ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอขุขันธ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 800: บรรทัด 800:


===== วัดลำภูอัมพนิวาส =====
===== วัดลำภูอัมพนิวาส =====
เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นiประมาณปี พ.ศ.2134 (ก่อนตั้งเมืองขุขันธ์) ปัจจุบันอายุราว 425 ปี กล่าวคือตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
{{โครงส่วน}}
โดยมีพระภิกษุประทาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ปัจจุบันยังพอมีหลักฐานที่ปรากฎหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดนี้ว่ามีอายุนับเป็นร้อยๆปีมีอยู่หลายอย่าง
ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ปราสาท 2 หลัง เป็นพระธาตุเจดีย์ศิลปล้านช้างตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของโบสถ์ในปัจจุบัน
ซึ่งองค์พระธาตุเจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้มีอายุราว 444 ปี คือสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2102 โดยทางการได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


===== ศาลหลักเมืองขุขันธ์ =====
===== ศาลหลักเมืองขุขันธ์ =====

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:30, 27 ธันวาคม 2558

อำเภอขุขันธ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khukhan
คำขวัญ: 
ขุขันธ์เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กะอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา
พิกัด: 14°42′48″N 104°11′54″E / 14.71333°N 104.19833°E / 14.71333; 104.19833
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด914.309 ตร.กม. (353.017 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด150,184 คน
 • ความหนาแน่น164.25 คน/ตร.กม. (425.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33140
รหัสภูมิศาสตร์3305
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ ถนนไกรภักดี ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ป้ายเมืองขุขันธ์บริเวณข้างสำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขาขุขันธ์ และที่ว่าการอำเภอขุขันธ์
ไฟล์:KKN043.png
ทางหลวงหมายเลข 220 เป็นทางหลักที่ตัดผ่าใจกลางเมือง ชาวขุขันธ์และอำเภอใกล้เคียงใช้สัญจรติดต่อไปยังหัวเมืองอื่น ๆ

อำเภอขุขันธ์ เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับจังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่มากับการตั้ง “เมืองขุขันธ์” ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นอำเภอต่างๆ หลายอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน โดยก่อนปี พ.ศ 2481 ใช้นามว่า “อำเภอห้วยเหนือ” ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์ ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธและมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนมาก

ประวัติเมืองขุขันธ์

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณที่เป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ ในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนชาติพันธุ์เขมรและชนชาติพันธ์กวย ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนที่สำคัญ คือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ซึ่งต่อมาเป็นเมืองขุขันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๒ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกได้แตกโรงไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเขตภูเขาพนมดงรัก(ភ្នុំដងរែក) จึงโปรดเกล้าฯให้ทหารคู่พระทัย (ทองด้วงและบุญมา) นำไพร่พลออกติดตาม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก ตากะจะ หัวหน้ากลุ่มชนบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน และเชียงขัน ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง​คือ เชียงปุ่มแห่งบ้านเมืองที เชียงสีแห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะแห่งบ้านอัจจะปะนึง และเชียงไชยแห่งบ้านจาระพัด ออกติดตามจนพบและสามารถจับพญาช้างเผือกได้ และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน และเชียงขัน เป็นหลวงปราบ ผู้ช่วยนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน

  • ปี พุทธศักราช ๒๓๐๒-๒๔๔๐ ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ รวม ๙ ท่าน
  • ปี พุทธศักราช ๒๓๐๖ โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ หลวงแก้วสุวรรณ ได้เลื่อนเป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๔๐ โปรดเกล้าฯเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง เจ้าเมืองขุขันธ์ เป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๔๙ ย้ายศาลากลางเมืองขุขันธ์ไปตั้งบริเวณศาลากลางจังหกวัดศรีสะเกษ แต่ยังคงใช่ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ เปลี่ยนชื่ออำเภอขุขันธ์ เป็นอำเภอห้วยเหนือ
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ ยุบเมืองศรีสะเกษและเมืองเดชอุดมโดยให้อำเภอที่ขึ้นกับเมืองทั้งสองไปขึ้นกับเมืองขุขันธ์
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯเปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็นจังหวัดขุขันธ์
  • ปี พุทธศักราช ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดศรีสะเกษ เปลี่ยนชื่ออำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่ออำเภอขุขันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ประวัติพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้สร้างเมืองขุขันธ์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ทีชื่อเดิมว่า ตากะจะ เป็นหัวหน้าชาวเขมรป่าดงบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน เมือปี พุทธศักราช ๒๓๐๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกแตกโรงหนีเข้าป่า ไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงเร็ก ตากะจะและเชียงขันธ์ พร้อมหัวหน้าชาวเขมรป่าดง รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งกัวหน้านายกองปกครองหมู่บ้าน

