เฮลเวติกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Helvetica
เฮลเวติกา
ชนิดซานส์-เซอริฟ
รูปแบบย่อยโกรเทส์ใหม่[1]
ออกแบบโดยMax Miedinger, Eduard Hoffmann
ฟาวดรีHaas Type Foundry
วันที่เผยแพร่1957
ฟาวดรีปล่อยใหม่Mergenthaler Linotype Company
ออกแบบมาจากAkzidenz-Grotesk
รูปแบบต่าง ๆHelvetica Inserat (อินเซอรัท)
Helvetica Compressed (คอมเพรสด์)
Neue Helvetica (นู)
Helvetica Now (นาว)
และอื่น ๆ
ชื่ออื่นNeue Haas Grotesk (นู ฮาส โกรเทสก์)

เฮลเวติกา (อังกฤษ: Helvetica) เป็นชื่อไทป์เฟซหรือแบบตัวอักษรในตระกูล Sans Serif ที่มีใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นแบบตัวอักษรที่เป็นที่นิยมที่สุดแบบหนึ่งในปัจจุบัน และได้รับการฉลองครบรอบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2550

เฮลเวติกา สร้างขึ้นโดย เอดัวร์ด ฮอฟฟ์มานน์ (Eduard Hoffmann) ผู้อำนวยการโรงหล่อโลหะ ฮาสไทป์ ในสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 [2] ฮอฟฟ์มานน์ให้นักออกแบบชื่อ แมกซ์ มีดิงเกอร์ (Max Miedinger) เป็นผู้ออกแบบ โดยใช้ชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Neue Haas Grotesk (นิวฮาสโกรเทสก์) ในระยะแรก แต่ไม่ได้รับความนิยมนัก จนกระทั่งบริษัทแม่ของโรงหล่อโลหะ ฮาสไทป์ ได้เปลี่ยนชื่อไทป์เฟซเป็น Helvetica เมื่อ พ.ศ. 2504 มาจากคำว่า Helvetia (เฮลเวทิอา) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาละตินของสวิตเซอร์แลนด์ [2]

ไทป์เฟซเฮลเวติกาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1960-1980 นิยมใช้ในบริษัทที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ทันสมัย ได้รับเลือกเป็นตัวอักษรในป้ายแบบใหม่ของรถไฟใต้ดินนิวยอร์ก และในเครื่องหมายการค้าของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ชั้นนำ เช่น 3 เอ็ม, เอทีแอนด์ที, ลุฟต์ฮันซา, พานาโซนิก, แอปเปิลคอมพิวเตอร์, ไมโครซอฟท์, ไอพ็อด

ไทป์เฟซเฮลเวติกายังเป็นต้นแบบของไทป์เฟซในยุคหลังหลายไทป์เฟซ เช่น แอเรียล (Arial) เป็นไทป์เฟซเลียนแบบ ที่ออกมาใช้กับคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2533 และ มานพติก้า (Manoptica) ออกแบบโดยมานพ ศรีสมพร ระหว่าง พ.ศ. 2516-2530 เป็นแบบอักษรขูดภาษาไทยชนิดไม่มีหัว ซึ่งพัฒนาให้มีบุคลิกคล้ายคลึงกับเฮลเวติกา [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kupferschmid, Indra. "Combining Type With Helvetica". FontShop (archived). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 29 April 2018.
  2. 2.0 2.1 'เฮลเวตติกา' ราชาแห่งไทป์เฟซ เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจ, 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  3. ๑๐ ตัวพิมพ์ กับ ๑๐ ยุคสังคมไทย ปรีชา สุวีรานนท์, นิตยสารสารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๑ เดือน กันยายน ๒๕๔๕