ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกันทรลักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอกันทรลักษ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kantharalak
คำขวัญ: 
กันทรลักษ์ เมืองหลักการเกษตร เขตประตูสู่เขาพระวิหาร
งามพลาญผามออีแดง แหล่งรวมวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอกันทรลักษ์
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอกันทรลักษ์
พิกัด: 14°38′24″N 104°39′0″E / 14.64000°N 104.65000°E / 14.64000; 104.65000
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,346.0 ตร.กม. (519.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด201,521 คน
 • ความหนาแน่น149.72 คน/ตร.กม. (387.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33110
รหัสภูมิศาสตร์3304
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ หมู่ที่ 5 ถนนอนันตภักดี ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กันทรลักษ์ [กัน-ทะ-ระ-ลัก][1] เป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษและมีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ไม่รวมอำเภอเมือง) มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่มากมาย พร้อมทั้งมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตพืชผลออกจำหน่ายอยู่หลายประเภท[2] เช่น เงาะ ทุเรียน ลำไย สะตอ ลิ้นจี่ ยางพารา และผักสวนครัว คำแปลของชื่ออำเภอ มาจากภาษาบาลี [กนฺทร+ลกฺข] กนฺทร : ส่วนแห่งภูเขา อันน้ำเซาะ, ซอก, ซอกเขา, ถ้ำ, ลำธาร[3] + ลกฺข : จำนวนแสน (สันสฤต ลกฺษ)[4] มีที่มาจากชื่อเดิมบ้านห้วยลำแสนไพรอาบาล