  • ปี พุทธศักราช ๒๓๐๖ หลวงแก้วสุวรรณ นำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดคกลำดวน ขึ้นเป็น เมืองขุขันธ์ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ ให้หลวงแก้วสุววรณ เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์
  • ปี พุทธศักราช ๒๓๑๙-๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรี โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกสงครามกับเวียงจันทร์หลายครั้ง พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็ง จนได้รับชัยชนะทุกครั้ง จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน นับได้ว่าเป็นบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองขุขันธ์ เป็นต้นตระกูลของเมืองขุขันธ์และได้ถึงแก่อนิจกรรมในปี พุทธศักราช ๒๓๒๑

ทำเนียบเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองขุขันธ์

ลำดับ นาม - บรรดาศักดิ์ - ตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ พุทธศักราช หมายเหตุ
พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะหรือ หลวงแก้วสุวรรณ) ๒๓๐๒-๒๓๒๑ - ปฐมตระกูลวงศ์เจ้าเมืองขุขันธ์ ผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์ คนแรก
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขันธ์หรือ หลวงปราบ) ๒๓๒๑-๒๓๒๕
พระยาไกรสงคราม (ท้าวบุญจันทร์หรือ พระไกร)[1] ๒๓๒๗-๒๓๖๙
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง) ๒๓๗๑-๒๓๙๓
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวในหรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม) ๒๓๙๓-๒๓๙๓
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวนวน หรือ พระแก้วมนตรี) ๒๓๙๓-๒๓๙๓
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้างกิ่งหรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม) ๒๓๙๔-๒๓๙๕
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าววังหรือ พระวิชัย) ๒๓๙๕-๒๔๒๖
พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปานหรือ ท้าวปัญญา ขุขันธิน) ๒๔๒๖-๒๔๔๐ - เจ้าเมืองลำดับสุดท้ายในตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์

ดูเพิ่ม

ต้นตาลเก้ายอด
  • ตาลโตนดมียอดถึง 9 ยอด และมีอายุอยู่คู่กับเจ้าเมืองถึง 9 คน เป็นต้นตาลที่มีความแปลกเพราะลำต้นเดียว แต่แตกแขนงลำต้นออกเป็น 9 แขนง 9 ยอด เคยมีชีวิตและตั้งต้นตระหง่านมาตั้งแต่กำเนิดเมืองขุขันธ์ ณ หมู่บ้านตาดม หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษได้ล้มตายลงเมื่อปี พ.ศ. 2509 ปัจจุบันยังคงเหลือแต่เพียงร่องรอยภาพถ่ายแห่งอดีตมาถึงปัจจุบัน
  • วัดทั้ง 4 แห่งเมืองขุขันธ์ ประกอบด้วย วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์ วัดเขียนบูรพาราม วัดบกจันทร์นคร และวัดไทยเทพนิมิต วัดทั้ง 4 วัด เป็นวัดที่เก่าแก่มีความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของเมือง คู่กับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัดกลางอัมรินทราวาสเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ
    • ทิศเหนือ วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์ ชุมชนชาวเจ๊ก ปัจจุบันคือ บ้านเจ๊ก หมูที่ 7 ตำบลห้วยเหนือ
    • ทิศตะวันออก วัดเขียนบูรพาราม(เดิมชื่อ วัดเขมร แต่เรียกเพี้ยนเป็น วัดเขียน) ชุมชนชาวเขมร ปัจจุบันคือ บ้านพราน หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยเหนือ
    • ทิศใต้ วัดบกจันทร์นคร ชุมชนชาวลาว(เวียงจันทน์) ปัจจุบันคือ บ้านบก หมู่ที่ 13 ตำบลห้วยเหนือ
    • ทิศตะวันตก วัดไทยเทพนิมิต ชุมชนชาวไทย ปัจจุบันคือ บ้านห้วย หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยเหนือ

