ข้ามไปเนื้อหา

ภาษากงกัณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากงกัณ
कोंकणी / ಕೊಂಕಣಿ/ Konknni/ കോങ്കണീ/ کونکڼی
"กงกัณ" ที่เขียนในอักษรเทวนาครี
ออกเสียง[kõkɳi] (ตัวภาษา), [kõkɵɳi] (แผลงเป็นอังกฤษ)
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ภูมิภาคกงกัณ (รวมกัวและพื้นที่ชายฝั่งของรัฐกรณาฏกะ, มังคาลอร์, รัฐมหาราษฏระและบางส่วนของรัฐเกรละ, รัฐคุชราต (Dang district) และ Dadra and Nagar Haveli and Daman and Diu)[1][2]
ชาติพันธุ์ชาวกงกัณ
จำนวนผู้พูด2.3 ล้าน  (2011 census)[3]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
กลุ่มสำเนียง: Canara Konkani, Goan Konkani, Maharashtrian Konkani
สำเนียงเฉพาะ: Malvani, Mangalorean, Chitpavani, Antruz, Bardeskari, Saxtti, Daldi, Pednekari, Koli และ Aagri[4]
ระบบการเขียนอดีต:
พราหมี
Nāgarī
Goykanadi
โมฑี
ปัจจุบัน: เทวนาครี (ทางการ)[note 1]
โรมัน[note 2]
กันนาดา[note 3]
มลยาฬัม[5]
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ผู้วางระเบียบKarnataka Konkani Sahitya Academy และรัฐบาลกัว[7]
รหัสภาษา
ISO 639-2kok
ISO 639-3kokรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
gom – Goan Konkani
knn – Maharashtrian Konkani
พื้นที่ที่มีผ้พูดภาษากงกัณเป็นภาษาแม่ในประเทศอินเดีย

ภาษากงกัณ (Kōṅkaṇī) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวกงกัณส่วนใหญ่ในแคว้นชายฝั่งตะวันตก (กงกัณ) ของอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 22 รายการภาษาที่ถูกระบุในกำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย[8] และเป็นภาษาทางการของกัว จารึกภาษากงกัณอักแรกเขียนใน ค.ศ. 1187[9] ภาษานี้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐกรณาฏกะ, รัฐมหาราษฏระ, รัฐเกรละ,[10] รัฐคุชราตและดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู

ลักษณะ

[แก้]

ภาษากงกัณ (กงกณีภาษา) เป็นภาษาที่มีความหลากหลายในด้านการเรียงประโยคและรูปลักษณ์ของภาษา ไม่อาจจำแนกได้ว่าเป็นภาษาที่ใช้การเน้นเสียงหรือเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ [11] เป็นภาษาที่แยกเสียงสั้นยาวของสระเช่นเดียวกับภาษาในกลุ่มอินโด-อารยันอื่น ๆ พยางค์ที่มีสระเสียงยาวมักเป็นพยางค์ที่เน้น

ภาษากงกัณมีสระพื้นฐาน 16 เสียง พยัญชนะ 36 เสียง เสียงกึ่งสระ 5 เสียง เสียงออกตามไรฟัน 3 เสียง เสียงระบายลม 1 เสียง และมีเสียงประสมจำนวนมาก ความแตกต่างของสระนาสิกเป็นลักษณะพิเศษของภาษากงกัณ

สระ

[แก้]
สระ
หน้า กลาง หลัง
ปิด i ĩ u ũ
กลางปิด e ɵ ɵ̃ o õ
กลางเปิด ɛ ɛ̃ ʌ ɔ ɔ̃
เปิด (æ) a ã

พยัญชนะ

[แก้]
พยัญชนะ
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
ปลายลิ้นม้วน หลัง
ปุ่มเหงือก
เพดานอ่อน เส้นเสียง
หยุด p (pʰ)
b
t
d
ʈ ʈʰ
ɖ ɖʱ
k
ɡ ɡʱ
 
กักเสียดแทรก ts tsʰ
dz dzʱ
tɕʰ
dʑʱ
 
เสียดแทรก f  s   ɕ   h
นาสิก m n ɳ ɳʱ ɲ ŋ
เหลว ʋ ʋʱ ɾ ɾʱ
l
ɽ
แม่แบบ:PUA[12]
j    

ประวัติ

[แก้]

