ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระเบิดเถิดเทิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 599: บรรทัด 599:
* '''แบบสุดท้าย''' จะเหมือนกับแบบที่สี่ แต่มีการเพิ่มทรงผม (แอฟโฟร,ผมยาว,ทรงผมของเอลวิส เพรสลี่ย์,ทรงผมสไตล์เกาหลี) เพื่อหลอกคุณสีเรียม (เนื่องจากในช่วงนั้นมีเพียงรูปคุณสีเรียมเท่านั้นที่มีผมโผล่ออกมาก่อนใบหน้า) โดยทรงผมดังกล่าวจะไม่มีการใส่ทรงผมในรูปของคุณสีเรียมและดารารับเชิญ (แต่ในกรณีบอมหมู่ จะมีรูปหน้าพิธีกรและดารารับเชิญ ยกเว้นพิธีกรหลัก อยู่ป้ายเดียวกันในลักษณะของวงกลมกระจายอยู่เต็มแผ่นป้ายแต่เปลี่ยนทรงผมของพิธีกร) ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่22 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ส่วนแผ่นป้ายบอมหมู่ที่ถูกเปลี่ยนทรงผมนั้น ถูกเปิดเจอครั้งแรกเมื่อวันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2551
* '''แบบสุดท้าย''' จะเหมือนกับแบบที่สี่ แต่มีการเพิ่มทรงผม (แอฟโฟร,ผมยาว,ทรงผมของเอลวิส เพรสลี่ย์,ทรงผมสไตล์เกาหลี) เพื่อหลอกคุณสีเรียม (เนื่องจากในช่วงนั้นมีเพียงรูปคุณสีเรียมเท่านั้นที่มีผมโผล่ออกมาก่อนใบหน้า) โดยทรงผมดังกล่าวจะไม่มีการใส่ทรงผมในรูปของคุณสีเรียมและดารารับเชิญ (แต่ในกรณีบอมหมู่ จะมีรูปหน้าพิธีกรและดารารับเชิญ ยกเว้นพิธีกรหลัก อยู่ป้ายเดียวกันในลักษณะของวงกลมกระจายอยู่เต็มแผ่นป้ายแต่เปลี่ยนทรงผมของพิธีกร) ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่22 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ส่วนแผ่นป้ายบอมหมู่ที่ถูกเปลี่ยนทรงผมนั้น ถูกเปิดเจอครั้งแรกเมื่อวันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2551


== โลโก้รายการ ==
<center>
<gallery>
ไฟล์:Rabertold.jpg|[[พ.ศ. 2539]]-กลางปี [[พ.ศ. 2541]] (รุ่น1)
ไฟล์:ระเบิดเถิดเทิง.gif|กลางปี [[พ.ศ. 2541]]-[[พ.ศ. 2549]] (รุ่น1และ2)
</gallery>
</center>
== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3]]
* [[ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3]]
* [[ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง]]
* [[ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง]]
* [[ระเบิดเที่ยงแถวตรง]]
* [[ระเบิดเที่ยงแถวตรง]]
* [[ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง|ระเบิดเถิดเทิง สิงโตทอง ]]
* [[ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง|ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง]]
* [[ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้]]
* [[ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้]]
* [[ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก]]
* [[ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:55, 2 มิถุนายน 2560

ระเบิดเถิดเทิง
สัญลักษณ์รายการระเบิดเถิดเทิงในอดีต
ประเภทวาไรตี้โชว์ (7 ม.ค. 2539 - 31 มี.ค. 2539)
ซิตคอม / เกมโชว์ (7 เม.ย. 2539-27 ก.ย. 2552)
กำกับโดยศิรโรจ บุญไชย
(2542-2552)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอกรุงเทพ(2539-2549)
สตูดิโอ เวิร์คพอยท์(2549-2552)
ความยาวตอน60 นาที ,70 นาที ,90 นาที ,120 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายททบ.5 (2539-2552)
เวิร์คพอยท์ทีวี (2555-ปัจจุบัน)(classic)
ออกอากาศ7 มกราคม พ.ศ. 2539
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3
ระเบิดเถิดเทิงลั่นทุ่ง
ระเบิดเที่ยงแถวตรง
ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง
ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้
ระเบิดเถิดเทิง แดร็กคูล่าหารัก

ระเบิดเถิดเทิง เป็นรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่กับเกมโชว์ อันเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศจนถึงปัจจุบัน ช่วงซิตคอมระเบิดเถิดเทิงยุคแรกและยุคต่อๆมา (2553-ปัจจุบัน)ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อย ๆ นับว่าเป็นซิตคอมที่มีการออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อรายการ

ระเบิดเถิดเทิงมีการเปลี่ยนชื่อรายการถึง7 ครั้ง และยังคงชื่อ ระเบิดเถิดเทิง ไว้เสมอ (ยกเว้น ระเบิดเที่ยงแถวตรง)[ต้องการอ้างอิง]

ระยะเวลาในการออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ช่วงระหว่าง
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก อาทิตย์ 10.00 น. - 11.00 น. 7 มกราคม 2539 - 31 มีนาคม 2539
อาทิตย์ 16.00 น. - 17.00 น. 7 เมษายน 2539 - 28 ธันวาคม 2540
จันทร์ 22.00 น. - 23.00 น. 5 มกราคม 2541 - 30 มีนาคม 2541
เสาร์ 15.00 น. - 16.00 น. 4 เมษายน 2541 - 26 กันยายน 2541
อาทิตย์ 14.00 น. - 15.00 น. 4 ตุลาคม 2541 - 26 ธันวาคม 2547
อาทิตย์ 14.00 น. - 16.00 น. 2 มกราคม 2548 - 25 ธันวาคม 2548
อาทิตย์ 14.00 น. - 15.30 น. 1 มกราคม 2549 - 31 ธันวาคม 2549
อาทิตย์ 14.00 น. - 15.10 น. 7 มกราคม 2550 - 28 ธันวาคม 2551
อาทิตย์ 14.00 น. - 15.00 น. 4 มกราคม 2552 - 27 ธันวาคม 2552
Workpoint TV(classic) เสาร์-อาทิตย์ เสาร์ เวลา 11.00-12.00 น. (วันเสาร์ (รีรัน) 21.00-22.00 น. วันจันทร์ เวลา 11.00-12.00น.) 2555 - 2557
จันทร์ - ศุกร์ 14.05 น. - 15.00 น. (เฉพาะช่วงซิทคอม) 2558 - ปัจจุบัน

รูปแบบรายการ

วาไรตี้โชว์

ในระยะเริ่มแรก ระเบิดเถิดเทิงมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีพิธีกรหลักคือ มยุรา เศวตศิลา และ หนู คลองเตย (ภายหลัง ได้เพิ่ม หม่ำ จ๊กมก เป็นพิธีกรหลักด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงพิธีกรประจำช่วง ฮาระเบิด) มีช่วงต่าง ๆ ดังนี้

  • ฮาระเบิด

เป็นการแสดงตลกของคณะตลก ซึ่งมีคณะตลกหลักเป็นคณะของหม่ำ จ๊กมก ที่นอกจากจะเล่นตลกในช่วงนี้แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นพิธีกรประจำช่วงด้วย

  • ดังระเบิด

เป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรี หรือเป็นการแสดงจากดาราซึ่งเป็นระเบิดรับเชิญในสัปดาห์นั้น ช่วงแรกนี้ มีธงชัย ประสงค์สันติ และวงสามโทน เป็นพิธีกรประจำช่วง

  • ระเบิดรับเชิญ

เป็นช่วงการสัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ร่วมเล่นละครในแต่ละสัปดาห์ พร้อมกับตอบจดหมายจากทางบ้าน โดยจะปรากฏหลังจากละครได้เล่นจบตอนลง

ซิทคอมเกมโชว์

เมื่อรายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศได้เพียงระยะเวลา 3 เดือน ระเบิดเถิดเทิงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่ไปกับเกมโชว์ในช่วงท้ายรายการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบปัจจุบันของระเบิดเถิดเทิงในยุคนี้และต่อๆมา โดยพิธีกรหลักนั้น เป็นมยุรา เศวตศิลาเพียงคนเดียว แต่หนู คลองเตย และหม่ำ จ๊กมก ได้เปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นผู้เล่นละครซิตคอม และร่วมเล่นเกมโชว์ด้วยนั่นเอง (ทว่ามยุราก็ได้ร่วมเล่นละครซิตคอมด้วย แต่เป็นเพียงบทสมทบเท่านั้น) ซึ่งเริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 จนถึงระเบิดเถิดเทิงในยุคปัจจุบันต่อๆมา

