ข้ามไปเนื้อหา

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก St. Matthew the Evangelist)
นักบุญมัทธิว
มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารมีทูตสวรรค์
อยู่เหนือไหล่ วาดโดย แรมบรังด์
อัครทูตและผู้นิพนธ์พระวรสาร
นิกายโรมันคาทอลิก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน

ลูเทอแรน
สักการสถานหลักมหาวิหารซาแลร์โน
วันฉลอง21 กันยายน (ศาสนาคริสต์ตะวันตก) 16 พฤศจิกายน (ศาสนาคริสต์ตะวันออก)
สัญลักษณ์ทูตสวรรค์
องค์อุปถัมภ์นักบัญชี เมืองซาแลร์โน (ประเทศอิตาลี) และเมืองอื่น ๆ

มัทธิว[1] (อังกฤษ: Matthew the Evangelist; ฮีบรู: מתי - ของขวัญของพระเจ้า ; ภาษาฮีบรูมาตรฐาน และ ภาษาฮีบรูไทบีเรียน “Mattay”; กรีก: Μαθθαίος, “Matthaios”) เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีกสามท่านคือ มาระโก ยอห์น และลูกา) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นพระวรสารฉบับหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ และเชื่อกันว่าเป็นคนเดียวกับ “เลวี” (Levi) ผู้เก็บภาษี

คำบรรยายของพระวรสาร[แก้]

ปัญหาว่ามัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารเป็นใครเป็นเรื่องที่ซับซ้อนด้วยเหตุผลหลายประการ พระวรสารมีชื่อว่า “มัทธิว” เขียนโดยผู้ไม่บอกนามแต่มาลงชื่อ “มัทธิว” ภายหลัง ลักษณะและวิธีการเขียนภาษากรีกที่บรรยายเหตุการณ์ทำให้นักวิชาการทางคัมภีร์ไบเบิลเชื่อว่าผู้ประพันธ์ไม่ได้อยู่สมัยเดียวกับพระเยซู[2] นักวิชาการบางคนชี้ว่านักบุญมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารเป็นผู้เขียนพระวรสารฉบับนิรนามนี้ และนักบุญมัทธิวอัครทูตคือผู้ที่ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนี้ แต่ทางธรรมเนียมคริสต์ศาสนาถือว่าสองคนนี้เป็นคนคนเดียวกัน

วิธีเขียนเล่าเรื่องพันธสัญญาใหม่ของนักบุญมัทธิวก็ค่อนข้างจะซับซ้อน ในพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และกิจการของอัครทูต มีการกล่าวถึง “มัทธิว” โดยไม่มีตำแหน่ง ไม่มีคำบรรยายว่าเป็นใคร และไม่มีการบ่งถึงหน้าที่ และในพระวรสารนักบุญยอห์นและในจดหมายเหตุต่อมาก็ไม่มีที่กล่าวถึง “มัทธิว”

แต่พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวถึง “มัทธิว” เองว่าเป็นผู้เก็บภาษีที่ถูกพระเยซูเรียกตัว ซึ่งในพระวรสารฉบับอื่นเรียกว่า “เลวี” พระวรสารฉบับนี้จึงเรียกนักบุญมัทธิวว่า “ผู้เก็บภาษี” ในรายนามอัครทูตสิบสองคน ตามธรรมเนียมคริสต์ศาสนาถือว่า “มัทธิว” และ “เลวี” เป็นคนคนเดียวกัน แต่นักวิชาการทางคัมภีร์ไบเบิลสมัยใหม่ไม่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานนี้[3] นักวิชาการเชื่อว่าผู้ที่เขียนพระวรสารนักบุญมัทธิวเปลี่ยนชื่อ “เลวี” เป็น “มัทธิว” อาจจะเป็นเหตุผลทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ ซึ่งอาจจะทำเพื่อให้อัครทูตที่ถูกพระเยซูเรียกตัวเป็นสมาชิกของกลุ่มอัครทูตสิบสองคน[3] ถ้าสรุปว่าเรื่องของนักบุญมัทธิวในพระวรสารนักบุญมัทธิวมีพื้นฐานมาจากเรื่องของ “เลวี” อีกคนหนึ่ง ก็ไม่เป็นปัญหาที่ว่า “มัทธิว” เป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์

สารานุกรมคาทอลิกกล่าวว่า “นักบุญมัทธิว” ครั้งหนึ่งอาจจะเรียกว่า “เลวี” ตามที่กล่าวใน มก 2:14 [4] และ ลก 5:27.[5] สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวว่า “การที่คนหนึ่งจะมีชื่อสองชื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในบรรดาชาวยิว[6] ย่อหน้าอื่นในพระวรสารที่กล่าวถึง “มัทธิว” หรือ “เลวี” คือ มก 2:1-22[7] และ ลก 5:27-39.[8]

“เลวี” ที่กล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิว เป็นผู้เก็บภาษีที่พระเยซูเรียกว่า “บุตรของอัลเฟียส” (Son of Alphaeus) การที่พระเยซูเรียกตัว “เลวี” ทำให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับพวกฟาริสี เพราะไปคลุกคลีกับคนเก็บภาษีและคนบาป อีกข้อหนึ่งที่อาจจะเป็นได้คือยากอบ บุตรเศเบดี ซึ่งชื่อเดิมว่า “เลวี” และยากอบ บุตรอัลเฟอัส อาจจะถูกเรียกตัวไปเป็นสาวกพร้อมกับลูกา

ความยอมรับนักบุญมัทธิวในปัจจุบัน[แก้]

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารได้รับการยอมรับเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันฉลองนักบุญมัทธิวในวันที่ 16 พฤศจิกายน ในขณะที่คริสตจักรละติน แองกลิคัน และลูเทอแรน ฉลองกันในวันที่ 21 กันยายน

เช่นเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารอีกสามองค์ มัทธิวมักจะปรากฏในภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาเป็นคนมีปีก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ทางคริสตจักรตามหนังสือดาเนียล 7 (Book of Daniel) หรืออาจจะเป็นการกล่าวถึง เทวดาผู้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้บอกให้นักบุญมัทธิวเขียนพระวรสาร ภาพเขียนสามภาพของนักบุญมัทธิวโดยการาวัจโจที่โบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี ที่กรุงโรมเป็นภาพเขียนที่สำคัญในประวัติศิลปะตะวันตก

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 203-4
  2. John P. Meier, “A Marginal Jew volume 1”, Anchor Bible Reference Library
  3. 3.0 3.1 John P. Meier, “A Marginal Jew volume 3”, Anchor Bible Reference Library, 2001. p.130-133, 201.
  4. มก 2:14
  5. ลก 5:27
  6. Catholic Encyclopedia
  7. มก 2:1-22
  8. ลก 5:27-39

ดูเพิ่ม[แก้]