รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย
รัฐมองโกเลียใหญ่ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ Монгол улс Mongol uls | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1911–1915 ค.ศ. 1921-1924 | |||||||||||||
ธงชาติ[ต้องการอ้างอิง]
| |||||||||||||
เพลงชาติ: Зуун лангийн жороо луус ᠵᠠᠭᠤᠨ ᠯᠠᠩ ᠤᠨ ᠵᠢᠷᠤᠭᠠ ᠯᠠᠭᠤᠰᠠ โซส ลังกีน จอรอ โลส ศตวรรษประชาชนของสามัญชนสีเงิน | |||||||||||||
มองโกเลียนอกใน ค.ศ. 1914 แสดงเป็นสีแสด | |||||||||||||
สถานะ |
| ||||||||||||
เมืองหลวง | นีสเล็ลฮุเร | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | มองโกเลีย | ||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต (ทางการ) | ||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยวภายใต้พระพุทธศาสนา[1] ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||
ข่าน | |||||||||||||
• ค.ศ. 1911–1915 ค.ศ. 1921-1924 | บ็อกด์ ข่าน | ||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||
• ค.ศ. 1912–1915 (คนแรก) | ต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน | ||||||||||||
• ค.ศ. 1919–1920 (คนสุดท้าย) | กอนชิกจาลซานกิน บาดัมดอร์จ | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | ไม่มี (การปกครองโดยคำสั่ง) (ค.ศ. 1911–1914; ค.ศ. 1921–1924) สภาโฮรัล (ค.ศ. 1914–1919) | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 | |||||||||||||
17 มิถุนายน ค.ศ. 1915 | |||||||||||||
ค.ศ. 1919–1921 | |||||||||||||
1 มีนาคม ค.ศ. 1921 | |||||||||||||
ค.ศ. 1921–1924 | |||||||||||||
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 | |||||||||||||
สกุลเงิน | เทล, ดอลลาร์มองโกเลีย | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย (มองโกเลีย: อักษรมองโกเลีย:ᠪᠣᠭᠳᠠ ᠬᠠᠭᠠᠨᠲᠤ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ, Богд хаант Монгол Улс; จีน: 博克多汗國; พินอิน: Bókèduō Hán Guó) เป็นรัฐบาลโดยพฤตินัยของมองโกเลียนอกในระหว่าง ค.ศ. 1911 ถึง ค.ศ. 1915 และดำรงอยู่อีกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1924 โดยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1911 ขุนนางคนสำคัญบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึงเจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหรินได้เชิญให้เจาซันดัมบา โฮตักต์เข้าร่วมการประชุมขุนนางและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสงฆ์เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นอิสรภาพจากราชวงศ์ชิง ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 มองโกเลียได้ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวฮัลฮ์ จากนั้นในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 มองโกเลียจึงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ชิงที่กำลังล่มสลายหลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ โดยมีองค์เทวาธิปัตย์คือ บ็อกด์ เกเกงที่ 8 เป็นผู้นำสูงสุดของศาสนาพุทธแบบทิเบตในมองโกเลีย ซึ่งได้รับนามเรียกขานว่า บ็อกด์ ข่าน หรือ "ผู้ปกครองอันศักดิ์สิทธิ์"[2] บ็อกด์ ข่าน เป็นข่านองค์สุดท้ายของชาวมองโกล โดยรัชสมัยของพระองค์มีชื่อเรียกว่า "สมัยเทวาธิปไตยมองโกเลีย" (Theocratic Mongolia)[3] และอาณาจักรของพระองค์เป็นที่รู้จักกันในนาม "รัฐข่านบ็อกด์"[4]
ในช่วงเวลานี้มีการเกิดขึ้นของสามกระแสการเมืองหลักด้วยกัน โดยกระแสแรกคือความพยายามของชาวมองโกลที่จะสร้างรัฐเทวาธิปไตยที่เป็นเอกราช ซึ่งประกอบด้วยมองโกเลียใน บาร์กา (หรือที่รู้จักกันในชื่อฮูหลุนเป้ย์) มองโกลส่วนบน มองโกเลียตะวันตก และตังนู่อูเหลียงไห ("ลัทธิรวมกลุ่มมองโกล") กระแสที่สองคือความมุ่งมั่นของจักรวรรดิรัสเซียในการสร้างอำนาจเหนือดินแดนมองโกเลีย แต่ในขณะเดียวกันก็รับรองเอกราชของมองโกเลียนอกในการดูแลของสาธารณรัฐจีน และกระแสที่สามคือความสําเร็จสูงสุดของสาธารณรัฐจีนในการลบล้างอำนาจปกครองตนเองของมองโกเลียและสถาปนาอํานาจอธิปไตยเหนือภูมิภาคอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง ค.ศ. 1921
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ได้รับการรับรองจากจักรวรรดิรัสเซีย สาธารณรัฐรัสเซีย รัสเซียโซเวียต สหภาพโซเวียต และทิเบตเท่านั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ May, Timothy Michael (2008). Culture and customs of Mongolia. Greenwood Press. p. 22.
- ↑ Thomas E. Ewing, Revolution on the Chinese Frontier: Outer Mongolia in 1911, Journal of Asian History (Wiesbaden), v. 12, pp. 101–119 (1978).
- ↑ Академия наук СССР History of the Mongolian People's Republic, p. 232
- ↑ Butler, William Elliott. The Mongolian legal system: contemporary legislation and documentation. p. 255.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ewing, Thomas E. (1980). Between the Hammer and the Anvil. Chinese and Russian Policies in Outer Mongolia, 1911–1921. Bloomington, IN.