เหตุการณ์ครบรอบ 250 ปีเมืองขุขันธ์ในปีพ.ศ. 2552

  • ครบรอบ 250 ปีรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ( ทองด้วง ) เสด็จตามพญาช้างเผือกมาที่เมืองขุขันธ์พ.ศ. 2302
  • ครบรอบ 250 ปีเมืองขุขันธ์ปกครองในระบบราชการขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาในฐานะหัวเมืองชั้นนอก
  • ครบรอบ 250 ปีตากะจะได้รับโปรดเกล้าฯบรรดาศักดิ์เป็น " หลวงแก้วสุวรรณ " นายกอง ( ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก )
  • ครบรอบ 250 ปีเชียงขันได้รับโปรดเกล้าฯบรรดาศักดิ์เป็น " หลวงปราบ " ตำแหน่งผู้ช่วยนายกอง
  • ครบรอบ 250 ปีการตั้งศาลหลักเมืองขุขันธ์
อนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(ตากะจะ)ผู้สร้างเมืองขุขันธ์

ชาวลาวเวียงจันทน์ในอำเภอขุขันธ์

ชาวลาวเวียง คือ ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ ในช่วงสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ของกองทัพสยาม ตั้งแต่สมัยธนบุรี - ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ฝ่ายไทยยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง

การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ ,ต.ห้วยจันทน์ อำเภอขุนหาญ ต.หมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอขุขันธ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอขุขันธ์แบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 22 ตำบล 279 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กันทรารมย์ (Kanthararom) 14 หมู่บ้าน 12. ตะเคียน (Takhian) 12 หมู่บ้าน
2. จะกง (Chakong) 13 หมู่บ้าน 13. นิคมพัฒนา (Nikhom Phatthana) 11 หมู่บ้าน
3. ใจดี (Chai Di) 11 หมู่บ้าน 14. โคกเพชร (Khok Phet) 11 หมู่บ้าน
4. ดองกำเม็ด (Dong Kammet) 11 หมู่บ้าน 15. ปราสาท (Prasat) 9 หมู่บ้าน
5. โสน (Sano) 22 หมู่บ้าน 16. สำโรงตาเจ็น (Samrong Ta Chen) 17 หมู่บ้าน
6. ปรือใหญ่ (Prue Yai) 20 หมู่บ้าน 17. ห้วยสำราญ (Huai Samran) 11 หมู่บ้าน
7. สะเดาใหญ่ (Sadao Yai) 17 หมู่บ้าน 18. กฤษณา (Kritsana) 13 หมู่บ้าน
8. ตาอุด (Ta Ut) 9 หมู่บ้าน 19. ลมศักดิ์ (Lom Sak) 11 หมู่บ้าน
9. ห้วยเหนือ (Huai Nuea) 14 หมู่บ้าน 20. หนองฉลอง (Nong Chalong) 10 หมู่บ้าน
10. ห้วยใต้ (Huai Tai) 13 หมู่บ้าน 21. ศรีตระกูล (Si Trakun) 7 หมู่บ้าน
11. หัวเสือ (Hua Suea) 14 หมู่บ้าน 22. ศรีสะอาด (Si Sa-at) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอขุขันธ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 23 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยเหนือ
  • เทศบาลตำบลศรีสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันทรารมย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจะกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะกงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลใจดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลใจดีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดองกำเม็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปรือใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาอุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาอุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเหนือ(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเสือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเพชรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงตาเจ็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงตาเจ็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสำราญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกฤษณาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลมศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลมศักดิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองฉลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีตระกูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีตระกูลทั้งตำบล

ประชากร

อำเภอขุขันธ์มีประชากรทั้งสิ้น 149,679 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ 163.70 คน/ตารางกิโลเมตร แยกเป็นรายตำบล

ลำดับ ตำบล จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน
1 ห้วยเหนือ 14,833 4,370
2 โสน 14,039 3,249
3 ปรือใหญ่ 11,643 2,469
4 กันทรารมย์ 7,109 1,486
5 ดองกำเม็ด 7,073 1,531
6 สะเดาใหญ่ 6,874 1,389
7 หัวเสือ 6,834 1,468
8 ห้วยใต้ 6,703 1,534
9 สำโรงตาเจ็น 6,344 1,417
10 ใจดี 6,333 1,394
11 จะกง 6,299 1,335
12 กฤษณา 6,100 1,265
13 ปราสาท 6,061 1,252
14 ตะเคียน 5,752 1,236
15 ลมศักดิ์ 5,653 1,169
16 ห้วยสำราญ 5,427 1,186
17 โคกเพชร 5,301 1,124
18 ตาอุด 5,138 1,040
19 นิคมพัฒนา 4,340 988
20 หนองฉลอง 4,172 1,214
21 ศรีสะอาด 4,170 809
22 ศรีตระกูล 3,478 742

