สวิสแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวิสแอร์
IATA ICAO รหัสเรียก
SR SWR SWISSAIR
ก่อตั้ง26 มีนาคม ค.ศ. 1931 (93 ปี)
เลิกดำเนินงาน31 มีนาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี)
(โอนย้ายการดำเนินงานให้กับครอสแอร์ ซึ่งต่อมาเป็นสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์)
ท่าหลัก
สะสมไมล์ควาลิฟลายเออร์
พันธมิตรการบินโกลบอลเอกซ์เซลเลนซ์ (ค.ศ. 1989-1990)
แอตแลนติกเอกซ์เซลเลนซ์ (ค.ศ. 1997-2000)
เดอะควาลิฟลายเออร์กรุ๊ป (ค.ศ. 1992-2002)
บริษัทลูก
บริษัทแม่สวิสแอร์กรุ๊ป (เอสแอร์กรุ๊ป)
สำนักงานใหญ่สวิตเซอร์แลนด์ โคลเทิน ซือริช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
บุคลากรหลัก

สวิสแอร์ (เยอรมัน: Schweizerische Luftverkehr-AG; ฝรั่งเศส: S.A. Suisse pour la Navigation Aérienne) เป็นอดีตสายการบินประจำชาติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่การก่อตั้งในปี 1931 จนถึงการล้มละลายในปี 2002 สายการบินก่อตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่างเบแลร์และอัดอาสตราแอโร[1] โดยตลอดการดำเนินงาน 71 ปีของสายการบิน สวิสแอร์มีฉายาว่า "ธนาคารบินได้" จากสภาพทางการเงินที่มั่นคง จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติสวิตเซอร์แลนด์[ต้องการอ้างอิง] สายการบินมีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานซือริชในโคลเทิน

สวิสแอร์ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 หลังมีการเริ่มใช้ "กลยุทธ์นักล่า" อุบัติเหตุของสวิสแอร์ เที่ยวบินที่ 111 ในปี 1998 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 229 คน สร้างค่าใช้จ่ายในกระบวนการศาลและกระแสวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบให้กับสายการบิน โดยหลังจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังวินาศกรรม 11 กันยายน มูลค่าทรัพย์สินของสวิสแอร์ก็ลดน้อยลง จนต้องหยุดการดำเนินงานในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2001[2] ก่อนที่รัฐบาลสวิสจะเข้ามาช่วยสนับสนุนจนสามารถกลับมาดำเนินได้อีกครั้งจนถึงวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2002 เที่ยวบินสุดท้ายของสวิสแอร์ลงจอดที่ซือริชจากเซาเปาลูในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2002

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2002 ครอสแอร์ อดีตสายการบินลูกของสวิสแอร์ ได้ปรับองค์กรใหม่และใช้ชื่อสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ และรับการดำเนินงานทั้งหมดของสวิสแอร์ สวิสอินเตอร์แนชนัลได้เป็นส่วนหนึ่งของเครือลุฟท์ฮันซ่าในปี 2005[3]

กิจการองค์กร[แก้]

สำนักงานใหญ่[แก้]

สวิสแอร์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท่าอากาศยานซือริชในโคลเทิน[4][5] ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 สวิสแอร์มีสำนักงานใหญ่ในสนามบินดูเบนดอร์ฟในซือริช[6]

บริษัทลูก[แก้]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ฝูงบิน[แก้]

แอร์บัส เอ320-200 ของสวิสแอร์
แอร์บัส เอ330-200 ของสวิสแอร์
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-11 ของสวิสแอร์

ฝูงบินสุดท้าย[แก้]

ก่อนการเลิกดำเนินงาน สวิสแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[7]

ฝูงบินของสวิสแอร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F C Y รวม
แอร์บัส เอ319-100 5 18 92 110 ลูกค้าเปิดตัว
แอร์บัส เอ320-200 24 18 156 174
แอร์บัส เอ321-100 8 18 202 220
แอร์บัส เอ330-200 16 12 42 142 196 การจัดเรียงมาตรฐาน
48 182 230 การจัดเรียงแบบหนาแน่นสูง
แอร์บัส เอ340-600 9 รอประกาศ คำสั่งซื้อถูกยกเลิกหลังล้มละลาย

เดิมจะทดแทนแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11

แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-11 20 8 47 164 219 การจัดเรียงแบบหนาแน่นต่ำ ไม่เคยใช้หลังการล้มละลาย
12 49 180 241 การจัดเรียงมาตรฐาน
รวม 73 9

ฝูงบินในอดีต[แก้]

สวิสแอร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[8][7]

ฝูงบินในอดีตของสวิสแอร์
เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
แอร์บัส เอ310-200 5 1983 1995 ลูดค้าเปิดตัว

สองลำขายให้กับแอร์ลิแบร์เต สามลำขายให้กับเฟดเอกซ์ เอกซ์เพรสเพื่อดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้า

แอร์บัส เอ310-300 6 1985 2000
แอร์บัส เอ319-100 9 1996 2002 ส่วนมากโอนย้ายให้กับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ320-200 20 1995 2002 ส่วนมากโอนย้ายให้กับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ321-100 12 1995 2002 ส่วนมากโอนย้ายให้กับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ330-200 16 1998 2002 ส่วนมากโอนย้ายให้กับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ340-600 9 ยกเลิก คำสั่งซื้อถูกยกเลิกโดยสวิสหลังการล้มละลายของสวิสแอร์ โดยได้มีการสั่งซื้อ เอ340-300 แทน
ทั้งหมดไม่เคยถูกสร้างขึ้น คำสั่งซื้อสำหรับหกลำถูกซื้อต่อโดยเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์และอีกสามลำขายให้กับไอบีเรีย[9]
บีเอซี 1-11 3 1968 1969 เช่าเพื่อเพิ่มความสามารถการบรรทุกผู้โดยสาร
โบอิง 747-200บี 2 1971 1984
โบอิง 747-300 2 1983 2000 ลูกค้าเปิดตัว
ขายให้กับเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์
โบอิง 747-300เอ็ม 3 1983 1999 รวมที่เช่าหนึ่งลำ
คลาร์ก จี.เอ. 43 2 1934 1936 อากาศยานที่ผลิตจากโลหะทั้งลำลำแรกของสวิสแอร์
กอมเค เอเซ-4 1 1931 1947 รับต่อจากอัดอาสตรา
คอนแวร์ ซีวี-240 8 1949 1957 ส่วนมากถูกขายต่อ
คอนแวร์ ซีวี-440 เมโทรโพลิตัน 12 1956 1968 ส่วนมากถูกขายต่อ
เครื่องบินลำแรกของสวิสแอร์ที่มีระบบเรดาร์สภาพอากาศ
คอนแวร์ ซีวี-880-22เอ็ม 2 1961 1962 เช่าขณะรอการส่งมอบของคอนแวร์ 990
คอนแวร์ ซีวี-990 คอรอนาโด 8 1962 1975 ส่วนมากถูกขายต่อ

หนึ่งลำตก หนึ่งลำจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์การขนส่งสวิสในลูเซิร์น

เคอร์ติส เอที-32ซี ค็อนดอร์ 1 1934 1934 เครื่องบินลำแรกของยุโรปที่มีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
ตกในปี 1934
เดอ ฮาวิลแลนด์ ดรากอน ราพีด 3 1937 1954
เดอ ฮาวิลแลนด์ มอสกิโต 1 1945 1945 เดิมถูกใช้เป็นเครื่องบินรบโดยกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ประจำการกับรัฐบาลสวิสก่อนขายให้กับสวิสแอร์ในปี 1944
ดักลาส ดีซี-2 6 1934 1952
ดักลาส ดีซี-3 16 1937 1969
ดักลาส ดีซี-4 5 1946 1959 ใช้ในเส้นทางสู่นครนิวยอร์ก-เจเอฟเค
ดักลาส ดีซี-6 8 1951 1962
ดักลาส ดีซี-7ซี 5 1956 1962 ทั้งหมดถูกขายต่อ
รวมดีซี-7 ลำสุดท้าย
ดักลาส ดีซี-8-32 3 1960 1967 หนึ่งลำดัดแปลงเป็นรุ่น -53 และสองลำดัดแปลงเป็นรุ่น -33
ดักลาส ดีซี-8-53 2 1963 1976 หนึ่งลำดัดแปลงมาจากรุ่น -33
หนึ่งลำถูกปล้นจี้และระเบิดหลังปล่อยผู้โดยสาร
ดักลาส ดีซี-8-62 7 1967 1984 สองลำดัดแปลงเป็นรุ่น -62F สำหรับการขนส่งสินค้า
ดักลาส ดีซี-9-15 5 1966 1968 ทั้งหมดส่งคืนให้กับดักลาสหรือขายต่อ
ดักลาส ดีซี-9-32 22 1967 1988 หนึ่งลำดัดแปลงเป็นรุ่น -33F สำหรับการขนส่งสินค้า
ดอร์เรียร์ เมอร์เคอร์ 2 1931 1931 โอนย้ายมาจากอัดอาสตรา
มราซ เอ็ม-65 แคป 1 1948 1950
ฟอกเกอร์ 7 เอ 1 1931 1950 รับต่อจากเบแลร์
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์การขนส่งสวิสในลูเซิร์น
ฟอกเกอร์ 7 บี 8 1931 1935 รับต่อจากอัดอาสตราและเบแลร์
ฟอกเกอร์ เอฟ27 3 1965 1972 ให้บริการโดยเบแลร์
ฟอกเกอร์ 100 6 1988 1996
ยุงเคิร์ส ยู-86 B-0 2 1936 1939
ล็อคฮีด โมเดล 9 โอไรออน 2 1932 1936 ทั้งสองถูกขายให้กับพรรครีพับลิกันในสงครามกลางเมืองสเปน
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30 12 1972 1992 ส่วนใหญ่ขายให้กับนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30อีอาร์ 2 1972 1992
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-41 4 1974 1975 เช่าจากสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-51 12 1975 1988
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 22 1991 2002 หนึ่งลำตกในเที่ยวบินที่ 111
ที่เหลือถูกโอนย้ายไปยังสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-81 25 1980 1998 ลูกค้าเปิดตัว
ส่วนมากขายให้กับสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-82 3 1982 1996
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-83 2 1995 1996
เม็สเซอร์ชมิท เม 18 1 1931 1938 รับต่อจากอัดอาสตรา
นอร์ด 1000 1 1948 1953 ขายให้กับสำนักงานการบินกลาง
สกอตติช เอวิเอชัน ทวิน ไฟโอเนียร์ 1 1957 1957 ใช้สำหรับท่าอากาศยานบนที่สูง
ซูว์ดาวียาซียง เอสเอ210 การาแวล 9 1960 1971 อากาศยานไอพ่นลำแรกของสวิสแอร์
ลำแรกเช่าจากสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์

อ้างอิง[แก้]

  1. "About Swissair Facts and Figures". Swissair. 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1999-02-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.
  2. Hermann, A., & Rammal, H. G. (2010). The grounding of the "flying bank". Management Decision, 48(7), 1048–62.
  3. "Lufthansa – proposed acquisition of Swiss International Air Lines – Australian Competition Commission". accc.gov.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-22.
  4. "facts & figures." Swissair. Retrieved on 13 June 2009. "Swissair AG, P.O. Box, CH-8058 Zurich Airport"
  5. "Headquarters of Swissair Zuerich-Kloten." KSG, Architects G.Müller + G.Berger. Retrieved on 27 September 2011. The building is located here เก็บถาวร กรกฎาคม 29, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Flight International. April 28, 1938. p. 416 (Archive). "SOCIETE ANONYME SUISSE POUR LA NAVIGATION AERIENNE (Swissair), Dübendorf Aerodrome, Zürich."
  7. 7.0 7.1 "Swissair Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-18.
  8. Patrick Eberhard (2008). "The whole Swissair fleet". Swissair.aero. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02.
  9. Árbol, Antonio Ruiz del (2002-06-28). "Iberia incorpora a su flota tres unidades del mayor avión de Airbus". Cinco Días (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.