ยูดาส อิสคาริโอท
ยูดาส อิสคาริโอท (อังกฤษ: Judas Iscariot; ฮีบรู: יהודה איש־קריות Yəhûḏāh ʾΚ-qəriyyôṯ) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซูผู้กล่าวว่ามีหน้าที่ถือ “ถุงเงิน” (ภาษากรีก: γλωσσόκομον) [1] และเป็นผู้ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซูโดยการบอกทหารประจำพระวิหารว่าใครคือพระเยซูซึ่งเป็นผลให้พระเยซูถูกจับ[2]
รากคำ
[แก้]ในภาษากรีกในพันธสัญญาใหม่ ยูดาส อิสคาริโอทเรียกว่า “Ιούδας Ισκάριωθ” (Ioúdas Iskáriōth) และ “Ισκαριώτης” (Iskariṓtēs)
“Judas” สะกด “Ioudas” ในภาษากรีกโบราณ และ “Iudas” ในภาษาละตินซึ่งออกเสียง “ยูดาส” ทั้งสองภาษา และเป็นชื่อที่ใช้กันทั่วไป “Judah” (יהודה, Yehûdâh, ภาษาฮิบรูสำหรับ “พระเจ้าทรงเป็นที่สรรเสริญ” (God is praised) การสะกดเช่นนี้เป็นพื้นฐานของการสะกดชื่อในพันธสัญญาใหม่ที่มาเป็นภาษาอังกฤษว่า “จูดาส” (Judas) หรือ “จูด” (Jude) หรือ (Judh)
ความสำคัญของ “อิสคาริโอท” ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน การสันนิษฐานมีสองสมมติฐาน
- ที่น่าเป็นไปได้ที่สุดก็คือคำว่า “อิสคาริโอท” มาจากภาษาฮีบรูสำหรับ “איש־קריות” (Κ-Qrîyôth) ซึ่งหมายความว่า “ผู้มาจากเคริออท” (Kerioth) พระวรสารนักบุญยอห์นกล่าวถึงยูดาสว่าเป็น “บุตรของไซมอน อิสคาริโอท” (ยอห์น 6:71
) ซึ่งเป็นนัยว่าผู้ที่มาจากเคริโอทคือพ่อของยูดาสไม่ใช่ตัวยูดาสเอง[3] บางท่านก็กล่าวว่า “เคริออท” หมายถึงบริเวณหนึ่งในแคว้นยูเดีย แต่ “เคริออท” ก็เป็นชื่อของเมืองสองเมืองของแคว้นยูเดียด้วย[4]
- สมมติฐานที่สองกล่าวว่า “อิสคาริโอท” เป็นการบอกว่ายูดาสเป็นชาวยิวไซคารีอิ (Sicarii) [5] ซึ่งเป็นกลุ่มนักลอบสังหารในบรรดาชาวยิวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการยึดครองของชาวโรมันในแคว้นยูเดีย ซึ่งต้องการขับไล่โรมันออกจากยูเดีย แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านกล่าวว่าชาวไซคารีมิได้ก่อตัวขึ้น กระทั่งราวคริสต์ทศวรรษ 40's หรือ 50's ของคริสต์ศตวรรษที่ 1 จึงเป็นไปไม่ได้ที่ยูดาสจะเป็นชาวยิวไซคารีอิ[6]
เพราะการที่ยูดาสมีบทในการเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซู ทำให้ชื่อ “ยูดาส” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันแพร่หลายในสมัยคริสตกาล หลังจากยูดาสทรยศพระเยซูแล้ว ความนิยมในการตั้งชื่อบุตรชาย "ยูดาส" จึงเสื่อมถอยลงไป เกือบหายไปในบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสเตียน แต่ชื่อ “ยูดาส” (Yudas) หรือ "ยูดาสดา" (Yudasdah) หรือ "จูดาสดา" (Judasdah) หรือ “เยฮูดา” (Yehuda) ในภาษาฮิบรู ยังเป็นชื่อที่ใช้กันในหมู่ชาวยิว หรือบางทีก็ใช้ “จูด” (Jude) หรือ (Judh) ในบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ยอห์น 12:6 , ยอห์น 13:29
- ↑ มัทธิว 26:14 , มัทธิว 26:47 , มาระโก 14:10 , มาระโก 14:42 , ลูกา 22:1 , ลูกา 22:47 , ยอห์น 13:18 , ยอห์น 18:1
- ↑ Richard Bauckham, Jesus and the Eyewitnesses: The Gospels as Eyewitness Testimony, Eerdmans (2006), page 106.
- ↑ New English Translation Bible, n. 11 in Matthew 11
- ↑ Bastiaan van Iersel, Mark: A Reader-Response Commentary, Continuum International (1998), page 167.
- ↑ Brown, Raymond E. (1994). The Death of the Messiah: From Gethsemane to the Grave: A Commentary on the Passion Narratives in the Four Gospels v.1 pp. 688-92. New York: Doubledays/The Anchor Bible Reference Library. ISBN 0-385-49448-3; Meier, John P. A Marginal Jew: Rethinking the Historical Jesus (2001). v. 3, p. 210. New York: Doubledays/The Anchor Bible Reference Library. ISBN 0-385-46993-4.