ภาษาอเวสตะ
ภาษาอเวสตะ Avestan | |
---|---|
ภูมิภาค | ภาษาทางศาสนาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ |
สูญหาย | ประมาณ 157 ปีก่อนพุทธศักราช |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรอเวสตะ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ae |
ISO 639-2 | ave |
ISO 639-3 | ave |
ภาษาอเวสตะ (อังกฤษ: Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์
ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ
- ภาษาอเวสตะเก่า หรือ อเวสตะคาถิก เป็นภาษาโบราณที่มีไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาพระเวท มีการผันคำนามมาก คาดว่าใช้อยู่ในช่วง 457 ปีก่อนพุทธศักราช
- ภาษาอเวสตะใหม่ มีสองระบบคือระบบดั้งเดิมและระบบประดิษฐ์ โดยระบบแรกพัฒนามาจากภาษาอเวสตะเก่า และน่าจะใช้เป็นภาษาพูดจนถึง 257 ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนระบบประดิษฐ์เป็นระบบที่ไม่ใช้เป็นภาษาพูด แต่ใช้ในการเขียนหนังสือของนักบวช
ไวยากรณ์[แก้]
คำนาม[แก้]
การก | ปัจจัย "ปกติ" | อะ การันต์ : (ปุล., นปุ.) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
เอกพจน์ | ทวิพจน์ | พหูพจน์ | เอกพจน์ | ทวิพจน์ | พหูพจน์ | |
กรรตุการก | -s | -ā | -ō (-as), -ā | -ō (yasn-ō) | -a (vīr-a) | -a (-yasna) |
อาลปนการก | - | -ā | -ō (-as), -ā | -a (ahur-a) | -a (vīr-a) | -a (yasn-a), -ånghō |
กรรมการก | -em | -ā | -ō (-as, -ns), -ā | -em (ahur-em) | -a (vīr-a) | -ą (haom-ą) |
กรณการก | -ā | -byā | -bīš | -a (ahur-a) | -aēibya (vīr-aēibya) | -āiš (yasn-āiš) |
สัมปทานการก | -ē | -byā | -byō (-byas) | -āi (ahur-āi) | -aēibya (vīr-aēibya) | -aēibyō (yasn-aēibyō) |
อปทานการก | -at | -byā | -byō | -āt (yasn-āt) | -aēibya (vīr-aēibya) | -aēibyō (yasn-aēibyō) |
สัมพันธการก | -ō (-as) | -å | -ąm | -ahe (ahur-ahe) | -ayå (vīr-ayå) | -anąm (yasn-anąm) |
อธิกรณการก | -i | -ō, -yō | -su, -hu, -šva | -e (yesn-e) | -ayō (zast-ayō) | -aēšu (vīr-aēšu), -aēšva |
คำกริยา[แก้]
บุรุษ | เอก. | ทวิ. | พหุ. |
---|---|---|---|
1. | -mi | -vahi | -mahi |
2. | -hi | -tha | -tha |
3. | -ti | -tō, -thō | -ngti |
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |