แอร์บัส เอ300

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์บัส เอ300
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง
ชาติกำเนิดยุโรป
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
บินครั้งแรก28 ตุลาคม ค.ศ. 1972
เริ่มใช้30 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 กับแอร์ฟรานซ์
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักเฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส
ยูพีเอสแอร์ไลน์
ยูโรเปียนแอร์ทรานสพอร์ตไลพ์ซิช
อิหร่านแอร์
ช่วงการผลิตค.ศ. 1971 - 2007
จำนวนที่ผลิต561[1]
แบบอื่นแอร์บัส เอ300-600ST เบลูกา
แอร์บัส เอ310
พัฒนาต่อเป็นแอร์บัส เอ330
แอร์บัส เอ340

แอร์บัส เอ300 (อังกฤษ: Airbus A300) เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัสเอสอาเอส โดยเป็นอากาศยานลำตัวกว้างชนิดแรกที่ใช้เครื่องยนต์เพียงสองเครื่อง และเป็นอากาศยานลำแรกที่ออกแบบและผลิตโดยแอร์บัส เครื่องบินเอ300 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 266 ที่นั่ง โดยจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทชั้นโดยสาร และมีพิสัยการบินถึง 4,070 ไมล์ทะเล (7,540 กิโลเมตร) เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา

แอร์บัส เอ300 ขึ้นบินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1972 และเริ่มดำเนินการกับแอร์ฟรานซ์ในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 กับเส้นทางปารีส-ลอนดอน ซึ่งแอร์บัสรุ่นนี้มีคุณสมบัติในการระงับเสียงและประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีกว่าอากาศยานไอพ่นโดยสารในขนาดเดียวกัน ทั้งแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และ อิลยูชิน อิล-86 จากการใช้เครื่องยนต์เพียง 2 เครื่อง[2]

การผลิตของแอร์บัส เอ300 สิ้นสุดการผลิตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 ในเวลาใกล้เคียงกันกับแอร์บัส เอ310 รุ่นที่เล็กกว่า

รุ่น[แก้]

เอ300บี1[แก้]

ทีอีเอเป็นสายการบินเดียวที่ให้บริการแอร์บัส เอ300บี1

เอ300บี1 เป็นเครื่องบินรุ่นแรกที่ทำการบิน มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด (MTOW) ที่ 132 ตัน (291,000 ปอนด์) มีความยาว 51 ม. (167 ฟุต) และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เจเนอรัลอิเล็กทริก ซีเอฟ 6-50A สองเครื่อง[3][4]  เครื่องบินรุ่นนี้มีเครื่องต้นแบบเพียงสองลำก่อนที่จะมีการนำไปพัฒนาต่อเป็นรุ่นเอ300บี2 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ผลิต[5]  เครื่องต้นแบบลำที่สองได้ให้ทรานส์ยูโรเปียนแอร์เวย์เช่าในปี 1974[4]

เอ300บี2[แก้]

เอ300บี2 ของลุฟท์ฮันซ่า ในปี 1984

เอ300บี2-100[แก้]

เพื่อตอบสนองความต้องการความจุผู้โดยสารเพิ่มเติมจากแอร์ฟรานซ์ แอร์บัสจึงได้ออกแบบให้รุ่นผลิตแรกจะมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นต้นแบบบี1 แอร์บัส เอ300บี2-100 รุ่นใหม่นี้ยาวกว่า เอ300บี1 ประมาณ 2.6 ม. (8.5 ฟุต) และมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 137 ตัน (302,000 ปอนด์) ทำให้สามารถเพิ่มที่นั่งได้ 30 ที่นั่ง และทำให้ความจุผู้โดยสารทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 281 ที่นั่ง โดยมีความจุสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด LD3 จำนวน 20 ตู้ [6]: 10 [7][4]: 17  โดยจะเลือกใช้เครื่องยนต์ จีอี ซีเอฟ6 เช่นเดิม รุ่นบี2-100 มีการสร้างเครื่องต้นแบบ 2 เครื่อง โดยได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1973 และได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1974 และเข้าประจำการกับสายการบินแอร์ฟรานซ์เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1974[4]: 27, 53 [6]: 10 

เอ300บี2-200[แก้]

