มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญมัทธิว
มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารมีทูตสวรรค์
อยู่เหนือไหล่ วาดโดย แรมบรังด์
อัครทูตและผู้นิพนธ์พระวรสาร
นิกายโรมันคาทอลิก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน

ลูเทอแรน
สักการสถานหลักมหาวิหารซาแลร์โน
วันฉลอง21 กันยายน (ศาสนาคริสต์ตะวันตก) 16 พฤศจิกายน (ศาสนาคริสต์ตะวันออก)
สัญลักษณ์ทูตสวรรค์
องค์อุปถัมภ์นักบัญชี เมืองซาแลร์โน (ประเทศอิตาลี) และเมืองอื่น ๆ

มัทธิว[1] (อังกฤษ: Matthew the Evangelist; ฮีบรู: מתי - ของขวัญของพระเจ้า ; ภาษาฮีบรูมาตรฐาน และ ภาษาฮีบรูไทบีเรียน “Mattay”; กรีก: Μαθθαίος, “Matthaios”) เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีกสามท่านคือ มาระโก ยอห์น และลูกา) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นพระวรสารฉบับหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ และเชื่อกันว่าเป็นคนเดียวกับ “เลวี” (Levi) ผู้เก็บภาษี

คำบรรยายของพระวรสาร[แก้]

ปัญหาว่ามัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารเป็นใครเป็นเรื่องที่ซับซ้อนด้วยเหตุผลหลายประการ พระวรสารมีชื่อว่า “มัทธิว” เขียนโดยผู้ไม่บอกนามแต่มาลงชื่อ “มัทธิว” ภายหลัง ลักษณะและวิธีการเขียนภาษากรีกที่บรรยายเหตุการณ์ทำให้นักวิชาการทางคัมภีร์ไบเบิลเชื่อว่าผู้ประพันธ์ไม่ได้อยู่สมัยเดียวกับพระเยซู[2] นักวิชาการบางคนชี้ว่านักบุญมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารเป็นผู้เขียนพระวรสารฉบับนิรนามนี้ และนักบุญมัทธิวอัครทูตคือผู้ที่ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนี้ แต่ทางธรรมเนียมคริสต์ศาสนาถือว่าสองคนนี้เป็นคนคนเดียวกัน

วิธีเขียนเล่าเรื่องพันธสัญญาใหม่ของนักบุญมัทธิวก็ค่อนข้างจะซับซ้อน ในพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และกิจการของอัครทูต มีการกล่าวถึง “มัทธิว” โดยไม่มีตำแหน่ง ไม่มีคำบรรยายว่าเป็นใคร และไม่มีการบ่งถึงหน้าที่ และในพระวรสารนักบุญยอห์นและในจดหมายเหตุต่อมาก็ไม่มีที่กล่าวถึง “มัทธิว”

แต่พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวถึง “มัทธิว” เองว่าเป็นผู้เก็บภาษีที่ถูกพระเยซูเรียกตัว ซึ่งในพระวรสารฉบับอื่นเรียกว่า “เลวี” พระวรสารฉบับนี้จึงเรียกนักบุญมัทธิวว่า “ผู้เก็บภาษี” ในรายนามอัครทูตสิบสองคน ตามธรรมเนียมคริสต์ศาสนาถือว่า “มัทธิว” และ “เลวี” เป็นคนคนเดียวกัน แต่นักวิชาการทางคัมภีร์ไบเบิลสมัยใหม่ไม่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานนี้[3] นักวิชาการเชื่อว่าผู้ที่เขียนพระวรสารนักบุญมัทธิวเปลี่ยนชื่อ “เลวี” เป็น “มัทธิว” อาจจะเป็นเหตุผลทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ ซึ่งอาจจะทำเพื่อให้อัครทูตที่ถูกพระเยซูเรียกตัวเป็นสมาชิกของกลุ่มอัครทูตสิบสองคน[3] ถ้าสรุปว่าเรื่องของนักบุญมัทธิวในพระวรสารนักบุญมัทธิวมีพื้นฐานมาจากเรื่องของ “เลวี” อีกคนหนึ่ง ก็ไม่เป็นปัญหาที่ว่า “มัทธิว” เป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์

สารานุกรมคาทอลิกกล่าวว่า “นักบุญมัทธิว” ครั้งหนึ่งอาจจะเรียกว่า “เลวี” ตามที่กล่าวใน มก 2:14 [4] และ ลก 5:27.[5] สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวว่า “การที่คนหนึ่งจะมีชื่อสองชื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในบรรดาชาวยิว[6] ย่อหน้าอื่นในพระวรสารที่กล่าวถึง “มัทธิว” หรือ “เลวี” คือ มก 2:1-22[7] และ ลก 5:27-39.[8]

“เลวี” ที่กล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิว เป็นผู้เก็บภาษีที่พระเยซูเรียกว่า “บุตรของอัลเฟียส” (Son of Alphaeus) การที่พระเยซูเรียกตัว “เลวี” ทำให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับพวกฟาริสี เพราะไปคลุกคลีกับคนเก็บภาษีและคนบาป อีกข้อหนึ่งที่อาจจะเป็นได้คือยากอบ บุตรเศเบดี ซึ่งชื่อเดิมว่า “เลวี” และยากอบ บุตรอัลเฟอัส อาจจะถูกเรียกตัวไปเป็นสาวกพร้อมกับลูกา

ความยอมรับนักบุญมัทธิวในปัจจุบัน[แก้]

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารได้รับการยอมรับเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันฉลองนักบุญมัทธิวในวันที่ 16 พฤศจิกายน ในขณะที่คริสตจักรละติน แองกลิคัน และลูเทอแรน ฉลองกันในวันที่ 21 กันยายน

เช่นเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารอีกสามองค์ มัทธิวมักจะปรากฏในภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาเป็นคนมีปีก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ทางคริสตจักรตามหนังสือดาเนียล 7 (Book of Daniel) หรืออาจจะเป็นการกล่าวถึง เทวดาผู้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้บอกให้นักบุญมัทธิวเขียนพระวรสาร ภาพเขียนสามภาพของนักบุญมัทธิวโดยการาวัจโจที่โบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี ที่กรุงโรมเป็นภาพเขียนที่สำคัญในประวัติศิลปะตะวันตก

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 203-4
  2. John P. Meier, “A Marginal Jew volume 1”, Anchor Bible Reference Library
  3. 3.0 3.1 John P. Meier, “A Marginal Jew volume 3”, Anchor Bible Reference Library, 2001. p.130-133, 201.
  4. มก 2:14
  5. ลก 5:27
  6. Catholic Encyclopedia
  7. มก 2:1-22
  8. ลก 5:27-39

ดูเพิ่ม[แก้]