ข้ามไปเนื้อหา

มารีย์ชาวมักดาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารีย์ชาวมักดาลา
มารีย์ชาวมักดาลากอดพระบาทพระเยซู
สาวก
เกิดไม่ทราบ
มักดาลา?
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาจเป็นเอเฟซัส เอเชียไมเนอร์ หรือมาร์เซ[1]
นิกายโรมันคาทอลิก
แองกลิคัน
ออร์ทอดอกซ์
ลูเทอแรน
วันฉลอง22 กรกฎาคม
สัญลักษณ์ตะวันตก: ผอบน้ำมัน, ผมยาว, อยู่ใต้กางเขน
ตะวันออก: ผอบน้ำมัน, ผู้ถือไข่สีแดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการคืนชีพ, ผู้กอดเท้าพระเยซูหลังจากที่คืนชีพ
องค์อุปถัมภ์ร้านยา, ผู้เปลี่ยนศาสนา, ผู้ทำถุงมือ, ผู้ที่ถูกเยาะเย้ยว่าเคร่งครัด, น้ำหอม, เภสัชกร, ผู้ย้อมหนัง, ผู้หญิง, และอื่น ๆ

มารีย์ชาวมักดาลา[2] หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (กรีก: Μαρία ἡ Μαγδαληνή, อังกฤษ: Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง[3] ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อน[4] เธอโดดเด่นขึ้นมาในช่วงวันสุดท้ายของพระเยซู โดยไปปรากฏตัวที่กางเขนหลังสาวกชาย (ยกเว้นยอห์นอัครทูต) ต่างพากันหลบหนีไป และที่พิธีฝังพระศพ เธอเป็นบุคคลแรกที่เห็นพระเยซูหลังพระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ชีพ[5] ตามพระคัมภีร์ยอห์น 20 และมะระโก 16:9

มารีย์มักดาลาได้รับพิจารณาจากทั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรนว่าเป็นนักบุญ โดยมีวันฉลองตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์ตะวันออกยังเฉลิมฉลองเธอในวันอาทิตย์แห่งผู้ถือของหอม (myrrhbearer)

การอ้างอิงในพันธสัญญาใหม่

[แก้]
“Noli me Tangere” (อย่าแตะต้องเรา)
โดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) (Hans Holbein the Younger)

ใน พระวรสารนักบุญลูกา 8:2-3, กล่าวว่ามารีย์ชาวมักดาลาเป็นสตรีคนหนึ่งในกลุ่มที่เป็นผู้ “ปรนนิบัติพระองค์ด้วยการถวายสิ่งของของเขา”[6] ในบทเดียวกัน กล่าวถึงการไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากร่างของมารีย์ และครั้งหนี่งไล่ผีออกได้ถึงเจ็ดผี สตรีกลุ่มนี้หลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว ก็ได้ร่วมเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมกับพระเยซูเป็นครั้งสุดท้าย (มัทธิว 27:55; มาระโก 15:41; ลูกา 23:55) และได้เป็นพยานในการตรึงพระเยซูที่กางเขน มารีย์ชาวมักดาลาอยู่ต่อถึงการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนและนำไปไว้ในที่บรรจุศพที่เตรียมไว้โดยนักบุญโยเซฟแห่งอาริมาเธีย

รหัสลับดาวินชีระบุว่า มารีย์ชาวมักดาลามีบุตรกับพระเยซู ซึ่งเชื้อสายนั้นต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสด้วย

รุ่งเช้ามารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์แม่ของนักบุญยอห์นผู้น้อย (มัทธิว 28:1; มาร์ค 16:2; พระวรสารนักบุญเปโตร 12) กลับไปที่ที่เป็นที่ไว้ร่างพระเยซูเพื่อจะเอาน้ำมันหอมไปพรมร่างพระเยซูแต่กลับพบว่าที่นั้นว่างเปล่า และมีทูตสวรรค์มาปรากฏ (มัทธิว 28:5) เมื่อเห็นเช่นนั้นมารีย์ก็ไปบอกนักบุญเปโตร และ “สาวกผู้ที่เป็นที่รัก” ของพระเยซู (ยอห์น 20:1–2) ทำให้มารีย์ชาวมักดาลาได้ชื่อว่าเป็น “อัครทูตของอัครทูต” พอบอกเสร็จมารีย์ก็รีบกลับไปที่ไว้ศพอีกครั้ง มารีย์ไปถึงก็นั่งร้องไห้อยู่ที่ประตู

ตามคำของนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร มารีย์ชาวมักดาลาเป็นคนแรกที่ได้เห็นพระเยซูหลังจากที่ทรงคืนพระชนม์ แต่เมื่อเห็นพระเยซูมาปรากฏตัวมารีย์ชาวมักดาลาก็จำพระเยซูไม่ได้ แต่เมี่อพระเยซูทรงเอ่ยนามมารีย์ มารีย์จึงจำได้แล้วจึงร้องว่า “รับโบนี” (อาจารย์) (ยอห์น 20:16 เก็บถาวร 2007-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) มารีย์อยากจะเข้าไปเกาะพระองค์แต่ก็ทรงห้ามไว้ (ยอห์น 20:17) พระเยซูตรัสกับเธอว่า "อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ เพราะเรายังมิได้ขึ้นไปหาพระบิดาของเรา แต่จงไปหาพวกพี่น้องของเรา และบอกเขาว่า เราจะขึ้นไปหาพระบิดาของเรา และพระบิดาของท่านทั้งหลาย ไปหาพระเจ้าของเรา และพระเจ้าของท่านทั้งหลาย"”

ข้อความนี้เป็นสิ่งสุดท้ายที่กล่าวถึงมารีย์ชาวมักดาลาในพระวรสารผู้ซึ่งหลังจากนั้นก็กลับไปเยรูซาเลม มารีย์ชาวมักดาลาอาจจะเป็นหนึ่งในกลุ่มสตรีที่ไปยังกรุงเยรูซาเลมกับอัครทูตหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (กิจการของอัครทูต 1:14)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Saint Mary Magdalen". New Catholic Dictionary. 1910. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2007-02-28.
  2. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับ ๑๙๗๑ (ฉบับเรียงพิมพ์ใหม่ ๑๙๙๘) มัทธิว 28:1

    "ภายหลังวันสะบาโต เวลาใกล้รุ่งเช้าวันต้นสัปดาห์ มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์"

  3. ลูกา 8:2

    "พร้อมกับผู้หญิงบางคนที่มีผีร้ายออกจากนางและที่หายโรคต่าง ๆ คือมารีย์ที่เรียกว่าชาวมักดาลา ที่พระองค์ได้ทรงขับผีออกจากนางเจ็ดผี"

  4. Saint Mary Magdalene. (2011). In Encyclopædia Britannica. Retrieved from http://www.britannica.com/EBchecked/topic/367559/Saint-Mary-Magdalene
  5. "Saint Mary Magdalene." Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica, 2011. Web. 04 Mar. 2011. read online.
  6. ลูกา บทที่ 8 ข้อที่ 3

    "และโยอันนาภรรยาของคูซา ต้นเรือนของเฮโรด และซูซันนา และผู้หญิงอื่น ๆ หลายคนที่เคยปรนนิบัติพระองค์ด้วยการถวายสิ่งของของเขา"