บ็อกด์ ข่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ็อกด์ ข่าน
Bogd Khan.jpg
พระบรมสาทิสลักษณ์บ็อกด์ ข่าน วาดโดยมาร์ซาน ชาราฟ จิตรกรชาวมองโกเลีย
ข่านแห่งมองโกเลีย
ครองราชย์29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 –
ค.ศ. 1919 (ครั้งที่ 1)
ค.ศ. 1921-20 พฤษภาคม ค.ศ. 1924 (ครั้งที่ 2)
29 ธันวาคม ค.ศ. 1911
ประกอบพิธีราชาภิเษก
ก่อนหน้าเคฟท์ โยส ข่าน (จักรพรรดิปูยี)
ถัดไประบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างหลังสวรรคต
ชายาเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม
เกอเนอพิล
พระนามเต็ม
จอว์ซาน ดัมบา คูทักต์ บ็อกด์ กาเกน เอเซน ข่าน
พระราชบิดากอนซิกทเซเรน
พระราชมารดาไม่ปรากฏพระนาม
ประสูติราว ค.ศ. 1869
จังหวัดหลี่ถาง, ภูมิภาคคาม, ทิเบต
สวรรคตผิดพลาด: ต้องการวันเกิดที่ถูกต้อง (วันที่สอง): ปี เดือน วัน
อูลานบาตาร์, รัฐมองโกเลีย
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต

บ็อกด์ ข่าน (มองโกเลีย: Богд Живзундамба Агваанлувсанчойжинямданзанванчүг; Bogd Jivzundamba Agvaanluvsanchoijinyamdanzanvanchüg; ค.ศ. 1869-1924) ทรงครองราชย์เป็นข่านแห่งมองโกเลีย องค์สุดท้าย ในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 เมื่อมองโกเลียส่วนนอกประกาศเอกราชจากราชวงศ์ชิง หลังเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ พระองค์ประสูติในทิเบต ในฐานะจอวซันดัมบา โฮทักท์ (Жавзандамба хутагт) องค์ที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่สามในลำดับชั้นทางศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยลำดับที่หนึ่งและที่สองคือ ทะไลลามะและแป็นเช็นลามะ ตามลำดับ ทำให้ดังนั้นจึงมีการขนานนามพระองค์ว่า "บ็อกด์ ลามะ" พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาสายทิเบตในเขตมองโกเลียส่วนนอก พระมเหสีของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม ดำรงเป็น "อูล์ซิน เออร์ ฑากิณ" หรือ "พระมารดาแห่งฑากิณีรัฐ" ซึ่งถือว่าเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ตารา

พระราชประวัติ[แก้]

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ[แก้]

บ็อกด์ เกเกง องค์ที่ 8 ประสูติในปีค.ศ. 1869[1] ที่ จังหวัดหลี่ถาง ภูมิภาคคาม ในครอบครัวข้าราชการชาวทิเบต[2] ในปีหลังจากบ็อกด์ เกเกงที่ 7 หรือ จอวซันดัมบา โฮทักท์ต์ องค์ที่ 7 สวรรคต ทำให้ทรงถูกเลือกขึ้นเป็นผูสืบทอดตำแหน่งองค์ต่อไป พระบิดาของเด็กหนุ่มคือ กอนชิกทเซเรน เป็นสมุหบัญชีในราชสำนักของทะไลลามะที่ 12 ช่วงปีแรกๆของพระชนม์ชีพ พระองค์ประทับร่วมกับพระมารดาที่ลาซาในพระราชวังโปตาลาของทะไลลามะ[3] เด็กชายได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะบ็อกด์ เกเกงองค์ใหม่ ที่พระราชวังโปตาลา โดยทะไลลามะที่ 13 และปันเชนลามะ[4] ในปีค.ศ. 1873-1874 มีการจัดขบวนขนาดใหญ่รวมถึงเหล่าลามะ ออกจากกรุงลาซา[5] เพื่อติดตามรับใช้องค์ตูลกู (หมายถึงเด็กชายที่ได้รับยศตำแหน่งทางศาสนา) ไปยังมองโกเลีย ในปี ค.ศ. 1875 บ็อกด์ เกเกงที่ 8 มาถึงอูลานบาตาร์ เมืองหลวงของมองโกเลียส่วนนอกอย่างปลอดภัย


มีบันทึกของพยานในเหตุการณ์ ว่า

"...พระองค์ไม่ได้เป็นหุ่นเชิดของเหล่าลามะ แต่ในทางกลับกัน เหล่าลามะต่างหากที่อยู่ในกำมือของพระองค์ ในช่วงวัยเยาว์ทรงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูอาณาจักรชาวมองโกเลียอันยิ่งใหญ่ของเจงกิสข่าน หรืออย่างน้อย คือการปลดปล่อยมองโกเลียออกจากการยึดครองของชาวจีน และสร้างให้มองโกเลียพึ่งพาตนเองได้ เหล่าเจ้าขุนมูลนายในท้องถิ่นหวาดกลัวพระองค์ยิ่งนัก แต่ประชาชนชื่นชอบพระองค์... ทรงเป็นผู้ปกครององค์แรกที่เฉลียวฉลาดและเป็นอิสระ พระองค์ไม่ยอมรับอำนาจใดๆให้มามีเหนือมองโกเลีย ทั้งจากทิเบตและจีน"[6]

