วิกฤตการณ์วังหน้า
ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417-2418 ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัย โดยการดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์ (ปัจจุบันคือ กระทรวงการคลัง) เพื่อรวมรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2,000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ทั้งยังทรงระแวงว่าจะถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับการทรงแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยตรง[1] จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนประเทศสยามออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง คือทางเหนือถึงเชียงใหม่ (หรืออาจจะนับให้ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันออกจนถึงดินแดนทางตะวันออกของสยาม)ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง ส่วนที่สอง คือพื้นที่ระหว่างตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองไปจนถึงทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง และส่วนที่สาม คือทางใต้ โดยถือเอาตั้งแต่จากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไปนั้น ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงปกครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอและง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้นได้เลยทีเดียว
ความบาดหมางระหว่างพระบรมมหาราชวังและวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงทรงระดมกำลังเพิ่มในวังหน้า กระทั่งปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2417 เกิดอัคคีภัยใกล้กับโรงเก็บดินปืนและโรงก๊าซในวังหลวง[1] ทางวังหน้าจะนำทหารพร้อมอาวุธไปช่วยดับเพลิง แต่วังหลวงไม่อนุญาต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงระแวงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงกำจัดหรือลิดรอนสิทธิอำนาจของพระองค์ จึงทรงหนีไปอยู่สถานกงสุลอังกฤษ และเรียกร้องให้ข้าหลวงอังกฤษมาช่วยไกล่เกลี่ย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและทรงบอกไม่ให้พวกอังกฤษมาแทรกแซง "วิกฤตการณ์วังหน้า" ยุติลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2418[1]
อ้างอิง[แก้]
บรรณานุกรม[แก้]
- Bowring, Sir John (2003 (originally 1857)). The Kingdom and People of Siam: With a Narrative of the Mission to That Country in 1855. (Volume 1). United Kingdom: Adamant Media Corporation. ISBN 0-543-88704-9.
{{cite book}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) Full text also at Google Books: The Kingdom and People of Siam - Prince Chula Chakrabongse, HRH (1967). Lords of Life: A History of the Kings of Thailand. United Kingdom: Alvin Redman Limited.
{{cite book}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - Englehart, Neil A. (2001). "Culture and Power in Traditional Siamese Government" (Southeast Asia Program Series) (Southeast Asia Program Studies, 18). United States: Cornell University Southeast Asia Program Publications. ISBN 0-877-27135-6.
{{cite book}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - Kesboonchoo Mead, Kullada (2004). The Rise and Decline of Thai Absolutism. United Kingdom: Routledge Curzon. ISBN 0-415-29725-7.
{{cite book}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - Vetch, Robert Hamilton (2005). Life of Lieutenant General the Honorable Sir Andrew Clarke. United Kingdom: Kessinger Publishing. ISBN 1-417-95130-3.
{{cite book}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) Full text also at 'archive.org': Life of Sir Andrew Clarke