จุดเริ่มต้น

[แก้]

ภาษากงกัณพัฒนาขึ้นในบริเวณกงกัณซึ่งเป็นฉนวนแผ่นดินแคบ ๆ ระหว่างเขตภูเขาสหยทริและทะเลอาหรับทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย โดยเฉพาะในโคมันตัก (ปัจจุบันคือกัว) ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของภาษากงกัณมีสองแบบคือ

  • ต้นกำเนิดของภาษากงกัณคือกลุ่มพราหมณ์สรสวัต ผู้อยู่ตามฝั่งแม่น้ำสรวสวตีในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำเมื่อราว 1,357 ปีก่อนพุทธศักราช ทำให้มีการอพยพ กลุ่มผู้อพยพกลุ่มหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณโคมันตัก คนกลุ่มนี้พูดภาษาปรากฤต (ภาษาเศารเสนี) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นภาษากงกัณ[13]
  • ภาษากงกัณเป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในหมู่ชาวโกกนาซึ่งถูกทำให้เป็นสันสกฤต ชนกลุ่มนี้ปัจจุบันอยู่ในทางเหนือของรัฐมหาราษฏระและทางใต้ของรัฐคุชราตแต่อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากเขตกงกัณ ผู้อพยพชาวอารยันที่เข้าสู่กงกัณนำภาษาของคนในท้องถิ่นมาใช้และเพิ่มศัพท์จากภาษาปรากฤตและภาษาสันสกฤตเข้าไป [14]

ช่วงแรก

[แก้]

ภาษากงกัณเป็นภาษาหลักในกัว เริ่มแรกเขียนด้วยอักษรพราหมี ต่อมาจึงเขียนด้วยอักษรเทวนาครี ใช้ในทางศาสนาและการค้ารวมทั้งในชีวิตประจำวัน

กลุ่มชนอื่น ๆ ที่ใช้ภาษากงกัณสำเนียงต่าง ๆ ได้แก่ชาวกงกัณมุสลิมในเขตรัตนกาลีและภัตกัล ซึ่งมีลักษณะของภาษาอาหรับเข้ามาปนมาก ชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษากงกัณคือชาวสิททิสซึ่งมาจากเอธิโอเปีย[15]

การอพยพและการแยกเป็นส่วน

[แก้]

การเข้ามาของโปรตุเกสทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากในหมู่ของชาวกงกัณ ชาวกงกัณบางส่วนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และอิทธิพลทางศาสนาของโปรตุเกสทำให้ชาวกงกัณบางส่วนอพยพออกไป การแบ่งแยกระหว่างชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูและคริสต์ทำให้ภาษากงกัณแตกเป็นหลายสำเนียงยิ่งขึ้น

ภาษานี้แพร่ไปสู่เขตจนระหรือกรวลี (ชายฝั่งของการณตกะ) โกกัน-ปัตตะ (ชายฝั่งกงกัณ ส่วนของรัฐมหาราษฏระ) และรัฐเกราลาในช่วง 500 ปีหลัง การอพยพของชาวกงกัณมีสาเหตุมาจากการปกครองกัวของโปรตุเกส

การอพยพของชาวคริสต์และฮินดูเกิดเป็น 3 ระลอก การอพยพครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2103 ซึ่งเป็นช่วงแรกที่โปรตุเกสเข้ามาปกครองกัว ครั้งที่ 2 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2114 ในสงครามกับสุลต่านพิชปูร์ การอพยพครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างสงครามในช่วง พ.ศ. 2226 - 2283 การอพยพในช่วงแรกเป็นผู้นับถือศาสนาฮินดู ส่วนสองครั้งหลัง ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์

ภาษากงกัณในกัวของโปรตุเกส

[แก้]