ประวัติ

[แก้]
  • อำเภอกันทรลักษ์ เดิมชื่อ เมืองอุทุมพรพิไสย ขึ้นอยู่กับเมืองขุขันธ์ ในปี พ.ศ. 2410 พระยาขุขันธ์ (วัง) ได้กราบทูลกรุณาขอตั้งบ้านห้วยลำแสนไพรอาบาลกับบ้านกันตวด ตำบลห้วยอุทุมพร ริมเชิงเขาตก ขึ้นเป็นเมือง (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ราชอาณาจักรกัมพูชา) และเสนอชื่อผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองไปในคราวเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นชอบด้วยตามที่เสนอ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านห้วยลำแสนไพรอาบาลเป็นเมืองกันทรลักษ์ และทรงตั้งพระแก้วมนตรี (พิมพ์) ยกกระบัตรเมืองขุขันธ์ เป็นพระกันทรลักษ์บาล เจ้าเมืองกันทรลักษ์ โปรดเกล้าฯ ยกบ้านกันตวดห้วยอุทุมพร เชิงเขาตก ขึ้นเป็นเมืองอุทุมพรพิไสย ทรงแต่งตั้งท้าวบุดดี บุตรพระยาขุขันธ์ (วัง) เป็นเจ้าเมืองอุทุมพรพิไสย ตั้งแต่ วันพฤหัสบดี แรม 13 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จุลศักราช 1229 ตรงกับวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2411
  • ครั้งต่อมาในกลางเดือน 9 ปีเดียวกัน ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนฝรั่งเศส ณ เมืองไซ่ง่อน ได้มีหนังสือทักท้วงต่อรัฐบาลสยามว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปตั้งเมืองใหม่รุกล้ำเข้าไปในดินแดนของฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นายร้อยเอกหลวงอัศดร นายร้อยเอกขุนอินทร์อนันต์และพระยาทรงพลเป็นข้าหลวงฝ่ายไทยไปตรวจ แล้วกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ ให้ทรงทราบว่า เป็นความจริงตามที่กล่าวหา จึงให้ย้ายเมืองกันทรลักษ์มาตั้งที่บ้านบักดองลาวเดิม ปัจจุบันบ้านหลักหิน ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ เป็นที่ตั้งวัดกันทราวาสในโอกาสต่อไป ส่วนเมืองอุทุมพรพิไสย ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านผือ ตำบลเมือง อำเภอกันทรลักษ์ ในปัจจุบัน
  • พระกันทรลักษ์บาล เจ้าเมืองล้มป่วยด้วยพิษของไข้ป่าในเวลาไม่นานก็ถึงแก่กรรมบรรดาข้าราชการ ราษฎรเมืองกันทรลักษ์ต่างพากันกลัวไข้ป่า ไม่อยากอยู่เมืองกันทรลักษ์อีกต่อไป พระยาขุขันธ์ (วัง) ได้ทำเรื่องราวขอย้ายเมืองไปตั้งอยู่ ณ ที่แห่งใหม่ และได้รับคำสั่งให้เมืองกันทรลักษ์ที่บ้านบักดองยุบมารวมกับเมืองอุทุมพรพิไสยที่บ้านผือ ตำบลเมือง ตั้งแต่เดือน 12 ปีมะโรง พ.ศ. 2441
  • ในราวเดือน 12 ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช 1279 นายร้อยตรี หรุ่น ศุภประเสริฐ (ขุนอนันตภักดี) เจ้าเมืองอุทุมพรพิไสย ได้พิจารณาเห็นว่า บริเวณป่าจัมบกใกล้บ้านน้ำอ้อม ทำเลดียิ่งกว่าเมืองอุทุมพรพิไสย (ที่บ้านผือ) จึงขอย้ายที่ทำการอำเภอเมืองอุทุมพรพิไสยมาตั้งอยู่ที่บ้านโนนบก ซึ่งอยู่ใกล้บ้านน้ำอ้อม จึงพาราษฎรสร้างถนนจากเมืองอุทุมพรพิไสย (บ้านผือ) ตรงไปยังบ้านน้ำอ้อม ผ่านหน้าโรงพยาบาลกันทรลักษ์ โรงเรียนอนุบาลดำราชานุสรณ์ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ สถานีตำรวจภูธร ศูนย์การค้ากันทรลักษ์ไปยังบ้านน้ำอ้อม และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านขุนอนันตภักดี ถนนสายนี้จึงได้ชื่อว่า ถนนอนันตภักดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2469 กระทรวงมหาดไทยได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ให้เปลี่ยนคำว่า เมือง เป็น จังหวัด และเมืองบางแห่งก็มีการยุบและลดฐานเรียกว่า อำเภอ เมืองอุทุมพรพิไสยจึงต้องลดฐานะมาเป็นอำเภออุทุมพรพิไสย และนายอำเภอขุนอนันตภักดี ได้ขอขนานนามอำเภอใหม่ เป็น อำเภอน้ำอ้อม ตามหมู่บ้านที่ตั้งอำเภอ ตั้งแต่ พ. ศ. 2460 เป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2480 กระทรวงมหาดไทย ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอให้เป็นไปตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อำเภอน้ำอ้อม จึงได้ชื่อว่า อำเภอกันทรลักษณ์
  • พ.ศ. 2515 มีการเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องตามอักขระดั้งเดิม คือ ให้ตัด ณ เณร ออก เหลือนามเป็น อำเภอกันทรลักษ์ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแปลตามความหมายว่า เมืองที่ถ้ำหรือซอกเขาเป็นเครื่องหมาย อีกทั้ง เชื่อว่ารากศัพท์ภาษาบาลีเดิม กนฺทร = ลำห้วย + ลกฺข = แสน (สันสกฤต ลกฺษ) มาจากชื่อหมู่บ้านดั้งเดิม [บ้านห้วยลำแสนไพรอาบาล]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอกันทรลักษ์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกันทรลักษ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 20 ตำบล 275 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บึงมะลู (Bueng Malu) 20 หมู่บ้าน 11. ชำ (Cham) 8 หมู่บ้าน
2. กุดเสลา (Kut Salao) 16 หมู่บ้าน 12. กระแชง (Krachaeng) 19 หมู่บ้าน
3. เมือง (Mueang) 9 หมู่บ้าน 13. โนนสำราญ (Non Samran) 11 หมู่บ้าน
4. สังเม็ก (Sang Mek) 18 หมู่บ้าน 14. หนองหญ้าลาด (Nong Ya Lat) 16 หมู่บ้าน
5. น้ำอ้อม (Nam Om) 16 หมู่บ้าน 15. เสาธงชัย (Sao Thong Chai) 13 หมู่บ้าน
6. ละลาย (Lalai) 12 หมู่บ้าน 16. ขนุน (Khanun) 15 หมู่บ้าน
7. รุง (Rung) 10 หมู่บ้าน 17. สวนกล้วย (Suan Kluai) 12 หมู่บ้าน
8. ตระกาจ (Trakat) 12 หมู่บ้าน 18. เวียงเหนือ (Wiang Nuea) 8 หมู่บ้าน
9. จานใหญ่ (Chan Yai) 16 หมู่บ้าน 19. ทุ่งใหญ่ (Thung Yai) 15 หมู่บ้าน
10. ภูเงิน (Phu Ngoen) 19 หมู่บ้าน 20. ภูผาหมอก (Phu Pha Mok) 6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่