สำหรับรุ่นเอ300บี2-200 ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เป็น เอ300B2K ได้มีการปรับเปลี่ยนในหลายๆ ด้าน เช่นการใช้แฟล็บแบบครูเกอร์, การปรับมุมสแล็ตลดลงจาก 20 องศาเป็น 16 องศา และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงยกสำหรับระบบแรงยกสูงกระบวนการนี้เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานในสนามบินที่อู่สูง ซึ่งอากาศมีความหนาแน่นน้อยกว่าและการสร้างแรงยกลดลง[8]: 52, 53 [9] เอ300บี2-200 มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 142 ตัน (313,000 ปอนด์) และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ซีเอฟ6-50C ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1976 และเข้าประจำการกับสายการบินเซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ในเดือนพฤศจิกายน ของปีเดียวกัน[4]: 40 [6]: 12  ตัวเลือกในการติดตั้งเครื่องยนต์ ซีเอฟ6-50C1 และ ซีเอฟ6-50C2 จะมาในภายหลังตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1978 และ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 ตามลำดับ

เอ300บี2-320[แก้]

เอ300บี2-320 ได้เปิดตัวพร้อมกับเครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ เจที9ดี-59เอ ซึ่งยังมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 142 ตัน (313,000 ปอนด์) เดิมของรุ่นบี2-200 โดยได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1980 และเข้าประจำการกับสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็มในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 มีการผลิตเพียงสี่ลำเท่านั้น[4]: 99, 112 [6]: 14 

รุ่น จำนวนที่ผลิต[A]
บี2-100 32
บี2-200 25
บี2-320 4
อ้างอิง:[4]: 110 

A ข้อมูลจำนวนการผลิตแสดงถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999[4]: 110 

เอ300บี4[แก้]

เอ300บี4-200 ของค็อนดอร์

เอ300บี4-100[แก้]

แอร์บัส เอ300บี4 ซึ่งต่อมามีชื่อว่า เอ300บี4-100 มีถังเชื้อเพลิงตรงกลางเพื่อเพิ่มความจุเชื้อเพลิง 47.5 ตัน (105,000 ปอนด์) และมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 157.5 ตัน (347,000 ปอนด์)[10][8]: 38   นอกจากนี้ยังมีแฟล็บแบบครูเกอร์และมีระบบยกสูงคล้ายกับที่มีติดตั้งเพิ่มในรุ่นเอ300บี2-200[8]  รุ่นนี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1975 และเข้าประจำการกับเจอร์มันแอร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1975[4][6]

เอ300บี4-200[แก้]

เอ300บี4-200 จะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 165 ตัน (364,000 ปอนด์) และมีถังเชื้อเพลิงเสริมเพิ่มเติมที่ห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง ซึ่งจะลดความจุตู้สินค้าขนาด LD3 ลง 2 ตู้คอนเทนเนอร์[6][8]  รุ่นนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1979[6]

รุ่น จำนวนที่ผลิต[A]
บี4-100 47
บี4-200 136
อ้างอิง:[4]: 110 

A ข้อมูลจำนวนการผลิตแสดงถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999[4]: 110 

เอ300-600[แก้]

เอ300-600 ของอเมริกันแอร์ไลน์
เอ300-600F ของเอทิฮัดคาร์โก้

แอร์บัส เอ300-600 หรือรู้จักกันในนามว่า แอร์บัส เอ300บี4-600 นั้น เป็นรุ่นขยาย ซึ่งมีความยาวมากกว่ารุ่น เอ300บี2 และ เอ300บี4 เล็กน้อย และมีพื้นที่ภายในเพิ่มขึ้นจากการใช้ลำตัวด้านหลังที่คล้ายกับแอร์บัส เอ310 ทำให้มีที่นั่งเพิ่มอีกสองแถว[8]  เริ่มแรกรุ่น -600 จะขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ เจที9ดี-7อาร์4เอช1 แต่ต่อมาได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์เจเนอรัลอิเล็กทริก ซีเอฟ 6-80C2 โดยมีการเปิดตัวเครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู4056 หรือ พีดับเบิลยู4058 ในปี 1986[8]  เครื่องบินรุ่นนี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1984 และเข้าประจำการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1984 กับซาอุดิอาราเบียนแอร์ไลน์[4][6]  โดยรวมแล้ว มีเครื่องบินแอร์บัส เอ300-600 ทั้งหมด 313 ลำ (ทุกรุ่น) ถูกขาย เอ300-600 ใช้ห้องนักบินเดียวกันกันบนเอ310 ซึ่งมีเทคโนโลยีดิจิทัลและจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่ต้องมีหน้าที่วิศวกรการบิน FAA ได้ออกใบอนุญาตการบินประเภทอากาศยานเดียวกันให้กับทั้งสองรุ่น ซึ่งอนุญาตให้นักบินคนหนึ่งที่มีใบอนุญาตสามารถใช้งานทั้งเอ310 และเอ300-600 ได้