สำหรับช่วงซิตคอมนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนของคนในซอยเถิดเทิง ชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มีเท่งกับโหน่ง เป็นนักเลงคุมซอย (ยุคแรกมีทุ๊ย ,ทึ้ง และเท่ง เป็นนักเลงคุมซอย) และตัวละครต่างๆ เช่นเจ๊หม่ำ ,อาโกว ,คุณนายสะอาด ,พ่อมหา ,ตุ่ม และนักแสดงคนอื่นๆที่เข้ามาร่วมแสดงในภายหลังอีก โดยทุกสัปดาห์จะมีเนื้อหาของแต่ละตอนที่ไม่ซ้ำกัน คือแบบตอนเดียวจบ (ยกเว้นบางตอน ที่อาจมีระยะเวลาออกอากาศมากกว่า 1 เทป และในช่วงหลังของระเบิดเถิดเทิง จะมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน) และในแต่ละตอนจะมีดารารับเชิญมาร่วมแสดงกับนักแสดงประจำ และมาร่วมเล่นเกมในช่วงท้าย ซึ่งดารารับเชิญคนแรกของระเบิดเถิดเทิงก็คือ สมบัติ เมทะนี ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศถึงปัจจุบัน ช่วงซิตคอมได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อยๆ ตามแต่สภาพในยุคนั้นๆ และตั้งแต่ระเบิดเทียงแถวตรงเป็นต้นมา จนถึงระเบิดเถิดเทิงยุคปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องหรือไม่เกี่ยวข้องกับเท่งโหน่ง และซอยเถิดเทิงอีกเลย

ตัวละคร

ดูบทความที่ รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง

12 ปี ระเบิดเถิดเทิง

ฉลองครบรอบ 12 ปี ของรายการระเบิดเถิดเทิงด้วยความพิเศษ คือ มี 12 นางเอกมาร่วมแสดงในแต่ละตอน เริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2552 และสิ้นสุดในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยในแต่ละตอนจะมี 1 นางเอก มาร่วมรายการ แต่มีตอน ท้องสองสองท้อง เพียงตอนเดียว ที่มีถึง 2 นางเอก[1] และตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ได้เพิ่มเป็น 12 หนุ่มสุดฮ็อต สิ้นสุดถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2552

วันที่ ชื่อตอน นักแสดงรับเชิญ
1 กุมภาพันธ์ 2552 2 เพชฌฆาตดาวไถ (ไถดาว) มาช่า วัฒนพานิช
อดิเรก วัฏลีลา
8 กุมภาพันธ์ 2552 นายแบบแสบทะลุไส้ ซอนย่า คูลิ่ง
อรนภา กฤษฎี
15 กุมภาพันธ์ 2552 หนี้นี้ต้องชำระ นัท มีเรีย
ตูมตาม เชิญยิ้ม
22 กุมภาพันธ์ 2552 นางฟ้าชุดขาวกับชาวดิน น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์
ณัฐนี สิทธิสมาน
1 มีนาคม 2552 หวานมันส์ พันธุ์เถิดเทิง จินตหรา สุขพัฒน์
รอน บรรจงสร้าง
8 มีนาคม 2552 คู่ซี้ ดีเจซ่า ณัฐฐาวีรนุช ทองมี
ประกาศิต โบสุวรรณ
ภูมิใจ ตั้งสง่า
15 มีนาคม 2552 ท้องสอง สองท้อง ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ
อภิญญา สกุลเจริญสุข
22 มีนาคม 2552 ต้มยำช็อคโกแล็ต ญานิน วิสมิตะนันทน์
29 มีนาคม 2552 ปล้น ปล๊น ปล้น บงกช คงมาลัย
5 เมษายน 2552 คฤหาสน์ คฤโหด อเล็กซานดร้า ธิดาวัลย์ บุญช่วย
เดือนเต็ม สาลิตุล
12 เมษายน 2552 หาดทราย สายลม สามเรา เวโรนิก้า โหงว
มอริส เค
19 เมษายน 2552 เจ๊หม่ำ คัมแบ๊ก หม่ำ จ๊กมก
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
หยอง ลูกหยี
ตูมตาม เชิญยิ้ม
ศิวดล จันทเสวี
26 เมษายน 2552 ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ชยธร เศรษฐจินดา
3 พฤษภาคม 2552 ดามหัวใจ ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม
10 พฤษภาคม 2552 ใส่ความ....ความใส่ ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
17 พฤษภาคม 2552 แผนต้มตุ๋น เปรม บุษราคัมวงศ์
อาภาพร นครสวรรค์
24 พฤษภาคม 2552 หนังสั้นแต่เบื้องหลังยาว วิทวัส สิงห์ลำพอง
31 พฤษภาคม 2552 แผนล้มช้าง ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
7 มิถุนายน 2552 มันมาจากไหน รังสิต ศิรนานนท์
14 มิถุนายน 2552 นักสืบ นักซุ่ม เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์
21 มิถุนายน 2552 ฟลุ๊คจริงๆ เกริกพล มัสยวาณิช
28 มิถุนายน 2552 รูปเจ้าปัญหา ดาวิเด โดริโก้
5 กรกฎาคม 2552 ลิเก แก้บน ชินวุฒิ อินทรคูสิน
อินทิรา เกตุวรสุนทร
ยาว อยุธยา
12 กรกฎาคม 2552 กตติดผี ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม

ระเบิดเถิดเทิง วันหยุด

เป็นรายการพิเศษของระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 โดยจะเสนอเรื่องราวในตอนพิเศษที่เพิ่มเติมจากเรื่องราวปกติ หรือ เสนอภาพเหตุการณ์ที่น่าสนใจของตอนที่ออกอากาศไปแล้วนำมาเสนออีกครั้ง และตัดช่วงเกมส์ออก

พิธีกร

ผู้ดำเนินรายการ

เป็นนักแสดงหลักและนักแสดงสมทบประจำระเบิดเถิดเทิงที่มาร่วมเล่นเกมในช่วงท้ายรายการ แต่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินรายการหลักหรือร่วมแต่อย่างใด ซึ่งภายหลังชาวซอยเถิดเทิงบางคน(ดีใจ , ลิซ่า , ส้มเช้ง และทีน สราวุฒิ) ได้ไปเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมตามลำดับ[ต้องการอ้างอิง]


หมายเหตุ 1: มาแทน เด๋อ ดอกสะเดา
หมายเหตุ 2: มาแทน หม่ำ จ๊กมก

เกมโชว์

ภายหลังช่วงซิทคอมจบ ดารารับเชิญที่แสดงในช่วงซิทคอมตอนนั้นๆ จะต้องมาเล่นเกมในช่วงท้ายของรายการ

วางระเบิด (6 ตุลาคม 2539 - 13 กันยายน 2552)

มีกติตาการเล่นอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ

  • รูปแบบแรก เป็นรูปแบบของเกมวางระเบิด ที่ใช้ในรายการมาตลอด คือจะมีแผ่นป้ายลูกระเบิด ซึ่งจำนวนแผ่นป้ายทั้งหมดขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เล่นคือแขกรับเชิญ และพิธีกรร่วม (ยกเว้นพิธีกรหลัก) แต่ละแผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดแตกต่างกันไป (2539 – 2540 มี 4 แผ่นป้าย ,2540 – 2542 มี 5 แผ่นป้าย ,2542– 2546 มี 6 แผ่นป้าย ,2548 – 2552 มี 8 แผ่นป้าย )เมื่อนำจำนวนลูกระเบิดทุกป้ายกับจำนวนลูกระเบิดของพิธีกรหลัก (1 ลูก) มารวมกัน ก็จะได้เท่ากับจำนวนแผ่นป้าย (ลูกระเบิด) ทั้งหมดในรอบเกมถอดสลักระเบิด คือ 18 ลูก(แต่ในปี 2541 – 2542 มีเพียง 15 ลูก) จะมีกติกาการเลือกโดยดารารับเชิญ จะต้องเลือกแผ่นป้ายให้กับตัวเอง และพิธีกรร่วมทั้งหมด ยกเว้นพิธีกรหลักซึ่งลูกระเบิดอยู่แล้ว 1 ลูก (ในยุคแรกๆคือช่วงวันที่ 7 เมษายน – 10 พฤษจิกายน 2539 พิธีกรหลักคือมยุราจะไม่มีลูกระเบิด ) เมื่อเลือกได้ครบทุกคนแล้วจะทำการเปิดดูแต่ละแผ่นป้ายซึ่งเป็นป้ายดึงแบบยางยึด(ในช่วงวันที่ 5 กรกฎาคม - 26 ตุลาคม 2540 ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการเปิดป้ายยางยืดมาเป็นดึงแท่นระเบิดแทนชั่วคราว) เพื่อดูว่ามีลูกระเบิดที่ซ่อนไว้ทั้งหมดกี่ลูก (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบถอดสลักระเบิด) และในวันที่ 7 มกราคม 2550 - 13 กันยายน 2552 ได้ดัดแปลงกติกาเล็กน้อยคือถ้าดารารับเชิญเลือกแผ่นป้ายให้พิธีกรร่วมและตัวเองหมดแล้ว จะเหลืออยู่ 1 แผ่นป้าย โดยแผ่นป้ายนั้นจะเป็นบอมหมู่คือผู้เล่นทุกคนจะเข้าโดมระเบิดทั้งหมด ยกเว้นพิธีกรหลัก

