โธมัสอัครทูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอมัสอัครสาวก
The Incredulity of Saint Thomas by Caravaggio.jpg
อัครทูต
เสียชีวิตราว ค.ศ. 72
ใกล้เมืองเช็นนัย ในประเทศอินเดีย
นิกายโรมันคาทอลิก

ออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน
นิกายลูเธอรัน

คอปติกออร์โธด็อกซ์
วันฉลอง3 กรกฎาคม (โรมันคาทอลิก)

26 Pashons (คอปติกออร์โธด็อกซ์) วันอาทิตย์ทอมัส (วันอาทิตย์แรก Pascha)

6 ตุลาคม และ 30 มิถุนายน (ออร์ทอดอกซ์)
สัญลักษณ์แฝด, นิ้วจิ้มแผลพระเยซู, หอก และฉาก
องค์อุปถัมภ์สถาปนิก

โธมัสอัครทูต[1] (กรีก: Απόστολος Θωμάς อะโปสโตโลส ธอมัส) เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 72 ใกล้เมืองเชนไนในประเทศอินเดีย นักบุญโธมัสเป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ผู้เป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูคืนชีพหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนจริงเมื่อได้รับข่าว แต่เมื่อพระเยซูมาทรงปรากฏตัวโธมัสก็อุทานว่า “My Lord and my God” นักบุญทอมัสเป็นผู้เดียวในบรรดาอัครทูตที่ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนานอกจักรวรรดิโรมัน รวมทั้งราชอาณาจักรเปอร์เชีย รัฐเกรละ (ในอินเดียปัจจุบัน) และประเทศจีน

นักบุญโธมัสในพระวรสารนักบุญยอห์น[แก้]

นักบุญโธมัสปรากฏสองสามครั้งในพระวรสารนักบุญยอห์น11:16 หลังจากนักบุญลาซารัสเพิ่งเสียชีวิต สาวกหลายคนของพระเยซูไม่เห็นด้วยกับการที่จะทรงเดินทางกลับไปยูเดียซึ่งเป็นที่ที่โดนชนยิวโจมตีโดยการปาก้อนหิน แต่พระองค์ยังทรงต้องการเสด็จไป นักบุญโธมัสจึงกล่าวด้วยความกล้าหาญว่า “เราไปด้วยกันเถอะ และเราอาจจะตายกับพระองค์”[2]

นอกจากนั้นนักบุญโธมัสยังพูดในโอกาส พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย ยอห์น 14:5 เมื่อพระเยซูทรงย้ำว่าทรงทราบว่าจะเสด็จไปไหนแต่นักบุญโธมัสประท้วงว่าไม่มีใครทราบจุดหมาย พระเยซูทรงตอบนักบุญโธมัสและนักบุญฟีลิปอัครทูตที่ถามถึงความสัมพันธ์ของพระเยซูและพระเจ้าผู้เป็นพระบิดา

รูปปั้นโดยอันเดรีย เดล เวอร์โรชชิโอแสดงความสงสัยของนักบุญโธมัส

แต่ฉากที่สำคัญที่สุดของนักบุญโธมัสเป็นฉากในพันธสัญญาใหม่ ยอห์น 20:24-29 ที่นักบุญโธมัสมีความสงสัยในการคืนพระชนม์ของพระเยซูและขอพิสูจน์โดยการสัมผัสรอยแผลของพระองค์ก่อนที่จะยอมเชื่อที่เห็นได้จากภาพวาด “ความสงสัยของนักบุญโธมัส” โดย คาราวัจโจ เรื่องนี้เป็นที่มาของวลี “ทอมัสขี้สงสัย” (Doubting Thomas) หลังจากที่เห็นว่าพระเยซูฟื้นขึ้นมาจริง (พระคัมภีร์ไบเบิลมิได้ระบุว่านักบุญทอมัสแตะแผลพระเยซู) นักบุญโธมัสก็อุทานว่า “My Lord and my God” และถูกเรียกว่า “โธมัสผู้มีความเชื่อ”[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "มัทธิว 10:3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
  2. พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับนานาชาติ (New International Version)
  3. “ความศรัทธาและลักษณะของนักบุญโธมัส” (Faith and Character of Apostle Thomas) โดย ด็อกเตอร์แม็ทธิว เวลลานิคาล และบทความอื่นๆ ใน “St. Thomas Christian Encyclopaedia”

ดูเพิ่ม[แก้]