เกษม สุวรรณกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกษม สุวรรณกุล
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 139 วัน)
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าทวิช กลิ่นประทุม
ถัดไปสุเทพ อัตถากร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ จังหวัดปทุมธานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 348 วัน)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 104 วัน)
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 – 2 มกราคม พ.ศ. 2532
(11 ปี 212 วัน)
ก่อนหน้าศ.เติมศักดิ์ กฤษณามระ
ถัดไปศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
นายกสภามหาวิทยาลัยรังสิต
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าพลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2473 (94 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพิศมัย สุวรรณกุล

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เกษม สุวรรณกุล กรรมการกฤษฎีกา[1] เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรังสิต[2]

ประวัติ[แก้]

เกษม สุวรรณกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2494 (รุ่นที่ 1) โดยสอบได้เป็นอันดับที่ 1 ของรุ่น

การทำงาน[แก้]

เกษม สุวรรณกุล เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2495 จากการชักชวนของศาสตราจารย์ เกษม อุทยานิน คณบดีคณะรัฐศาสตร์ในขณะนั้น หลังจากเป็นอาจารย์ได้เพียงปีเศษ สามารถสอบชิงทุนฟูลไบรท์ ไปศึกษาต่อวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาโทกลับมาสอนหนังสือได้อีก 1 ปี ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับทุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ภายหลังได้รับปริญญาเอกทางการบริหารและการปกครอง จึงกลับมาปฏิบัติหน้าที่ที่คณะรัฐศาสตร์อีกครั้ง ในขณะเดียวกันได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการนักบริหารสำนักงานเลขาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2513 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปี พ.ศ. 2517 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำรงตำแหน่งอีก 4 สมัย จนถึงปี พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาที่เป็นอธิการบดีทั้งสิ้น 11 ปี 7 เดือน ซึ่งในขณะที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้มีผลงานสำคัญ อาทิ การผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ขึ้นแทนพระราชบัญญัติฉบับเดิมซึ่งใช้มากว่า 30 ปีแล้ว การก่อตั้งศูนย์เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อปี พ.ศ. 2522 การก่อตั้งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2524 การจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2526 และการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนาธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นต้น

เกษม สุวรรณกุล ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญ อาทิ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย 6 สมัย[4] [5][6][7][8] แต่มีครั้งหนึ่งยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย คือในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.35)[9] เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[10] เป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย (พ.ศ. 2532-2534) เป็นประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นวุฒิสมาชิก (พ.ศ. 2526-2531) นายกสภามหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง และยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก

แม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล ยังมีบทบาทสำคัญในหลายตำแหน่ง เช่น เป็นวุฒิสมาชิก[11] ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ 9 มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการและที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาคเอกชนอีกหลายแห่ง อาทิ ประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) (กฎหมายการศึกษา) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึงปัจจุบัน ประธาน อ.ก.พ.พัฒนาข้าราชการ กรรมการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประธานกรรมการโครงการคนไทยตัวอย่างของมูลนิธิธารน้ำใจ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เป็นต้น

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 ระหว่าง 29 มกราคม พ.ศ. 2544 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545[12]

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน

ผลงานดีเด่น[แก้]

เกษม สุวรรณกุล ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (ด้านการศึกษา) จากคณะกรรมการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ และได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เกษม สุวรรณกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา
  2. ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-25.
  9. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  10. ราชกิจจานุบเกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๘ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔
  13. ศิษย์เก่าดีเด่น : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๕๔, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ก่อนหน้า เกษม สุวรรณกุล ถัดไป
ศาสตราจารย์กิตติคุณ
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 - 2 มกราคม พ.ศ. 2532)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์
จรัส สุวรรณเวลา
เกษม วัฒนชัย
(สมัยที่ 1)
นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 8
(29 มกราคม พ.ศ. 2544 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545)
เกษม วัฒนชัย
(สมัยที่ 2)