ในช่วงแรกของการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส มิชชันนารีให้ความสำคัญกับการแปลคัมภีร์ศาสนาคริสต์เป็นภาษาท้องถิ่นทั้งภาษากงกัณและภาษามราฐีจนกระทั่ง พ.ศ. 2227 โปรตุเกสห้ามใช้ภาษาถิ่นในเขตปกครองของตน ซึ่งถือว่าเป็นภาษาสำหรับศาสนาฮินดู ให้ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการแทน ทำให้การใช้ภาษากงกัณลดลงและทำให้ภาษาโปรตุเกสมีอิทธิพลต่อภาษากงกัณสำเนียงของชาวคริสต์มาก ส่วนชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูใช้ภาษามราฐีเป็นภาษาทางศาสนา และจากความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างภาษากงกัณและภาษามราฐี ทำให้ชาวกงกัณส่วนใหญ่พูดภาษามราฐีเป็นภาษาที่สองและปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวฮินดูในกัวรวมทั้งชาวกงกัณด้วย ชาวคริสต์ชั้นสูงใช้ภาษากงกัณกับชนชั้นที่ต่ำกว่าและยากจน ส่วนในสังคมของตนใช้ภาษาโปรตุเกส

ผู้อพยพชาวกงกัณนอกกัวยังคงใช้ภาษากงกัณและภาษามีความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น มีการเขียนภาษากงกัณด้วยอักษรเทวนาครีในรัฐมหาราษฏระ ในขณะที่ผู้พูดในรัฐกรนาฏกะเขียนด้วยอักษรกันนาดา

การฟื้นฟูภาษากงกัณ

[แก้]

สถานะของภาษากงกัณจัดว่าน่าเป็นห่วง มีการใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการและภาษาทางสังคมในหมู่ชาวคริสต์ ในหมู่ชาวฮินดูนิยมใช้ภาษามราฐีมากกว่าและมีการแบ่งแยกระหว่างชาวคริสต์และชาวฮินดูมากขึ้น

ยุคหลังได้รับเอกราช

[แก้]

หลังจากอินเดียได้รับเอกราช กัวได้รวมเข้ากับอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2504 ได้เกิดข้อโต้แย้งในกัวเกี่ยวกับสถานะของภาษากงกัณในฐานะภาษาเอกเทศและอนาคตของกัวว่าจะรวมเข้ากับรัฐมหาราษฏระหรือเป็นรัฐต่างหากต่อไป บทสรุปปรากฏว่ากัวเลือกเป็นรัฐต่างหากใน พ.ศ. 2510 ส่วนในด้านภาษา ภาษาที่มีการใช้มากภายในรัฐได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ส่วนภาษากงกัณยังไม่ได้รับการใส่ใจ

การกำหนดให้เป็นภาษาเอกเทศ

[แก้]

ในขณะที่มีความเชื่อว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐีไม่ใช่ภาษาเอกเทศ สุนิต กุมาร จัตเตร์ชี ประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์แห่งชาติได้จัดการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับข้อโต้แย้งนี้และได้บทสรุปเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ว่าภาษากงกัณเป็นภาษาเอกเทศ [16]

สถานะการเป็นภาษาราชการ

[แก้]

กลุ่มผู้รักภาษากงกัณได้เรียกร้องให้ภาษากงกัณเป็นภาษาประจำรัฐกัวใน พ.ศ. 2529 ในที่สุดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 รัฐกัวยอมรับให้ภาษากงกัณเป็นภาษาราชการของรัฐ และได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดียเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2535

ปัญหา

[แก้]

ภาษากงกัณเป็นภาษาที่ใกล้ตายเพราะ

  • การแตกแยกเป็นส่วน ๆ ของภาษากงกัณ ทำให้ไม่มีสำเนียงกลางที่เข้าใจระหว่างกันได้
  • การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตกในอินเดีย
  • ชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูในกัวและบริเวณชายฝั่งของรัฐมหาราษฏระ ส่วนใหญ่ใช้ภาษามราฐีได้ด้วย
  • ผู้นับถือศาสนาอิสลามหันไปใช้ภาษาอูรดู
  • ปัญหาการติดต่อของชาวกงกัณที่มีศาสนาต่างกัน และภาษากงกัณไม่ได้เป็นภาษาสำคัญทางศาสนา ชาวกงกัณมักติดต่อในกลุ่มที่นับถือศาสนาเดียวกันและหลีกเลี่ยงการติดต่อระหว่างกลุ่มที่มีศาสนาต่างกัน
  • การอพยพของชาวกงกัณไปยังบริเวณอื่น ๆ ของอินเดียและทั่วโลก
  • การขาดโอกาสที่จะเรียนภาษากงกัณในโรงเรียน มีโรงเรียนที่สอนภาษากงกัณไม่กี่แห่งในกัว ประชาชนที่อยู่นอกเขตที่ใช้ภาษากงกัณไม่มีโอกาสได้เรียนภาษากงกัณแม้ตะในแบบไม่เป็นทางการ
  • ความนิยมของประชาชนที่นิยมพูดกับเด็ก ๆ ด้วยภาษาที่ใช้ทำมาหากิน ไม่ใช่ภาษาแม่ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ภาษาอังกฤษของเด็กดีขึ้น

