อิหร่านแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิหร่านแอร์
هواپیمايی ملی ایران
IATA ICAO รหัสเรียก
IR[1] IRA[2] IRANAIR[2]
ก่อตั้งพฤษภาคม ค.ศ. 1944 (79 ปี) (ในชื่อ อิหร่านเนียนแอร์เวย์คอมปะนี)
เริ่มดำเนินงานค.ศ. 1961 (63 ปี) (ในชื่อ อิหร่านแอร์) [3][4][5]
AOC #FS-100[6]
ท่าหลักเตหะราน-อิหม่ามโฆเมย์นี
เตหะราน-เมห์ราบัด
เมืองสำคัญแบนแดร์แอบบอส
แมชแฮด
ชีรอซ
บริษัทลูก
  • อิหร่านแอร์คาร์โก
  • อิหร่านแอร์กราวนด์เซอร์วิส
  • อิหร่านแอร์เคเตอริง[7]
  • ศูนย์ฝึกอบรมการบินโฮมา
ขนาดฝูงบิน30
จุดหมาย57
บริษัทแม่กระทรวงการคมนาคมและสังคมอิหร่าน (60%)[8]
สำนักงานใหญ่อิหร่าน ท่าอากาศยานเมห์ราบัด เตหะราน, ประเทศอิหร่าน
บุคลากรหลักBrig. Gen. Shamseddin Farzadipour (ประะธานและซีอีโอ) [9]
เว็บไซต์www.iranair.com

อิหร่านแอร์ (เปอร์เซีย: هواپیمايی ملی ایران, อักษรโรมัน: Havâpeymâyi-ye Melli-ye Irân) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศอิหร่าน โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานอิหม่ามโฆเมย์นีและมีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเมห์ราบัดในเตหะราน สายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่ 57 จุดหมายปลายทั่วเอเชียและยุโรป ในประเทศอิหร่านอาจรู้จักกันในชื่อ โฮมา (เปอร์เซีย: هما )[10] ซึ่งเป็นสัตว์จำพวกฟีนิกซ์หรือกริฟฟินในปกรณัมเปอร์เซีย[11] โดยจะเป็นชื่อย่อของสายการบินแห่งชาติอิหร่านในภาษาเปอร์เซีย อิหร่านแอร์เป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ

ประวัติ[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

ดักลาส ดีซี 3 ของอิหร่านเนียนแอร์เวย์

อิหร่านแอร์เนียนแอร์เวย์ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 โดยเรซา อัฟชาร์และโกลัม เอ็บเตฮัจ[4] ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 1945 โดยมีเที่ยวบินแรกคือจากเตหะรานไปยังแมชแฮด[3] และตามด้วยบริการเตหะราน-เอสแฟฮอน-ชีรอซ-บุเชห์-ออบอดอน-แอฮ์วอซ ในปี1946 สายการบินได้เปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศครั้งแรก ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ไคโร แบกแดด และเทลอาวีฟ และเพิ่มเส้นทางสู่ปารีสในเดือนเมษายน ค.ศ. 1947 ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี 1962 อิหร่านแอร์มีดักลาส ดีซี-3 ดีซี-4 และเครื่องบินวิกเกอร์ส วิสเคานต์ประจำการในฝูงบิน

ในปี 1961 รัฐบาลได้เข้าควบคุมอิหร่านเนียนแอร์เวย์ทั้งหมด[4] หลังจากได้ควบรวมกิจการกับเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิสเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เพื่อจัดตั้งสายการบินแห่งชาติอิหร่าน (โฮมา) หรือที่รู้จักในชื่ออิหร่านแอร์ ผ่านการร่วมลงทุนของภาครัฐที่ผนวกรวมผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศสองรายเข้าด้วยกัน และเป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาตา) ในปีต่อมา ต่อมาอิหร่านแอร์และเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ได้ร่วมเป็นลูกค้าเปิดตัวเครื่องบินโบอิง 747 เอสพี[12]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 อิหร่านแอร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 57 แห่งใน 17 ประเทศ โดยมีทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ[13]