การเผชิญหน้ากับคณะบริหารแห่งราชวงศ์ชิงในอูการ์[แก้]

เพียงเวลาห้าปีหลังจากบ็อกด์ เกเกงเสด็จจากทิเบตมาถึงอูการ์ (อูลานบาตาร์) ตอนนั้นมีพระชนมายุเพียง 10 ชันษา บ็อกด์ เกเกงได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปกครองเมืองหลวงที่นำโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ที่พยายามทำให้ประชาชนเกิดความห่างเหินต่อศาสนาและห่างเหินจากสังคมโลก กลุ่มพ่อค้าชาวจีนได้ยึดครองพระอารามตามศาสนาพุทธเป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้า ในปีค.ศ. 1882 พระองค์ได้มีสาส์นถวายรายงานต่อจักรพรรดิกวังซฺวี่แห่งราชวงศ์ชิง โดยทรงชี้แจงว่า ถ้ากลุ่มพ่อค้าชาวจีนไม่ย้ายออกไปจากอูการ์ พระองค์เองจะย้ายเมืองหลวงจากอูการ์ไปประทับที่อารามเออเดอนีซูแทน เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลชิงยินยอมตามข้อเรียกร้องและมีคำสั่งให้พวกพ่อค้าออกไปจากพระอาราม (พ่อค้าชาวรัสเซียยังคงได้รับอนุญาตให้ค้าขายในอาคารเดิมได้)[7]

บ็อกด์ เกเกงทรงท้าทายรัฐบาลราชวงศ์ชิงหลายครั้ง พระองค์ซ่อนตัวพระอาจารย์ชราของพระองค์เองภายในพระราชวัง โดยปฏิเสธที่จะส่งตัวเขาไปขึ้นศาลของคณะบริหารจากราชวงศ์ชิง พระองค์ทรงประกาศต่อต้านนโยบายการขึ้นภาษีอย่างเปิดเผย โดยเป็นนโยบายของข้าราชการจากราชสำนักชิงในท้องถิ่น ที่ชื่อว่า เต๋อหลิง ทรงปฏิเสธที่จะให้เขาเข้าเฝ้า และในที่สุดพระองค์ประสบความสำเร็จในการกดดันให้เขาลาออกจากตำแหน่ง ทั้งๆที่เขาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงปักกิ่งอย่างแข็งขัน[8] มีหลักฐานว่าบ็อกด์ เกเกงในวัยหนุ่ม ทรงได้รับการกล่าวถึงในฐานะผู้นำรุ่นใหม่ผู้ทรงอำนาจแห่งพุทธศาสนามองโกเลีย ที่พยายามรับมือกับอำนาจของรัฐบาลจักรพรรดิราชวงศ์ชิงที่เข้ามาควบคุมมากขึ้นในปี ค.ศ. 1900[9]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  1. บางแหล่งข้อมูลระบุว่าประสูติในปีค.ศ. 1870 อ้างจากหนังสือ — датировку см. Сонинбаяр Ш., Пунсалдулам Б. 2009. Монголын тусгаар тогтнол оюун санааны их удирдагч VIII Богд Жэвзундамба хутагт. Улаанбаатар. Кроме того, могла быть просто не учтена разница в календарях.
  2. Soninbayar, Sh. and Punsaldulam, B. 2009. Mongolyn Tusgaar Togtnol Oyuun Sanaany Ikh Unirdagch VIII Bogd Jevzundamba Khutagt. Ulaanbaatar.
  3. По данным А. М. Позднеева; цит. по: Монгуш М. Известный и неизвестный Богдо-гэгэн // Этнографическое обозрение Online. 2006. Сентябрь. С. 3 เก็บถาวร 2021-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Knyazev, N.N. The Legendary Baron. - In: Legendarnyi Baron: Neizvestnye Stranitsy Grazhdanskoi Voiny. Moscow: KMK Sci. Press, 2004, ISBN 5-87317-175-0 p. 67
  5. См.: Сазыкин А. Г. В Лхасу за гэгэном // Историография и источниковедение истории стран Азии и Африки. Вып. XIII. — Л., 1990. C. 202—214.
  6. Tornovsky, M.G. Events in Mongolia-Khalkha in 1920-1921. - In: Legendarnyi Baron: Neizvestnye Stranitsy Grazhdanskoi Voiny. Moscow: KMK Sci. Press, 2004, ISBN 5-87317-175-0 p. 181
  7. Позднеев А. М. Очерки быта буддійскихъ монастырей и буддійскаго духовенства въ Монголии въ связи съ отношеніями вего последняго къ народу. Санкт-Петербург, Типография Императорской Академии наук, 1887. — с. 371
  8. АВПРИ, ф. Китайский стол, оп. 491, д. 1454, л. 62 (из донесения российского консула в Урге В. Ф. Любы)
  9. Торновский М.Г. События в Монголии-Халхе в 1920-1921 годах // Легендарный барон: неизвестные страницы гражданской войны. М.: КМК, 2004 ISBN 5-87317-175-0 сс. 181

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]