ซึ่งเกมวางระเบิดรูปแบบนี้ ได้กลับมาใช้อีกครั้งใน ระเบิดเที่ยงแถวตรงยุคหลัง และระเบิดเถิดเทิงสิงโตทองยุคแรก แต่ได้เปลี่ยนชื่อช่วงเป็น เกมลุ้นระเบิด

  • รูปแบบที่สอง รูปแบบนี้ใช้เล่นก่อนเกมแคปซูลระเบิด ซึ่งมาแทนช่วงถอดสลักระเบิดเป็นการชั่วคราว ในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 6 แผ่นป้าย ด้านหลังจะมีระเบิด 1 ลูก 2 แผ่นป้าย และระเบิด 2-5 ลูกอย่างละ 1 แผ่นป้าย ทั้งนี้ แผ่นป้ายแต่ละป้ายจะมีค่าเป็นจำนวนแคปซูลที่จะระเบิดในรอบถัดไป (เช่นเปิดได้ 1 ลูก แคปซูลจะระเบิด 1 แคปซูล) รูปแบบนี้ใช้ในช่วงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 - 26 ธันวาคม 2547

ในช่วงปี 2539-2541 จะมีการหลอกป้ายระเบิดเช่นผู้ที่เลือกป้ายแล้วได้ระเบิด 1-2 ลูกแต่พิธีกรผิดสังเกตว่าลูกระเบิดทั้งหมดยังไม่ครบจำนวนและพิธีกรตรวจดูและปรากฏว่าภายในแผ่นป้ายมีสติ๊กเกอร์ติดอยู่ซึ่งจะมีลูกระเบิดที่มีจำนวนมากเช่นผู้ที่เล่นเกมได้ 1 ลูกเมื่อพิธีกรเปิดสติ๊กเกอร์เจอลูกระเบิดทั้ง 11 ลูกหมายความว่าผู้ที่เล่นเกมได้จำนวนระเบิดถึง 12 ลูกนั่นเอง แต่ในบางครั้งจะใช้โลโก้สัญลักษณ์ของรายการครึ่งรูปเป็นลูกระเบิดหลอกด้วย

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 12 กรกฎาคม 2552 ในช่วง 12 ปีระเบิดเถิดเทิง พิธีกรในรายการ (สิเรียม) จำเป็นจะต้องเลือกแผ่นป้ายด้วย (ในแผ่นป้ายทั้ง 8 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดอยู่ทั้งหมด 18 ลูก) และได้ตามจำนวนระเบิดในแผ่นป้ายนั้น (จากเดิมมี 1 ลูกแน่นอน) รวมถึงมีรูปภาพของคุณสิเรียมในแผ่นป้ายบอมหมู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามกฎกติกายังคงเดิมอยู่

ถอดสลักระเบิด (7 เมษายน 2539 - 26 มกราคม 2546) (2 มกราคม 2548 - 20 กันยายน 2552)

เกมถอดสลักระเบิดนี้จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 18 แผ่นป้าย(ปี 2541-2542 มีเพียง 15 แผ่นป้าย) โดยในยุคแรกจะแบ่งแผ่นป้ายให้ดารารับเชิญ 9 แผ่นป้าย และพิธีกรร่วม(หม่ำ หนู กิ๊ก) คนละ 3 แผ่นป้าย โดยที่พิธีกรหลัก(มยุรา) ไม่มีแผ่นป้าย

ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2539 เป็นต้นมา เริ่มมีเกมวางระเบิดก่อนช่วงเกมถอดสลัก ซึ่งจะแบ่งลูกระเบิดแตกต่างกันไปก่อนแล้ว จึงเปลี่ยนการแบ่งแผ่นป้ายใหม่ คือมีแผ่นป้ายทั้งหมด 18 แผ่นป้าย ซึ่งในแต่ละแผ่นป้ายจะเป็น รูปภาพของผู้เล่นเกมคนนั้นๆตามจำนวนลูกระเบิดที่แต่ละคนสะสมไว้ในเกมวางระเบิดเช่น พิธีกร มีระเบิด 1 ลูก จะมี 1 แผ่นป้าย, ดารารับเชิญมีระเบิด 2 ลูก จะมี 2 แผ่นป้าย เป็นต้น กติกาในรอบถอดสลักระเบิดคือ จะให้ดารารับเชิญเลือก 1 แผ่นป้าย แล้วเมื่อเปิดป้ายแล้วเป็นรูปหน้าของใคร คนนั้นจะต้องเข้าไปภายในตู้หรือโดมระเบิด และภายในตู้จะมีสลักระเบิดทั้งหมด 5 สลัก(ปี 2552 ลดสลักระเบิดเหลือเพียง 3 สลัก) ให้ดารารับเชิญเลือกมา 1 สลักระบิด เพื่อทำการถอดหรือดึงสลักออกมา หากไม่ระเบิด(คือไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือมีดอกไม้ กระดาษร่วงลงมา) เกมก็จะดำเนินในลักษณะเดียวกันต่อไป จนกว่าผู้เล่นคนสุดท้ายในตู้จะโดนระเบิด(ผู้เล่นภายในตู้จะถูกควันขาวพ่นใส่พร้อมกับแป้งที่ร่วงลงมาโดนตัวผู้เล่นคนนั้น) เป็นอันจบเกม ซึ่งการเปิดแผ่นป้ายนั้นจะมีสัญลักษณ์และเคริ่องหมายดังนี้

  • หากดารารับเชิญเลือกแผ่นป้ายแล้วเปิดออกมาเป็นรูปหน้าผู้เล่นพร้อมกับเครื่องหมายบวก “+” (ในปี 2539-2541 จะมีโลโก้ทเวลพลัสมาด้วย) ดารารับเชิญก็จะต้องเลือกอีก 1 แผ่นป้าย เมื่อเปิดมาเจอรูปหน้าของใคร คนนั้นจะต้องเข้าในตู้ระเบิดอีกคน เมื่อเปิดมาเจอบวกอีกดารารับเชิญก็จะเลือกแผ่นป้ายไปอีก จนกว่าจะเจอรูปผู้เล่นที่ไม่มีเครื่องหมายบวก หลังจากนั้น ก็จะเข้าไปในตู้ตามจำนวนคนที่ถูกเปิดแผ่นป้ายที่มีเครื่องหมายบวกติดต่อกัน ทั้งนี้ หากเปิดได้แผ่นป้ายผู้เล่นที่มีเครื่องหมายบวก แล้วแผ่นป้ายต่อมายังเป็นผู้เล่นเกมคนเดิม ผู้เล่นเกมคนนั้นจะเข้าตู้ระเบิดคนเดียว ไม่ว่าจะเปิดได้บวกรูปตัวเองกี่ครั้งก็ตาม ซึ่งแผ่นป้ายเครื่องหมายบวกจะมีอยู่ในแผ่นป้ายของผู้เล่นเกมทุกคน คนละ 1 แผ่นป้ายแน่นอน ต่อมา(2542) ได้เปลี่ยนให้มีแผ่นป้ายเครื่องหมายบวกให้ผู้เล่นที่มีลูกระเบิด 2 ลูกขึ้นไป กติกานี้ใช้ในช่วงวันที่ 1 กันยายน 2539 - 26 มกราคม 2546

เมื่อมีการนำเกมถอดสลักระเบิดกลับมาใช้อีกครั้งในปี 2548 เมื่อเปิดป้ายเจอผู้เล่นที่มีเครื่องหมายบวก แขกรับเชิญจะต้องเลือก 1 ใน 6 แผ่นป้ายรูปโลโก้ระเบิดเถิดเทิงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งแผ่นป้ายนั้นจะมีรูปใบหน้าของนักแสดงชาวซอยเถิดเทิง (ทอมมี่ , กอบโชค , ถนอม ,ทีน(ต่อมาได้ไปเป็นพิธีกรร่วม) ,เก่ง) เพื่อให้เข้าไปในโดมระเบิดพร้อมกับผู้เล่นที่ถูกเปิดป้ายเจอก่อนหน้า กติกานี้ใช้ในวันที่ 2 มกราคม 2548 - 31 ธันวาคม 2549

