ภาษาเคิร์ดกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาโซรานี)
ภาษาเคิร์ดกลาง
เคิร์ดโซรานี
کوردیی ناوەندی / سۆرانی
ศัพท์ ภาษาเคิร์ดกลาง และ โซรานี เขียนในชุดอักษรโซรานี
ประเทศที่มีการพูดอิหร่านและอิรัก
ภูมิภาคเคอร์ดิสถาน
จำนวนผู้พูด[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Ardalani
Babani (Silemani)
Hawleri
Mukriyani
Garmiyani
Jafi
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรเคิร์ดโซรานี (อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อิรัก
 เคอร์ดิสถานอิรัก[2]
รหัสภาษา
ISO 639-3ckb
Linguasphere58-AAA-cae
การกระจายทางภูมิศาสตร์ของภาษาเคิร์ดที่พูดโดยชาวเคิร์ด
ผู้พูดภาษาเคิร์ดโซรานี บันทึกในประเทศนอร์เวย์

ภาษาเคิร์ดกลาง (کوردیی ناوەندی) หรือ ภาษาโซรานี (سۆرانی) เป็นภาษาย่อย[3][4][5] หรือภาษาเคิร์ด[6][7] ที่มีผู้พูดในประเทศอิรัก ส่วนใหญ่อยู่ในเคอร์ดิสถานอิรัก และในจังหวัดเคอร์ดิสถาน, เคร์มอนชอฮ์ และอาเซอร์ไบจานตะวันตกในอิหร่านตะวันตก ภาษาโซรานีเป็นหนึ่งในสองภาษาราชการของประเทศอิรัก (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอาหรับ) และในเอกสารฝ่ายปกครองเรียกภาษานี้ว่า "ภาษาเคิร์ด"[8][9]

ศัพท์โซรานีมาจากชื่ออดีตเอมิเรตโซราน ใช้เรียกรูปแบบภาษาเคิร์ดกลางมาตรฐานที่เขียนด้วยชุดตัวอักษรโซรานี ซึ่งพัฒนามาจากชุดตัวอักษรอาหรับในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยSa'ed Sidqi Kaban และ Taufiq Wahby[10]

ประวัติ[แก้]

ในยุคออตโตมาน มีการตั้งโรงเรียนมัธยมเพื่อไปเรียนที่อิสตันบูลทำให้ภาษาโซรานีเป็นภาษาสำหรับการเขียน ภาษาเคิร์ดเป็นภาษาต้องห้ามในอิรักในสมัยลัทธิบาธรุ่งเรือง เมื่อลัทธิบาธเสื่อมลง การตีพิมพ์ภาษาเคิร์ดแพร่หลายอีกครั้ง ทำให้ภาษาโซรานีเป็นรูปแบบที่ใช้เขียนในอิรัก

อักษร[แก้]

ภาษาโซรานีเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ในอิรักซึ่งต่างจากภาษากุรมันชีที่เขียนด้วยอักษรละตินในตุรกี แต่เริ่มมีการนำอักษรละตินมาใช้กับภาษาโซรานีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์

การแพร่กระจาย[แก้]

จำนวนผู้พูดที่แน่นอนของภาษาโซรานีหาได้ยาก แต่น่าจะมี 7-15 ล้านคนในอิรักและอิหร่าน

การเป็นภาษาราชการ[แก้]

มีการเสนอให้ภาษาโซรานีเป็นภาษาราชการของรัฐบาลเคอร์ดิสถานในอิรัก แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวเคิร์ดที่พูดภาษากุรมันชี[11]


ลักษณะทางไวยากรณ์[แก้]

การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม ไม่มีคำสรรพนามที่แยกระหว่างเพศชายและเพศหญิง และไม่มีการผันคำกริยาตามเพศ .[12]

การเปรียบเทียบระหว่างภาษาโซรานีกับภาษากุรมันชี[แก้]

โซรานี ภาษากุรมันชี แปล
min ez ฉัน
dest dest มือ
to tu คุณ
ew ew เขา (กรรม)

อ้างอิง[แก้]

  1. Sheyholislami (2021), p. 633.
  2. "Full Text of Iraqi Constitution". Washington Post. 12 October 2005. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  3. Edmonds, Alexander Johannes (January 2012). "Dialects of Kurdish".
  4. Aziz, Mahir A. (2011-01-30). The Kurds of Iraq: Ethnonationalism and National Identity in Iraqi Kurdistan (ภาษาอังกฤษ). I.B.Tauris. ISBN 9781848855465.
  5. "The Kurdish Language and Literature". Institutkurde.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  6. Sheyholislami, J. (2011-06-06). Kurdish Identity, Discourse, and New Media (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 9780230119307.
  7. Thackston (2006), p. vii.
  8. Allison, Christine (2012). The Yezidi Oral Tradition in Iraqi Kurdistan. Routledge. ISBN 978-1-136-74655-0. "However, it was the southern dialect of Kurdish, Central Kurdish, the majority language of the Iraqi Kurds, which received sanction as an official language of Iraq."
  9. "Kurdish language issue and a divisive approach". Kurdish Academy of Language. 5 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016.
  10. Blau, Joyce (2000). Méthode de Kurde: Sorani. Editions L'Harmattan. ISBN 978-2-296-41404-4., page 20
  11. Kurdish language issue and a divisive approach | Kurdish Academy of Language
  12. "Kurdish Sorani language developmental features". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-13. สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]