สภาพทางสังคม

[แก้]
โรงพยาบาลกันทรลักษ์

การสาธารณสุข

[แก้]
  • โรงพยาบาลขนาด 234 เตียง 1 แห่ง เป็นโรงพยาบาลขนาดM1 รองรับผู้ป่วยส่งต่อจากอำเภอเบญจลักษ์ ศรีรัตนะ โนนคูณ ขุนหาญ
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 33 แห่ง
  • สำนักงานสุขภาพชุมชน (บ้านโศกขามป้อม) 1 แห่ง
  • คลินิกมาลาเรียตำบล 3 แห่ง
  • คลินิกทางการแพทย์ 12 แห่ง
  • ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 15 แห่ง

การกีฬา

[แก้]
  • สนามกีฬาดำรงราชานุสรณ์ (สนามกีฬากลางอำเภอกันทรลักษ์)

การศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนในเขตเทศบาล
โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา โรงเรียนมัธยมสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ 1 ใน 362 โรงเรียนยอดนิยมของประเทศ[6]
โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ โรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษาสหศึกษา ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ชื่อโรงเรียนตั้งตามพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โรงเรียนอรจันทร์วิทยา โรงเรียนเอกชน ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6
  • โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษารอบนอก
โรงเรียนบ้านโตนด โรงเรียนบ้านตระกาศขอนแก่น โรงเรียนบ้านโคกวิทยา โรงเรียนกันตม (คุรุราษฎร์สามัคคี)
โรงเรียนบ้านทุ่งกอกหนองเกาะ โรงเรียนบ้านกระบี่ โรงเรียนบ้านแก โรงเรียนบ้านโนนคำแก้ว
โรงเรียนหนองเดียงน้อยโนนใหญ่ โรงเรียนบ้านจำนันสายเจริญ โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านสังเม็ก
โรงเรียนบ้านเดียงตะวันตก โรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา) โรงเรียนบ้านโนนน้ำอ้อม โรงเรียนบ้านสว่าง
โรงเรียนบ้านขะยูง โรงเรียนบ้านขนา โรงเรียนบ้านแก โรงเรียนบ้านกระแชงใหญ่
โรงเรียนบ้านศรีอุดมซำตารมย์ โรงเรียนบ้านขะยูง (สาขาหนองแก) โรงเรียนบ้านไหล่ดุมตาเหมา โรงเรียนบ้านรุงสมบูรณ์
โรงเรียนบ้านโนนสำราญ โรงเรียนบ้านน้ำเย็น (กองทัพบกอุปถัมภ์) โรงเรียนบ้านหนองตลาดโนนเปือย โรงเรียนบ้านชำแจงแมง
โรงเรียนชนะใช้กิจการ โรงเรียนบ้านท่าสว่าง โรงเรียนบ้านท่าสว่าง (สาขากระหวัน) โรงเรียนบ้านจันทร์หอมตาเสก
โรงเรียนบ้านโนนเยาะโนนสิริ โรงเรียนบ้านน้ำขวบโนนดู่ โรงเรียนบ้านพรทิพย์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 27
โรงเรียนบ้านไฮ (วันครู 2503) โรงเรียนบ้านทุ่งยาวคำโปรย โรงเรียนบ้านสามเส้า โรงเรียนบ้านโคกเจริญ
โรงเรียนบ้านละลายมีชัย โรงเรียนบ้านโดนอาว โรงเรียนเกษตรประชาตาทวด โรงเรียน ตชด.บ้านหนองใหญ่
โรงเรียนบ้านชำม่วง โรงเรียนบ้านกะมอล โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ม่วง โรงเรียนบ้านโคก อสพป.32
โรงเรียนบ้านร่องตาซุน โรงเรียนบ้านจานเลียว โรงเรียนบ้านปะทาย โรงเรียนบ้านโนนเปือย
โรงเรียนบ้านผือ โรงเรียนบ้านบึงมะลู โรงเรียนบ้านหนองเม็ก โรงเรียนบ้านหนองศาลาโนนแสนคำ
โรงเรียนบ้านโศกขามป้อม โรงเรียนบ้านเสาธงชัย โรงเรียนบ้านด่าน โรงเรียนบ้านโนนยาง
โรงเรียนบ้านตาแท่น โรงเรียนบ้านภูมิซรอล โรงเรียนบ้านซำเบ็ง โรงเรียนบ้านขนุน
  • โรงเรียนมัธยมศึกษารอบนอก
โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยาคม โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี โรงเรียนสายธารวิทยา
โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม โรงเรียนบึงมะลูวิทยา โรงเรียนกระแชงวิทยา โรงเรียนดงรักวิทยา