  • หากดารารับเชิญเลือกแผ่นป้ายแล้วเปิดออกมาเป็นป้ายบอมบ์หมู่ คือในป้ายจะมีรูปของผู้เล่นทั้งหมดยกเว้นพิธีกรหลักดารารับเชิญและพิธีกรร่วมทุกคน(ยกเว้นพิธีกรหลัก)จะต้องเข้าไปในตู้ระเบิด ซึ่งป้ายบอมบ์หมู่นั้นเป็น 1 ในลูกระเบิดของดารารับเชิญเพียงเท่านั้น กติกานี้ใช้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2542 - 8 เมษายน 2544

ต่อมาเมื่อมีการนำป้ายบอมบ์หมู่กลับมาใช้อีกครั้งในปี 2550 จำนวนของป้ายบอมบ์หมู่จะขึ้นนั้นอยู่กับ ลูกระเบิดที่สะสมไว้ในช่วงวางระเบิด (หากสะสมได้ 2 ลูก ก็จะมีป้ายบอมบ์หมู่ 2 ป้าย) กติกานี้ใช้ในวันที่ 7 มกราคม 2550 - 20 กันยายน 2552

  • หากดารารับเชิญเลือกแผ่นป้ายแล้วเปิดออกมาเป็นรูปดารารับเชิญพร้อมกับรูปเงาสีดำและมีเครื่องหมายคำถาม ดารารับเชิญจะสามารถเลือกพิธีกรเพื่อเข้าไปในตู้ระเบิดด้วยได้อีก 1 คนตามใจชอบไม่เว้นแม้แต่พิธีกรหลัก โดยไม่ต้องเลือกแผ่นป้ายเหมือนเครื่องหมายบวก กติกานี้ใช้ใน 3 ตุลาคม 2542 - 26 มกราคม 2546

หากดารารับเชิญหากดารารับเชิญเลือกแผ่นป้ายแล้วเปิดออกมาเป็นรูปหน้าของตัวเองก็จะต้องเข้าไปในตู้ระเบิดเช่นกัน หากเข้าไปแล้วไม่ระเบิด จะได้รับทองคำ 1 บาท(ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 10,000 บาทแทน)ทุกครั้งที่ดารารับเชิญเข้าไปในตู้ระเบิด ยกเว้นในช่วงแรกเริ่ม (7 เมษายน - 29 กันยายน 2539) ที่ไม่มีการทองคำ หรือถ้าดารารับเชิญไม่โดนระเบิด ไม่ว่าจะเข้าไปแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็จะได้รับรางวัลพิเศษ เช่น บัตรที่พักรีสอร์ท หรือไม่ก็เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าไป แต่ถ้าดารารับเชิญโดนระเบิด ก็จะไม่ได้รางวัลพิเศษอะไรไป นอกจากนี้ทางรายการได้เปิดให้ผู้ชมทางบ้านส่งไปรษณียบัตรทายผลว่าดารารับเชิญหรือพิธีกรคนใดจะโดนระเบิดเช่นกัน โดยมีเงื่อนไขว่าคนที่ทายนั้น"จะต้องโดนระเบิดคนเดียว"(หากเข้าไปหลายคนเพราะป้ายบวกหรือบอมหมู่ แล้วโดนระเบิดจะถือว่าไม่ได้รางวัล Jackpot) หากทายถูกจะได้รับเงินรางวัล 500,000 บาท หากทายไม่ถูกจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทแทน(ในช่วงแรกจะมอบทองคำหนัก 1 บาท และถ้าทายผลถูกต้อง จะได้รับทองคำหนัก 12 บาท) (กติกานี้ใช้ในปี 2539 - 2544) แต่ในช่วง 12 ปีระเบิดเถิดเทิงนั้น ทางรายการอนุโลมให้การที่บอมหมู่โดนระเบิดนั้นถือว่าทายถูกด้วย (ซึ่งก็มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในช่วง 12 ปี ระเบิดเถิดเทิง ที่ทางบ้านทายผลได้ถูกต้อง ซึ่งครั้งนั้นบอมหมู่ก็โดนระเบิดด้วย) (กติกานี้ใช้ในปี 2552)

สำหรับในช่วง 12 ปีระเบิดเถิดเทิง (1 กุมภาพันธ์ 2552 - 12 กรกฎาคม 2552) จะให้พิธีกรเลือกแผ่นป้ายกันเองในลักษณะ เปิดต่อกัน คนที่มีลูกระเบิดสะสมมากที่สุดจะได้เลือกก่อน จากนั้นคนที่ออกมาจากตู้จะเป็นคนเลือกคนถัดไป

สถิติในช่วงถอดสลักระเบิด

  • สลักระเบิดที่ระเบิดบ่อยครั้งที่สุด: หมายเลข 1
  • สลักระเบิดที่ระเบิดน้อยครั้งที่สุด: หมายเลข 4 (ยุคที่มี 5 สลัก)
สถิติแห่งปี 2539
อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด(ครั้ง)
1 หม่ำ จ๊กมก 32 10
2 หนู คลองเตย 25 9
3 ดารารับเชิญ 29 9
4 เกียรติ กิจเจริญ 20 7
5 ตั๊ก มยุรา 2 0
สถิติแห่งปี 2540

[1]

อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด
1 หม่ำ จ๊กมก 37 15
2 ดารารับเชิญ 35 9
3 หนู คลองเตย 24 9
4 เด๋อ ดอกสะเดา 16 5
5 เกียรติ กิจเจริญ 8 5
6 ไทด์ เอกพันธ์ 4 3
7 ตั้ก มยุรา 5 2
8 เท่ง เถิดเทิง 4 2
9 ผู้ชมในห้องส่ง 2 1
สถิติแห่งปี 2541

[2]

อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด
1 เท่ง เถิดเทิง 42 17
2 หม่ำ จ๊กมก 34 17
3 เด๋อ ดอกสะเดา 31 15
4 ดารารับเชิญ 45 13
5 แดนนี่ ศรีภิญโญ 22 12
6 ผู้ชมในห้องส่ง 8 6
7 ตั้ก มยุรา 8 1
หนู คลองเตย ? ?
สถิติแห่งปี 2542 - 2544
สถิติแห่งปี 2545
อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด
1 หม่ำ จ๊กมก 31 19
2 โหน่ง ชะชะช่า 28 19
3 เท่ง เถิดเทิง 24 10
4 เด๋อ ดอกสะเดา 23 9
5 ดารารับเชิญ 13 7
6 แดนนี่ ศรีภิญโญ 14 2
7 แอน สิเรียม 2 2
สถิติแห่งปี 2548 - 2549
สถิติแห่งปี 2550
อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด
1 เท่ง เถิดเทิง 28 11
2 เพชร พุฒิพงษ์ 19 9
3 โหน่ง ชะชะช่า 34 8
4 ทีน สราวุฒิ 17 7
5 เด๋อ ดอกสะเดา 16 6
6 ดารารับเชิญ 19 5
7 บอมหมู่ 18 3
8 แอน สิเรียม 3 2
9 ส้มเช้ง สามช่า 9 0
สถิติแห่งปี 2551
อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด
1 ทีน สราวุฒิ 22 10
2 เพชร พุฒิพงษ์ 27 9
3 ดารารับเชิญ 14 6
4 โหน่ง ชะชะช่า 22 5
5 เท่ง เถิดเทิง 19 3
6 ส้มเช้ง สามช่า 17 3
เด๋อ ดอกสะเดา 17 3
7 แอน สิเรียม 2 1
8 บอมหมู่ ? 1
สถิติแห่งปี 2552
อันดับ ผู้ที่เข้าตู้ระเบิด เข้าตู้ระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด
1 เพชร พุฒิพงศ์ ? 9
2 ทีน สราวุฒิ ? 7
3 ส้มเช้ง สามช่า ? 6
4 เท่ง เถิดเทิง ? 6
5 โหน่ง ชะชะช่า ? 5
6 เด๋อ ดอกสะเดา ? 5
7 ดารารับเชิญ 4 3
8 แอน สิเรียม ? 2


หมายเหตุ 3: ไม่ได้มีการสรุปออกมา

แคปซูลระเบิด ( 2 กุมภาพันธ์ 2546 - 26 ธันวาคม 2547)