มีความพยายามที่จะฟื้นฟูภาษากงกัณโดยเฉพาะความพยายามของเศนอย โคเอมพับ ที่พยายามสร้างความสนใจวรรณกรรมภาษากงกัณขึ้นอีกครั้ง มีองค์ที่สนับสนุนการใช้ภาษากงกัณ เช่น กงกัณ ไทซ ยตระ ที่บริหารโดยมันเดล และองค์กรที่ใหม่กว่าอย่างเช่น วิศวะ กงกัณ ปาริศัด

การใช้หลายภาษา

[แก้]

จากการสำรวจในอินเดีย ผู้พูดภาษากงกัณพูดได้หลายภาษา ใน พ.ศ. 2544 ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศมีผู้ใช้สองภาษาร้อยละ 19.44 และใช้สามภาษาร้อยละ 7.26 ในขณะที่เฉพาะผู้พูดภาษากงกัณ มีผู้ใช้สองภาษาร้อยละ 74.2 และใช้สามภาษาร้อยละ 44.68 ทำให้ชุมชนของชาวกงกัณเป็นชุมชนของผู้ใช้หลายภาษาในอินเดีย เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการที่ขาดโรงเรียนที่สอนด้วยภาษากงกัณเป็นภาษาแรกหรือภาษาที่สอง

การใช้หลายภาษาไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่เป็นการชี้ให้เห็นว่าภาษากงกัณเป็นภาษาที่ไม่เกิดการพัฒนา ผู้พูดภาษากงกัณที่ใช้ภาษามราฐีในกัวและมหราราษฏระเชื่อว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐี

ข้อโต้แย้งระหว่างภาษากงกัณและภาษามราฐี

[แก้]

มีการกล่าวอ้างมานานแล้วว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐีและไม่ใช่ภาษาเอกเทศ ซึ่งมีเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ความใกล้เคียงระหว่างภาษามราฐีและภาษากงกัณ ความใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์ระหว่างกัวและมหาราษฏระ อิทธิพลอย่างชัดเจนของภาษามราฐีต่อภาษากงกัณสำเนียงที่ใช้พูดในรัฐมหาราษฏระ การที่ภาษากงกัณมีวรรณกรรมน้อยและชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูจะใช้ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สอง ทำให้งานเขียนของ Jose Pereira ใน พ.ศ. 2514 กล่าวว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐี งานเขียนของ S. M. Katre ใน พ.ศ. 2509 ได้ใช้การศึกษาทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่และเปรียบเทียบสำเนียงของภาษากงกัณหกสำเนียงได้สรุปว่าจุดกำเนิดของภาษากงกัณต่างจากภาษามราฐี เศนอย โคเอมพับ ผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูภาษากงกัณ ได้ต่อต้านการใช้ภาษามราฐีในหมู่ชาวฮินดูและการใช้ภาษาโปรตุเกสในหมู่ของชาวคริสต์

การรวมของกัวเข้ากับอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็นเวลาที่รัฐในอินเดียมีการจัดตัวใหม่ตามเส้นแบ่งทางภาษา มีความต้องการที่จะรวมกัวเข้ากับรัฐมหาราษฏระเพราะในกัวมีผู้พูดภาษามราฐีจำนวนมาก และภาษากงกัณถูกจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามราฐี ดังนั้นสถานะของภาษากงกัณในฐานะภาษาเอกเทศหรือเป็นสำเนียงของภาษามราฐีจึงเป็นหัวข้อทางการเมืองในการรวมรัฐกัวด้วย

