กบฏผู้มีบุญ
กบฏผู้มีบุญ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
พวกกบฏผู้มีบุญหรือผีบุญ เมื่อ พ.ศ. 2444 ซึ่งทหารควบคุมตัวไว้ ณ ทุ่งศรีเมือง เมืองอุบลราชธานี | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อินโดจีนของฝรั่งเศส สยาม (ถึงปี 2445)[1] | ขบวนการผู้มีบุญ (ผู้ที่แอบอ้างเป็นพระธรรมมิกราช)[2] | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ปอล ดูแมร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] |
องค์แก้ว † องค์มั่น องค์กมมะดำ †[1] | ||||||
กำลัง | |||||||
4,000 คน[1] |
มากกว่า 500 คน ปืนใหญ่ 2 กระบอก[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิตมากกว่า 450 คน บาดเจ็บมากกว่า 150 คน ถูกจับกุมมากกว่า 400 คน[1] | เสียชีวิตมากกว่า 54 คน[1] |
กบฏผู้มีบุญ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมีนาคม 2444 ถึงมกราคม 2445 มีจุดเริ่มจากที่ผู้สนับสนุนของขบวนการทางศาสนาของ "ผู้มีบุญ" ทำการกบฏติดอาวุธสู้กับอินโดจีนของฝรั่งเศสและสยาม โดยมีจุดประสงค์สถาปนาผู้นำ "องค์แก้ว" เป็นผู้นำของโลก ในปี 2445 การกระด้างกระเดื่องก็ถูกทำให้สงบลงในสยาม แต่ยังคงดำเนินต่อไปในอินโดจีนของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี 2446 จึงถูกกำราบสิ้นซาก
เบื้องหลัง
[แก้]ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล สยามยังคงปกครองแบบหัวเมือง โดยแบ่งเขตการปกครอง 4 แบบ ไก้แก่ ราชธานีและเมืองรอบ ๆ เมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวง และเมืองประเทศราช
สยามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในช่วงปี พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2371 จึงปกครองลาวใต้ และรวบรวมอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ มาเป็นส่วนหนึ่งของการปกครอง ส่วนขุนนางลาวที่ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระเจ้ากรุงสยาม ก็จะทำหน้าที่ดูแลประชาชนลาว รวมถึงชาวอาลัก และชาวละเว็น
กลุ่มชาติพันธุ์ลาวที่มีจำนวนมากกว่า มักโจมตีชนกลุ่มที่อ่อนแอกว่า เพื่อลักพาตัวไปขายเป็นทาสเมืองจำปาศักดิ์ และทาสเหล่านี้จะถูกส่งไปที่เมืองพนมเปญกับกรุงเทพ โดยคนขายกับคนกลางสามารถสร้างกำไรได้มหาศาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 เพื่อแก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก ทำให้แหล่งค้าทาสได้รับผลกระทบในทันที
เมื่อปี พ.ศ. 2426 ฝรั่งเศสพยายามขยายอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงใช้สนธิสัญญาเว้ อ้างสิทธิ์ในดินแดนเวียดนามทั้งหมด โดยทหารฝรั่งเศสค่อย ๆ ยึดที่ราบสูงกอนตูม และขับไล่ชาวสยามออกจากลาวหลังเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ก่อให้เกิดเขตชายแดนบริเวณแม่โขง แต่พื้นที่นั้นไม่มีทหารสยามอยู่ ชาวบ้านแถวนั้นจึงสร้างที่หลบภัย
สยามยกเลิกการเก็บบรรณาการจากเมืองประเทศราชเมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยเปลี่ยนมาเป็นระบบการจัดเก็บภาษีอากรโดยรัฐบาล ทำให้ข้าราชการลาวหมดอำนาจหน้าที่ลง จึงนำไปสู่การก่อกบฏโดยขุนนางชาวลาวและชาวอาข่า[3]
การสู้รบ
[แก้]เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2444 ข้าหลวงฝรั่งเศสประจำเมืองสาละวัน สั่งให้จัดหมู่ทหารกองหนุนเพื่อสำรวจประชาชนที่รวมตัวที่ภูกาด โดยมีองค์แก้วเป็นแกนนำ
องค์แก้วรวบรวมชนกลุ่มน้อยหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวอาลัก ชาวเซดัง (เวียดนาม: Xê Đăng) ชาวละเว็น และชาวญาเฮือน โดยชนกลุ่มเหล่านี้ให้ความเคารพองค์แก้วเสมือนพระโพธิสัตว์ และก่อกบฏผู้มีบุญในที่สุด
ชาวอาข่า 1,500 คนซุ่มโจมตีทหารลาดตระเวนขอบฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 12 เมษายน ทางข้าหลวงจึงหนีกลับเมืองสาละวัน แต่ทว่าข่าวสารการกบฏ ก็แพร่กระจายไปทั่วแล้ว
กบฏชาวเซดังโจมตีด่านหน้าของฝรั่งเศส ซึ่งอยู่นอกเมืองกอนตูมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม เป็นเหตุให้ผู้บัญชาการทหารประจำด่านดังกล่าวเสียชีวิต[1][2][4]
หมอดูส่วนใหญ่ทำนายว่ากบฏผู้มีบุญจะเคลื่อนตัวมาทางตะวันออกเฉียงเหนือของสยาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 และผู้มีบุญ (องค์แก้ว) จะเป็นผู้นำของโลก
ชาวบ้านเชื่อว่าองค์แก้วสามารถเล่นแร่แปรธาตุได้ จึงให้ชาวบ้านไปเก็บหิน ทั้งยังฆ่าสัตว์เพื่อมาทำพิธีสังเวย
แกนนำชาวลาวหลายคนที่จงรักภักดีต่อองค์แก้ว ทำการเผาเมืองตามแนวแม่น้ำเซโดนเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2444