รูปแบบเกมนี้ได้ใช้แทนเกมถอดสลักระเบิดชั่วคราว โดยในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 18 แผ่นป้าย ซึ่งจะมีรูปภาพใบหน้าของพิธีกร,ดารารับเชิญ รวมไปถึงนักแสดงชาวซอยเถิดเทิง (เป๋อ ,ทอมมี่ ,กอบโชค ,ผัดไท ,ลิซ่า ,โชเล่ย์ ,ส้มเช้ง ,กี่เพ้า ,อุ๋ย) โดยดารารับเชิญจะต้องเลือกแผ่นป้ายทั้งหมด 6 แผ่นป้ายเพื่อให้เลือกคนเข้าไปในแคปซูล จากทั้งหมด 6 ตู้ โดยแผ่นป้ายแรกจะเข้าแคปซูลแรก แผ่นป้ายที่ 2 จะเข้าแคปซูลที่ 2 ไปเรื่อยๆจนครบ 6 แผ่นป้าย หลังจากเลือกแผ่นป้ายเสร็จแล้ว พิธีกรหรือผู้เล่นเกมจะสับคัตเอาท์ที่อยู่กลางเวที และแคปซูลจะระเบิดตามที่ได้มีการวางระเบิดในช่วงก่อนหน้านี้

ถ้าดารารับเชิญเปิดเจอรูปภาพของตัวเอง ก็ต้องเข้าไปอยู่ในแคปซูล และถ้าหากแคปซูลไม่ระเบิดจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท และจะได้รับของรางวัลเป็นเครื่องซักผ้าจากอีฟ แต่ถ้าหากโดนระเบิด จะไม่ได้รับรางวัลพิเศษใดๆเลย (หากดารารับเชิญไม่ได้เข้าไปอยู่ในแคปซูล จะได้รับเครื่องซักผ้าโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ได้ทองคำหนัก 1 บาท ถ้าไม่ได้เข้าแคปซูลระเบิด)

สถิติการเข้าแคปซูลระเบิด (2546-2547)

สถิติที่ปรากฏนี้ได้สรุปมาจากวิดิโอบางเทปของระเบิดเถิดเทิงช่วงปี 2546-2547 ที่ได้โพสต์บนเว็ปไซต์ youtube[1] และข้อมูลก่อนใน วิกิพีเดีย[2]

อันดับ ผู้ที่เข้าแคปซูลระเบิด เข้าแคปซูลระเบิด(ครั้ง) โดนระเบิด(ครั้ง)
1 กอบโชค คล้ายสำริด 15 11
2 โชเล่ย์ ดอกกระโดน 11 8
3 เท่ง เถิดเทิง 14 7
4 แดนนี่ ศรีภิญโญ 13 6
5 ดารารับเชิญ 20 5
ลิซ่า ไปรพิศ 12 5
เด๋อ ดอกสะเดา 9 5
6 ทอมมี่ เถิดเทิง 11 4
กี่เพ้า พัณณ์ชิตา 11 4
โหน่ง ชะชะช่า 10 4
ผัดไท ดีใจ 10 4
อุ๋ย นัทธมน 8 4
7 ส้มเช้ง สามช่า 8 3
8 แอน สิเรียม 7 2
หม่ำ จ๊กมก 4 2
9 เป๋อ จกม๊ก 2 1
  • หมายเหตุ
    • หม่ำ จ๊กมก และเป๋อ จ๊กมก ได้ลาออกจากระเบิดเถิดเทิงไปก่อน

เถิดเทิงอวอร์ด

เป็นช่วงที่เปลี่ยนมาจาก ระเบิดรับเชิญ ตั้งแต่ปี 2541 โดยเป็นการร่วมสนุกโดยให้ผู้ชมทางบ้านเขียนชื่อนักแสดงรับเชิญและชื่อตอนที่ชื่นชอบ ลงบนไปรษณียบัตรพร้อมสโลแกนของนมสดยี่ห้อหนองโพ โดยจะแบ่งการจับรางวัลเป็น 3 แบบ

  • แบบที่ 1 จับรางวัลทุกสัปดาห์จะเป็นการจับราวัลเพื่อรับผลิตภัณฑ์
  • แบบที่ 2 จับราวัลทุกสิ้นเดือน เพื่อรับรางวัลทองคำมูลค่า 1 บาท
  • แบบที่ 3 จับรางวัลทุก 6 เดือน โดยจะนำกล่องเปล่าที่เขียนรายชื่อนักแสดงและชื่อตอน มารวบรวมและแบ่งประเภทตามชื่อนักแสดงที่โหวต โดยดารารับเชิญที่มีคะแนนโหวตสูงสุดจะ

ทำการจับรางวัล ซึ่งดาราที่ได้รับการโหวต และผู้โชคดีที่ร่วมโหวตจะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท อย่างไรก็ดี รางวัลเถิดเทิงอวอร์ด ได้เปลี่ยนการมอบรางวัล เป็นเงินรางวัล 10,000 บาท ให้กับผู้โชคดีในทุกสัปดาห์แทน และผู้โชคดีที่ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท อาจจะไม่ได้โหวตเรื่องที่ได้คะแนนสูงที่สุดเสมอไป และในช่วงครึ่งปีหลังของปีพ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนชื่อช่วงเป็น "เถิดเทิงโดนใจ สไตล์กาแฟมอคโคน่า ทรีโอ" โดยให้ให้ผู้ชมทางบ้านเขียนชื่อนักแสดงรับเชิญและชื่อตอนที่ชื่นชอบ ลงบนไปรษณียบัตรพร้อมสโลแกนของกาแฟมอคโคน่า ทรีโอ โดยจะจับรางวัลทุกสัปดาห์ ผู้โชคดีจะได้รับทองคำมูลค่า 10,000 บาทพร้อมกิ๊ฟเซตจากผลิตภัณฑ์ เมื่อครบ 6 เดือนจะทำการประกาศผล และมอบรางวัลทองคำมูลค่า 100,000 บาทให้กับดาราที่ได้การโหวตสูงสุด และผู้โชคดีทางบ้าน ซึ่งหลังจากประกาศผลการโหวตในปี 2550 ก็ไม่มีช่วงการโหวตเถิดเทิงอวอร์ตอีกเลย

วันที่ออกอากาศ/ประกาศผล ดารารับเชิญที่ชนะเลิศ ชื่อตอน
? ? 2541 คูณสามซูเปอร์แก๊งค์ หลานตัวแสบ
27 ธันวาคม 2541 ศรราม เทพพิทักษ์ มั่วนิ่ม
27 มิถุนายน 2542 อัมรินทร์ นิติพน ??
19 ธันวาคม 2542 ดอม เหตระกูล พี่มากขา
25 มิถุนายน 2543 ลักษมี ทรัพย์ปรุง เด็กเร่ร่อน[1]
24 ธันวาคม 2543 สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ เท่งทำท้อง[2]
1 กรกฎาคม 2544 ศิริพร อยู่ยอด สื่อรักจากไอที[3]
23 ธันวาคม 2544 ปิยะ เศวตพิกุล ลมๆ แล้งๆ[4]
23 มิถุนายน 2545 กาญจนา จินดาวัฒน์ รักต่างวัย[5]
29 ธันวาคม 2545 โก๊ะตี๋ อารามบอย ฝันที่เป็นจริง[6]
? ? 2546 ค่อม ชวนชื่น ฝนดาวตก[7]
11 มกราคม 2547 มอริส เค แปลงเพศ (2546)
4 กรกฎาคม 2547 อารยา เอ ฮาร์เก็ต อินจัด
9 มกราคม 2548 บอล เชิญยิ้ม รปภ.พันธุ์ดุ (2547)
3 กรกฎาคม 2548 ธนพล สัมมาพาตร จับขโมย
15 มกราคม 2549 แช่ม แช่มรัมย์ ไปรษณีย์สื่อรัก (2548)
2 กรกฎาคม 2549 จินตหรา พูนลาภ วาระสุดท้าย
14 มกราคม 2550 เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ คุณครูคนใหม่ (2549)
17 มิถุนายน 2550 สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์ สวัสดีคุณครู
30 ธันวาคม 2550 เกียรติกมล ล่าทา ลื้อต้องซ่อม[8]

ละครซิตคอมสั้นในรายการ

เป็นซิทคอมสั้นคั่นเวลาของรายการ หลังช่วงซิทคอมระเบิดเถิดเทิงในตอนนั้นจบลง หรือเป็นช่วงต่อจากเกมวางระเบิด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ซิทคอมสั้นช่วงแรกของระเบิดเถิดเทิง มีชื่อว่า วอลล์ เพื่อนกัน อะไรเอ่ย