  • เอ300-600: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300บี4-600) รุ่นพื้นฐานของรุ่น −600
  • เอ300-620C: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300ซี4-620) รุ่นปรับเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้า ส่งมอบทั้งหมดสี่ลำระหว่างปี 1984 และ 1985
  • เอ300-600F: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300เอฟ4-600) รุ่นเครื่องบินขนส่งสินค้าพื้นฐานของรุ่น −600
  • เอ300-600R: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300บี4-600อาร์) รุ่นพิสัยสูงของ −600 โดยมีการติดตั้งถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมที่ส่วนท้าย จัดส่งครั้งแรกในปี 1988 ให้กับอเมริกันแอร์ไลน์; เอ300 ทั้งหมดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1989 (รวมค่าขนส่ง) คือ −600Rs เจแปนแอร์ซิสเต็ม (ต่อมารวมเป็นเจแปนแอร์ไลน์) รับมอบเครื่องบินโดยสารเอ300 ที่ลำสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002
  • เอ300-600RC: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300ซี4-600อาร์) รุ่นปรับเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าของ -600อาร์ ทั้งสองถูกส่งมอบในปี 1999
  • เอ300-600RF: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300เอฟ4-600อาร์) รุ่นบรรทุกสินค้าของ −600อาร์ เอ300 ทุกลำที่ส่งมอบระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2002 ถึง 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (การส่งมอบ เอ300 ครั้งล่าสุด) เป็น เอ300-600RF

เอ300บี10 (เอ310)[แก้]

แอร์บัส เอ310 เข้าประจำการกับสวิสแอร์ในเดือนนเมษายน ค.ศ. 1983

ด้วยความต้องการเครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเอ300 จากสายการบินต่างๆ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 โครงการพัฒนาแอร์บัส เอ310 (เดิมคือ เอ300บี10) ได้เปิดตัว โดยได้รับคำสั่งซื้อจากสวิสแอร์และลุฟท์ฮันซ่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1982 เครื่องต้นแบบลำแรกได้ทำการบินครั้งแรกและได้รับการรับรองประเภทเครื่องในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1983

ด้วยการใช้ระยะส่วนตัดขวางแปดส่วนเท่าเดิม แอร์บัส เอ310 จะมีขนาดลำตัวสั้นกว่าเอ300 รุ่นเริ่มต้นประมาณ 6.95 ม. (22.8 ฟุต) และมีปีกที่เล็กกว่า 219 ตร.ม. (2,360 ตร.ฟุต) ลดลงจาก 260 ตร.ม. (2,800 ตร.ฟุต)ของเอ300 โดยในเอ310 มีการนำเสนอห้องนักบินกระจกสำหรับลูกเรือสองคน ซึ่งต่อมาได้นำไปใช้กับเอ300-600 ด้วยใบอนุญาตการบินประเภทอากาศยานเดียวกัน เอ310 จะขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์จีอี ซีเอฟ 6-80 หรือแพรตแอนด์วิตนีย์ เจที9ดี รุ่นเดียวกัน ตามด้วย พีดับเบิลยู4000 เอ310 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 220 คนในการจัดเรียที่นั่งสองชั้น หรือ 240 ที่นั่งในชั้นประหยัดทั้งหมด และสามารถบินได้สูงสุด 5,150 ไมล์ทะเล (9,540 กม.) มีทางออกเหนือระหว่างประตูหลักสองคู่หน้าและประตูหลัง

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1983 สวิสแอรให้บริการแอร์บัส เอ310 เป็นเที่ยวบินแรกขณะที่แข่งขันกับโบอิง 767-200 ซึ่งเปิดตัวเมื่อหกเดือนก่อน ด้วยพิสัยการบินที่มากกว่าและข้อบังคับ ETOPS ทำให้สามารถทำการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ จนถึงการส่งมอบครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998 มีการผลิตเอ310 จำนวน 255 ลำ เนื่องจากมีแอร์บัส เอ330-200 ที่มาแย่งตลาดและชนะไป มีรุ่นเครื่องบินบรรทุกสินค้า และดัดแปลงมาจากเครื่องบินบรรทุก/ขนส่งทางทหารอย่าง แอร์บัส เอ310 MRTT

เอ300-600ST[แก้]

แอร์บัส เบลูกา เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอากาศยานของแอร์บัส

