กลุ่มภาษานูริสถาน
กลุ่มภาษานูริสถาน (อังกฤษ: Nuristani languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน ใช้พูดในอัฟกานิสถานและบริเวณใกล้เคียง
ประวัติศาสตร์
[แก้]เริ่มมีการกล่าวถึงกลุ่มภาษานูริสถานครั้งแรกเมื่อพุทธศตวรรษที่ 24 ชื่อเก่าของบริเวณที่ใช้ภาษานี้คือกาฟิริสถาน และเรียกภาษาที่ใช้ในเขตนั้นว่าภาษากาฟิริสถาน ต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยคำว่านูริสถานซึ่งหมายถึงดินแดนแห่งแสงสว่าง
มุมมองในปัจจุบันจัดให้กลุ่มภาษานูริสถานเป็นสาขาเอกเทศของกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน แต่บางครั้งถือว่าเป็นกลุ่มภาษาอิหร่านที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาที่อยู่ใกล้เคียงคือกลุ่มภาษาดาร์ดิก ดูเหมือนว่าผู้พูดภาษานี้เข้ามาอยู่ในบริเวณปัจจุบันไม่นานนักและไม่เคยเคลื่อนย้ายลงมาถึงบริเวณที่เป็นรัฐปัญจาบ
กลุ่มภาษานี้ใช้โดยชนเผ่าในบริเวณเทือกเขาฮินดูกูซ และไม่เคยเคลื่อนย้ายไกลออกไปจากบริเวณนี้ เทือกเขานี้อยู่ทางชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานและตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ภาษาในกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะเป็นภาษาตายเพราะมีผู้พูดน้อยลง
กลุ่มภาษานูริสถานมี 5 ภาษา แบ่งย่อยได้เป็นหลายสำเนียง สำเนียงหลักได้แก่ สำเนียงกาตา-วิรี สำเนียงกัมวิรีและ สำเนียงไว-อลา ผู้พูดในปากีสถาน ส่วนใหญ่พูดสำเนียงกัมวิรี ภาษาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาดาร์ดิกมากจนบางครั้งจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
Georg Mergenstierne กล่าวว่าบริเวณไครัลเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางภาษามากบริเวณหนึ่งของโลก แม้ว่าภาษาโควาร์จะเป็นภาษาหลักของบริเวณไครัลแต่ก็มีภาษาอื่นใช้พูดในบริเวณนี้ เช่น ภาษากาลาชา-มุน ภาษาปาลูลา ภาษาดาเมลี ภาษาคาร์วา-บาตี กลุ่มภาษานูริสถาน ภาษายิดคา ภาษาบูรุสชานสกี ภาษาคูชาร์ ภาษาวาคี ภาษาคีร์กิซ ภาษาเปอร์เซียภาษาปาทาน ภาษาเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีภาษาเขียนโดยใช้ภาษาอูรดูหรือภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเขียนแทน
รายชื่อภาษาในกลุ่มนี้
[แก้]- ภาษาอัสกุนุ มีผู้พูด 2,000 คน
- ภาษากัมกาตา-วิรี มีสำเนียงกาตาวิรี สำเนียงกัมวิรี และสำเนียงมุมวิรี มีผู้พูดรวม 24,000 คน
- ภาษาวาซิ-วารี มีผู้พูด 2,000 คน
- ภาษาเตรกามี มีผู้พูด 1,000 คน
- ภาษากาลาซา-อลา มีผู้พูด 2,000 คน
อ้างอิง
[แก้]- Decker, Kendall D. (1992) Languages of Chitral http://www.ethnologue.com/show_work.asp?id=32850
- Morgenstierne, Georg (1926) Report on a Linguistic Mission to Afghanistan. Instituttet for Sammenlignende Kulturforskning, Serie C I-2. Oslo. ISBN 0-923891-09-9
- Jettmar, Karl (1985) Religions of the Hindu Kush ISBN 0-85668-163-6
- J. P. Mallory, In Search of the Indo-Europeans: Language, Archaeology and Myth, Thames and Hudson, 1989.
- James P. Mallory & Douglas Q. Adams, "Indo-Iranian Languages", Encyclopedia of Indo-European Culture, Fitzroy Dearborn, 1997.
- SIL International Ethnologue [1]
- Strand, Richard F. (1973) "Notes on the Nûristânî and Dardic Languages." Journal of the American Oriental Society, 93.3: 297-305.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Reiko and Jun's Japanese Kalash Page
- Hindi/Urdu-English-Kalasha-Khowar-Nuristani-Pashtu Comparative Word List
- Richard Strand's Nuristân Site เก็บถาวร 2009-01-08 ที่ archive.today This site is the primary source on the linguistics and ethnography of Nuristân and neighboring regions, collected and analyzed over the last forty years by the leading scholar on Nuristân.