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

[แก้]
  • สถานีตำรวจ 4 แห่ง ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรกันทรลักษ์ สถานีตำรวจภูธรบ้านโดนเอาว์ สถานีตำรวจภูธรบึงมะลู และสถานีตำรวจภูธรกุดเสลา
  • กองร้อย ตชด. 224 1 กองร้อย
  • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 1 หน่วย
  • กองร้อย อส. อ.กันทรลักษ์ ที่ 9 1 กองร้อย
  • ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อำเภอกันทรลักษ์ (นามเรียกขาน ดำรง) 1 หน่วย

จุดผ่อนปรน

[แก้]
  • จุดผ่อนปรนเพื่อการท่องเที่ยวช่องปราสาทเขาพระวิหาร 1 จุด นักท่องเที่ยวผ่านขึ้นชมปราสาทเขาพระวิหาร

จำนวนเฉลี่ย 177,923 คน/ปี

สภาพเศรษฐกิจ

[แก้]
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาถนนพระวิหาร ธนาคารไทยพาณิชย์

หน่วยงานสถานที่ราชการ

[แก้]
ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ สถานีตำรวจภูธรกันทรลักษ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์ โรงพยาบาลกันทรลักษ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกันทรลักษ์ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร สำนักงานเกษตรอำเภอกันทรลักษ์
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอกันทรลักษ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรลักษ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขากันทรลักษ์ การประปาส่วนภูมิภาค สาขากันทรลักษ์
ศาลจังหวัดกันทรลักษ์ เรือนจำอำเภอกันทรลักษ์ สำนักงานอัยการจังหวัดกันทรลักษ์ สำนักงานบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ สาขากันทรลักษ์
สัสดีอำเภอกันทรลักษ์ สำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขากันทรลักษ์ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขากันทรลักษ์ สำนักงานขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ สาขากันทรลักษ์
การยางแห่งประเทศไทยสาขากันทรลักษ์

งานประเพณีและงานเทศกาล

[แก้]
  • งานประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
  • งานประเพณีสงกรานต์อีสาน โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 11–15 เมษายน ของทุกปี
  • งานประเพณีวันเข้าพรรษา งานแห่เทียนพรรษา โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันเข้าพรรษาของทุกปี
  • งานประเพณีออกพรรษา โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันออกพรรษาของทุกปี
  • งานงิ้ว จัดในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
  • งานโรตารี จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • เทศกาลลอยกระทง แห่กระทง แห่นางนพมาศ งานประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่งประกอบหางเครื่อง
  • งานสมโภชน์ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ จัดขึ้นทุกวันที่ 13-14 ธันวาคม ของทุกปี

สถานที่ที่น่าสนใจ

[แก้]
พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ต้นลำดวนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกพระราชทานเมื่อครั้งเสด็จฯ มาทรงเปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สวนสาธารณะและสวนเกษตร

[แก้]
  • สวนสาธารณะหนองกวางดีด

ตั้งอยู่ที่บ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำอ้อม การเดินทางเริ่มจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงอำเภอกันทรลักษ์ ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร เดินทางโดยถนนสินประดิษฐ์ถึงสี่แยกไฟแดง เลี้ยวขวาเข้าสวนสาธารณะหนองกวางดีด สภาพโดยทั่วไปเป็นสวนสาธารณะที่อยู่ในกลางเมืองกันทรลักษ์ ถือได้ว่าเป็นปอดของชาวอำเภอ มีบรรยากาศสวยงามร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ท่องเที่ยวได้ตลอดปี

  • สวนเกษตรและผลไม้

ตั้งอยู่ที่บ้านซำตารมย์ หมู่ที่ 7 ตำบลตระกาจ การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสวนเกษตร/ผลไม้ ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 65 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ถึงสี่แยกการช่าง เลี้ยวซ้ายมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) และห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ถึงสี่แยกการช่าง เลี้ยวขวาตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ถึงบ้านซำตารมย์ เลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตร ก็ถึงสวนเกษตรและผลไม้ ช่วงฤดูกาลในการท่องเที่ยวสวนเงาะและทุเรียน คือ เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