ข้อตกลงการบินร่วม[แก้]

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 อิหร่านแอร์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[14]

ฝูงบิน[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน[แก้]

แอร์บัส เอ320-200 ของอิหร่านแอร์
แอร์บัส เอ321-200 ของอิหร่านแอร์
แอร์บัส เอ330-200 ของอิหร่านแอร์
ฟอกเกอร์ 100 ของอิหร่านแอร์

ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 อิหร่านแอร์มีเครื่องบินประจำการอยู่ในฝูงบินดังนี้:[15][16]

ฝูงบินของอิหร่านแอร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
H E รวม
แอร์บัส เอ300บี4-200 1 18 236 254
แอร์บัส เอ300-600อาร์ 4 22 239 261
แอร์บัส เอ310-300 1 14 198 212
แอร์บัส เอ319-100 2 12 108 120
แอร์บัส เอ320-200 2 12 144 156
แอร์บัส เอ321-200[17] 1 12 182 194
แอร์บัส เอ330-200[18] 2 32 206 238
เอทีอาร์ 72-600 13 68 68
ฟอกเกอร์ 100 3 104 104
ฝูงบินของอิหร่านแอร์คาร์โก
โบอิง 747-200C/SF 1
สินค้า
รวม 30 0

อิหร่านแอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 18.3 ปี

ฝูงบินในอดีต[แก้]

แอร์บัส เอ300บี4-200F ของอิหร่านแอร์
โบอิง 747-100บีของอิหร่านแอร์

อิหร่านแอร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
อาเอร็อสปาซียาล-บีเอซี คองคอร์ด มีคำสั่งซื้อสำหรับ 2 ลำพร้อมหนึ่งตัวเลือกในปี 1972[19] และยกเลิกคำสั่งซื้อใน 8 ปีต่อมา
แอร์บัส เอ300บี2-200 7 1980 2019
1 1988 ถูกยิงตกในเที่ยวบิน IR655 โดยกองทัพเรือสหรัฐ
แอร์บัส เอ300บี4-200F 2 2008 ไม่ทราบ ทั้งหมดถูกจัดเก็บ
แอร์บัส เอ310-200 6 2001 2009 โอนย้ายมาจากเตอร์กิชแอร์ไลน์
จัดเก็บอยู๋ 3 ลำ
แอฟโรว์ ยอร์ก ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ดำเนินการโดยเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิสจนถึงการผนวกกิจการกับอิหร่านเนียนแอร์เวย์ในปี 1962[20]
บีชคราฟท์ โมเดล 18 ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ดำเนินการโดยอิหร่านเนียนแอร์เวย์จนถึงการผนวกกิจการกับเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิสในปี 1962
โบอิง 707-300 5 1965 2000 ดำเนินการโดยเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิสจนถึงการผนวกกิจการกับอิหร่านเนียนแอร์เวย์ในปี 1962
โบอิง 727-100 3 1965 2006
1 1980 ตกในเที่ยวบิน IR291[21]
โบอิง 727-200/แอดวานซ์ 5 1974 2014 จัดเก็บอยู๋ 3 ลำ
1 1974 2011 ตกในเที่ยวบิน IR277
โบอิง 737-200 6 1971 2004 จัดเก็บที่ศูนย์จัดแสดงอากาศยานเตหะราน
โบอิง 747-100บี 6 1974 2014 EP-IAM ถูกจัดเก็บ
5 ลำเช่ามาจากแพนแอมและคาร์โกลักซ์

เป็นผู้ให้บริการรายแรกและรายสุดท้ายของรุ่น[16]

โบอิง 747-100SF 3 1983 1986 โอนย้ายให้กับกองทัพอากาศอิหร่าน[16]
โบอิง 747-200บี 1 2007 2010
โบอิง 747-200F 4 1980 2004 EP-ICC ถูกจัดเก็บ
เช่ามาจากกองทัพอากาศอิหร่าน
โบอิง 747-200M 3 1976 2016 EP-IAG และ EP-IAI ถูกจัดเก็บ
โบอิง 747-400 1 2017 2017 เช่าจากคาโบแอร์สำหรับเที่ยวบินฮัจญ์
โบอิง 747 เอสพี 4 1976 2016 ทั้งหมดถูกจัดเก็บที่ท่าอากาศยานอิมามะฮ์โคมัยนี

ผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์รายสุดท้าย

คอนแวร์ 240 ไม่ทราบ ไม่ทราบ 1960 ดำเนินการโดยอิหร่านเนียนแอร์เวย์จนถึงการผนวกกิจการกับเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิสในปี 1962[22]
เดอ ฮาวิลแลนด์ โดฟ[22] ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
เดอ ฮาวิลแลนด์ ดรากอน ราพีด ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ดักลาส ดีซี-3 ไม่ทราบ ไม่ทราบ 1972
ดักลาส ดีซี-4 ไม่ทราบ ไม่ทราบ 1960 ก่อนการผนวกกิจการปี 1962 รุ่นขนส่งผู้โดยสารจะดำเนินการโดยอิหร่านเนียนแอร์เวย์และรุ่นขนส่งสินค้าจะดำเนินการโดยเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิส[22]
ดักลาส ดีซี-6บี ไม่ทราบ ไม่ทราบ 1972
ดักลาส ดีซี-7ซี ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ดำเนินการโดยเปอร์เชียนแอร์เซอร์วิสจนถึงการผนวกกิจการกับอิหร่านเนียนแอร์เวย์ในปี 1962
ดักลาส ดีซี-8 1 1976 1977 เช่าจากมาร์ตินแอร์
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 1 1976 1976 เช่าจากมาร์ตินแอร์
ล็อกฮีด แอล-749 คอนสเตลเลชัน ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
วิกเกอร์ส ไวเคานท์ ไม่ทราบ ไม่ทราบ 1960

อ้างอิง[แก้]

  1. IATA. "IATA - Codes - Airline and Airport Codes Search". www.iata.org.
  2. 2.0 2.1 Palt, Karsten. "IATA & ICAO Airline Codes - flugzeuginfo.net". www.flugzeuginfo.net.
  3. 3.0 3.1 "IranAir Portal". Archived from the original on 10 April 2015. Retrieved 24 April 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 Atrvash, Abbas. "The History of Iranian Air Transportation Industry". Iran Chamber Society. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  5. "IranAir". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2009.
  6. "Air operator certificate operations specifications" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-02-07.
  7. "Opening of IranAir Catring". news.iranair.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-06. สืบค้นเมื่อ 2022-02-07.
  8. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-06-12.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. "New heads of CAO, Iran Air appointed". 9 August 2020.
  10. "Iran Air - Official website of Iran Air "Homa" in Scandinavia". iranair.se.
  11. "Achaemenid Persian Griffin Capital at Persepolis - archaeolog". web.stanford.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-03-18.
  12. "Boeing 747SP Production List". planespotters.net.
  13. iranair.com
  14. "Profile on Iran Air". CAPA Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 2016-10-31.
  15. "Orders & Deliveries". Airbus. 30 June 2021. Archived from the original on 10 February 2019. Retrieved 8 July 2021.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Iran Air Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-19.
  17. "Iran took delivery of its 1st Airbus 321 Passenger Plane". Reuters. 11 January 2017. สืบค้นเมื่อ 11 January 2017.
  18. "Iran Air receives its first A330-200 as fleet upgrade continues". Airbus. 10 March 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2017. สืบค้นเมื่อ 12 March 2017.
  19. "CONCORDE SST :ORDERS". www.concordesst.com.
  20. "World Airline Directory". Flight. Vol. 71 no. 2519. London: Iliffe and Sons Ltd. 3 May 1957. p. 609. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
  21. Accident description for Boeing 727-86 EP-IRD at the Aviation Safety Network. Retrieved on 28 December 2016.
  22. 22.0 22.1 22.2 "World Airline Directory". Flight. Vol. 71 no. 2519. London: Iliffe and Sons Ltd. 3 May 1957. p. 604. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.