เทียนฉาย กีระนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทียนฉาย กีระนันทน์
ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2539 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2543
(3 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
ถัดไปรศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2488 (78 ปี)
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสศ.ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ รองประธานกรรมการคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รองประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [1] กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[2] อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนเกษียณอายุราชการดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

เทียนฉาย กีระนันทน์ เกิดเมื่อปี 30 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายเทียนวัณ กีระนันทน์ และนางองุ่น (เปล่งวานิช) กีระนันทน์ [3] จบการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, M.A. (Economics & Demography) มหาวิทยาลัยฮาวาย, A.M. และ Ph.D. ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยดุ๊ก หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ว.ป.อ.รุ่น 37 ท่านเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ, และอธิการบดี จุฬาฯ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ของ วช., บุคคลดีเด่นของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2539 และดำรงตำแหน่งอื่น ๆ อีกมากมาย

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [4] โดยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [5]และได้รับตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560

เทียนฉาย กีระนันทน์ สมรสกับ สุชาดา กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรชาย 2 คน คือ เทียนชาต กีระนันทน์ และ เทียนไท กีระนันทน์

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • อาจารย์จุฬาฯ (ปี พ.ศ. 2514 - 2547)
  • หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ริเริ่มโครงการโรงพิมพ์และโครงการสวัสดิการข้าราชการจุฬาฯ
  • ได้รับเชิญให้ช่วยราชการตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( ปี พ.ศ. 2521 - 2524, 2526 - 2528)
  • ศาสตราจารย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
  • คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ (ปี พ.ศ. 2533)
  • ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯ ต่อจาก ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ที่ลาออกก่อนครบวาระ
  • อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (27 มีนาคม พ.ศ. 2539 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2543)
  • ลาออกจากตำแหน่งประธานที่ประชุมอธิการบดีทั่วประเทศ (ทปอ.) ระบุสาเหตุจากวิกฤติกำลังคน ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัย โดยเป็นผลมาจากนโยบายลดอัตรากำลังคนภาครัฐ (21 สิงหาคม พ.ศ. 2542)
  • ประธานและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

ตำแหน่งอื่น ๆ[แก้]

  • กรรมการสภาจุฬาฯ ประเภทผู้แทนผู้บริหาร
  • กรรมการวิจัยแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ (ปี 2528-2538)
  • อนุกรรมการการวิจัย ป.ป.ป.
  • อ.ก.พ.สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล
  • กรรมการทบวงมหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) แทนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รัฐบาลชวน 2/3 ที่ขอถอนตัว (20 ตุลาคม พ.ศ. 2542)

เกียรติคุณ-รางวัล[แก้]

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2538 จากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  • บุคคลดีเด่นของชาติด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2539 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ (ตุลาคม พ.ศ. 2540)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!
  2. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  3. ประวัติ เทียนฉาย กีระนันท์
  4. ไม่พลิก!‘เทียนฉาย’นั่งประธานสปช. เก็บถาวร 2014-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,คม ชัด ลึก, 25 ตุลาคม 2557
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 218 ง, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖


ก่อนหน้า เทียนฉาย กีระนันทน์ ถัดไป
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์
จรัส สุวรรณเวลา

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(1 เมษายน พ.ศ. 2539 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2543)
รองศาสตราจารย์ ดร.
ธัชชัย สุมิตร