ซิตคอม ออกอากาศ รายละเอียด
วอลล์ เพื่อนกัน อะไรเอ่ย
คำถามคู่หูกับ Qoo อะไรเอ่ย
คำถามอะไรเอ่ยกับน้ำส้มสแปลช
(2545 - 2546)
(2546 - 2548)
(2548 - 2551)
เป็นช่วงต่อจากการวางระเบิด โดยเหตุการณ์จะอยู่ในร้านน้ำส้มสแปลช (ในอดีตคือ Qoo และไอศกรีม วอลล์) ซึ่งมีอาร์ม (พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์) เชฟ และอิ้งค์เป็นคนในร้านนี้ มีลูกค้าเจ้าประจำก็คือ เท่ง กับ โหน่ง (แต่บางตอนจะมีเอก, ไข่, แม็ก มาอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย) โดยมักจะคำถามอะไรเอ่ยด้วยกันเสมอ ๆ คอยหาทางตั้งคำถามเพื่อหวังจะดื่มน้ำส้มสแปลชฟรี และกวนประสาทพนักงาน แต่มักลงท้ายด้วยความล้มเหลวของเท่งและโหน่งเป็นประจำ
สามตอเม้าท์แตก (2548) เป็นช่วงที่ต่อจากละคร เป็นละครซิตคอมสั้น ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ของตัวละคร 3 คนคือ ตุ่ม (แดนนี่ ศรีภิญโญ) เต่า (ดีใจ ดีดีดี) และ เตี้ย (วนิดา แสงสุข) ที่พบปะเจอกันเป็นประจำที่สถานเสริมสวยแห่งหนึ่ง
เพื่อนซี้ตีสอง (2548 - 23 พฤศจิกายน 2551) เป็นช่วงที่ต่อจากละคร เป็นละครซิตคอมสั้น ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ของตัวละคร 3 คน คือ ถั่ว (ถั่วแระ เชิญยิ้ม) คนเก็บของเก่า นก (วนิดา แสงสุข) นักร้องคาเฟ่ที่เพิ่งเลิกงาน กับ หว่าง (เต๋อ เชิญยิ้ม) ยาม ที่พบปะเจอกันเป็นประจำที่ป้ายรถเมล์ตอนตี 2 โดยเนื้อเรื่องมักจะจบลงที่การหักมุม ต่อมาเพิ่มและปรับตัวละครอีกคือ อ่าง (อ่าง เถิดเทิง) คนขายโรตีที่จะพักอยู่ในซอยเถิดเทิง, ปู (ปู พันหน้า) คนขายอาหารติ่มซำ, สุรเชษฐ์ เอก ไข่, ยามโทนี่ (ศิวดล จันทเสวี) ยามที่ทำหน้าที่แทนหว่างชั่วคราว, จ่าพัน (ภาณุพันธ์ ครุฑโต) , และ เท่ง กับ โหน่ง โดยทำหน้าที่โชว์ลิเกกลางป้ายรถเมล์
แผงลอยคอยเก้อ (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 27 กันยายน 2552) เป็นช่วงที่ต่อจากละคร เป็นละครซิตคอมสั้น ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ของตัวละคร 4 คนคือบัวไร (รุ้งรดา เบญจมาธิกุล) ซึ่งค้าขายแผงลอย จ่าพัน (ภาณุพันธ์ ครุฑโต) ที่ตรวจตราที่แห่งนี้ มหา (เด๋อ ดอกสะเดา) และตุ๊กกี้จัง (ตุ๊กกี้ สามช่า) ไฮโซขี้โอ่ชอบขายของที่แพงและชอบโกงลูกค้าที่พบปะเจอกันที่ป้ายรถเมล์ตอนกลางวันโดยจบที่ความล้มเหลวของตุ๊กกี้จัง ต่อมาได้ปรับเพิ่มตัวละครคือ ตู่ (นุ้ย เชิญยิ้ม) หมอดูประจำป้ายรถเมล์

รูปแบบฉากและแผ่นป้าย

ฉากช่วงซิทคอม

ฉากในช่วงซิทคอมระเบิดเถิดเทิง ได้สร้างขึ้นภายในสตูดิโอที่ถ่ายทำ ฉากช่วงซิทคอมนี้เป็นการจำลองถึงบรรยากาศของซอยเถิดเทิง ชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีลักษณะเป็นซอย มีทั้งบ้านเช่า ตึกแถว ร้านค้าต่างๆ ซึ่งภายหลังทางรายการได้ปรับเปลี่ยนฉากและเพิ่มฉากใหม่เพิ่ม ทั้งยังให้มีชาวบ้านหรือบุคคลต่างๆ รวมไปถึงนักแสดงสมทบ เดินไปเดินมาหรือมาขายของอยู่บริเวณฉากเพื่อเพิ่มความสมจริง ซึ่งฉากของระเบิดเถิดเทิงในยุคนี้(2539-2552) มีฉากต่างๆ ดังเช่น

  • ฉากบริเวณปากซอยเถิดเทิง(2539-2552)

เป็นฉากแรกที่ใช้ถ่ายทำ เป็นฉากหลักๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์และตอนต่างๆของระเบิดเถิดเทิงขึ้น มีส่วนประกอบเช่น

    • ร้านเจ๊หม่ำ(2539-2552) เป็นร้านขายของชำ ขายก๋วยเตี๋ยวและโอเลี้ยง มีเจ๊หม่ำและอาโกวเป็นเจ้าของร้าน ต่อมาเมื่อเจ๊หม่ำและอาโกวออกจากซอยเถิดเทิงไป เพื่อไปเที่ยวรอบโลก หงส์หลานสาวของเจ๊หม่ำก็มาดูแลกิจการร้านแทน(ภายหลังแก้วก็มาเป็นลูกจ้างของหงส์) ภายหลังที่หงส์แต่งงานกับเฮียเล้ง ก็ได้ออกจากซอยไปทั้งคู่ เฮียซ้งก็ได้มาเช่าร้านเจ๊หม่ำต่อ ปัจจุบันแก้วเป็นเจ้าของร้านเจ๊หม่ำ และในปัจจุบัน(ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3)ร้านเจ๊หม่ำเดิมซึ่งเป็นอาคารไม้ได้ถูกรื้อลง เพื่อสร้างเป็นร้านแบบสมัยใหม่และเปลี่ยนมาเป็นร้านกาแฟโดยมีแก้วเป็นเจ้าของร้าน
    • ร้านของเฉื่อย(2542-2552) มีเฉื่อยเป็นเจ้าของร้าน ตอนแรกเฉื่อยทำร้านขายหนังสือจำพวกนิตยสาร หนังสือพิมพ์รายวันวางแผงขาย ตั้งอยู่หน้าร้านตัดผมของโหน่ง ข้างร้านมหายาดองของพ่อมหา เฉื่อยมีความสามารถในเรื่องการช่าง ซ่อมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆซึ่งเฉื่อยซ่อมอยู่หน้าร้านหนังสือของตัวเอง จนของที่ซ่อมเยอะเกลื่อนซอย จึงเปลี่ยนร้านตัดผมของโหน่ง(ขณะนั้นโหน่งเลิกทำร้านตัดผมแล้ว)เป็นร้านซ่อมของชื่อว่าร้านเฉื่อยการช่าง ควบคู่กับทำร้านขายหนังสือ ต่อมาได้ย้ายร้านของเฉื่อยมาอยู่ข้างร้านเจ๊หม่ำบริเวณบ้านเช่าเดิม ปัจจุบัน(ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3)ร้านของเฉื่อยได้เปลี่ยนมาเปิดร้านขายของชำควบคู่กับการรับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
    • ร้านมหายาดอง(2540-2549) ตั้งอยู่ข้างคลองภายในซอยเถิดเทิง(บริเวณสะพานไม้) ต่อมาได้ย้ายมายังหน้าร้านตัดผมของโหน่ง(ร้านเฉื่อยการช่างในปัจจุบัน) มีพ่อมหาเป็นเจ้าของร้าน ขายเกี่ยวกับยาดองประเภทต่างๆ
    • ตึกไม้หลังหนึ่ง(2541-2552) เป็นตึกเช่าสองชั้นทาสีฟ้าและสีชมพู(ภายหลังทาสีชมพูล้วน) ชั้นล่างของตึก เริ่มแรกเป็นร้านตัดผมของโหน่งชื่อว่า ตุ่มบาร์เบอร์ ต่อมาโหน่งได้เลิกตัดผมเพราะถูกหวยล็อตเตอรี่ จึงเปลี่ยนมาเป็นร้านเฉื่อยการช่าง หลังจากร้านเฉื่อยการช่างได้ย้ายไปอยู่ข้างร้านเจ๊หม่ำ จึงเปลี่ยนมาเป็นบ้านของจ่าพัน ปัจจุบัน(ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3)ตึกไม้ดังกล่าวได้ถูกรื้อลงและสร้างเป็นร้านมินิมาร์ทแล้ว
    • รถเข็นขายกล้วยทอดของยายชา(2541-2552) อยู่หน้าบ้านเช่าหลังหนึ่ง(ต่อมาเปลี่ยนเป็นร้านเฉื่อย)ข้างร้านของเจ๊หม่ำ
    • บ้านเช่าหลังหนึ่ง(2541-2549) อยู่ระหว่างร้านเจ๊หม่ำกับตึกไม้ซึ่งเป็นร้านของโหน่งและเฉื่อย เป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนครึ่งปูนครึ่งไม้ ทำรั้วและประตูล้อมรอบ ตรงประตูมีป้ายบอกบ้านเลขที่ 25/1 มีบันใดขึ้นไปประตูบ้านเมื่อเปิดประตู ก็จะมีโปสเตอร์รูปดาราสาวติดอยู่หลังประตู สามารถเข้าไปภายในบ้านได้ เป็นบ้านที่มีคนมาเช่าอยู่ต่อกันหลายคน รวมไปถึงครูน้ำหวาน ครูโรงเรียนเถิดเทิงวิทยา และบริเวณหลังบ้านดังกล่าวจะเป็นบ้านสังกะสีในรั้วเดียวกันอีกหลัง ซึ่งอาจจะเป็นบ้านของยายชา ปัจจุบันบ้านทั้งสองหลังนี้ถูกรื้อและกลายเป็นร้านเฉื่อยการช่างแล้ว

