ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แขวงสี่แยกมหานาค"

พิกัด: 13°45′29″N 100°30′59″E / 13.757956°N 100.516422°E / 13.757956; 100.516422
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
* {{geolinks-bldg|13.757956|100.516422}}
* {{geolinks-bldg|13.757956|100.516422}}


{{เขตดุสิต}}
[[หมวดหมู่:แขวงในเขตดุสิต|สี่แยกมหานาค]]
[[หมวดหมู่:แขวงในเขตดุสิต|สี่แยกมหานาค]]
[[หมวดหมู่:เขตดุสิต]]
[[หมวดหมู่:เขตดุสิต]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:53, 6 กุมภาพันธ์ 2563

แขวงสี่แยกมหานาค
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Si Yaek Maha Nak
แผนที่เขตดุสิต เน้นแขวงสี่แยกมหานาค
แผนที่เขตดุสิต เน้นแขวงสี่แยกมหานาค
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตดุสิต
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด0.339 ตร.กม. (0.131 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด7,422 คน
 • ความหนาแน่น21,893.81 คน/ตร.กม. (56,704.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10300
รหัสภูมิศาสตร์100204
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แขวงสี่แยกมหานาค เป็นเขตการปกครองระดับแขวงหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีถนนพิษณุโลกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองกับแขวงสวนจิตรลดา มีชื่อเสียงเป็นย่านการค้าทางเรือที่สำคัญมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2394 เพื่อขยับขยายพระนคร

แขวงสี่แยกมหานาคเป็นแขวงที่ตั้งของคลองมหานาค ซึ่งเป็นคลองขุดคลองมหานาคเป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นใน พ.ศ. 2326 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามอานัมสยามยุทธ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดตัดผ่านกับคลองแสนแสบที่เพิ่งขุดขึ้น จึงมีลักษณะเหมือนสี่แยก[2] และยังมีเรื่องเล่าอีกว่าชื่อสี่แยกมหานาค มีที่มาจากการที่แม่นาคพระโขนงอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย[3]

แขวงสี่แยกมหานาค ยังเป็นที่ตั้งของตลาดมหานาค ตลาดค้าส่งผลไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเดินทางเข้าคลองมหานาค เปิดขายทุกวันโดยไม่มีวันหยุด และมีความคึกคักอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน[4]

อ้างอิง

  1. กองนโยบายและแผนงาน. สำนักผังเมือง. กรุงเทพมหานคร. "ประชากรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2549." (PDF). กรุงเทพมหานคร.
  2. ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๑]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. 2549, หน้า 233-234
  3. ทองเล็ก, พลเอกนิพัทธ์ (2018-02-13). "ภาพเก่าเล่าตำนาน : แม้ความตายมิอาจพราก แม่นาคพระโขนง : โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก". มติชน.
  4. "Makhanak Market". ไปไหนดีดอตคอม.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′29″N 100°30′59″E / 13.757956°N 100.516422°E / 13.757956; 100.516422