องค์กรวิชาการสาหิตยะในอินเดียยอมรับภาษากงกัณในฐานะภาษาเอกเทศเมื่อ พ.ศ. 2518 และภาษากงกัณที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครีได้เป็นภาษาราชการของกัวใน พ.ศ. 2530

การแพร่กระจาย

[แก้]

ภาษกงกัณใช้พูดทั่วไปในเขตกงกัณ ซึ่งรวมถึง กัว ชายฝั่งตอนใต้ของรัฐมหาราษฏระ ชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ และรัฐเกราลา แต่ละท้องถิ่นมีสำเนียงของตนเอง การแพร่กระจายของผู้พูดภาษานี้มีสาเหตุหลักจากการออพยพของชาวกัวเพื่อหลบหนีการปกครองของโปรตุเกส

ระบบการเขียน

[แก้]

ภาษากงกัณเขียนด้วยอักษณหลายชนิด ทั้ง อักษรเทวนาครี อักษรโรมัน (เริ่มสมัยอาณานิคมของโปรตุเกส) อักษรกันนาดา ใช้ในเขตมันกาลอร์ และชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ อักษรอาหรับในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่า ภัทกาลี ชนกลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาอิสลามในสมัยสุลต่านทิบบู อยู่ในเขตรัฐการณาฏกะ มีผู้เขียนด้วยอักษรมลยาฬัมกลุ่มเล็ก ๆ ในเกราลา แต่ปัจจุบันเริ่มหันมาใช้อักษรเทวนาครีแทน

อักษรที่ใช้เขียนภาษากงกัณ
IPA อักษรเทวนาครีปรับปรุง อักษรเทวนาครีมาตรฐาน อักษรละติน อักษรกันนาดา อักษรมลยาฬัม อักษรอาหรับ
/ɵ/ o ಅ/ಒ ?
/aː/ a ?
/i/ i ?
/iː/ i ?
/u/ u ?
/uː/ u ?
/e/ e ?
/ɛ/ e ?
æ no symbol /e/ ಎ or ಐ ?
/ɵi/ ai/oi ?
/o/ o ?
/ɔ/ o ?
/ɵu/ au/ou ?
/ⁿ/ अं अं om/on ಅಂ അം ?
/k/ k ಕ್ ക് ک
/kʰ/ kh ಖ್ ഖ് که
/g/ g ಗ್ ഗ് ک
/gʱ/ gh ಘ್ ഘ് گه
/ŋ/ ंग ng ങ് ڭ
/ts/ च़ च़ ch ಚ್ ത്സ് څ
/c/ ch ಚ್ ച് چ
/cʰ/ chh ಛ್ ഛ് چه
/z/ ज़ ज़ z ? ز
/ɟ/ j ಜ್ ജ് ج
/zʰ/ झ़ झ़ zh ಝ್ ? زه
/ɟʱ/ jh ಝ್ ഝ് جه
/ɲ/ nh ഞ് ڃ
/ʈ/ tt ಟ್ ട് ټ
/ʈʰ/ tth ಠ್ ഠ് ټه
/ɖ/ dd ಡ್ ഡ് ډ
/ɖʱ/ ddh ಢ್ ഢ് ډه
/ɳ/ nn ಣ್ ണ് ڼ
/t̪/ t ತ್ ത് ت
/t̪ʰ/ th ಥ್ ഥ് ته
/d̪/ d ದ್ ദ് د
/d̪ʰ/ dh ಧ್ ധ് ده
/n/ n ನ್ ന് ن
/p/ p ಪ್ പ് پ
/f/ फ़ f ಫ್ ? ف
/b/ b ಬ್ ബ് ب
/bʱ/ bh ಭ್ ഭ് به
/m/ m ಮ್ മ് م
/j/ i/e/ie ಯ್ യ് ې
/ɾ/ r ರ್ ര് ر
/l/ l ಲ್ ല് ل
/ʃ/ x ಶ್ ഷ് ش
/ʂ/ x ಷ್ ശ് ?
/s/ s ಸ್ സ് س
/ɦ/ h ಹ್ ഹ് ?
/ɭ/ ll ಳ್ ള് ?
/ʋ/ v ವ್ വ് ڤ

