ลุฟท์ฮันซ่า
![]() | ||||
| ||||
ก่อตั้ง | 6 มกราคม ค.ศ. 1953 | |||
---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ท่าอากาศยานมิวนิก | |||
สะสมไมล์ | Miles & More | |||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | |||
ขนาดฝูงบิน | 300 ลำโดยประมาณ | |||
จุดหมาย | 200 แห่งโดยประมาณ | |||
บริษัทแม่ | ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่า อาเก | |||
สำนักงานใหญ่ | โคโลญ ประเทศเยอรมนี ![]() | |||
จำนวนพนักงาน | 138,353 คน (ปี 2019)[1] | |||
เว็บไซต์ | www.lufthansa.com/th/en/homepage |
ลุฟท์ฮันซ่า (เยอรมัน: Lufthansa) หรือชื่อเต็มคือ บมจ.ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่า (เยอรมัน: Deutsche Lufthansa AG) เป็นสายการบินใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี และถือเป็นสายการบินใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปในแง่จำนวนผู้โดยสาร ชื่อลุฟท์ฮันซ่ามาจากการประสมระหว่างคำว่า ลุฟท์ ที่แปลว่า "อากาศ" กับคำว่า ฮันซ่า ที่หมายถึง "สันนิบาตการค้า" บริษัทลุฟท์ฮันซ่าเป็นหนึ่งในห้าสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ในปีค.ศ. 1997[2] ซึ่งเป็นเครือพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นอกจากลุฟท์ฮันซ่าจะดำเนินกิจการสายการบินภายใต้แบรนด์ของตัวเองแล้ว ลุฟท์ฮันซ่ายังมีสายการบินในเครือได้แก่: ออสเตรียนแอร์ไลน์, สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์, บรัสเซลแอร์ไลน์ และยูโรวิงส์ นอกจากนี้ บริษัทลุฟท์ฮันซ่ายังมีหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องในเครือ ได้แก่ Lufthansa Technik (ฝ่ายซ่อม) และ LSG Sky Chefs (ฝ่ายครัวการบิน) หากรวมจำนวนเครื่องบินของสายการบินทั้งหมดในเครือลุฟท์ฮันซ่าแล้ว จะมีเครื่องบินกว่า 700 ลำ ซึ่งถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีฝูงบินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[3]
ลุฟท์ฮันซ่ามีสำนักงานใหญ่ของเครือบริษัทในเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี ส่วนฝ่ายปฏิบัติการใหญ่การเดินอากาศมีที่ตั้งในท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต[4] ฝ่ายปฏิบัติการรองมีที่ตั้งในท่าอากาศยานมิวนิก
ประวัติ[แก้]
บมจ.ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่าถูกก่อตั้งในกรุงเบอร์ลินเมื่อค.ศ. 1926[5] และกลายเป็นสายการบินประจำชาติเยอรมันนับแต่นั้น สายการบินแห่งนี้สิ้นสภาพไปโดยปริยายพร้อมกับความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อค.ศ. 1945[6] แต่ในเวลาต่อมา รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกมีความพยายามฟื้นฟูสายการบินแห่งชาติขึ้นมาใหม่ มีการก่อตั้งบริษัทมหาชนที่ชื่อว่า ลุฟท์ทาค (Luftag)[7] ในนครโคโลญเมื่อปีค.ศ. 1953 พนักงานและผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่เคยทำงานให้กับสายการบินลุฟท์ฮันซ่าที่ล้มไป[8][9] ในปีนั้น ลุฟท์ทาคสั่งซื้อเครื่องบิน Convair CV-340 และ Lockheed L-1049 อย่างละสี่เครื่องจากสหรัฐ และกำหนดท่าอากาศยานฮัมบวร์คเป็นฐานปฏิบัติการใหญ่และฐานซ่อมบำรุง[7] ทั้งนี้เนื่องจาก กรุงเบอร์ลินในขณะนั้นมีสถานะพิเศษระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต จึงไม่มีสายการบินใดได้รับอนุญาตให้บินเหนือน่านฟ้ากรุงเบอร์ลิน
สิงหาคม ค.ศ. 1954 ลุฟท์ทาคซื้อสิทธิ์ในชื่อและโลโก้จากผู้พิทักษ์ทรัพย์ของอดีตบมจ.ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่าด้วยเงินจำนวน 30,000 มาร์ค และกลายเป็นสายการบินประจำชาติเยอรมันนับแต่นั้น ลุฟท์ฮันซ่าเริ่มให้บริการเดินอากาศอีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1955 ในปีแรกให้บริการเที่ยวบินในประเทศระหว่างฮัมบวร์ค, ดึสเซิลดอร์ฟ, แฟรงก์เฟิร์ต, โคโลญ และมิวนิก เที่ยวบินระหว่างประเทศสู่ลอนดอน, ปารีส, มาดริด และนครนิวยอร์ก[10][11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://investor-relations.lufthansagroup.com/fileadmin/downloads/en/financial-reports/annual-reports/LH-AR-2019-e.pdf
- ↑ "Lufthansa". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2 July 2014. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
The airlines engaged in the passenger transportation business are Lufthansa German Airlines...
- ↑ "10 Lufthansa Facts You Should Know". Go Travel Your Way. 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 20 February 2017.
- ↑ "We hereby invite our shareholders to attend the 51st Annual General Meeting" (PDF). investor-relations.lufthansa.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 August 2009.
- ↑ "As Time Flies By". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Starzmann, Maria Theresia (September 2015). "The Materiality of Forced Labor: An Archaeological Exploration of Punishment in Nazi Germany". International Journal of Historical Archaeology. 19 (3): 647–663 – โดยทาง JStor.
- ↑ 7.0 7.1 "We Call on Luftag". Flight International (5 February 1954): 165. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Why Lufthansa reduces its Nazi past to a sidenote | DW | 14.03.2016". DW.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ Rieger, Tobias (2020-04-13). "Kurt Knipfer". Beamte nationalsozialistischer Reichsministerien (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "A German Airline Again". Flight. 15 April 1955. pp. 472–473. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
- ↑ "Die Tabellen-Piloten". Der Spiegel (22/1955): 32–40. 25 May 1955. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 26 October 2011. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.