ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาปาลูลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาปาลูลา
پالولہ
Pālūla
ออกเสียง/paːluːláː/
ประเทศที่มีการพูดประเทศปากีสถาน
ภูมิภาคชิตรัล
จำนวนผู้พูด10,000 คน  (2008)[1]
ประชากรในหุบเขา Ashret และ Biol เกือบทั้งหมดพูดได้เพียงภาษาเดียว (2008)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรปาลูลา (อักษรแนสแทอ์ลีก)
รหัสภาษา
ISO 639-3phl
แผนที่ภูมิภาคในประเทศปากีสถานที่มีผู้พูดภาษาปาลูลา

ภาษาปาลูลา หรือภาษาพาลูรา ภาษาอัศเรตี ภาษาดังคาริกวาร์ (ชื่อนี้ใช้โดยชาวโควาร์) มีผู้พูด 10,000 คน ในหุบเขาอัศเรตและบิโอรี เช่นเดียวกับในเทือกเขาปูร์ (หรือปูริคัล) ในหุบเขาศิขิ และมีบางส่วนในหุบเขากัลกาตักในตำบลชิตรัล จังหวัดฟรอนเทียร์ตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ภาษาที่ใกล้เคียงกันมีผู้พูดในหมู่บ้านเซาในอัฟกานิสถาน และตำบลคีร์ หมู่บ้านคาลโกตประชาชนในหุบเขาอัศเรตมีความสำคัญเพราะเป็นทางเปิดหลักเข้าสู่ชิตรัล คนส่วนใหญ่เข้าสู่ชิตรัลผ่านทางยอดเขาโลวารี สูง 10,230 ฟุต เพื่อเชื่อมต่อระหว่างชิตรัลกับตำบลคีร์และส่วนอื่นๆของปากีสถาน จะเข้าสู่อัศเรตเพื่อตรวจเครื่องแต่งกาย

ผู้คนในอัศเรตมีต้นกำเนิดจากชิลาสในลุ่มแม่น้ำสินธุ พวกเขาเป็นผู้เฝ้าทางเข้าสู่ชิตรัล มีหลักฐานสนับสนุนจากจารึกท้องถิ่นและบันทึกทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามนอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนในชิลาสปัจจุบันพูดภาษาชีนาที่ใกล้เคียงกันแล้ว ความเชื่อมต่ออย่างอื่นได้สูญหายไปหมด

ภาษาปาลูลาอยู่ในกลุ่มดาร์ดิก ในหมู่บ้านบางแห่ง ผู้พูดภาษาปาลูลาเริ่มน้อยลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาษาโควาร์ที่มีผู้พูดมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้พูดภาษาปาลูลากลุ่มหลักในบิโอรีและอัศเรต ยังคงใช้ภาษาปาลูลา มีการตั้งสมาคมเพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาปาลูลา เพื่ออนุรักษ์ภาษา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีการพัฒนาระบบการเขียน พิมพ์หนังสือในช่วง พ.ศ. 2547 – 2549

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาปาลูลา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Baart, Joan L. G. (2003), Tonal features in languages of northern Pakistan (PDF), National Institute of Pakistan Studies, Quaid-i-Azam University and Summer Institute of Linguistics, pp. 3, 6, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-11-09, สืบค้นเมื่อ 2022-02-18
  • Decker, Kendall D. (1992) Languages of Chitral ISBN 969-8023-15-1 http://www.ethnologue.com/show_work.asp?id=32850
  • Edelman, D. I. (1983), The Dardic and Nuristani Languages, Moscow: Institut vostokovedeniia (Akademiia nauk SSSR)
  • Haider, Naseem. 2012. Palula matali. [Palula proverbs]. (Maqami Zaban-o-Adab kaa Ishaati Silsila 1.) Islamabad: Forum of Language Initiatives
  • Liljegren, Henrik (2008). Towards a grammatical description of Palula: An Indo-Aryan language of the Hindu Kush (วิทยานิพนธ์ PhD dissertation). Stockholm: Stockholm University. ISBN 978-91-7155-599-1. แม่แบบ:URN.
  • Liljegren, Henrik (2009). "The Dangari Tongue of Choke and Machoke: Tracing the proto-language of Shina enclaves in the Hindu Kush". Acta Orientalia. 70: 7–62.
  • Liljegren, Henrik (2010). "Where have all the verbs gone? On verb stretching and semi-words in Indo-Aryan Palula" (PDF). Himalayan Linguistics. 9 (1): 51–79. doi:10.5070/H99123044. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-15.
  • Liljegren, Henrik; Haider, Naseem (2009), "Palula", Journal of the International Phonetic Association, 39 (3): 381–386, doi:10.1017/S0025100309990193
  • Liljegren, Henrik; Haider, Naseem (2011). Palula Vocabulary. FLI Language and Culture Series, No. 7. Islamabad: Forum for Language Initiatives. ISBN 978-969-9437-07-6. แม่แบบ:URN.
  • Liljegren, Henrik (2016). A Grammar of Palula. Studies in Diversity Linguistics 8. Berlin: Language Science Press. doi:10.17169/langsci.b82.85.
  • Morgenstierne, Georg (1926) Report on a Linguistic Mission to Afghanistan. Instituttet for Sammenlignende Kulturforskning, Serie C I-2. Oslo. ISBN 0-923891-09-9
  • Morgenstierne, Georg (1941). Notes on Phalura: An unknown Dardic language of Chitral (PDF). Oslo: J. Dybwad.
  • Strand, Richard F. (2001) The tongues of Peristân. Appendix 1, pp 251–257 in Gates of Peristan: History, Religion and Society in the Hindu Kush, Reports and memoirs, edited by Alberto M Cacopardo and Augusto S Cacopardo. Rome: IsIAO.
  • The Languages Of Pakistan, Badshah Munir Bukhari. London

แหล่งข้ออมูลอื่น

[แก้]