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอขุขันธ์

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 หลวงสุรัตนามัย (บุญมี ขุขันธิน) 2450-2453
2 พระพิชัยราชวงษา (บุญมี ศรีอุทุมพร) 2453-2456
3 ขุนศิริไศลรักษ์ (แป้น ส่องศรี) 2459-2461
4 นายสุวรรณ ศรีเพ็ญ 2461-2462
5 ขุนชิต สารการ (เคลือบ ประถมรักษ์) 2462-2464
6 หลวงวัฒนวงษ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฎ) 2464-2468
7 หลวงประชากรเกษม (เป้ย ส่องศรี) 2468-2476
8 นายโสภณ อรจันทร์ 2476-2480
9 นายตุ้ม สุวรรณกูฎ 2480-2488
10 นายสุวิช ศิริกูล 2488-2493
11 นายมนูญ สุวรรณสำริด 2493-2495
12 ร.ต.ท. ยนต์ ประพิตภา 2495-2499
13 นายอำนาจ รักษาสัตย์ 2499-2500
14 นายเทิ้ม ช่างเรียน 2500-2501
15 นายยอด อ่อนโอภาส 2501-2511
16 นายสม ทัดศรี 2511-2514
17 นายสมศักดิ์ ไทยสะเทือน 2514-2519
18 นายสมัย รัตนจันทร์ 2519-2520
19 นายสงวน วัฒนานันท์ 2520-2521
20 ร.อ.อริยะ อุปาระมี 2521-2523
21 นายวิศิษฐ์ วรรณศิริ 2523-2526
18 นายสมัย รัตนจันทร์ 2519-2520
19 นายสงวน วัฒนานันท์ 2520-2521
20 ร.อ.อริยะ อุปาระมี 2521-2523
21 นายวิศิษฐ์ วรรณศิริ 2523-2526
18 นายสมัย รัตนจันทร์ 2519-2520
19 นายสงวน วัฒนานันท์ 2520-2521
20 ร.อ.อริยะ อุปาระมี 2521-2523
21 นายวิศิษฐ์ วรรณศิริ 2523-2526
22 นายบุญตา หาญวงศ์ 2526-2529
23 นายปริญญา ปานทอง 2529-2530
24 เรือตรีสนอง มโหทาน 2530-2532
25 นายสุนาย ลาดคำกรุง 2532-2535
26 นายวนิชย์ ฤทธิ์เดช 2535-2539
27 นายเนาวรัตน์ บุญหล้า 2539-2542
28 นายฉันท์ กาเมือง 2542-2543
29 นายชูศักดิ์ อุปนันท์ 2543-2547
30 นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา 2547-2550
31 นายเผด็จ แนบเนียน 2550-2551
32 นายอนุรัตน์ ลีธีระประเสริฐ 2551-2557
33 นายสมศักดิ์ นิสัยสม 2557-2558
34 นายสำรวย เกษกุล 2558-ปัจจุบัน

สภาพทางสังคม

การสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลขนาด 120 เตียง 1 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 27 แห่ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนบังอีง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใจดี
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันจาน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอาวอย
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนุน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคล้า
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือใหญ่
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือคัน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับทิมสยาม 06
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองลุง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมบูรณ์
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเสือ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนช่างเหล็ก
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกวางขาว
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองกลา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเพชร
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปราสาท
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรงตาเจ็น
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาก๊อก
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกฤษณา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวิทย์
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรอย
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมซอยกลาง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนน
  • ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 1 แห่ง
    • ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองห้วยเหนือ
  • สำนักงานสาธารณสุข 1 แห่ง
    • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์

การศึกษา

โรงเรียนในตัวอำเภอ

  • โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล
  • โรงเรียนขุขันธ์วิทยา
  • โรงเรียนขุขันธ์
  • โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง

ระดับประถมศึกษา 89 แห่ง

  • โรงเรียนทับทิมสยาม06
  • โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์
  • โรงเรียนบ้านปรือใหญ่
  • โรงเรียนบ้านหลัก
  • โรงเรียนบ้านปรือคัน

ระดับมัธยมศึกษา

สถาบันการอาชีวศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา

  • มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์ขุขันธ์ (โต้รุ่งขุขันธ์)
  • สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยชีวิตขุขันธ์ (มรภ.สุรินทร์)
  • วิทยาลัยเอเชียไซเบอร์เทคโนโลยี ศูนย์โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์การศึกษาทางไกล ศูนย์อำเภอขุขันธ์ (รร.ขุขันธ์)

