สโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สโมสรฟุตบอลแพร่)
แพร่ ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด
ฉายาม้าคะนองศึก
ก่อตั้งพ.ศ. 2492
(แพร่ เอฟซี)
สนามสนามกีฬาอบต.ห้วยม้า
อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ประเทศไทย
ความจุ7,200 คน
เจ้าของบริษัท ฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานไทย พงษ์สวัสดิ์ ศุภศิริ
ผู้จัดการไทย ศุภวัลย์ ศุภศิริ
ผู้ฝึกสอนไทย ธงชัย รุ่งเรืองเลิศ
ลีกไทยลีก 2
2565–66อันดับ 9
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในระดับไทยลีก 2

ประวัติสโมสร[แก้]

สโมสรฟุตบอลอาชีพจังหวัดแพร่ ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2552 ภายใต้การจดทะเบียนในนาม บริษัท ฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด จำกัด ผลงานในฤดูกาลแรกไม่ค่อยดีนัก สโมสรจบอันดับในเกือบท้ายตารางของดิวิชัน 2 โซนภาคเหนือ ทำให้ฤดูกาลถัดมา สโมสรต้องเปลี่ยนแปลงการบริหาร โดยแต่งตั้งพงษ์สวัสดิ์ ศุภศิริ เป็นประธานสโมสร และประสงค์ ชุ่มเชย เป็นผู้จัดการทีม งบประมาณทำทีมของแพร่ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2553 มีประมาณ 6 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, สมาคมกีฬาจังหวัดแพร่ และการกีฬาแห่งประเทศไทย

ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562 แพร่ ยูไนเต็ด โดยการคุมทีมของ อานนท์ บรรดาศักดิ์[1] ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร หลังจากที่ทีมบุกไปเอาชนะแกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด ถึงถิ่น 1–0[2]

ตราสโมสร[แก้]

ตราสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด เป็นรูปม้าซึ่งเป็นสัตว์ที่ปรากฏอยู่บนตราประจำจังหวัดแพร่ ขอบเป็นสีแดงเลือดหมู และด้านในเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด

สนามเหย้า[แก้]

แพร่ ยูไนเต็ด ใช้สนาม​อบต.ห้วยม้า​ อำเภอเมือง​ จังหวัดแพร่สนามเหย้า มีอัฒจันทร์สองฝั่ง ทั้งฝั่งที่มีหลังคาและไม่มีหลังคา นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกบริเวณข้างอัฒจันทร์ด้านมีหลังคา

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ
2562 ไทยลีก 3 โซนตอนบน 24 18 4 2 48 13 58 อันดับ 2 รอบแรก รอบแรก
2563–64 ไทยลีก 2 34 16 11 7 49 27 59 อันดับ 5 ไม่ได้เข้าร่วม
2564–65 ไทยลีก 2 34 21 10 3 51 35 73 อันดับ 3 รอบ 64 ทีม ไม่ได้เข้าร่วม
2565–66 ไทยลีก 1 34 13 12 9 50 43 51 อันดับ 2 รอบก่อนรองชนะเลิศ ไม่ได้เข้าร่วม
2566–67 ไทยลีก 2 34 รอบ 64 ทีม ไม่ได้เข้าร่วม
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ศิริวัฒน์ อิงแก้ว (ยืมตัวจาก ขอนแก่น ยูไนเต็ด)
2 DF ไทย กานต์ดนัย ถาวรศักดิ์
4 DF ไทย ลภณวิช สุทธิเสน
5 DF บราซิล ลูกัส เดาเบอร์มันน์
6 MF ไทย อรรถวิท สุขช่วย
7 MF ไทย กิตติภาพ อุปะชาคำ (กัปตันทีม)
8 MF ไทย วรุตม์ บุญสุข
9 FW ไทย อนุรักษ์ ยืนหาร
10 FW ไทย เสฏฐวุฒิ วงค์สาย (ยืมตัวจาก ชลบุรี)
11 FW ไทย เดชา มูฮัมหมัด
14 MF ไทย พรหมมินทร์ แก้วสง่า
16 DF ไทย ธนดล ชายป่า
17 DF ไทย รังสิมันต์ สรวมประคำ
18 FW ไทย กิตติไกร จันทะรักษา
19 MF ไทย รุ่งรดิศ เดชอุปการ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
20 FW ออสเตรเลีย อาตา อินเนีย
21 MF ไทย ศตวรรษ ลีลา (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
23 FW ไทย ชัชชนะ ศรีโพธิ์
30 MF ไทย ปัณณวัชร์ โชติจิรชัยธรณ์ (ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด)
31 MF ไทย สุระเกียรติ เพิ่มศรี
32 FW บราซิล เอรีแวลตู
33 DF ไทย สุเมธ แสนบุตร (ยืมตัวจาก เชียงใหม่)
36 DF ไทย ชาติเวท สิงห์โต
44 DF ไทย คีรอน อ้อนชัยภูมิ (ยืมตัวจาก พีที ประจวบ)
46 GK ไทย พันธกริช บุญยะโชติ
50 DF ไทย กฤษณะ ดาวกระจาย (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
77 FW ไทย ภานุพงศ์ วงค์พิลา (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
80 GK ไทย ชมพัฒน์ บุญเลิศ (ยืมตัวจาก ชลบุรี)
93 FW บราซิล ปาตริก ครุซ
95 FW ไทย เจตนิพิฐ ป้อมภา

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
11 FW บราซิล เอลีอัส (ไป ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี จนจบฤดูกาล)

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน[แก้]

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน (พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
อานนท์ บรรดาศักดิ์ ไทย 2562 – พฤศจิกายน 2564 อันดับที่ 3 ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2562 (เลื่อนชั้น)
พิชิตพงษ์ เฉยฉิว (รักษาการ) ไทย พฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565
ธงชัย รุ่งเรืองเลิศ ไทย กุมภาพันธ์ – กันยายน 2565
อานนท์ บรรดาศักดิ์
ไดกิ ฮิกูชิ (รักษาการ)
ไทย
ญี่ปุ่น
กันยายน 2565 – มีนาคม 2566
ธงชัย รุ่งเรืองเลิศ ไทย มีนาคม 2566 – ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. เป็นทางการ!แพร่ตั้งโค้ชหนุ่มคุมทัพตั้งเป้าเลื่อนชั้น
  2. "ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! แพร่บุกทุบระนองถึงถิ่น 1-0 (1-0) คว้าตั๋วขึ้นไทยลีก 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]