ปราสาทโดนตวล

[แก้]

ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลภเสาธงชัย ห่างจากหมู่บ้าน 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทาง อำเภอกันทรลักษ์-ผามออีแดง เป็นปราสามขอมโบราณขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วยปรางค์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ ซุ้มประตูก่อด้วยศิลา และมีรูปสิงโตจำหลักอยู่หน้าปราสาท

พลาญจำปา

[แก้]

มีเนื้อที่ประมาณ 184 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา เป็นที่ นสล.ของหมู่บ้านคลองทราย หมู่7 มีพลาญหินกว้างใหญ่ สวยงาม มีพืชพรรณต้นไม้หลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีเปิงหินที่สวยงามรูปทรงต่างๆ มีถ้ำและมีหน้าผาจุดชุมวิวที่สวยยิ่งเหมาะแก่การพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของตำบลรุง ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ห้วยตะวัน หรือ แก่งตะวัน

[แก้]

ห้วยตะวันอยู่ในเขตตำบลบึงมะลู ติดกับ ตำบลรุงเป็นห้วยที่เพิ่งค้นพบเป็นห้วยที่มีน้ำไหลลักษณะคล้ายน้ำตก

หาดสำราญ

[แก้]

มีแหล่งน้ำธรรมชาติใสสะอาด ชายหาดสวยงาม มีจักรยานน้ำไว้บริการให้นักท่องเที่ยวชมธรรมชาติรอบ ๆ หาด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดการแข่งขันวอลเล่ย์บอลชายหาด บรรยากาศเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดคือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น กับอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 สภาพภูมิประเทศทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาตามแนวทิวเขาพนมดงรักกั้นชายแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยหากินข้ามไปมาในผืนป่าระหว่างสองประเทศได้แก่ หมูป่า กวาง เก้ง กระต่าย กระรอก ชะนี ชะมด เป็นต้น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

เป็นหน้าผาสูง 500 เมตร แบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา เป็นหน้าผาหินสีแดงที่มองเห็นทัศนียภาพของดินแดนเขมรต่ำได้กว้างไกลสุดตาและจากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นปราสาทเขาพระวิหารได้ นับเป็นจุดชมวิวในมุมสูงที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ในช่วงฤดูฝนจะปรากฏทะเลเมฆที่ไหลมาจากที่ราบแผ่นดินเขมรต่ำมาปะทะหน้าผาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ไปเยือนผามออีแดงในฤดูนี้จะได้มีโอกาสอาบเมฆอย่างแสนประทับใจ

บันไดชมภาพสลักนูนต่ำ
  • ภาพสลักนูนต่ำ รูปแกะสลักโบราณ

ซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้หน้าผามานับพันปี อยู่ทางทิศใต้ของผามออีแดง มีบันไดให้ลงไปชมได้สะดวก เป็นภาพเทพสามองค์ เชื่อว่าเป็นที่ซ้อมมือของช่างในการแกะสลักก่อนเริ่มการแกะสลักจริงที่ปราสาทเขาพระวิหาร สถูปคู่ ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของผามออีแดง ตัวสถูปทำจากหินทรายตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ด้านบนกลมมนตั้งอยู่คู่กัน ข้างในเป็นโพรงบรรจุสิ่งของ เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของสมัยนั้น

  • ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม  ได้มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีทะเลหมอกเกิดขึ้นมา  มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  จำนวนมากได้หลั่งไหลเดินทางขึ้นมา เพื่อชมทะเลหมอกบนผามออีแดง ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่มีความงดงามในทางธรรมชาติและในมิติทางสุนทรียภาพเป็นอย่างยิ่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอกันทรลักษ์ และในอีสานใต้อีกแห่งหนึ่ง
  • ปราสาทโดนตวล

สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 อยู่บริเวณบ้านภูมิซรอล เป็นปราสาทหินแบบขอม ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทยห่างจากหน้าผาชายแดนไทย-กัมพูชา ประมาณ 300 เมตร มีตำนานเล่าว่านามนมใหญ๋ (เนียงเดาะทม) ได้แวะพักที่แห่งนี้ในขณะที่เดินทางไปเฝ้ากษัตริย์พระองค์หนึ่ง