อื่นๆ

  • กศน.อำเภอขุขันธ์
  • ห้องสมุดประชาชนอำเภอขุขันธ์
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  • สถานีตำรวจ 3 แห่ง
    • สถานีตำรวจภูธรขุขันธ์
    • สถานีตำรวจภูธรจะกง
    • สถานีตำรวจภูธรปรือใหญ่
  • ป้อมตำรวจ 4 แห่ง
    • ป้อมตำรวจรัตนากรวิสุทธิ์ หน้าตลาดโต้รุ่ง (สภ.ขุขันธ์)
    • ป้อมตำรวจแยกตรางสวาย (สภ.ขุขันธ์)
    • ป้อมตำรวจแยกนาเจริญ (สภ.ขุขันธ์)
    • ป้อมตำรวจแยกโคกตาล (สภ.ปรือใหญ่)

สภาพเศรษฐกิจ

มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 465,777 ไร่

  • ปลูกพืชทางการเกษตรในพื้นที่ปริมาณมากที่สุดถึงร้อยละ 95 ของพื้นที่การเกษตร คือ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกไม้ผล ปลูกปอและ ยางพารา ตามลำดับ
  • มีอาชีพเสริมคือ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มผลิตภัณฑ์จากมือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ครุน้อย กลุ่มผลิตภัณฑ์เกวียนน้อย และ กลุ่มผลิตอบใบตาล

ธนาคาร

  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้ โลตัส
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้ โลตัส
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้ โลตัส
  • ธนาคารกสิกรไทย

การศาสนา

วัด 77 แห่ง ได้แก่

  • วัดถ้ำสระพงษ์
  • วัดกลางอัมรินทราวาส
  • วัดสะอางโพธิญาณ
  • วัดเขียนบูรพาราม
  • วัดชำแระกลาง
  • วัดบกจันทร์นคร
  • วัดปราสาทใต้
  • วัดบ้านแขว
  • วัดสมบูรณ์
  • วัดตาดม
  • วัดนิคมสายเอก
  • วัดไทยเทพนิมิต
  • วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์
  • วัดบ้านแทรงเทพทวารา
  • วัดเสลานาก๊อก
  • วัดราษีพัฒนา
  • วัดคะนาสามัคคี
  • วัดวัดใจดี
  • วัดทะลอก
  • วัดลำภูรัมพนิวาส
  • วัดโคกเพชร
  • วัดภูมิศาลา
  • วัดโนนสำราญ
  • วัดดองกำเม็ด
  • วัดกันจาน
  • วัดบ้านบิง
  • วัดระกา
  • วัดเสลาเหนือ
  • วัดกระโพธิ์ช่างหม้อ
  • วัดหัวเสือ
  • วัดบ้านสวงษ์
  • วัดห้วยสระภูมิ
  • วัดบ้านศาลา
  • วัดคลองสุด
  • วัดกะกำ
  • วัดตะเคียน
  • วัดจันลม
  • วัดหนองกาด
  • วัดบ้านอาทิ
  • วัดบ้านกลาง
  • วัดจะกง
  • วัดวัดตาสุด
  • วัดวัดกฤษณา
  • วัดสวัสดี
  • วัดตะเคียนน้อย
  • วัดสำโรงตาเจ็น
  • วัดกระโพธิ์เริงรมย์
  • วัดบ้านโนนสาย
  • วัดอำนาจเจริญ
  • วัดหนองเข็ง
  • วัดฮ่องธาตุ
  • วัดสำโรงสูง
  • วัดเขวิก
  • วัดตาอุด
  • วัดเคาะกุปวารีย์
  • วัดบ้านตรอย
  • วัดบ้านติมรัตนาราม
  • วัดศรีตระกูล
  • วัดปรือใหญ่
  • วัดปรือคัน
  • วัดตาเบ๊าะเกษมงคล
  • วัดค่ายนิคม
  • วัดกวางขาว
  • วัดโนนสมบูรณ์
  • วัดโสน
  • วัดขนุน
  • วัดอาวอย
  • วัดหนองคล้า
  • วัดสนามสามัคคี
  • วัดหนองคล้าใต้
  • วัดนาเจริญพัฒนา
  • วัดโสภณวิหาร
  • วัดโคกโพน
  • วัดโคกสูง
  • วัดจันทราปราสาท
  • วัดบ่อทอง
  • วัดศรีสะอาด
  • วัดทุ่งบังอิงวิหาร

สำนักสงฆ์ 10 แห่ง

การคมนาคม

ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ

ทางหลวงแผ่นดินอื่นๆ

ทางหลวงชนบทที่สำคัญ

  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.2002 (ตาคง-สมอ)
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.2043 (ตาอุด-ขุนหาญ)
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3016 (บ้านบิง-ไพรบึง)
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3023 (บุสูง-ตะเคียนช่างเหล็ก)
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.5050 (ขุขันธ์-สำโรงพลัน)