ข่าวกบฏผู้มีบุญแพร่กระจายถึงสยามหลังจากที่นักองค์แบนประกาศว่าเขาคือผู้มีบุญเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2445 จากนั้นองค์แบนจึงรวบรวมทหารเพื่อบุกโจมตีเมืองเขมราฐ ซึ่งเป็นเมืองของสยาม ณ เวลานั้น
ทหารนักองค์แบนสังหารข้าราชการสองคน และยังลักพาตัวผู้ว่าราชการจังหวัดไป ทั้งยังปล้นและเผาเมือง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์จึงส่งทหาร 400 นายไปยังเมืองสุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี
ในขณะนั้นเอง นักองค์แบนได้ทำการรวบรวมผู้ติดตาม 1,000 คน ตั้งค่ายที่บ้านสะพือ และซุ่มโจมตีทหารสยาม 9 นายเสียชีวิต ทำให้นักองค์แบนมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอีก 1,500 คน เขาจึงจัดทหารกองร้อย พร้อมปืนใหญ่ 2 กระบอก
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2445 ทหารสยามซุ่มโจมตีแนวกบฎนอกเมืองอุบล สามารถฆ่าได้ 300 คนและจับตัวได้อีก 400 คน แต่การที่กบฏสู้รบแบบกองโจร ทำให้มีผู้รอดชีวิตที่หนีไปลาว[1]
ชาวบ้านบุกล้อมกองเสบียงในช่วงปลายเดือนเมษายน ที่เมืองสะหวันนะเขต ส่งผลให้กบฏ 150 คนถูกฆ่าและอีก 150 คนได้รับบาดเจ็บ กลุ่มกบฏจึงย้ายไปยังภูหลวง และเลิกก่อกบฏเมื่อปีพ.ศ. 2448, ย้ายไปยังบ้านหนองบกเก่า และฆ่าล้างชาวละเว็นในเวลาต่อมา
ฝรั่งเศสจึงบีบบังคับให้องค์แก้วยอมแพ้ องค์แก้วจึงหลบหนีเข้าสยาม หนีผ่านที่ราบสูงบ่อละเว็นด้วยความกระเสือกกระสน แต่ฟองด์เลอร์ (Fendler) ใช้ปืนพกไทยประดิษฐ์ที่ซ่อนไว้ใต้หมวก ลอบสังหารองค์แก้วในช่วงเจรจาสงบศึกเมื่อปีพ.ศ. 2453
การกบฏจบลงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2479 เนื่องจากองค์คมดำ (Ong Kommandam) ข้าราชการในองค์แก้วซึ่งเป็นผู้สั่งการกบฏ ถูกยิงเสียชีวิต นับเป็นจุดสิ้นสุดของการกบฏในครั้งนี้[1][2]
ดูเพิ่ม
[แก้]- กบฏเจ้าอนุวงศ์
- สงครามปราบฮ่อ (2408–2433)
- วิกฤตการณ์ปากน้ำ (2436)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 John B. Murdoch (1971). "THE 1901–1902 "HOLY MAN'S" REBELLION" (PDF). Journal of the Siam Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Craig J. Reynolds. "The Concept of Peasant Revolt in Southeast Asia". University of Sydney eScholarship Journals. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.
- ↑ Murdoch, John B. (1974). "The 1901-1902 "Holy Man's Rebellion"" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol.62.1 (digital): image 3. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
8) "Kha" is the common, though somewhat pejorative, term used for the Austroasiatic tribal people of Northeast Thailand, Laos, and Viet-nam. I use it here because it is common parlance in the literature and for lack of a better term.
- ↑ Martin Stuart-Fox (30 January 2006). "Buddhism and politics in Laos, Cambodia, Myanmar and Thailand" (PDF). ANU College of Asia & the Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-17. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]- ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2527). ความเชื่อในเรื่องพระศรีอาริย์และกบฏในภาคอีสาน ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับอุดมการณและผู้นำ. ใน “ความเชื่อพระศรีอาริย์” และ “กบฏผู้มีบุญ” ในสังคมไทย. บรรณาธิการโดย พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และอัจฉราพร กมุทพิสมัย. หน้า 22-32. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
- สุมิตรา อำนวยศิริสุข. (2524). กบฏผู้มีบุญในมณฑลอีสาน พ.ศ. 2444-2445. สารนิพนธ์ ศศ.บ. (มานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- Baird, I. G. (2013, June). Millenarian movements in southern Laos and North Eastern Siam (Thailand) at the turn of the twentieth century: Reconsidering the involvement of the Champassak house royal. South East Asia Research. 21(2): 257-279.
เว็บไซต์
[แก้]- กบฏผู้มีบุญอีสาน ผู้นำตั้งตนเป็นผู้วิเศษ-พระศรีอริยเมตไตรย สู่จดหมายลูกโซ่ยุคแรกในไทย ศิลปวัฒนธรรม 18 มีนาคม 2564
- (อังกฤษ) (ฝรั่งเศส) The Colonization of Indochina, from around 1892
- (อังกฤษ) (ฝรั่งเศส) Indochina, a tourism book published in 1910