ที่ถูกเรียกโดยทั่วไปเรียกว่า แอร์บัส เบลูกา หรือ "แอร์บัสซุปเปอร์ทรานสพอร์ตเตอร์" แอร์บัสใช้ฝูงบิน 5 ลำของเครื่องบบินนี้ในการขนส่งชิ้นส่วนอากาศยานระหว่างโรงงานผลิตของบริษัท ทำให้สามารถกระจายส่วนแบ่งงานได้ โดยจะเข้ามาแทนที่แอโรสเปซไลน์ซุปเปอร์กัปปีจำนวนสี่ลำที่แอร์บัสเคยใช้ก่อนหน้านี้

ผู้ให้บริการ[แก้]

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 มีเครื่องบินตระกูล เอ300 จำนวน 229 ลำที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดห้าราย ได้แก่เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส (70), ยูพีเอสแอร์ไลน์ (52), ยูโรเปียนแอร์ทรานสพอร์ต ไลพ์ซิช (22), อิหร่านแอร์ (14) และ มาฮานแอร์ (11)[11]

การส่งมอบ[แก้]

รวม 2007 2006 2005 2004 2003 2002 2001 2000 1999 1998 1997 1996 1995 1994 1993 1992 1991
การส่งมอบ 561 6 9 9 12 8 9 11 8 8 13 6 14 17 23 22 22 25
1990 1989 1988 1987 1986 1985 1984 1983 1982 1981 1980 1979 1978 1977 1976 1975 1974
การส่งมอบ 19 24 17 11 10 16 19 19 46 38 39 26 15 15 13 8 4

ข้อมูลจำนวนการส่งมอบแสดงถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007.[12]

อากาศยานที่จัดแสดง[แก้]

แอร์บัส เอ300บี2 ลำนี้เคยเป็นอากาศยานจำลองสภาวะไร้น้ำหนักก่อนถูกนำมาจัดแสดงในปี 2015

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

  • ผู้สร้าง: บริษัทแอร์บัส อินดัสตรี (ฝรั่งเศส/เยอรมัน/อังกฤษ/ฮอลแลนด์/สเปน)
  • ประเภท: เจ็ทโดยสารลำตัวกว้าง พิสัยบินปานกลาง เจ้าหน้าที่ 2-3 คน อัตราผู้โดยสาร 200-310 ที่นั่ง
  • เครื่องยนต์: เทอร์โบแฟน เจเนอรัล อีเล็คทริค ซีเอฟ 6-50 ให้แรงขับเครื่องละ 23,130 กิโลกรัม 2 เครื่อง
  • กางปีก: 44.84 เมตร
  • ยาว: 53.62 เมตร
  • สูง: 16.53 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 260 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 85,060 กิโลกรัม
  • น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 157,500 กิโลกรัม
  • ความเร็วสูงสุด: 937 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 7,620 เมตร
  • ความเร็วเดินทางปกติ: 891 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • เพดานบินใช้งานสูงสุด: 12,200 เมตร
  • พิสัยบิน: 4,631 กิโลเมตร
    • 5,930 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่

[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Airbus A300 Production List". planespotters.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
  2. 2.0 2.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์, อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน, เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์, กรุงเทพ 2522
  3. Norris, Guy (1999). Airbus. Mark Wagner. Osceola, WI, USA: MBI Pub. Co. ISBN 0-7603-0677-X. OCLC 41173835.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 Endres, Günter G. (1999). Airbus A300. Osceola, WI: MBI Pub. ISBN 0-7603-0827-6. OCLC 42780645.
  5. Simons, Graham (2014). The Airbus A380: A History. [Place of publication not identified]. ISBN 978-1-4738-3936-6. OCLC 896116951.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 "Type certificate data sheet A.172 for Airbus A300, A310 and A300-600". EASA. 8 April 2022.
  7. Simpson, Rod (1999). Airlife's Commercial Aircraft and Airliners. Airlife. p. 28. ISBN 9781840370737.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Gunston, Bill (2010). Airbus: The Complete Story. Haynes Publishing UK. pp. 38–74. ISBN 9781844255856.
  9. "Hot and High Operations". SKYbrary Aviation Safety (ภาษาอังกฤษ). 25 May 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
  10. Sweetman, Bill (4 September 1975). "Airbus Industrie spreads its wings". Flight International. Vol. 108 no. 3469. p. 326.
  11. www.airbus.com https://www.airbus.com/aircraft/market/orders-deliveries.html
  12. "Airbus – Historical Orders and Deliveries". Airbus S.A.S. January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 21 December 2008. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
  13. "Musée Aeroscopia" เก็บถาวร 2014-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. aeroscopia-blagnac.fr. Retrieved 1 April 2015.