แยกที่สำคัญ

  • แยกขุขันธ์ ตำบลห้วยเหนือ (จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 และทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.5050 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกขุขันธ์ ตำบลห้วยใต้ (จุดสิ้นสุดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 ที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24)
  • แยกโคกตาล ตำบลนิคมพัฒนา (จุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24)
  • แยกนาเจริญ ตำบลโสน (จุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24)
  • แยกนิคมสายเอก ตำบลหนองฉลอง (จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกตรางสวาย ตำบลดองกำเม็ด (จุดเริ่มต้นของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกบ้านบิง ตำบลดองกำเม็ด (จุดเริ่มต้นของทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.3016 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220)
  • แยกบ้านแทรง ตำบลห้วยสำราญ (จุดเริ่มต้นของทางหลวงชนบทหมายเลข ศก.7075 ที่แยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201)

ระยะทางจากอำเภอขุขันธ์ไปยังอำเภอต่างๆ ในจังหวัด

อำเภอ ระยะทาง (กิโลเมตร)
เมืองศรีสะเกษ 50
กันทรลักษ์ 59
กันทรารมย์ 77
อุทุมพรพิสัย 76
ราษีไศล 86
ไพรบึง 25
ขุนหาญ 33
ปรางค์กู่ 30
ห้วยทับทัน 87
บึงบูรพ์ 90
โพธิ์ศรีสุวรรณ 78
เมืองจันทร์ 80
ศิลาลาด 112
โนนคูณ 85
ศรีรัตนะ 42
พยุห์ 40
เบญจลักษ์ 66
ยางชุมน้อย 80
วังหิน 26
ภูสิงห์ 26
น้ำเกลี้ยง 70

ระยะทางจากอำเภอขุขันธ์ไปยังอำเภอสำคัญต่างๆ ในจังหวัดใกล้เคียง

อำเภอ ระยะทาง (กิโลเมตร)
เมืองอุบลราชธานี 122
วารินชำราบ 118
เดชอุดม 109
พิบูลมังสาหาร 153
น้ำยืน 112
เมืองสุรินทร์ 93
สังขะ 45
ปราสาท 93
รัตนบุรี 105
เมืองบุรีรัมย์ 148
ประโคนชัย 128
นางรอง 160
ลำปลายมาศ 180
เมืองนครราชสีมา 260
ปักธงชัย 250
โชคชัย 231
สีคิ้ว 289
ปากช่อง 325
กรุงเทพมหานคร 483

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดเจ๊กโพธิพฤกษ์

อยู่ในตำบลห้วยเหนือ เป็นวัดที่มีประวัติแปลกไปจากวัดอื่น ๆ เพราะสร้างโดยคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองขุขันธ์ในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

  • ปราสาทกุด หรือปราสาทวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ ตั้งอยู่ในเขตวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ บริเวณบ้านเจ๊ก ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลาย กลายเป็นเนินโบราณสถาน มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนเนินดินใหญ่ ผนังแต่ละด้านจะก่ออิฐเป็นช่องคล้ายประตู โดยก่ออิฐทึบทั้งหมด มีความสูงประมาณ 15 เมตร ส่วนยอดหักพังลงมาจนถึงเรือนธาตุ โบราณสถานแห่งนี้คงสร้างมาในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือพุทธศตวรรษที่ 23-24 และปราสาทนี่เองสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ปราสาทสี่เลี่ยมโคกลำดวน ในอดีต ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน หรือเมืองขุขันธ์
    ปราสาทวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์
  • ตู้พระธรรมของวัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ เป็นงานศิลปะฝีมือที่สวยงามมาก ผู้พระธรรมลายรดน้ำมีขนาด ๑.๕๘ เมตร กว้าง ๐.๖๔ เมตร ยาว ๐.๙๓ เมตร บานประตูเขียนลายกนกเปลว ด้านข้างทั้งสองเขียนลวดลายพันธุ์ไม้ลวดลายที่เขียนขึ้นมีภาพเล่าเรื่องประกอบทุกด้านลักษณะลวดลายของตู้พระธรรมนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก ภาคกลางอยู่มาก ถึงแม้จะมีสอดแทรกลายพื้นเมืองอยู่บ้านก็ตามลายกรอบบานประตูดอกไม้คล้ายดอกพุดตานและขาตู้ซึ่งมีลักษณะแบบจีนนิยมทำกันอย่างแพร่หลายในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสันนิษฐานได้ว่าตู้พระธรรมนี้มีอายุได้ ๑๐๐ ปี มาแล้วหรือ ในราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์
วัดเขียนบูรพาราม

