิยมความรุนแรง ตรงกันข้ามกับทางสายกลางของกลุ่มฟาตะห์ ต่อต้านข้อตกลงออสโลและแนวคิดในการจัดตั้งรัฐ 2 รัฐเพื่อยุติความขัดแย้ง เคยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต กลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์มากนัก โดยกลุ่มที่นิยมอิสลามเข้ามามีบทบาทแทน
อะห์มัด ซะอ์ดาตดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค PFLP ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 เขาถูกจำคุกในเรือนจำอิสราเอลเป็นเวลา 30 ปี ปัจจุบัน ทั้งรัฐบาลกลุ่มฟาตะฮ์ในเวสต์แบงก์กับรัฐบาลฮามาสในฉนวนกาซาถือว่าพรรค PFLP ผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้จัดการเลือกตั้งในองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2549[8] ข้อมูลเมื่อ 2015[update] พรรค PFLP ถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการบริหาร PLO[9][10][11] และกลุ่ม Palestinian National Council[12]
กลุ่มนี้ประกาศตนเป็นพันธมิตรกับกองกำลังพันธมิตรปาเลสไตน์เพื่อคัดค้านการประกาศหลักการสันติภาพเมื่อ พ.ศ. 2536 ต่อมาใน พ.ศ. 2542 กลุ่มนี้ได้แยกตัวออกจากกองกำลังพันธมิตรปาเลสไตน์และเข้าหารือเรื่องความเป็นเอกภาพของชาติกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ แต่ยังคัดค้านการเจรจากับอิสราเอลต่อไป ผู้นำกลุ่มคนปัจจุบันคือ อะห์มัด ซาดาบา กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยสหรัฐ[13] แคนาดา[14] ญี่ปุ่น[15] แคนาดา[16] ออสเตรเลีย[17] และสหภาพยุโรป[18]
ประวัติ
[แก้]จุดกำเนิดจากขบวนการชาตินิยมอาหรับ
[แก้]แนวร่วมนี้เติบโตมาจากขบวนการชาตินิยมอาหรับที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2496 โดย ดร.จอร์จ ฮาบาส ชาวคริสต์ปาเลสไตน์จากเลียดดา ฮาบาสในวัย 22 ปี เดินทางไปเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยอัมเบอร์กันในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2494.[19] เขาได้ริเริ่มจัดตั้งขบวนการชาตินิยมอาหรับโดยใช้แนวคิดชาตินิยมเป็นหลัก
การก่อตั้งแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์
[แก้]ขบวนการชาตินิยมอาหรับมีสาขาใต้ดินอยู่หลายประเทศทั้งในลิเบีย ซาอุดิอาระเบียและคูเวต ตั้งแต่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ต่อมาได้เพิ่มแนวคิดแบบสังคมนิยมและจัดตั้งเป็นกองกำลังติดอาวุธ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ ขบวนการชาตินิยมตั้งให้ อับตัล อัล-เอาดะห์เป็นกลุ่มทางทหารเมื่อ พ.ศ. 2509 หลังจากสงครามหกวันเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2510 กลุ่มนี้ได้รวมตัวเข้ากับอีก 2 กลุ่มคือกลุ่มเยาวชนแก้แค้น และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยปาเลสไตน์ของ อะห์เหม็ด ญิบริลที่มีซีเรียหนุนหลังในเดือนสิงหาคม เกิดเป็นกลุ่มใหม่ชื่อว่า แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่มีฮาบาสเป็นผู้นำ
ปฏิบัติการ
[แก้]มีปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องในช่วง พ.ศ. 2503 – 2523 โดยเป็นกลุ่มแรกๆที่ก่อการร้ายด้วยการปล้นเครื่องบินและเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์กันยายนทมิฬในจอร์แดนเมื่อ พ.ศ. 2512 กลุ่มนี้ได้ใช้การก่อการร้ายหลายครั้ง เช่น พ.ศ. 2521 โจมตีอิสราเอลและประเทศอาหรับสายกลาง พ.ศ. 2539 โจมตีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิว และ พ.ศ. 2543 ลอบสังหารรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวของอิสราเอล
สมาชิก
[แก้]ประมาณ 800 คน ฐานที่มั่นอยู่ในซีเรีย เลบานอน ฉนวนกาซา เขตเวสต์แบงก์ ได้รับการสนับสนุนจากซีเรีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Profile: Popular Front for the Liberation of Palestine BBC News, 18 November 2014
- ↑ "Jerusalem Synagogue Attack: Motivation Was Not Religion But Revenge For 1948 Massacre, Says PFLP". International Business Times. 19 November 2014.
- ↑ "Popular Front for the Liberation of Palestine (1) เก็บถาวร 17 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Terrorist Group Symbols Database. Anti-Defamation League.
- ↑ "Platform of the Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)" (1969). From Walter Laqueur and Barry Rubin, eds., The Israel-Arab Reader (New York: Penguin Books, 2001).
- ↑ "Background Information on Foreign Terrorist Organizations ." Office of the Coordinator for Counterterrorism, United States Department of State
- ↑ "Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)". www.jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อOne-state solution
- ↑ "Fatah slams Hamas' intention to reshuffle its deposed government". People's Daily Online. 26 December 2010. สืบค้นเมื่อ 4 February 2012.
- ↑ Ibrahim, Arwa (13 February 2015). "PROFILE: The Popular Front for the Liberation of Palestine". Middle East Eye.
- ↑ "Bringing the PFLP back into PLO fold?". Ma'an News Agency. 2 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
- ↑ "Profile: Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)". BBC News. 18 November 2014.
- ↑ Sawafta, Ali. "Palestinian forum convenes after 22 years, beset by division". reuters.com.
- ↑ "Foreign Terrorist Organizations". U.S. Department of State.
- ↑ "Currently listed entities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-19. สืบค้นเมื่อ 2008-07-13.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ 2013-11-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "About the listing process". สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ "Israeli legal group threatens to sue Australian charity for funding terror group". Times of Israel. 14 October 2012. สืบค้นเมื่อ 23 March 2016.
- ↑ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:165:0072:0074:EN:PDF
- ↑ Kazziha, Walid, Revolutionary Transformation in the Arab World: Habash and his Comrades from Nationalism to Marxism. p. 17-18
ข้อมูล
[แก้]- [1] เก็บถาวร 2010-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, [2] เก็บถาวร 2010-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, [3] เก็บถาวร 2010-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Secret documents regarding 1974 cooperation between the KGB and the PFLP against Israel and arming PFLP – (in Russian) from the Soviet Archives [4] collected by Vladimir Bukovsky
- ดลยา เทียนทอง. ปฐมบทการก่อการร้าย. กทม: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550 หน้า 80 – 81
- ศราวุฒิ อารีย์. ก่อการร้าย มุมมองของโลกอิสลาม. กทม. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550. หน้า 125 - 126
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- PFLP website in Arabic
- Interview with imprisoned PFLP General Secretary Ahmad Saadat- Fight Back! News, Summer 2003