แหล่งตัดหินเขาพระวิหาร เป็นร่องรอยการตัดหินเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเพื่อนำไปสร้างปราสาทเขาพระวิหารบนลานหินทรายของเทือกเขาพนมดงรัก โดยในเขตอุทยานฯ ค้นพบที่บริเวณลานหินผามออีแดง สถูปคู่ และบารายสระตราวน้ำตกและถ้ำขุนศรี น้ำตกอยู่เหนือถ้ำขุนศรีสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของสระตราวใกล้เส้นทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร ส่วนถ้ำขุนศรีภายในมีขนาดกว้าง เชื่อกันว่าเป็นที่พักของขุนศรีขณะมาควบคุมการตัดหินบริเวณสระตราวเพื่อใช้สร้างปราสาทเขาพระวิหาร

ภาพสลักนูนต่ำ

เขื่อนห้วยขนุน เป็นอ่างเก็บน้ำชลประทานและเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เขื่อนห้วยขนุน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 15 กิโลเมตร มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนเที่ยวชมธรรมชาติ และเข้าค่ายกางเต็นท์พักแรมเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่แนะนำมีสองเส้นทาง ได้แก่ เส้นทางผามออีแดง-สระตราว มีพรรณไม้ที่น่าสนใจมากมายอาทิ พืชสมุนไพร กล้วยไม้ และดอกหญ้าบนลานหินช่วงปลายฝนต้นหนาว เส้นทางศึกษาธรรมชาติกล้วยไม้เขาพระวิหาร ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีกล้วยไม้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะเอื้องระฟ้า กล้วยไม้เฉพาะถิ่น เป็นพืชเด่นที่พบมากในอุทยานฯ ช่องอานม้า เป็นจุดผ่อนปรนในการค้าขายและผ่านแดนระหว่างไทย-กัมพูชา อยู่ที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเฉพาะวันอังคารและวันพฤหัสบดี

การเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ก่อนถึงอำเภอสีคิ้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอปักธงชัย อำเภอสังขะ และอำเภอขุขันธ์ ถึงสี่แยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอกันทรลักษ์ แล้วต่อไปยังที่ทำการอุทยานฯ หรือจากจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2178 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ผ่านอำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอเบญจลักษ์ และอำเภอกันทรลักษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่พักและสถานที่กางเต็นท์ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 0 9522 4265, 0 1224 0779 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์

[แก้]

ตั้งอยู่ที่บ้านบก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหญ้าลาด การเดินทาง เริ่มจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงอำเภอกันทรลักษ์ ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร บริเวณสี่แยกทางไป เขาพระวิหาร จะมองเห็นศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2542 และก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยประกอบพิธีอัญเชิญหลักเมืองมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548 ศาลหลักเมืองนี้ มีชื่อว่า "เจ้าพ่อศรีศักดิ์หลักเมือง" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่สักการะของประชาชน มีความสวยงาม เด่นเป็นสง่า คู่บ้านคู่เมืองอำเภอกันทรลักษ์ สามารถเที่ยวชมและกราบไหว้สักการะได้ตลอดปี และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ออกกำลังกายด้วย

การเดินทาง

[แก้]

รถยนต์

[แก้]

โดยรถยนต์สามารถเดินทางตลอดเส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 โดยสารสู่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารได้หลายเส้นทางซึ่งถนนลาดยางแอลฟาสต์คอนกรีตทุกเส้นสะดวกสบายมาก คือ จากจังหวัดศรีสะเกษ-อำเภอกันทรลักษ์-ที่ทำการอุทยานฯ หรือจากจังหวัดอุบลราชธานีอำเภอน้ำยืน–ที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางแต่ละสายประมาณ 100 กิโลเมตรเท่านั้น

เครื่องบิน

[แก้]

เครื่องบิน กรุงเทพ - อุบลราชธานี ทุกวัน

รถตู้และรถประจำทาง

[แก้]

ศรีสะเกษ-กันทรลักษ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546. คนในพื้นที่นิยมอ่านชื่ออำเภอว่า [กัน-ทระ-ลัก] โดยออกเสียงควบกล้ำ ตัว "ร"
  2. "ศรีสะเกษจัดงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน และของดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.
  3. http://www.thaitux.info/dict/?words=%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3
  4. http://www.thaitux.info/dict/?words=%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%BA%E0%B8%82
  5. http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=148333[ลิงก์เสีย]
  6. http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=36707[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]