การเขียนและหัวข้อเรื่องสำเนียง

[แก้]

ปัญหาทางด้านการใช้ระบบการเขียนหลายชนิดและสำเนียงที่ต่างกันกลายเป็นปัญหาสำคัญในการทำให้ภาษากงกัณเป็นเอกภาพ การตัดสินใจให้ใช้อักษรเทวนาครีเป็นอักษรทางการและให้สำเนียงอันตรุซเป็นสำเนียงมาตรฐานทำให้มีข้อโต้แย้งตามมา สำเนียงอันตรุซเป็นสำเนียงที่ชาวกัวส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและต่างจากภาษากงกัณสำเนียงอื่น และอักษรเทวนาครีมีการใช้น้อยเมื่อเทียบกับอักษรโรมันในกัวและอักษรกันนาดาในบริเวณชายฝั่งของรัฐกรนาฏกะ ชาวคริสต์คาทอลิกในกัวได้ใช้อักษรโรมันในการเขียนงานวรรณกรรมและต้องการให้อักษรโรมันเป็นอักษรทางการเทียบเท่าอักษรเทวนาครี

ในกรนาฏกะที่มีผู้พูดภาษากงกัณจำนวนมาก ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้ใช้อักษรกันนาดาเขียนภาษากงกัณในโรงเรียนท้องถิ่นแทนอักษรเทวนาครี ในปัจจุบันไม่มีอักษรชนิดใดหรือสำเนียงใดเป็นที่เข้าใจหรือได้รับการยอมรับจากทุกส่วน การที่ขาดสำเนียงที่เป็นกลางและเข้าใจกันได้ทั่วไป ทำให้ผู้พูดภาษากงกัณต่างสำเนียงกันต้องสื่อสารกันด้วยภาษาอื่น

หมายเหตุ

[แก้]
  1. มีการประกาศให้อักษรเทวนาครีเป็นอักษรทางการ
  2. รัฐบาลกัวผ่านร่างอนุญาตใช้อักษรโรมันในการสื่อสารได้ ซึ่งมีผลแตกต่างกัน เช่น Goa Panchayat Rules, 1996 เก็บถาวร 2017-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ใช้ทั้งรูปเทวนาครีและโรมัน
  3. ในรัฐกรณาฏกะใช้อักษรกันนาดาแทนเทวนาครี

อ้างอิง

[แก้]
  1. Whiteley, Wilfred Howell (1974). Language in Kenya. Oxford University Press. p. 589.
  2. Kurzon, Denis (2004). Where East looks West: success in English in Goa and on the Konkan Coast Volume 125 of Multilingual matters. Multilingual Matters. p. 158. ISBN 978-1-85359-673-5.
  3. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues - 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  4. Kapoor, Subodh (10 April 2002). The Indian Encyclopaedia: La Behmen-Maheya. Cosmo Publications. ISBN 9788177552713 – โดยทาง Google Books.
  5. Mother Tongue blues – Madhavi Sardesai
  6. "PUZZLE WRAPPED IN AN ENIGMA: UNDERSTANDING KONKANI IN GOA". 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
  7. "The Goa Daman and Diu Official Language Act" (PDF). Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 March 2010.
  8. "Distribution of the 22 Scheduled Languages- India/ States/ Union Territories – 2001 Census".
  9. Administrator. "Department of Tourism, Government of Goa, India - Language". goatourism.gov.in.
  10. Cardona, Jain, George, Dhanesh (2007). The Indo-Aryan Languages. Routledge. pp. 1088 pages (see page:803–804). ISBN 9780415772945.
  11. Caroline Menezes (The National Institute for Japanese language, Tokyo, Japan). "The question of Konkani?" (PDF). Project D2, Typology of Information Structure". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. *Masica, Colin (1991), The Indo-Aryan Languages, Cambridge: Cambridge University Press, p. 97, ISBN 978-0-521-29944-2.
  13. Origins of the Konkani Language - Krishnanand Kamat
  14. "Tracing the Roots of the Konkani Language - Dr. Nandkumar Kamat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.
  15. People of India - Siddis
  16. "Sahitya Academy & Konkani Literature". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]