ส่วนบริเวณหลังร้านเจ๊หม่ำและร้านของเฉื่อยเดิมเป็นฉากหลังบ้านไม้รั้วสังกะสีธรรมดาๆ ต่อมา(2548) ได้ปรับบริเวณดังกล่าวเป็นตึกแถวร้านมินิมาร์ท ร้านขายมอเตอร์ไซด์ ร้านซักอบรีด ร้านของผู้สนับสนุนรายการ ณ ขณะนั้น และยังให้ชาวบ้านไปอยู่บนชั้นสองของบ้านไม้หลังฉาก(ท้ายซอยเถิดเทิง)แล้วหันหน้าบริเวณหลังหน้าต่างซึ่งเปิดออกมา เพื่อให้รับกับมุมกล้องและทำให้ฉากสมจริงมากขึ้น

  • ฉากสะพานไม้ข้ามคลอง(2539-2541)

มีฝั่งทั้งสองฝั่งเและหลังฉากเป็นบ้านเรือนไม้ รั้วสังกะสี ฝั่งทางด้านซ้ายของสะพานเป็นร้านมหายาดองของพ่อมหา

  • ฉากบ้านคุณนายสะอาด (2540-2541)

เป็นบ้านที่อยู่อาศัยของคุณนายสะอาดเมื่อยังอยู่ในซอยเถิดเทิง

  • ฉากร้านเต่าซาลอน(2543-2552)

เป็นบ้านเช่าของพ่อมหา เปิดเป็นร้านเสริมสวยประจำซอยเถิดเทิง มีตุ่มและต่า เป็นเจ้าของร้าน มีแจ๊ซและนิ่มเป็นลูกจ้างร้าน(ต่อมาได้ลาออกทั้งคู่) และยังเปิดเป็นร้านขายเครื่องสำอาง เป็นสถานที่ที่รวมคนในซอยเมื่อมีงานสังสรรค์หรือมีเรื่องเมาท์ต่างๆ ต่อมาแก้วได้มาเฝ้าร้านเต่าซาลอน เพราะตุ่มและเต่าออกจากซอยไปอยู่ต่างประเทศ เมื่อแก้วและโหน่งแต่งงานกันแล้วจึงได้เปลี่ยนแปลงจากร้านซาลอนมาเป็นหอพักชื่อว่าหอพักคู่รักใหม่ ต่อมาเฮียซ้งได้มายึดหอพักคู่รักใหม่ของแก้วและโหน่ง เพราะโหน่งกู้เงินกับเฮียซ้งแล้วไม่เอาเงินมาคืน และหมดสัญญาเช่าร้านเจ๊หม่ำ หอพักนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นร้านขายชำ(ต่อมาทำร้านอินเทอร์เน็ตควบคู่กับขายของชำ)

  • ฉากบ้านพ่อมหาและเท่ง(2548-2552)

ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดเถิดเทิง วัดประจำซอยเถิดเทิง ข้างบ้านจะเป็นสะพานไม้ข้ามคลอง เดิมเคยเป็นร้านตัดผม บุญยอดเกษา ของยอด ต่อมาเปลี่ยนเป็นค่ายมวย ศ. เถิดเทิง ปัจจุบันเปิดเป็นร้านทำกรอบพระ และเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อมหา เท่ง(เดิมพักอยู่ที่ร้านเต่าซาลอนตอนแต่งงานอยู่กับตุ่ม) และลูกเกลี้ยงลูกชายคนเดียวของเท่งและตุ่ม ต่อมาโหน่งได้มาอาศัยอยู่ด้วยเพราะเลิกกับแก้ว

แต่เดิมทีสตูดิโอในการถ่ายทำระเบิดเถิดเทิงนั้นจะมีคนดูในสตูดิโอ(คล้ายๆเป็นโชว์การแสดง เหมือนละครสามช่าในชิงร้อยชิงล้าน) และในช่วงถอดสลักระเบิด พิธีกรที่จะเข้าตู้ระเบิดยังดึงเอาผู้ชมในห้องส่งบางคนเข้าไปในตู้ระเบิดด้วย แต่ภายหลังนั้นจะไม่มีคนดูในห้องส่งเนื่องจากเพื่อไม่ให้รู้เรื่องความลับเกี่ยวกับเนื้อหา และการบันทึกถ่ายทำเทปรายการซึ่งอาจจะใช้เวลานาน จึงมีการเปลื่ยนจากเสียงหัวเราะของผู้ชมในสตูดิโอมาเป็นเสียงซาวด์หัวเราะซึ่งได้ตัดต่อเพิ่มหลังการถ่ายทำเทปนั้นเสร็จ และในช่วงปี 2539 - 2547 จะมีเสียงดนตรีสดประกอบในช่วงซิทคอม เพื่อส่งมุขตลกต่างๆ และสร้างสีสันให้ผู้ชมในช่วงนั้นอีกด้วย

รูปแบบของโดมหรือตู้ระเบิด

  • แบบแรก เป็นรูปแบบตู้เหลี่ยมๆใสคล้ายกับตู้โทรศัพท์ มีประตูดึงเปิดปิดอยู่ทางข้างซ้ายของตู้ ภายในมีสลักระเบิดเป็นทรงกระบอกใสมีหมายเลขสลักกำกับอยู่ มี 5 สลัก บนเพดานตู้ระเบิดมีรูสี่เหลี่ยมสำหรับเทแป้งและมีเครื่องพ่นควันภายในตู้อีกด้วย(ใช้พ่นใส่ผู้ที่โดนระเบิดพร้อมกับเทแป้งลงไปพร้อมกันเพื่อให้แป้งกระจายทั่วตัวผู้ที่โดนระเบิด และเป็นวิธีที่ใช้มาตลอดจนถึงระเบิดเถิดเทิง ยุคปัจจุบัน) ตรงด้านบนโดมจะเป็นโลโก้ผู้สนับสนุนหลักของรายการ(ทเวลฟ์ พลัส)(ตอนแรกไม่มีโลโก้) ตู้ระเบิดแบบแรกใช้มาตั้งแต่ 7 เมษายน 2539 - 9 พฤษภาคม 2541
  • แบบที่สอง เนื่องจากตู้ระเบิดรูปแบบแรกมีลักษณะที่คับแคบ ไม่เหมาะสำหรับเข้าไปในตู้หลายคน จึงได้เปลี่ยนมาเป็นโดมทรงกลมรูปทิศทาง ภายในมีสลักระเบิด 5 สลักคล้ายกับสลักรูปแบบเดิมแต่ยาวกว่า และเพิ่มถังออกซิเจนเพื่อไม่ให้คนที่ถูกระเบิดแป้งหายใจไม่ออก มีประตูเลื่อนเปิดปิดอยู่ทางข้างซ้ายของโดม และด้านบนของโดมจะเป็นโลโก้ผู้สนับสนุนหลักของรายการ(2541-2542 -ทเวลฟ์ พลัส ,2542-2546 -ไอศกรีมวอลล์) ในตอนแรก(16 พ.ค. - 13 มิ.ย. 2541)โดมสามารถหมุนได้และมีสลักระเบิดรอบตัวผู้ที่เข้าตู้ โดมรูปแบบที่สอง ใช้ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2541 - 26 มกราคม 2546
  • แบบที่สาม จะเป็นรูปวงกลมสีน้ำเงินมีหนาม คล้ายกับโลโก้รายการ มีประตูเลื่อนเปิดปิดอยู่ทางข้างขวาของโดมและเพิ่มการล้มลุกด้วย ใช้ตั้งแต่ 2 มกราคม 2548 - 27 กันยายน 2552 (โดยในแบบที่สามนี้ในปลายปี 2552 คือในยุคระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ได้ดัดแปลงโดมดังกล่าวให้เปลี่ยนลักษณะคล้ายเรือดำน้ำ และในยุคระเบิดเที่ยงแถวตรงได้ดัดแปลงเป็นลวดลายพรางทหาร และใช้จนถึงต้นปี 2558)
  • ส่วนแคปซูลระเบิดนั้นจะเป็นลักษณะเป็นตู้รูปร่างคล้ายกับจรวดมีจำนวน 6 แคปซูลเรียงกันฝั่งละ 3 แคปซูลโดยมีป้ายผู้สนับสนุนหลักของรายการอยู่ตรงกลางระหว่างแคปซูล(2546 -ไอศกรีมวอลล์ ,2547 -น้ำผลไม้ Qoo) มีบันได 3 ขั้นขึ้นไปยังประตูซึ่งอยู่หน้าแคปซูล และด้านบนประตูจะมีเลขกำกับของแต่ละแคปซูล ใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 - 26 ธันวาคม 2547