ตั้งอยู่ที่บ้านพราน ตำบลห้วยเหนือ โบราณสถานคือ อุโบสถที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้มุงด้วยสังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบแกะสลักเป็นลายพันธุ์พฤกษา ส่วนที่จั่วสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่เรียกว่า หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูง 6.80 เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกัน ระหว่างศิลปล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวขุขันธ์มาแต่ในอดีต ภายนอกอุโบสถทั้งสี่มุมมีธาตุ ลักษณะศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียงสามองค์ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุด อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย ที่จังหวัดยโสธร วัดเขียนบูรพาราม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 50 ตารางวา

วัดกลางอัมรินทราวาส

เป็นวัดขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์การศึกษาและการบริหารการปกครองสงฆ์อำเภอขุขันธ์

วัดโสภณวิหาร

ตั้งอยู่ที่ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ วัดโสภณวิหาร หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า " วัดบ้านลุมพุก " เป็นวัดเก่าไม่ปรากฏปีที่สร้าง ภายในวัดมีสิมเก่าแบบลาว ก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูง หน้าบันตกแต่งลายปูนปั้น ผนังเขียนภาพระบายสี หน้าต่างประดับด้วยลูกมะหวด พระประธานอิทธิพลศิลปะแบบลาว มีหลักเสมาปักไว้ในสิมต่างจากที่อื่นซึ่ง เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่บริเวณแถบนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าภายในวัดยังพบสถูปคู่คล้ายกับพบที่บริเวณผา มออีแดงเชิงเขาพระวิหาร วัดบ้านลุมพุกมีความน่าสนใจตรงที่เป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนาที่เข้ามามี บทบาทต่อจากศาสนสถานขอมที่ปราสาทตาเล็ง จึงเป็นสถานที่ๆ แสดงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และมี การรับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบลาวที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง มาใช้ในชุมชนที่มีวัฒนธรรมเขมร ลักษณะความ เป็นท้องถิ่นที่ยังไม่สามารถอธิบายได้ คือ แนวคิดการสร้างศาสนสถานที่เปลี่ยนจากปราสาทขอมมาเป็นธาตุ ในพุทธศาสนา อาจทำให้เราคิดว่าเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบศิลปะในลักษณะของการผสมผสาน

วัดลำภูอัมพนิวาส

เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นiประมาณปี พ.ศ.2134 (ก่อนตั้งเมืองขุขันธ์) ปัจจุบันอายุราว 425 ปี กล่าวคือตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีพระภิกษุประทาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ปัจจุบันยังพอมีหลักฐานที่ปรากฎหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดนี้ว่ามีอายุนับเป็นร้อยๆปีมีอยู่หลายอย่าง ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ปราสาท 2 หลัง เป็นพระธาตุเจดีย์ศิลปล้านช้างตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของโบสถ์ในปัจจุบัน ซึ่งองค์พระธาตุเจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้มีอายุราว 444 ปี คือสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2102 โดยทางการได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ศาลหลักเมืองขุขันธ์
  • ศาลหลักเมืองเก่า ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดกลางอัมรินทราวาส มีลักษณะเหมือนศาลเจ้าของคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากได้รับการดูแลจากชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ ไม่ทราบหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองขุขันธ์ ซึ่งมีอายุ 200 กว่าปีมาแล้ว และมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2488 ฝ่ายพันธมิตรได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่เมืองขุขันธ์ กะจะทิ้งระเบิดให้ตกลงตรงใจกลางเมือง ขณะนั้นก็ได้ยินเสียงเหมือนมีคนควบม้าไปทั่วเมือง ทำให้นักบินมองไม่เห็น จึงได้ปลดระเบิดลงที่"เวียลตาย"แทน ซึ่งก็คือพื้นที่ระหว่างโรงเรียนขุขันธ์วิทยากับบ้านบกในปัจจุบัน จึงทำให้เมืองขุขันธ์รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตรในคราวนั้น
  • ศาลหลักเมืองใหม่ ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณอนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(ตากะจะ) วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 และยกเสาเอกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากมีการประชุมกันระหว่างฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสในพื้นที่เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน เห็นว่าศาลหลักเมืองเก่ามีขนาดเล็ก พื้นที่คับแคบ ทัศนียภาพไม่สง่างาม และไม่เป็นที่สังเกตของผู้ที่ผ่านไปมา จึงมีมติให้สร้างศาลหลักเมืองใหม่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว โดยมีท่านเจ้าคุณพระรัตนากรวิสุทธิ์ รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้าง และได้รับการร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการบริจาคทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ปัจจุบันนี้อยู่ในช่วงกำลังดำเนินการก่อสร้าง
อนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ)

ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอ ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ดำเนินการก่อสร้างโดยเทศบาลตำบลห้วยเหนือ(ปัจจุบัน คือ เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์) โดยได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างส่วนหนึ่งจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ บริเวณโดยรอบของอนุสาวรีย์จะเป็นสวนหย่อม บริเวณด้านทิศใต้จะมีรูปปั้นพญาช้างเผือกและครอบครัว ส่วนบริเวณด้านหน้าจะเป็นลานอนุสาวรีย์ ซึ่งจะถูกใช้ประโยชน์เป็นลานออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยเชื้อสายจีนทุกๆช่วงเวลาเย็น และใช้เป็นลานจัดกิจกรรม "งานรำลึกพระยาไกรภักดีฯ ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี" ซึ่งเป็นงานใหญ่และสำคัญของอำเภอทุกๆปี

วิหารเจ้าแม่กวนอิมพันมือ
ปราสาทตาเล็ง
ปราสาทตาเล็ง

ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านปราสาท ตำบลปราสาท เป็นปรางค์องค์เดียวตั้งอยู่บนฐาน องค์ปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงผนังด้านหน้าและผนังด้านข้างบางส่วน มีประตูเข้าได้เพียงประตูเดียวด้านหน้า อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ที่สำคัญคือเสาติดผนังของประตูหน้าทั้งสองข้างยังคงมีลวดลายก้านขดสลักเต็มแผ่นอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๗ นอกจากนี้บนพื้นรอบๆ ยังมีทับหลังวางอยู่หลายชิ้น ชิ้นหนึ่งวางอยู่หน้าประตูด้านทิศเหนือ สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล ซึ่งคายท่อนพวงมาลัยออกมาจากปากและยึดท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ทับหลังชิ้นอื่นๆ ลักษณะคล้ายกัน ทับหลังชิ้นหนึ่งมีแนวภาพตอนบนสลักเป็นรูปฤๅษีนั่งเรียงกันในท่าสมาธิ 7 ตอน จากลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมที่ปรากฏกล่าวได้ว่าปราสาทตาเล็งสร้างขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1560 - 1630

หนองสะอาง

อยู่ที่หมู่ 12 บ้านสะอาง ตำบลห้วยเหนือ เป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ และเป็นหนองที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ และยังเป็นแหล่งหาปลาของคนในชุมชน

โครงการทับทิมสยาม 06
  • หมู่บ้านทับทิมสยาม 06
  • อ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 06
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ตั้งอยู่ภายในโครงการทับทิมสยาม 06 บ้านนาจะเรีย หมู่ที่ 13 ตำบลปรือใหญ่ อยู่ทางทิศใต้ของตำบลตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักระยะทางห่างจากตัวอำเภอขุขันธ์ ประมาณ 18 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่สองตำบลในสองอำเภอ คือ ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ กับ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ
  • ผาประสพชัย/เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
  • สถานีเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ทับทิมสยาม 06
  • วัดถ้ำสระพงษ์

ประเพณีที่สำคัญ

ประเพณีแซนโฎนตา

ประเพณีแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์เดิมเป็นที่ตั้งของบริเวณเมืองขุขันธ์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทยหลายเชื้อสาย หลายภาษา เช่น เขมร ลาว ส่วย เยอ จีน เป็นต้น มีจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงามของท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในจำนวนนั้น ก็คือ ประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งเป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายเขมร โดยคนไทยกลุ่มดังกล่าวได้ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม เนื่องจากอำเภอขุขันธ์มีคนไทยเชื้อสายเขมร อยู่เป็นจำนวนมาก บรรดาลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับมาร่วมพิธีเซ่นไหว้ที่บ้านเป็นประจำทุกปี แต่การแซนโฎนตาได้กระทำกันในครอบครัว บางครอบครัวที่เป็นคนรุ่นใหม่เริ่มขาดความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรมดังกล่าว ชาวอำเภอขุขันธ์จึงได้จัดงานประเพณีแซนโฎนตาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการสืบสาน พัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

อ้างอิง

  1. จดหมายเหตุนครราชสีมา อ้างถึงใบบอกของเจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งเรียกเจ้าเมืองขุขันธ์ว่า พระยาไกรสงคราม

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น