รูปแบบของแผ่นป้าย

แผ่นป้ายในช่วงเกมวางระเบิด

  • แบบแรก เป็นแผ่นป้ายแบบยางยืดดึง ลูกระเบิดในแผ่นป้ายจะเป็นแบบรูปจรวด ,ปลาฉลาม และเปลี่ยนมาเป็นโลโก้รายการแทน เป็นแบบที่ใช้มาตลอดรายการ แต่ในปี2546-2547 จะเป็นแบบเปิดป้ายธรรมดา ภายในแผ่นป้ายจะเป็นรูปจำนวนของจรวด ซึ่งหมายถึงแคปซูลระเบิดที่จะระเบิดตามจำนวนในแผ่นป้ายนั้น และในปี2548 ก็ได้ใช้แบบเดียวกันต่อแต่เปลี่ยนรูปจรวดเป็นรูปโลโก้ของรายการแทน
  • แบบสอง เป็นแบบแท่นระเบิด ซึ่งแท่นระเบิดนั้นจะมีลูกบอลสีดำ ที่เปรียบเสมือนลูกระเบิดอยู่ แต่ในบางครั้ง ในแท่นระเบิดอาจจะมีลูกระเบิดหลอก ซึ่งเป็นลูกที่ไม่ได้เป็นทรงกลมเต็ม แต่เป็นลูกที่มีรอยแตก(ใช้เป็นบางเทปในปี 2540)

แผ่นป้ายในช่วงเกมถอดสลักระเบิด

  • แบบแรก จะเป็นแผ่นป้ายสีขาว มีโลโก้ของรายการแบบแรกอยู่ตรงกลางและมีรูปใบหน้าของผู้เล่นเกมซ้อนทับโลโก้รายการ ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่7 เมษายน พ.ศ. 2539
  • แบบที่สอง แผ่นป้ายจะมีรูปแบบคล้ายกับฉากหลังของภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนรูปของผู้เล่นเกมจะเป็นรูปครึ่งตัว (หากเป็นป้ายบวก จะมีเครื่องหมายบวกสีแดงทางขวาของแผ่นป้าย พร้อมกับคำว่า "ทเวลฟ์ พลัส" ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในช่วงนั้น คาดทับตัวผู้เล่นเกม) ใช้ครั้งแรก กลางปี พ.ศ. 2539 - 9 พ.ค. 2541
  • แบบที่สาม จะเป็นแผ่นป้ายสีขาว พร้อมกับลูกระเบิดสามลูกทางขวา และรูปผู้เล่นเกมครึ่งตัว (หากเป็นป้ายบวก จะมีลูกระเบิดสองลูกและเครื่องหมายบวกสีแดงอยู่ในวงกลมสีน้ำเงินที่ตำแหน่งล่างสุด โดยในสมัยที่ ทเวลฟ์ พลัส เป็นผู้สนับสนุนหลักอยู่นั้น จะมีคำว่า "ทเวลฟ์ พลัส" อยู่ใต้รูปผู้เล่นเกม)(ใช้ครั้งแรก 16 พ.ค. 2541 - กลางปี 2542) (จะสังเกตว่าป้ายมยุราของปี 2541 จะมีผมสั้นและปี 2542 จะผมยาวแต่ลูกระเบิดคงเดิม(3 ลูก))
  • แบบที่สี่ จะเป็นแผ่นป้ายสีขาว พร้อมคำว่า BOOM! ด้านบน และตัวการ์ตูนด้านล่าง โดยรูปผู้เล่นเกมจะเหลือเพียงแค่ใบหน้าเท่านั้น (หากเป็นป้ายบวก จะมีเครื่องหมายบวกสีม่วงพร้อมตัวอักษรคำว่า PLUS สีขาวอยู่ทางขวาของแผ่นป้าย) (แต่ในกรณีบอมหมู่ จะมีรูปตัวการ์ตูนของดารารับเชิญอยู่ด้านล่างโดยมีรูปพิธีกรร่วมทุกคน ยกเว้นพิธีกรหลัก ล้อมรอบอยู่ครึ่งบน) เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อช่วงปลายปีพ.ศ. 2542 และป้ายบอมหมู่ถูกเปิดเจอครั้งแรกเมื่อช่วงปลายปี 2542
  • แบบที่ห้า จะเป็นแผ่นป้ายสีส้มสลับขาว พร้อมคำว่า "BOOM!" ด้านบน และตัวการ์ตูนด้านล่าง โดยรูปผู้เล่นเกมจะเหลือเพียงแค่ใบหน้าเท่านั้น (หากเป็นป้ายบวก จะมีเครื่องหมายบวกสีขาวและคำว่า PLUS สีแดงอยู่ด้านหน้าสัญลักษณ์ของรายการแบบที่ 2 ซึ่งจะอยู่มุมล่างซ้ายของแผ่น) (สำหรับกรณีป้ายบอมหมู่นั้น รูปแบบการวางรูปนั้นถูกปรับเปลี่ยนหลายครั้ง แต่ในทุกรูปแบบจะมีรูปหน้าพิธีกรและดารารับเชิญ ยกเว้นพิธีกรหลัก อยู่ป้ายเดียวกันในลักษณะของวงกลมกระจายอยู่เต็มแผ่นป้าย โดยจะมีเพียงรูปของดารารับเชิญเท่านั้นที่เป็นวงกลมเต็มวง ส่วนพิธีกรคนอื่นๆ จะไม่เต็มวง) ใช้ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2546 (แคปซูลระเบิด) ส่วนป้ายบอมหมู่ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และป้ายบอมหมู่ถูกเปิดเจอครั้งแรกเมื่อวันที่26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  • แบบสุดท้าย จะเหมือนกับแบบที่สี่ แต่มีการเพิ่มทรงผม (แอฟโฟร,ผมยาว,ทรงผมของเอลวิส เพรสลี่ย์,ทรงผมสไตล์เกาหลี) เพื่อหลอกคุณสีเรียม (เนื่องจากในช่วงนั้นมีเพียงรูปคุณสีเรียมเท่านั้นที่มีผมโผล่ออกมาก่อนใบหน้า) โดยทรงผมดังกล่าวจะไม่มีการใส่ทรงผมในรูปของคุณสีเรียมและดารารับเชิญ (แต่ในกรณีบอมหมู่ จะมีรูปหน้าพิธีกรและดารารับเชิญ ยกเว้นพิธีกรหลัก อยู่ป้ายเดียวกันในลักษณะของวงกลมกระจายอยู่เต็มแผ่นป้ายแต่เปลี่ยนทรงผมของพิธีกร) ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่22 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ส่วนแผ่นป้ายบอมหมู่ที่ถูกเปลี่ยนทรงผมนั้น ถูกเปิดเจอครั้งแรกเมื่อวันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โลโก้รายการ

ดูเพิ่ม

รางวัลที่ได้รับ

ไฟล์:Pg1182591279.jpg
เท่ง เถิดเทิง ขณะขึ้นรับรางวัล
  • Asian Television Awards 2007 นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) โดย เท่ง เถิดเทิง
  • Asian Television Awards 2008 รางวัล Highly Commended สาขา BEST COMEDY PROGRAMME
  • Asian Television Awards 2008 นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) โดย โหน่ง ชะชะช่า
  • Asian Television Awards 2009 นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) โดย โหน่ง ชะชะช่า

อ้างอิง

ก่อนหน้า ระเบิดเถิดเทิง ถัดไป
ยังไม่มี ระเบิดเถิดเทิง
(7 มกราคม 2539 - 27 กันยายน 2552)
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3